ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
สมเด็จพระเพทราชา
ครองราชย์ พ.ศ.
2231 2246
สมเด็จพระเพทราชา นั้น เป็นชาวบ้านพลูหลวง
ได้เข้ารับรการในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ มีความชอบเป็ฯพระเพทราชา
ข้าหลวงเดิมมีอำนาจดูแลกรุงศรีอยุธยาต่างพระเนตรกระกรรณในขณะที่สมเด็จพระนารายณ์ประทับอยู่ที่เมืองลพบุรี
วันที่
11 กรกฎาคม ปีมะโรง พ.ศ. 2231 สมเด็จพระนารายณ์สวรรคต
ที่พระราชวังลพบุรีหลังจากทรงครองราชย์เป็นเวลานานถึง 31 ปี พระปีย์
ราชบุตรบุญธรรมนั้นถูกสังหารภายในวัง ทำให้สิ้นราชวงศ์ปราสาททอง
พระเพทราชาจึงขึ้นครองราชเป็นกษัตริย์ เป็นการเริ่มต้นราชวงศ์บ้านพลูหลวง
ส่วนเจ้าฟ้าอภัยทศหรือเจ้าฟ้าน้อย
พระอนุชาธิราชของสมเด็จพระนารายณ์นั้นได้ถูกประหารโดยใส่กระกอบแดงทุบด้วยท่อนจันทน์
เพื่อให้หมดสิ้นรัชทายาทสืบราชวงศ์
ขุนนางเก่าและข้าราชการในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ที่กรุงศรีอยุธยา
เมืองนครศรีธรรมราช หรือเมืองนครราชสีมา นั้นได้ถูกปลดหรือประหารจนเกือบหมด
ด้วยเกรงจะถูกยึดอำนาจกลับแก้แค้น
สำหรับทหารรักษาพระองค์ชาวอังกฤษและชาวฝรั่งเศสที่เมืองลพบุรีนั้นได้ถูกจับขังคุก
พระราชวังในเมืองลพบุรีจึงถูกปล่อยทิ้งร้าง (จนถึงรัชกาลที่ 4
แห่งกรุงรัตนโกสินทร์จึงได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ สร้างพระที่นั่งองค์ใหม่ขึ้น)
ในการจัดแจงบ้านเมืองนั้น สมเด็จพระเพทราชาได้แต่งตั้งให้ หลวงสรศักด์
เจ้ากรมช้าง บุตรชายนั้นเป็นขุนหลวงสรศักดิ์ พระมหาอุปราช
ส่วนขุนนางข้าราชการที่ช่วยเหลือในการกำจัดฝรั่งเศสและช่วยในการชิงราชสมบัตินั้นได้รับฐานันดรศักดิ์กันถ้วนหน้า
เช่น นายจบคชประสิทธิ์ เป็นกรมพระราชวังหลัง พระยาสุรสงคราม เป็น
เจ้าพระยาสุรสงคราม เป็นต้น
ต่อมาได้มีการเชิญพระบรมศพของสมเด็จพระนารายณ์ลงมาทำพิธีถวายพระเพลิงศพยังกรุงศรีอยุธยา
เสร็จเรียบร้อยแล้ว
สมเด็จพระเพทราชาได้ทรงสู้รบกับทหารของฝรั่งเศสที่ป้อมเมืองธนบุรี ปิดล้อมอยู่ 5
เดือน (บางแห่งว่า 2 เดือน)
จนทหารฝรั่งเศสสิ้นเสบียงอาหารต้องยอมเลิกรบและเดินทางกลับออกไป
มีความปรากฎในจดหมายเหตุของฝรั่งเศสว่า
วันอังคารเดือน 10 ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2231
หลังจากมีการสู้รบกันอยู่ 5 เดือน นายพลเดส์ฟาร์ช กับมองชิเออร์ วอลลันด์
เดส เวอร์เกนส์ และทหารฝรั่งเศสที่รักษาป้อมบางกอก 250 คน
ยอมยกธงขาวทำสัญญายอมจำนนสงบศึก ต่อสมเด็จพระเพทราชา
โดยจะยอมถอยกำลังกลับฝรั่งเศส อย่างสันติ
ทหารฝรั่งเศสเดินทางโดยเรือชื่อสยามกับละโว้
ครั้งนั้นอาณาจักรสยามยังให้ยืมเงินเป็นค่าเดินทางอีก 45,000 แฟรงค์
พร้อมกับปล่อยตัวบุตรชาย 2 คน ของนายพลเดสฟารจ์ด้วย
โดยมีพวกฮอลันดาช่วยหาเรือและเสบียงอาหารให้
สมเด็จพระเพทราชายอมตกลงและทำการยึดตัวพ่อค้าและคณะบาทหลวงฝรั่งเศส
คือสังฆราชลงโน บิบอปเมเตโลโปลิส
และคณะเป็นตัวจำนำไว้จนกว่าคณะราชทูตไทยที่อยู่ฝรั่งเศสกลับมาถึงอาณาจักรสยาม
และให้ลงนามค้ำประกันว่าจะรับโทษแทนหาก นายพล เดสฟาร์ช ผิดสัญญา
แต่ปรากฏว่า นายพลเดส์ฟาร์ช นั้นไม่ทำตามสัญญา
กลับจับตัวข้าราชการไทยที่ปากน้ำสองคนเป็นตัวประกัน แล้วไปยึดเมืองภูเก็ตไว้
ฝ่ายสยามนั้นโกรธมากจึงจับตัวประกัน คือ พ่อค้าฝรั่งเศส บิชอพ ดอน หลุยส์
และบาทหลวงลาโน ซึ่งเป็นสังฆราชแก่ง เมเตโลโปลิส หัวหน้าพระฝรั่งเศส
มาตบตีและจองจำล่ามโซ่ไว้ นักบวชฝรั่งเศสนิกายเซนต์โดมินิคชื่อ เปโตร มาร์ตีร์
เลขานุการของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (ฟอลคอน) ถูกล่ามโซ่ 4 เส้น
ชาวฝรั่งเศสถูกฆ่าตาย 20 คน
พวกคริสเตียนในกรุงศรีอุธยาได้ถูกทำร้าย
ด้วยข้อหาว่าพวกคริสต์นั้นเข้ามาทำลายศาสนาประจำชาติ ทหารฝรั่งเศส ชื่อ
มองชิเออร์ เดอลาซ และเดอโลเน ถูกเฆี่ยน พวกฝรั่งเศสที่ตายไปแล้ว เช่น
มองซิเออร์ เดอ เบรีช และมองซิเออร์ โมเนน ดอบัว
นั้นถูกขุดกระดูขึ้นมาขว้างทิ้ง
(เข้าใจว่าคนร้ายขุดหาสมัติที่ฝังอยู่กับศพมากกว่า) หมอฝรั่งเศสชื่อโปมา
ก็ถูกควบคุมตัวด้วย ทั้งนี้เนื่องจาก นายพลเดส์ฟาร์ช
ไม่ยอมส่งเงินและสำเภอที่ยืมไปนั้นคืนกลับมา
ต่อมาในปี พ.ศ. 2236 เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน)
ซึ่งเคยเป็นทูตไปฝรั่งเศสได้เข้ามาช่วยเหลือเชลยศึก
ปล่อยให้พ้นพันธนาการหลังจากที่คนเหล่านั้นได้ถูกจองจำอยู่ 5 ปี
เมื่อฝรั่งเศสหมดอำนาจในอาณาจักรสยามแล้วก็ถูกขับไล่ออกจากแผ่นดินสยามห้ามเข้ามาอีก
ชาวโปรตุเกสจึงเข้ามาช่วยป้องกันเมืองและพระราชวัง
โดยขึงโซ่กั้นแม่น้ำไม่ให้เรือฝรั่งเสสเข้ามาได้ กัปตันโปรตุเกสจากมาเก๊าชื่อ
อังเดร โกรมส์ กาสปาร์ ฟรังโก ฟรานซิสโก เฟเรียรา
ได้ช่วยรักษาน่านน้ำของแผ่นดินสยามอย่างแข็งขัน
นักการทูตชาวอังกฤษชื่อ มร. ฮอดเจส
ถูกจับคุมขังระหว่างเกิดความไม่สงบเมื่อครั้งสมเด็จพระนารายณ์สวรรคตนั้น
ได้รับการปลดปล่อยในเวลาต่อมาอีก 2 -3 วัน ส่วนนักการทูตอังกฤษที่ชื่อ
มร.ฮิลล์ ก็ได้รับอนุญาตให้เดินทางผ่านตะนาวศรีกลับไปยังโคดรมานเดลได้
พวกฮอลันดาซึ่งเป็นศัตรูแบฝรั่งเศสนั้นได้เข้าข้างอาณาจักรสยาม
ทำการช่วยสมเด็จพระเพทราชาอย่างเข้มแข็ง
ดังนั้นในสมัยต่อมาฮอลันดาจึงเข้ามามีอำนาจในแผ่นดินสยามแทนชาวฝรั่งเศส
ซึ่งเคยเป็นคู่แข่งขันกัน
ในแผ่นดินสมเด็จพระเพทราชานั้น การค้าขายกับชาติตะวันตกนั้นได้เสื่อมลง
ด้วยเหตุเพราะสมเด็จพระเพทราชาไม่ไว้ใจและไม่มีพระประสงค์จะเกี่ยวข้องกับชาวยุโรปอีกต่อไป
ห้างอังกฤษได้ถูกสั่งให้ชักธงอังกฤษลง ตามพระราชโองการของสมเด็จพระเพทราชา
เนื่องจากมีเครื่องหมายกางเขนอยู่ในธง ส่วนป้อมวิชาเยนทร์ด้านตะวันออก (ตรง
ร.ร.ราชินี) ที่ทหารฝรั่งเศสครองอยู่นั้นให้ทำการรื้อทำลายลงเสีย
เหลือไว้แต่ป้อมวิชาเยนทร์ด้านตะวันตก (ป้อมวิชัยประสิทธิ์ปัจจุบัน)
ไว้รักษาเมืองธนบุรีศรีสมุทร
สมเด็จพระเพทราชาขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2231 2246
นั้นสภาพบ้านเมืองอลหม่านอยู่เป็นเวลา 15 ปี
มีเหตุจลาจลอันเนื่องจากการกำจัดสังหารขุนนางฝ่ายตรงข้ามและเชื้อพระวงศ์เดิมเกือบทั้งหมด
ส่วนเจ้าพระยาโกษาธิบดี (โกษาปาน)
นั้นต่อมาได้ถูกกล่าวหาว่าขาดความจงรักภักดีเนื่องจากไม่เห็นกับการที่สมเด็จพระเพทราชาไม่บังควรที่จะนำพระมเหสีและพระขนิษฐาของสมเด็จพระนารายณ์มาเป็นพระชายาทั้งสององค์
จึงเป็นเหตุให้ถูกลงทัณฑ์โดยการโบยหลัง ต่อมาเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน)
ได้ตรอมใจจนถึงอนิจกรรมใน พ.ศ. 2242 ทำให้ลูกหลานของเจ้าพระยาโกษา (ปาน)
พลัดแตกแยกย้าย และสืบเชื้อสายต่อมาตามลำดับ จากขุนวรวงศาธิราช (ทอง)
ซึ่งมีบุตรชายจมื่นมหาสนิท (ทองคำ) ที่ออกไปตั้งบ้านเรือนที่บ้านสะแกกรัง
ส่วนเหตุการณ์กับอังกฤษด้านตะวันตกนั้น
เมื่อทหารฝรั่งเศสที่เมืองมะริดได้เลิกอยู่ประจำการเนื่องจากเปลี่ยนแผ่นดินและเกิดการสู้รบดังกล่าว
ทำให้เมืองมะริดนั้นอ่อนแอลงเป็นเหตุให้อังกฤษหันกลับมาคิดชิงอำนาจในเมืองมะริด
จึงมีเหตุการณ์เกิดขึ้นต่อมา ว่า
วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2231 มีข่าวแจ้งว่า
เจ้าเมืองมะริดกับขุนนางบางคนถูกจับล่ามโซ่ที่คอและขา ส่งไปยังแผ่นดินสยาม
แล้วให้ส่งเจ้าเมืองที่เคยเชือดคอคนอังกฤษไปแทน
วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2231 เจ้าหน้าที่ห้างฝรั่งเศสที่เมืองปัตตาเวีย
รายงานว่าเกิดการฆ่าฟันกันในกรุงสยาม ชาวสยามหนึ่งในสามคนต้องเสียชีวิตไป
มีรายงานด้วยว่าเรือชื่อ โลริฟลามม์ (LAuriflamme)
เป็นเรือฝรั่งเศสลำเดียวที่ได้เข้าไปในกรุงสยาม ในปีนี้
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ และ 27 มีนาคม พ.ศ. 2232
กองบัญชาการอังกฤษที่ป้อมเซนต์ยอร์จ ในอินเดีย สั่งให้เรือ ซันโดส
เรือเบนจามินและ เรือเฮอร์เบอร์ท ให้จับกุมเรือพาหนะและคนในบังคับสยาม
แล้วนำส่งมาที่ป้อมเซนต์ยอร์จ
เพราะพระเจ้าแผ่นดินสยามได้กระทำการทารุณโหดร้ายทำให้อังกฤษเสียหายหลายประการ
วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2232 อังกฤษจับเรือของสยาม ชื่อ ลอเรตต้า
เป็นเชลยที่เบงกอล อังกฤษเตรียมยึดเมืองมะริด
เมืองถลางและเตรียมทำสงครามกันแผ่นดินสยามเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายจนกว่าจะพอใจ
ด้วยเหตุนี้
ภายหลังจึงมาการฟื้นฟุสัมพันธไมตรีเพื่อรักษาอาณาจักรขึ้นจากกรณีดังกล่าวใน พ.ศ.
2233 คณะทูตสยามที่ไปฝรั่งเศสกับ ลาลูแบร์
ได้เดินทางกลับมาพร้อมกับนำเครื่องบรรณาการของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14
มาถวายสมเด็จพระเพทราชา
พ.ศ. 2234 สังฆราช ลาโน
ชาวฝรั่งเศสที่ถูกคุมขังไว้ได้รับการปล่อยตัวกลับมายังโบสถ์คริสต์ในอยุธยา แล้ว
ต่อมาสังฆราชลาโนก็มรณภาพ
พ.ศ. 2236 2241 ฮอลันดาทำสงครามกับฝรั่งเศส พ.ศ. 2237 ฮอลันดา
ยึดเมืองปอนดิเชอรี่ของฝรั่งเศสในอินเดียได้
พวกฝรั่งเศสที่ปอนดิเชอรี่จึงถูกฮอลันดาจับแล้วส่งตัวกลับยุโรป
พ.ศ. 2239 เกิดไข้ทรพิษระบาดในอาณาจักรสยาม มีคนตายกว่า 80,000 คน ฝนแล้ง
ข้าวแพง
วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2241 ฝรั่งเศสได้ส่งกองเรือ 4 ลำ คือเรือ
แล็งเตียง เรือ ลา เซลังค์ เรือลาบอง และ เรือ คาสตรีคุม ไปเมืองมะริด
เรือแล็งเดียงนั้นได้เกยตื้น
พวกทหารฝรั่งเศสได้พบกับบาทหลวงตาชาร์ด ซึ่งไปที่เมืองมะริดโดยเรือของแขกมัวร์
(เพราะฝรั่งเศสไม่ยอมให้ใช้เรือฝรั่งเศส) เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2240
โดยเดินทางไปเฝ้าสมเด็จพระเพทราชาพระเจ้ากรุงสยาม
แต่ได้รับคำบอกจากหลวงหลวงสรศักดิ์ (ต่อมาเป็นพระเจ้าเสือ) ให้บาทหลวงตาชาร์ด
กลับไปเสียเถิด แต่บาทหลวงตาชาร์ดก็พยายามกลับมาเมืองมะริดอีกจนได้
วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2242 บาทหลวงตาชาร์ด
บาทหลวงฟูเกต์และบาทหลวงลาเบรย์ได้โดยสารกองเรือฝรั่งเศส ประกอบด้วยเรือ เลอบ็อง
เรือ เลอ คาสตรีคุม เรือ ลา เซลังต์ เรือเลอ กัยยารด์ เรือ แล็งเดียง
ภายใต้การบัญชาการของ มร. แดโซซิแอร์ เดินทางมาถึงเมืองเนกราย
แล้วส่งบาทหลวงตาชาร์ด ขึ้นบกที่เมืองมะริด เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2242
จากนั้นก็ใช้เส้นทางเดินบกมายังกรุงศรีอยุธยา
เพื่อนำพระราชสาส์นของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ไปถวายพระเจ้ากรุงสยาม
ปี พ.ศ. 2242 นิโคลัส เวท ได้เดินทางมากับเรือมองตากู มีบันทึกว่า
อาณาจักรสยามเป็นแหล่งผลิตสินค้าคุณภาพสูงหลายอย่าง คือ ดีบุก ไม้ฝาง (Sapan
Wood)
เครื่องเขินขี้รัก (Cherung)
น้ำมันจากเนื้อ หนังกวาง ไม้หอมแองกูลา (Angula
Wood)
ซึ่งมีสินค้าออกที่สำคัญส่งไปประเทศต่างๆ กล่าวคือ
ดีบุกจากภูเก็ต ส่งปีละไม่ต่ำกว่า 200 ตัน ไปยังยุโรป ฮอลันดา
ดีบุก งาช้าง ส่งไปเบงกอล
ดีบุก งาช้าง น้ำหอมแองกูล่า ส่งไปเมืองสุรัต
ไม้ฝาง ไม้หอมแองกูล่า หมาก ส่งไปจีน
หนังสัตว์ ครั่ง ไม้ฝาง ไม้หอมแองกูล่า ส่งไปญี่ปุ่น
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2242
สมเด็จพระเพทราชาได้มีพระราชสาส์นไปถึงพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส
เป็นการตอบรับพระราชสาส์น ที่บาทหลวงตาชาร์ด อัญเชิญมา
และได้ทำการต้อนรับที่กรุงศรีอยุธยา เมื่อเดือนยี่ พ.ศ. 2243 ด้วยไมตรี
ราวเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2243
บาทหลวงตาชาร์ดได้นำพระราชสาส์นของอาณาจักรสยามที่ทรงตอบพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส
กลับมาขึ้นเรือศาสตรีคุม ที่เมืองมะริด บาทหลวงตาชาร์ด
จึงถูกเพ่งเล็งจากอาณาจักรสยามว่า
เป็นผู้ให้ความร่วมมือกับฟอลคอนเพื่อยึดอาณาจักรสยามจึงไม่สามารถตกลงเรื่องราวใดๆ
ได้เลย(จากเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งชาติ
ของกระทรวงทหารเรือฝรั่งเศสเกี่ยวกับประเทศสยาม เล่มที่ 4 กรมศิลปากร จัดพิมพ์)
ภายหลังฝรั่งเศสนั้นทำสงครามกับสเปน ในระหว่าง พ.ศ. 2244 2246
จึงทำให้การติดต่อกับสยามว่างเว้นไประยะหนึ่ง
|