จากบันทึกของแกมเฟอร์
จากบันทึกของแกมเฟอร์
กรุงศรีอยุธยาในแผ่นดินสมเด็จพระเพทราชา
นายแพทย์ชาวเยอรมัน ชื่อแกมป์เฟอร์ (Keampfer)
ได้เดินทางมาอาณาจักรสยามพร้อมกับทุตฮอลันดาใน พ.ศ. 2233
เพื่อถวายสาส์นต่อสมเด็จพระเพทราชา แกมป์เฟอร์ มีความสนใจกรุงศรีอยุธยามาก
ได้ออกเดินเท้าสำรวจไปหลายแห่ง
และเขียนบันทึกไว้อย่างละเอียดและเขียนแผนที่กรุงสยามไว้ด้วย ครั้งนั้นแกมเฟอร์
ได้บันทึกถึงเส้นทางเดินเรือระหว่างเมืองปัตตาเวียกับกรุงศรีอยุธยาไว้ว่า
ออกเดินทางจากเกาะปัตตาเวียผ่านเกาะไอดำ (Eidam)
มาตามชายฝั่งสุมาตรา เข้าช่องแคบบังกาซึ่งอยู่ระหว่างเกาะบังกาและเกาะสุมาตรา
แล่นเรืออ้อมเกาะลิงกัน (Lingan)
เกาะอัวร์ เรือแล่นเลียบฝั่งมลายูผ่านแหลมปัตตานีจนเข้าเขตเมืองนคร (Ligor)
ผ่านเกาะสมุย เมืองกุยบุรี เขาสามร้อยยอด ปราณบุรี เพชรบุรี ยี่สาน แม่กลอง
ท่าจีน ปากแม่น้ำเจ้าพระยา บางกอก
และกรุงศรีอยุธยานอกจากนี้แกมเฟอร์ได้บันทึกเกี่ยวกับถิ่นฐานของชาวต่างประเทศในอยุธยาไว้ว่า
ทางทิศใต้ของอยุธยา มีหนทางแคบๆ ลงสู่แม่น้ำ
ชาวดัทซ์ตั้งโรงงานและร้านค้าที่หรูหราสะดวกสบายบนพื้นที่แห้ง
ต่ำลงไปอีกนิดบนฝั่งเดียวกันนั้น มีหมู่บ้านชาวญี่ปุ่น พะโคและมะละกา
ฝั่งตรงข้ามเป็นหมู่บ้านของพวกลูกครึ่งโปรตุเกสที่เกิดกับคนพื้นเมือง
ถัดออกไปเป็นที่ตั้งของโบสถ์เซนต์โดมิงโกเป็นของบาทหลวงชาวโดมินิกัน
ด้านหลังมีโบสถ์เล็กๆ อีกหลังหนึ่งชื่อเซนต์ ออสติน ไม่ไกลจากนี้เท่าใดนัก
มีโบสถ์เยซูอิต ชื่อ เซนต์พอล ซึ่งเลียนแบบมาจากโบสถ์ใหญ่ในเมืองกัว
ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองบนฝั่งตรงข้ามแม่น้ำมีคลองเล็กๆ แยกออกมา ชื่อ
คลองนามจา (เดี่ยวนี้เรียกคลองตะเคียน)
เจ้าคณะมณฑลได้ร่วมกันสร้างโบสถ์ที่สวยงาม
แต่เดี๋ยวนี้ถูกปิดตายแล้วหลังจากที่ท่านถูกคุมขังชาวโรมันคาทอลิกบอกข้าพเจ้าว่า
มีบรรดาชาวคริสเตียนในอยุธยามากกว่า 3,600 คน
แกมเฟอร์ได้บรรยายว่า ในบรรดาชาติผิวคล้ำแห่งเอเชียทั้งหลาย
สยามเป็นราชอาณาจักรอันเกรียงไกรยิ่งใหญ่ที่สุดและราชสำนักนั้นเล่าก็วิจิตรมโหฬารหาที่เสมอเหมือน
รอบๆ กรุงมีตำบลและหมู่บ้านมากด้วยกัน และอยู่กันในเรือลอยมากกว่าบ้าน
โยกไปย้ายมาจอดอาศัยอยู่ที่โน่นบ้างที่นี้บ้าง ส่วนบ้านเรือนในหมู่บ้าน
ซึ่งปลูกอยู่บนบกนั้นตามปกติสร้างด้วยไม้ไผ่ ตามริมฝั่งแม่น้ำ ปลูกบนเสาสูง
เพื่อมิให้น้ำท่วมถึง
กรุงศรีอยุธยาในต้นรัชกาลนั้นมุ่งแต่การปลดอำนาจของฝรั่งเศสที่มีอยู่ในกรุงศรีอยุธยา
ครั้งสมเด็จพระนารายณ์ เมื่อสามารถแก้ปัญหาได้แล้ว
ก็เกิดปัญหาภายในอาณาจักรสยามขึ้นอีกกล่าวคือ พระยายมราช เจ้าเมืองนครราชสีมา
กับพระยารามเดโช เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชซึ่งเป็นเมืองใหญ่นั้น
เห็นว่าการที่สมเด็จพระเพทราชากับหลวงสรศักดิ์ ทำการชิงอำนาจจากสมเด็จพระนารายณ์
นั้นถือว่าเป็นกบฏ
จึงพากันโกรธแค้นและต่างแข็งเมืองไม่ยอมอ่อนน้อมต่อสมเด็จพระเพทราชา
ทำให้มีการยกกองทัพขึ้นไปปราบปรามหัวเมืองทั้งสองนี้อยู่หลายปี จึงสงบได้
ต่อมาได้เกิดเหตุการณ์จลาจลขึ้นอีก โดยมีมอญคนหนึ่งชื่อ ธรรมเถียร (ธรรมเสถียร)
ได้ปลอมตัวอ้างเป็นเจ้าฟ้าอภัยทศ พระอนุชาของสมเด็จพระนารายณ์
ชักชวนผู้คนให้หลงเชื่อเพื่อจะนำกำลังเข้ามาชิงราชสมบัติกลับคืน
มีผู้คนเชื่อถือจำนวนมากจนจัดเป็นกองทัพเข้ามาถึงชานพระนคร
ในที่สุดก็พ่ายแพ้กองทัพกรุงศรีอยุธยา
จากเหตุการณ์กบฏธรรมเถียรนั้นทำให้ สมเด็จพระเพทราชา
ทรงระแวงสงสัยความซื่อสัตย์ของขุนนางข้าราชการที่เคยช่วยเหลือการชิงราชสมบัติในครั้งก่อน
จนถึงกับมีการจับนายจบคชประสิทธิ์ กรมพระราชวังหลัง กับเจ้าพระยาสุรสงคราม 2
คน ประหารชีวิต ทำให้มีเหตุการณ์วุ่นวายภายในอยู่ระยะหนึ่งต่อมาก็สงบเรียบร้อย
สมเด็จพระเพทราชากับเจ้าฟ้ากรมหลวงโยธาทิพ
พระขนิษฐาของสมเด็จพระนารายณ์นั้นทรงมีพระโอรสทรงพระนามว่า เจ้าฟ้าพระขวัญ
(พระตรัสน้อย)
เป็นเจ้านายที่ขุนนางข้าราชการรักใคร่มากเนื่องจากเป็นเชื้อสายของราชวงศ์กษัตริย์ที่สืบจากสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
จึงเป็นเหตุให้ขุนหลวงสรศักด์ พระมหาอุปราช
นั้นเห็นว่าในวันข้างหน้านั้นจะได้รับการสนับสนุนให้เป็นรัชทายาทแทนตน
ในระหว่างที่สมเด็จพระเพทราชากำลังประชวรหนักนั้น จึงทำการล่อลวงเอาตัว
เจ้าฟ้าพระขวัญ มาสำเร็จโทษเสียด้วยท่อนจันทน์
เมื่อความนี้ล่วงรู้ไปถึงสมเด็จพระเพทราชา ก็ทรงพิโรธขุนหลวงสรศักดิ์มาก
จึงให้มอบเวนสมบัติให้กับ เจ้าพระยาพิชัยสุรินทร์เสีย
แต่เจ้าพระยาพิชัยสุรินทร์นั้นเห็นว่าตนเองไม่ปลอดภัยในการที่จะขึ้นครองราชสมบัติจึงยอมถวายให้ขุนหลวงสรศักดิ์แต่โดยดีสมเด็จพระเพทราชา
นั้นครองราชย์อยู่ 15 ปี ก็เสด็จสวรรคต ใน พ.ศ. 2246 ขุนหลวงสรศักดิ์
จึงขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์กรุงศรีอยุธยาต่อมา
สมเด็จพระเพทราชา หรือ สมเด็จพระมหาบุรุษ มีพระชนมายุ 56
พรรษา ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2231 รัชกาบนี้มีพระบรมศพสมเด็จพระนารายณ์
เกิดเหตุปราบกบฏธรรมเสถียร ข้าหลวงเดิมของเจ้าฟ้าอภัยทศ
ได้ยกทัพไปตีเมืองนครราชสีมา
สร้างพระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์มีการส่งราชทูตไปฝรั่งเศส
ได้ช้างเผือกจากเมืองสวรรคโลก เขมรสวามิภักดิ์เกิดกบฏบุญกว้างปลายรัชกาล
สมเด็จพระเพทราชาประชวร 15 วัน อาการโรคกำเริบ
ขุนหลวงสรศักดิ์จึงสำเร็จโทษเจ้าฟ้าพระขวัญ พระองค์อยู่ในราชสมบัติได้ 15 ปี
ก็สวรรคต พ.ศ. 2246 บางแห่งว่าครองราชย์ พ.ศ. 2224 2240 (15 ปี)
ศักราชไม่ตรงกัน
|