ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (สมเด็จพระเจ้าเสือ)
ครองราชย์ พ.ศ. 2246 2251
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือ สมเด็จพระเจ้าเสือนี้
เป็นพระโอรสของสมเด็จพระเพทราชามีพระนามเดิมว่า เดื่อ
ต่อมาได้รับราชการเป็นหลวงสรศักดิ์
และได้ช่วยสมเด็จพระเพทราชาชิงอำนาจได้รับแต่งตั้งเป็น ขุนหลวงสรศักดิ์
พระมหาอุปราช ครั้นเมื่อสมเด็จพระเพทราชาประชวรหนักนั้น ขุนหลวงสรศักดิ์
ได้นำเอาตัว เจ้าฟ้าพระขวัญ (พระตรัสน้อย)
พระโอรสของสมเด็จพระเพทราชาไปสำเร็จโทษ
และทำการกำจัดพวกที่นิยมเจ้าฟ้าพระขวัญเป็นจำนวนมาก
ต่อมาเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2245 สมเด็จพระเพทราชาเสด็จสวรรคตลง
ขุนหลวงสรศักดิ์พระมหาอุปราช จึงได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า
สมเด็จพระเจ้าเสือ พร้อมกันนั้นพระองค์ได้แต่งตั้งให้ เจ้าฟ้าเพ็ชร
พระโอรสองค์ใหญ่เป็น พระมหาอุปราช และตั้งเจ้าฟ้าพร พระโอรสองค์น้อยเป็น
พระบัณฑูรน้อย
สมเด็จพระเจ้าเสือ นั้นมีความนัยเล่าว่า เมื่อครั้งสมเด็จพระนารายณ์
ยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. 2205 นั้น
เมื่อมีชัยชนะได้เมืองเชียงใหม่แล้ว ขณะที่พระองค์ทรงประทับที่เมืองเชียงใหม่นั้น
ทรงมีบาทบริจาริกาเป็นกุลธิดาชาวเชียงใหม่ และนางนั้นได้เกิดมีพระครรภ์ขึ้น
พระองค์จะทรงเลี้ยงดูก็ละอายพระทัย
ดังนั้นเมื่อมีการปูนบำเหน็จความชอบให้กับแม่ทัพนายกองและข้าราชการ
พระองค์จึงพระราชทานนางนั้น (มีครรภ์อ่อน) ให้กับพระเพทราชา
ซึ่งเป็นแม่ทัพทำการสู้รบมีความชอบ
ต่อมานางนั้นได้คลอดบุตรเป็นชาย พระเพทราชาให้ชื่อว่า เดื่อ
ต่อมาได้นำมาถวายเป็นมหาดเล็กของสมเด็จพระนารายณ์
พระองค์ทรงชุบเลี้ยงนายเดื่อโดยให้ความกรุณาอย่างพระราชบุตร
และตั้งเป็นหลวงสรศักดิ์
ด้วยการได้รับการทำนุบำรุงจากพระเจ้าเหนือหัวอย่างดีนั้นทำให้หลวงสรศักดิ์ถือตัวว่าเป็นพระโอรส
ทำให้มีความทะนงองอาจกล้าที่จะทำการต่างๆ
จนทำให้พระเพทราชาจำต้องชิงราชสมบัติขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์
ด้วยเหตุนี้ในจดหมายของฝรั่งเศส จึงมักจะกล่าวอ้างว่า หลวงสรศักดิ์นั้นเป็น
พระโอรสของสมเด็จพระนารายณ์ ไปด้วย
เช่นเดียวกันเรื่องเช่นนี้ก็ไม่น่าเชื่อได้ว่าหลวงสรศักดิ์ เป็นพระโอรสไปได้
หากมีการพระราชทานนางให้บำเหน็จแก่พระเพทราชาจริงก็อยู่ในธรรมเนียมการให้ยศให้นาง
การที่นางมีหน่อเนื้อเชื้อกษัตริย์แล้วก็ทรงเลี้ยงดูได้เพราะเหตุที่สมเด็จพระนารายณ์ไม่มีพระโอรสอยู่แล้ว
ตังจะเห็นว่าพระองค์ยังทรงมีพระปีย์ (จากราชินิกุลญาติทางพระชายา)
มาเลี้ยงดูดั่งพระโอรสเช่นกัน หลวงสรศักดิ์ก็น่าจะเช่นเดียวกัน
ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเสือ
นั้นมีพระประสงค์จะฟื้นฟูความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสขึ้นใหม่ หลังจากไม่ได้ติดต่อกัน
15 ปี พระองค์จึงติดต่อกับสังฆราช เดอ ซิเซ
ผู้ดำรงตำแหน่งประมุขคริสต์ในสยามแทนสังฆราชลาโน แต่ไม่สำเร็จ
ด้วยในขณะนั้นได้มีคณะบาทหลวงฝรั่งเศส มาประจำอยู่ที่เมืองจันทบูร
และเมืองมะริดแล้วโดยมี สังฆราช เดอ เกราเลย์ รับหน้าที่ต่อจาก สังฆราช เดอ
ซิเซ
ประจวบกับช่วงเวลานั้น ทางญี่ปุ่น โชกุน ไทโกสะมะ
และพระเจ้าจักรพรรดิญี่ปุ่นต่อต้านพวกคริสต์ในญี่ปุ่นอย่างรุนแรง
ถึงขึ้นฆ่าบาทหลวง
ห้ามชาวคริสต์ทุกคนเข้าญี่ปุ่นจึงเป็นเหตุให้ชาวคริสต์ส่วนหนึ่งต่างพากันหนีมาอยู่ที่แผ่นดินของอาณาจักรสยาม
สมเด็จพระเจ้าเสือนั้นไม่ปรากฏว่าได้จัดแจงบ้านเมืองอย่างใด
เนื่องจากการขุดคลองโคกขามเพื่อให้เป็นเส้นทางตรงใช้เดินทางไปสู่ทะเล
พระองค์ทรงโปรดการต่อยมวยถึงกับปลอมพระองค์เข้าไปเอาชนะกับชาวบ้าน
พระอง์มีพระทัยโหดร้ายทารุณปราศจากศีลธรรม ลุอำนาจในเรื่องราคะตัณหา
แล้วยังโปรดในการล้อมช้าง ล่าสัตว์ และตกปลา โปรดที่จะเสวยเพดานของปลากระโห้
ดังนั้นเมื่อ พ.ศ. 2247 สมเด็จพระเจ้าเสือ
ได้เสด็จทางชลมารคไปทรงเป็ดที่ปากน้ำเมืองสาครบุรี เพื่อตกปลาบริเวณคลองโคกขาม
(บริเวณจังหวัดสมุทรสาครปัจจุบัน
ด้วยปลากระให้ชอบอยู่ที่น้ำเค็มกับน้ำจืดผสมกันเป็นน้ำกร่อย
จึงชุกชุมอยู่แถวบริเวณใกล้ปากน้ำ) แต่เนื่องจากคลองโคกขามนั้นคดเคี้ยวมาก
พันท้ายนรสิงห์ (ตำแหน่งนายท้ายเรือ) ซึ่งเป็นนายท้ายเรือนั้นคัดท้ายเรือไม่ไหว
จึงทำให้เรือพระที่นั่งเอกชัย ชนกิ่งไม้ริดฝั่งทำให้หัวเรือหักลง
พันท้ายนรสิงห์ขอให้ประหารชีวิตตนตามกฎมณเทียรบาลเพื่อรักษาพระราชอำนาจของกษัตริย์แม้สมเด็จพระเจ้าเสือจะทรงพระราชทานอภัยโทษและให้ประหารหุ่นแทนก็ไม่ยอมรับ
พันท้ายนรสิงห์จึงถูกประหารชีวิตตามกฎมณเฑียรบาลซึ่งปรากฎในพระราชกำหนดว่า
ถ้าแหละพันท้ายผู้ใดถือท้ายเรือพระที่นั่งให้หัวเรือพระที่นั่งนั้นหัก
ท่านว่าพันท้ายผู้นั้นถึงมรณโทษให้ตัดศรีษะเสีย
จึงเป็นวีรกรรมที่เล่าขานยกย่องในประวัติศาสตร์มาถึงบัดนี้
ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเสือเมื่อ พ.ศ. 2249
นั้นได้เกิดฟ้าผ่ายอดมณฑปวิหารของพระมงคลบพิตรทำให้เกิดไฟไหม้มณฑปตกมาถูกพระศอ
(คอ) ของพระมงคลบพิตรหักเศียรตกลงมายังพื้น จึงโปรดให้บูรณะก่อมณฑปใหม่
พระมงคลบพิตรนี้เชื่อกันว่าพระพุทธรูปโบราณเป็ฯพระพุทธรูปทำด้ยอิฐลงรักปิดทองไม่ทราบแน่ชัดว่าสร้างเมื่อใด
รัชกาลของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมนั้นพระองค์โปรดให้ชะลอมาจากวัดชีเชียงทางทิศตะวันออกของพระราชวังหลวงมายังทิศตะวันตก
เพราะต้องการขยายพระราชวัง (ต่อมาหลังเสียกรุงครั้งที่ 2
ได้มีคนร้ายไปขุนค้นหาสมบัติในองค์พระมงคลบพิตรจนชำรุด พระเมาฬี (ยอดผม)
หักและพระกร (แขนป ขวาขาดตกลงมา ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6
พระยาโบราณราชธานินทร์ สมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยาได้ซ่อมองค์พระจนคืนดี และ พ.ศ.
2498 สมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามได้มีการสร้างพระวิหารขึ้นใหม่ตามแบบของกรมศิลปากร
แผ่นดินของสมเด็จพระพุทธเจ้าเสือนั้น มีพระสงฆ์องค์หนึ่งสึกออกมาชื่อ ธรรมเถียร
มีคนเชื่อถือมาก ได้อ้างตัวเป็น เจ้าฟ้าพระขวัญ
พระโอรสของพระเพทราชาที่สมเด็จพระเจ้าเสือทรงให้สำเร็จโทษแต่แอบอ้างว่าเจ้าฟ้าพระขวัญนั้นหนีไปได้
ธรรมเถียรจึงขี่ช้างรวมพลเข้ามายังกรุงศรีอยุธยา เพื่อก่อการยึดอำนาจ
สมเด็จพระเจ้าเสือทรงยิงปืนยาวจากป้อมมหาไชยไปถูกธรรมเถียรตกจากหลังช้างเสียชีวิต
หลังจากกรณีพันท้ายนรสิงห์แล้วได้โปรดให้ขุดคลองสนามชัยจากปากน้ำสาครบุรี
(สมุทรสาคร) เพื่อให้ออกไปทะลุแม่น้ำเจ้าพระยาที่พระประแดง
โดยให้ฝรั่งส่องกล้องแก้วเอาไม้หักเป็นแนวคลอง
ปากคลองกว้างแปดวาพื้นคลองกว้างห้าวา สึกหกศอก
แล้วให้พระราชสงครามเป็นแม่กองเกณฑ์คนทำการขุดคลองแต่ไม่ทันเสร็จ
ก็สิ้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเสือเสียก่อน
สมเด็จพระเจ้าเสือนั้นต่อมาทรงประชวรหนัก และทรงพระพิโรธเจ้าฟ้าเพชร
พระมหาอุปราช ทำให้พระองค์ทรงเวนราชสมบัติให้แก่ เจ้าฟ้าพร พระบัณฑูรน้อย
เมื่อสมเด็จพระเจ้าเสือเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ปีชวด พ.ศ. 2251
รวมมีพระชนม์ 45 พรรษา ครองราชย์อยู่ 7 ปี เจ้าฟ้าพร พระบัณฑูรน้อย
ก็ยอมเวนคืนราชสมบัติให้เจ้าฟ้าเพชร ครองราชย์เป็นกษัตริย์ต่อมา
สมเด็จพระเจ้าเสือหรือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 คือ
ขุนหลวงสรศักดิ์มีพระชนมายุ 36 พรรษา ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2246 รัชกาลนี้
มีพระราชพิธีพระบรมศพพระราชบิดา
ให้สร้างพระอารามที่บ้านโพธิ์ประทับช้างอสุนีบาตต้องยอดพระมณฑปวัดมงคลบพิตร
เสด็จนมัสการพระพุทธบาทเสด็จประพาสเมืองเพชรบุรี เมืองสาครบุรี
และเกิดคดีประหารพันท้ายนรสิงห์ จึงโปรดให้ขุดคลองโคกขาม ปลายรัชกาล เมื่อ พ.ศ.
2249 สมเด็จพระเจ้าเสือมีพระชนมายุได้ 45 พรรษาทรงประชวรอยู่ ณ
พระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์และสวรรคตในปี พ.ศ. 2451 นั้น บางแห่งว่าครองราชย์
พ.ศ. 2240 2251 (11 ปี) ศักราชไม่ตรงกัน)
|