ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
สมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ์ (เจ้าฟ้าพร)
ครองราชย์ พ.ศ. 2275 2301
สมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ์ คือ เจ้าฟ้าพร พระโอรสของสมเด็จพระเจ้าเสือ
ได้รับแต่งตั้งเป็นพระบัณฑูรน้อย พระมหาอุปราชในแผ่นดินของสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ
ซึ่งเป็นพระเชษฐาธิราช ภายหลังได้ชิงราชสมบัติกับ เจ้าฟ้าอภัย
และเจ้าฟ้าปรมเมศร์ พระโอรสของสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ
มีชัยชนะได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช
(บางแห่งว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3) แต่ที่รู้จักนิยมเรียกคือ
ขุนหลวงบรมโกษฐ์ หรือสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ์
ด้วยเหตุที่ต้นรัชกาลนั้นได้มีสงครามกลางเมืองชิงอำนาจกันระหว่างวังหลวง
(เจ้าฟ้าอภัย) และวังหลัง (พระบัณฑูรน้อย) ดังนั้น ฝ่ายที่แพ้ คือ
วังหลวงนั้น มีข้าราชการวังหลวงเป็นพวกด้วยจำนวนมาก
จึงทำให้ข้าราชการถูกกำจัดมากกว่าทุกครั้งที่มีการชิงอำนาจกัน
ทำให้ฝ่ายที่เป็นศัตรูกับพระเจ้าเหนือหัวต่างพากันหลบหนีจากกรุงศรีอยุธยาไปหลบซ่อนตัวอยู่ตามหัวเมืองต่างๆ
ทำให้กำลังฝ่ายพระนครนั้นอ่อนกำลังลง
จนเชื่อว่าหากมีศึกสงครามมาในเวลานั้นก็ยากที่จะสู้รบเอาชัยชนะได้
ประจวบกับเป็นช่วงที่ประเทศต่างๆ นั้นต่างเสื่อมโทรมไปตามกัน เช่น
กัมพูชานั้นยอมขึ้นกับอาณาจักรสยามโดยไม่ต้องรบพุ่งกัน
พ.ศ. 2271 อาณาจักรสยามนั้นมีเรือสำเภาจีนเข้าเจริญสัมพันธไมตรีจำนวน 8 ลำ
และกรุงศรีอยุธยาได้ส่งคณะราชทูตสยามไปเมืองจีนเป็นการตอบแทนด้วย
ในรัชการสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ์ช่วง พ.ศ. 2276 2301 นั้น
เนื่องจากมีการกำจัดขุนนางข้าราชการในวังหลวง
ส่วนใหญ่เป็นคนของเจ้าฟ้าอภัยและเจ้าฟ้าปรเมศร์เกือบทั้งหมดจึงทำให้กำลังทหารอ่อนแอลง
ดังนั้น
ตอนต้นรัชกาลนี้พระองค์จึงทรงตั้งข้าราชการและราชวงศ์ขึ้นมาทดแทนเป็นจำนวนมาก
เช่น แต่งตั้ง เจ้าฟ้ากุ้ง เป็นเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ พระมหาอุปราช
เจ้าฟ้าอุทุมพรเป็นกรมพระราชวังบวรฯ
ต่อมาได้มีเหตุการณ์ภายในเช่นมีการล้อมจับช้างที่เมืองลพบุรี
แล้วพวกจีนในไข่ยกคนเข้าปล้นพระราชวัง เขมรถวายช้างเผือก
และรัชกาลนี้ได้ทำการปฏิสังขรณ์วัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดภูเขาทอง วัดกุฎีดาว
ตลอดจนสมโภชพระพุทธบาทตอนปลายรัชกาล
สมเด็จพระบรมโกษฐ์นั้นต้องฟื้นฟูอาณาจักรสยามในทุกด้านเช่น การส่งเสริมด้านการค้า
ด้านอักษรศาสตร์ และวัฒนธรรม เป็นต้น และได้มีการแต่งวรรณคดีสำคัญหลายเรื่อง
เช่น อิเหนา กาพย์เห่เรือ บุณโณวาทคำฉันท์
กลบทศิริวิบุลกิติโคลงชะลอพระพุทธไสยาสน์ เป็นต้น
ต่อมาเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2279
ฝ่ายสยามได้ถืออาวุธไปล้อมหมู่บ้านฮอลันดาในกรุงศรีอยุธยา
สาเหตุจากการขัดแย้งกันในเรื่องการตีราคาผ้าที่นำมาจากอินเดีย
พ.ศ. 2280 สมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ์เสด็จไปนมัสการพระพุทธบาทสระบุรี
โดยเสด็จทางชลมารคทางลำน้ำป่าสักถึงเมืองท่าเรือแล้วเสด็จโดยสถลมารค
ผ่านบางโขมดถึงวัดพระพุทธบาท การเดินทางครั้งนี้ นาย
Jacobus
van den Heuvel
พ่อค้าชาวฮอลันดาได้ตามเสด็จและบันทึกเหตุการณ์ไว้ ว่าได้ไปที่ถ้ำประทุน
และธารทองแดง ได้ดูละครด้วย บริษัท
VOC
ของฮอลันดาซื้อหนังกวาง หนังปลากระเบน
และไม้ฝางของสยามส่งไปขายญี่ปุ่นทีเมืองนางาซากิ และส่งดีบุก
ตะกั่วและงาช้างไปขายที่เมืองปัตตาเวีย
พ.ศ. 2294 ประเทศทางด้านตะวันตก
คือพม่านั้นได้เกิดกบฏพวกมอญและพม่าได้เสียเมืองอังวะให้แก่พวกมอญ
เหตุการณ์นั้นสืบเนื่องจาก สมิงทอ
หัวหน้าพวกมอญได้ราชาภิเษกตั้งตนเป็นพระเจ้าหงสาวดี
แล้วทำการแข็งเมืองเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อพระเจ้าอังวะ
พร้อมกันได้ส่งคนมาทำการสู่ขอพระธิดาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์
กับพระธิดาของพระเจ้าเชียงใหม่ไปเป็นมเหสี
สมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ์ทรงขัดเคืองไม่ยอมยกให้
ส่วนพระเจ้าเชียงใหม่นั้นยอมยกพระธิดาไปอภิเษกเป็นมเหสีของสมิงทอ
เพื่อจะเป็นไมตรีกับเมืองหงสาวดี ดังนั้น เมื่อพวกมอญทำการแข็งเมืองขึ้น
จึงทำให้พวกพม่าที่ตกค้างอยู่ในเมืองเมาะตะมะเป็นจำนวนมากหวาดกลัว
จะพากันหนีกลับไปเมืองอังวะก็ไม่ได้
ด้วยเหตุที่เส้นทางกลับนั้นต้องผ่านหัวเมืองของพวกมอญที่เป็นกบฏหลายเมือง
พวกพม่าจึงพากันอพบพครอบครัวประมาณ 300 คน ลงเรือหนีมาทางเมืองตะนาวศรี
สมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ์ได้เห็นแก่มนุษยธรรม
จึงโปรดให้นำกำลังไปรับพวกพม่าอพยพนั้นเข้ามาไว้ยังกรุงศรีอยุธยา
พระราชทานที่ดินให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้วัดมณเฑียร
การช่วยเหลือให้ชาวพม่าหนีภัยและมีความสุขอยู่ในกรุงศรีอยุธยานั้น
ทำให้พระเจ้าอังวะแต่งราชทูตมาขอบคุณในความช่วยเหลือเมื่อ พ.ศ. 2287
จากนั้นพระเจ้าอังวะได้พยายามที่จะปราบปรามพวกมอญที่แข็งเมือง
แต่ในขณะนั้นกำลังของพม่าอ่อนแอลง ในที่สุดพระยาทะละ ขุนนางผู้ใหญ่ของสมิงทอ
ได้เข้าชิงราชสมบัติขึ้นครองเมืองหงสาวดีเสียเอง
แล้วยกทัพออกทำศึกปราบปรามพวกพม่า จนในที่สุดพม่าก็เสียเมืองอังวะแก่พวกมอญ
เมื่อ พ.ศ. 2294
ต่อมา มังออง ไจยะ ชาวพม่าซึ่งมีอาชีพเป็นพราน
ได้ทำการซ่องสุมผู้คนเป็นจำนวนมากเข้าทำการกู้บ้านเมืองให้กลับคืนมาเป็นพม่า
ครั้งนั้นพวกมอญได้จัดกองทัพเข้าทำการสู้รบปราบปรามก็พ่ายแพ้แตกพ่ายไป มังออง
ใจยะ จึงสร้างเมืองรัตนสิงห์ ขึ้นที่บ้านมุตโขโบ ซึ่งเป็นถิ่นที่ตนเคยอยู่อาศัย
แล้วตั้งตนเป็นพระเจ้าแผ่นดิน มีพระนามว่า พระเจ้าอลองมินตยาคยี
คนทั้งหลายเรียกว่า พระเจ้าอลองพญา
เมื่อพระเจ้าอลองพญามีกำลังมากขึ้นทำการสงครามบุกรุกตีเอาเมืองของพวกมอญได้
ในที่สุดพระเจ้าลองพญาได้ให้ มังระราชบุตร
คนที่สองคุมกองทัพเข้าตีเอาเมืองอังวะกลับคืนมาได้ เมื่อ พ.ศ. 22.96
แล้วก็ยกทัพเลยมาตีเอาเมืองแปรได้อีกเมืองหนึ่ง
พ.ศ. 2293 นั้นพระเจ้าอลองพญา ได้ยกกองทัพเรือลงมาตรีได้เมืองร่างกุ้ง
เมืองพะสิม เมืองสิเรียม แล้วยกกองทัพเลยลงมาล้อมเมืองหงสาวดี
ขณะนั้นเมืองหงสาวดีของพวกมอญเกิดข้าวยากหมากแพงอัตคัตเสบียงอาหารจึงทำให้พวกมอญไม่สามารถอยู่ป้องกันเมืองต่อไปได้
จึงเสียเมืองหงสาวดีแก่พม่าใน พ.ศ. 2300
เมื่อพม่าสามารถตีเอาเมืองหงสาวดีกลับคืนได้แล้วก็สามารถมีอำนาจรวมพม่ามอญไว้ในอาณาจักรทั้งหมด
ส่วนพวกมอญที่พ่ายแพ้พม่าคราวตีเอาเมืองหงสาวดี
นั้นได้แตกหนีเข้ามาพึ่งพระบารมีของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์
ซึ่งพระองค์ก็ทรงโปรดให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ชานพระนคร เช่น บ้านโพธิ์สามต้น
ส่วนเมืองลังกานั้น ใน พ.ศ. 2294 ได้เกิดเหตุการณ์สิ้นสมณวงศ์
พระเจ้ากรุงลังกาจึงได้ของพระสงฆ์จากอาณาจักรสยามไปทำการอุปสมบทให้กับพระลังกา
ในการนี้บริษัทอีสต์อินเดียของฮอลแลนด์ ได้จัดเรือส่งพระสงฆ์ไทย 18 รูป
ไปทำการบวชพระภิกษุลังกา
ด้วยพระเจ้ากรุงลังกานั้นได้ส่งราชทูตเดินทางมาขอพระภิกษุไปสืบพระพุทธศาสนาในลังกาที่เสื่อมลง
สมเด็จพรเจ้าบรมโกษฐ์ พระเจ้าแผ่นดินสยามจึงทรงให้พระอุบาลี พระริยมุนี
และพระสงค์อีก 50 รูปเดินทางไปลังกา โดยนำพระพุทธรูป พระพุทธปฏิมากรห้ามสมุทร
กับพระไตรปิฏก ไดด้วย
(พระไตรปิฎกฉบับดังกล่าวทางเมืองลังกาได้รักษาไว้อย่างดีจนถึงปัจจุบันและมีพระสงฆ์นิกายสยามวงศ์ในลังกาด้วย)
วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2294 คณะสมณทูตลังกาได้เดินทางมากรุงศรีอยุธยา
พรรณนาไว้ว่า ภายใน กำแพงเมืองมีคลองหลายสาย ยืนแนวเดียวกัน
มีเรือแลผู้คนที่ไปในทาเรือมากมายเหลือที่จะพรรณนา...
ร้านรวงขายสินค้าสิ่งของต่างๆ ตลอดจนพระพุทธรูปทองก็มีขาย
คณะสมณทูตชาวลังกาที่เข้ามากรุงสยามจดบันทึกไว้ว่า วันพุธ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน
7 นำร่องพาเรือกำปั่นแล่นเข้าปากน้ำ
ไปจอดที่ตำบลอัมสเตอร์ดัมที่พวกวิลันดาสร้างขึ้นไว้ที่ปากน้ำ
ในการส่งสมณทูตไทยไปลังกาครั้งที่ 2 พ.ศ. 2295 ได้มีบันทึกว่า วันจันทร์
เดือนยี่ ขึ้น 15 ค่ำ ออกเรือจากเมืองธนบุรี ไปยังตึกวิลันดา ณ บางปลากด
สมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ์ ทรงมีพระโอรสเป็นเจ้าฟ้า 3 องค์คือ
เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์หรือ เจ้าฟ้ากุ้ง พระโอรสองค์ใหญ่ทรงตั้งเป็น
กรมขุนเสนาพิทักษ์ ตำแหน่งพระมหาอุปราช
เจ้าฟ้าเอกทัศน์ พระโอรสองค์กลาง ทรงตั้งเป็นกรมขุนอนุรักษ์มนตรี
และเจ้าฟ้าอุทุมพร พระโอรสองค์น้อย ทรงตั้งเป็นกรมขุนพรพินิต)
นอกจากนี้สมเด็จพระบรมโกษฐ์ยังมีพระโอรสที่เป็นพระเจ้าชายอีก
4 คน คือพระองค์เจ้าแขก ได้รับแต่งตั้งเป็น กรมหมื่นเทพพิพิธพระองค์เจ้ามังคุต
เป็นกรมหมื่นจิตต์สุนทร
พระองค์เจ้ารถ เป็น กรมหมื่นสุนทรเพทและพระองค์เจ้าปาน เป็นกรมหมื่นเสพภักดี
พระองค์เจ้าทั้งสี่พระองค์นี้มี
กรมหมื่นเทพพิพิธองค์เดียวที่ทรงชอบกับพระมหาอุปราช อีกพระองค์เจ้าอีก 3
องค์นั้นเป็นศัตรูกับเจ้าฟ้าและกล่าวโทษพระมหาอุปราชว่าเป็นชู้กับเจ้าฟ้าสังวาลย์
พระชายาองค์หนึ่งของพระบิดา ทำให้เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์นั้นถูกพิจารณา
เมื่อรับว่าเป็นความจริงจึงทำให้ต้องพระอาญาโบยและสิ้นพระชนม์ในระหว่างลงอาญานั้น
จากนั้นมาเจ้าฟ้า 2 องค์คือ เจ้าฟ้าเอกทัศน์ และเจ้าฟ้าอุทุมพร
จึงเป็นศัตรูกับพระองค์เจ้า 3 องค์
พ.ศ. 2300 นั้นสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ์
เห็นว่าเจ้าฟ้าเอกำทัศน์หรือกรมุขนอนุรักษ์มนตรีนั้น
โฉดเขลาไม่มีสติปัญญาและความเพียร จึงให้ออกผนวชเสีย
แล้วพระองค์ก็แต่งตั้งให้เจ้าฟ้าอุทมพร เป็นพระมหาอุปราช
ต่อมาสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ์ทรงประชวรหนักเจ้าฟ้าเอกทัศน์
ที่ทรงผนวชอยู่ได้ลอบลาผนวชเข้าไปอยู่ในพระราชวังหลวง
ส่วนพระองค์เจ้าทั้งสามนั้นก็เตรียมรวบรวมกำลังผู้คนและเครื่องราชูปโภคตามพลการ
ดังนั้นเมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ์ พระชันษา 78 ปี ครองราชย์ได้ 26 ปี
ได้สวรรคตใน พ.ศ. 2301 นั้น เจ้าฟ้าอุทุมพรหรือกรมขุนพรพินิต พระมหาอุปราช
จึงขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์สืบต่อมา
สมเด็จพระบรมโกษฐ์ หรือ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 คือ
เจ้าฟ้าพร พระบัณฑูรน้อย ผู้เป็นพระอนุชาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ
มีพระชนมายุ 51 พรรษา ได้ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2275
รัชกาลนี้ทรงตั้งข้าราชการและราชวงศ์ มีการล้อมจับช้างที่เมืองลพบุรี
พวกเจ็ลในไข่ยกคนปล้นพระราชวัง เขมรถวายช้างเผือก ตั้งกรมขุนเสนาพิทักษ์
(เจ้าฟ้ากุ้ง) เป็นมหาอุปราชต่อมาต้องพระอาญาทิวงคต
ทำการปฏิสังขรณ์วัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดภูเขาทอง มอญอพยพเข้ามาพึ่งกรุงศรีอยุธยา
ตั้งกรมขุนพรพินิตเป็นกรมพระราชวังบวรฯ
มีการสมโภชพระพุทธบาทปลายรัชกาลสมเด็จพระบรมโกษฐ์มีพระชนมายุ 78 พรรษา
(บางแห่งว่า 77 พรรษา) ทรงประชวรสวรรคต พ.ศ. 2301 อยู่ในราชสมบัติ 26 ปี
(บ้างว่า 21 ปี) เนื่องจากสมเด็จพระบรมโกษฐ์ทรงมีพระราชโอรสหลายพระองค์
ดังนั้น กรมขุนอนุรักษ์มนตรี จึงได้จับกุมกรมหมื่นจิตต์สุนทร
กรมหมื่นสุนทรเพทและกรมหมื่นเสพภักดี สำเร็จโทษที่ตึกพระคลังศุภรัตน์
แต่ให้กรมขุนพรพินิตครองราชย์สมลัติตามที่สมเด็จพระราชบิดาสั่งไว้
กรมขุนอนุรักษ์มนตรีเสด็จไปอยู่พระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ (ครองราชย์ พ.ศ. 2275
2301 (26 ปี) ศักราชตรงกัน
|