ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
สมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศน์)
ครองราชย์ พ.ศ. 2301 2310(1)
สมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ คือ เจ้าฟ้าเอกทัศน์
พระโอรสองค์น้อยของสมเด็จพระบรมโกษฐ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นกรมขุนอนุรักษ์มนตรี
ต่อมาพระราชบิดาให้ทรงผนวชเสีย เพื่อแต่งตั้งให้เจ้าฟ้าอุทุมพร
พระอนุชาเป็นพระมหาอุปราชแทน เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์
พระโอรสองค์ใหญ่ที่ต้องพระอาญาสิ้นพระชนม์ ครั้นเมื่อสมเด็จพระบรมโกษฐ์สวรรคต
เจ้าฟ้าอุทุมพรพระอนุชาขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แล้ว
เจ้าฟ้าเอกทัศน์ได้ลาผนวชออกมาตั้งองค์เป็นอิสระอยู่ในพระราชวังหลวง
ทำให้สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรนั้นยอมเวนราชสมบัติให้ครองราชย์เป็นกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา
ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาที่ 3 แต่คนทั่งไปพากันเรียกตามลักษณะว่า
ขุนหลวงเอกทัศน์ ขุนหลวงขี้เรื้อน และขุนหลวงสุริยาสน์อมรินทร์
ตามชื่อพระที่นั่งที่ประทับ
สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ครองราชย์ยังไม่ทันถึงปีก็เกิดเหตุการณ์วุ่นวาย
เนื่องจากการที่สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ครั้งนี้
ทำให้กรมหมื่นเทพพิพิธ ซึ่งออกผนวชอยู่ที่วัดกระโจมนั้นไม่พอพระทัย
จึงคบคิดกันกับ เจ้าพระยาอภัยราชา พระยายมราช และพระเพชรบุรี
ก่อการชิงราชสมบัติ โดยประสงค์ที่จะอัญเชิญ
พระภิกษุเจ้าห้าอุทุมพรนั้นกลับมาขึ้นครองราชย์ตามเดิม
แต่พระภิกษุเจ้าฟ้าอุทุมพรนั้นเมื่อรู้ความจึงได้นำความมาทูลให้สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์รู้พระองค์
พร้อมกับขอให้อย่าได้มีการฆ่าฟันพวกที่คิดร้ายนั้น หากจับได้ให้เพียงแต่เนรเทศ
กรมหมื่นเพทพิพิธไปเสียที่ลังกาทวีป และนำตัวขุนนางข้าราชการนั้นจำไว้
ภายหลังเมื่อมีการปราบปรามกบฏและทำตามที่พระภิกษุเจ้าฟ้าอุทุมพรได้ขอได้แล้ว
กล่าวคือ เมื่อ พ.ศ. 2301 อาณาจักรสยามได้ส่งพระสงฆ์ 5 รูป
ไปผลัดกับพระสงฆ์ชุดก่อนที่กรุงลังกา โดยอาศัยเรือกำปั่นทูตฝรั่ง
ในการนี้สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ได้ส่ง กรมหมื่นเทพพิพิธ พระอนุชาต่างมารดา
โอรสสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ์ ซึ่งขัดแย้งกับสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์นั้น
เนรเทศไปอยู่เสียที่กรุงลังกาด้วย
ต่อมาได้เกิดสงครามขึ้น สำหรับเหตุที่ทำให้พม่าต้องทำสงครามกับอาณาจักรสยามนั้น
เนื่องจากพวกมอญได้คุมพรรคพวกเข้าไปปล้นเอาเมืองสิเรียม
ซึ่งตั้งอยู่ทางปากแม่น้ำเมืองหงสาวดี ทำให้พวกพม่าที่อยู่ใกล้เคียงกัน
ยกกองทัพจะมาตีเอาเมืองสิเรียมกลับคืน
พวกมอญเห็นว่าพม่ามีกำลังมากทำการสู้รบไม่ได้
จึงทำการรวบรวมทรัพย์สินขนลงเรือกำปั่น ฝรั่งเศสหลบหนีออกจากเมืองสิเรียม
เรือกำปั่นนั้นถูกพายุที่พัดมาจากทางตะวันออกทำให้เสียหาย
พวกมอญจึงนำเรือกำปั่นนั้นแวะมาหลบที่เมืองมะริดของอาณาจักรสยาม
พม่าที่ติดตามมาได้ขอให้เมืองมะริดจับตัวพวกมอญส่งไปให้
แต่เมืองมะริดนั้นอ้างว่าไม่มีเหตุใดที่จะจับกุมพวกมอญไว้
จึงปล่อยให้ซ่อมแซมเรือเสร็จแล้วปล่อยให้เดินทางต่อไป ทำให้พระเจ้าอลองพญา
เมืองหงสาวดี เมื่อรู้ความก็ขัดเคืองพระทัย จึงได้แต่นิ่งเฉยอยู่
จนเมื่อ พ.ศ. 2302 พระเจ้าฉลองพญา ได้ให้ มังระ พระราชบุตรคนที่ 2
ยกกองทัพมาตีเมืองทวาย ที่ยังแข็งเมืองอยู่ แล้วก็ให้เลยมาตีเอาเมืองมะริด
เมืองตะนาวศรีของอาณาจักรสยามไปได้โดยง่าย
จึงทำให้ประหลาดใจว่ากำลังของอาณาจักรสยามทำไมจึงอ่อนแอถึงเพียงนี้
จึงทำให้คิดการใหญ่ต่อไปโดยจะยกทัพเลยเข้าไปตีเอากรุงศรีอยุธยาเสีย
พระเจ้าอลองพญาจึงให้จัดเตรียมกองทัพ โดยให้มังระ ราชบุตรนั้นเป็นแม่ทัพหน้า
และพระเจ้าอลองพญาเป็นทัพหลวง ยกเข้ามาทางด่านสิงขร เมืองตะนาวศรี
เส้นทางเดินทัพพม่าจากเมืองมะริดเข้าสู่แผ่นดินสยามนั้น
ต้องผ่านช่องเขาตะนาวศรีที่มีชื่อเรียกว่า ด่านสิงขร
(ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์)
เส้นทางสำคัญระหว่างพม่ากับอาณาจักรสยามนั้นนอกจากด่านสิงขรแล้ว
ยังมีด่านพระเจดียสามองค์ ด่านป้องตี้กับด่านมะขามเตี้ยที่เมืองกาญจนบุรี
และด่านแม่ละเมาที่เมืองตาก
ฝ่ายกรุงศรีอยุธยานั้นเมื่อรับแจ้งข่าวข้าศึกยกทัพเข้าอาณาจักร
ก็มิได้สืบสวนหาข้อมูลการเดินทัพของข้าศึก
เข้าใจว่าเอาว่าพม่าจะยกมาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ และทางด่านแม่ละเมา
ซึ่งเป็นเส้นทางเก่าที่เคยใช้เดินทัพเข้ามาเป็นประจำ
จึงให้จัดกองทัพไปตั้งรับข้าศึกที่ด่านทั้งสอง
ต่อมาภายหลังจึงได้ข่าวว่าพม่านั้นยกกองทัพเข้ทางทางด่านสิงขรทางเดียวและกว่าจะระดมเรียกกองทัพนั้นกลับมารวมกันนั้นก็ทำให้เสียเวลาไปมาก
จนกองทัพของพม่านั้นได้ยกล่วงเข้ามาถึง เมืองกุย เมืองปราน แล้ว
โดยไม่มีกำลังฝ่ายไทยเข้าขัดขวางต่อสู้เลย
จึงทำให้กองทัพพม่านั้นล่วงเข้ามาจนถึงเมืองราชบุรีได้อย่างสะดวกสบาย
สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์
ได้ให้จัดกองทัพออกไปทำการสู้รบกับกองทัพพม่าที่เมืองราชบุรีก็ประสบความพ่ายแพ้กลับมา
เหตุการณ์สงครามครั้งนี้พลอยพาให้บ้านเมืองเกิดระส่ำระสาย
สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์นั้นเกรงจะเกิดจลาจลขึ้น
จึงมีรับสั่งให้ไปทูลเชิญพระภิกษุเจ้าฟ้าอุทุมพรให้ลาผนวชออกมาช่วยบ้านเมือง
โดยมอบงานราชการทั้งปวงให้สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรที่ลาผนวชนั้นบังคับบัญชาต่างพระองค์
สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร จึงให้เจ้าพระยามหาเสนา
เป็นแม่ทัพคุมกองทัพออกไปตั้งรับพม่าที่เมืองสุพรรณบุรี
แล้วตระเตรียมกำลังป้องกันพระนครให้มั่นคง คอยรับมือข้าศึกอย่างทุกครั้ง
เจ้าพระยามหาเสนา แม่ทัพไทยยกทัพไปถึงเมืองสุพรรณบุรี
ได้ทำการสู้รบกับกองทัพพม่าเป็นสามารถ แต่เนื่องจากกำลังนั้นมีน้อยกว่า
จึงพ่ายแพ้กลับมา โดยเจ้าพระยามหาเสนานั้นสู้ข้าศึกจนตายในสนามรบ พระเจ้าแลองพญา
จึงยกกองทัพติดตามกองทัพกรุงศรีอยุธยาเข้ามาจนถึงชานพระนคร ช่วงต้นปี พ.ศ. 2303
โดยให้ตั้งค่ายล้อมกรุงอยู่เป็นเวลาเกือบเดือน
ครั้งนั้นพระเจ้าอลองพญา ได้ออกมาบัญชาการรบด้วยพระองค์เอง
และให้จุดปืนใหญ่เข้ายิงกำแพงพระนคร (ตรงหน้าวัดพระเมรุ) แต่เกิดปืนใหญ่แตก
สะเก็ดปืนใหญ่ถูกพระองค์บาดเจ็บสาหัส ทำให้ทรงประชวรหนักในเวลานั้น วันรุ่งขึ้น
พม่าจึงยกทัพกลับขึ้นไปทางเมืองเหนือ โดยหวังจะออกไปทางด่านแม่ละเมา
แต่ยังไม่ทันเดินทัพไปพ้นแดนเมืองตาก พระเจ้าอลองพญาก็สวรรคตเสียกลางทาง
ฝ่ายกรุงศรีอยุธยานั้นเห็นพม่ายกทัพกลับไปก็เกรงว่าจะเป็นอุบาย
จึงไม่ได้แต่งกองทัพออกไล่ติดตามไป
ทำให้กองทัพพม่านั้นเดินทางกลับออกไปได้โดยสะดวก
ต่อมาปี พ.ศ. 2305 พระเจ้ามังลอก
พระโอรสของพระเจ้าอลองพญาสิ้นพระชนม์มังระราชบุตร
พระอนุชาได้ครองราชย์เป็นกษัตริย์เมืองหงสาวดี เป็นพระเจ้ามังระ
และมีการย้ายราชธานีมาตั้งที่เมืองอังวะตามเดิม
จึงมีชื่อเรียกพระเจ้ามังระอีกนามว่า พระเจ้าอังวะ
พระเจ้ามังระนั้นมีความนิยมการทำศึกสงคราม
จึงคิดที่จะแผ่อำนาจเข้าครอบครองดินแดนใกล้เคียง ดังนั้น ปีรุ่งขึ้น พ.ศ. 2306
พระเจ้ามังระจึงให้ยกกองทัพไปตีเอาเมืองเชียงใหม่ เมืองเวียงจันทน์
และหัวเมืองลาวได้ทั้งหมด แล้วจึงมีความคิดจะตีกรุงศรีอยุธยา
วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2308 พระเจ้ามังระ กษัตริย์พม่าเมืองอังวะ
ได้ยกทัพเตรียมเข้าตีกรุงศรีอยุธยา โดยให้มังมหานรธา (Maha
Naw-ra-hta)
เป็นแม่ทัพ คุมกำลัง 20,000 คน ยกเข้ามาทางเมืองทะวาย เมืองมะริดทางหนึ่ง
เมืองตะนาวศรีทางหนึ่ง และตำบลท่ากระดานทางหนึ่ง เข้าตีเมืองเพชรบุรี
เมืองราชบุรี เมืองสุพรรณบุรี เมืองกาญจนบุรี และเมืองไทรโยค
กองทัพของมังมหานรธา นั้นได้ยกทัพเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์
เดินทัพมาถึงเมืองกาญจนบุรี จึงสู้รบกับกองทัพของพระพิเรนทรเทพ
ที่ตั้งทัพรักษาเมืองอยู่
แต่กำลังของพม่ามีมากกว่าจึงตีทัพของพระพิเรนทรจนแตกพ่ายถอยหนีไป
พม่านำทัพติดตามเข้ามาถึงลำน้ำราชบุรี แล้วมาตั้งค่ายอยู่ที่ตำบลลูกแกแห่งหนึ่ง
ตำบลตอกละออมแห่งหนึ่ง และ
ข้ามฝากแม่น้ำมาตั้งค่ายอยู่ที่ดงรังหนองขาวอีกแห่งหนึ่ง
ส่วนอีกกองทัพหนึ่งได้ให้เนเมียวสีหบดี (Nei-myou
Thihapatei)
เป็นแม่ทัพกำลัง 20,000 คน ยกมาทางเมืองเชียงใหม่ผ่านเมืองตาก เมืองกำแพงเพชร
เมืองสวรรคโลก เมืองสุโขทัย เมืองพิษณุโลก อีกทางหนึ่ง
กองทัพพม่าของเนเมียวสีหบดีนั้ยกลงมาจากเมืองเชียงใหม่
ได้ทำการสู้รบกับเมืองตากแห่งเดียว ครั้นพม่าตีได้เมืองตากแล้ว เมืองกำแพงเพชร
เมืองนครสวรรค์ ก็ยอมแพ้โดยไม่มีใครคิดต่อสู้
เนื่องจากเจ้าเมืองขณะนั้นได้ถูกเกณฑ์กำลังลงมารักษากรุงป้องกันพระนคร
จึงเหลือแต่กรรมการเมืองผู้น้อยที่ต่างก็พากันหลบหนีข้าศึกไปโดยมาก
หากหนีไม่ทันก็ยอมอ่อนน้อมยอมแก่พม่า ทำให้พม่าทำการตั้งค่ายที่เมืองกำแพงเพชร
และเมืองนครสวรรค์ได้โดยง่าย
กองทัพพม่าที่ยกเข้ามานั้นในครั้งแรกยังไม่คิดที่จะยกเข้าไปตีเองพระนคร
จึงได้แต่เที่ยวปล้นสะดมตามหัวเมือง
เที่ยวริบทรัพย์สินจับชาวบ้านเป็นเชลยส่งกลับไปยังพม่า
สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์และเหล่าแม่ทัพนายกองขุนนางข้าราชการนั้น
เมื่อเห็นศึกพม่ายกมามากมายเกินกำลังจะป้องกันพระนคร
จึงเชิญพระภิกษุพระเจ้าอุทุมพรให้ลาผนวชมาช่วยกันคิดการสงคราม
และได้ส่งกองทัพฝ่ายไทยออกไปตั้งรับที่ตำบลท่ากระดาน (เมืองกาญจนบุรี)
ตำบลกิ่งดุง (หรือกุ่มดอง) เมืองราชบุรี บ้านกง บ้านพาน ปากน้ำพระมะดัง
(พระประแดง) ปากน้ำประสบ แม่น้ำสิงหบุรี แม่น้ำเมืองพรหมบุรี เมืองชัยนาท
เมืองมะริด เมืองสวรรคโลก เมืองนครสวรรค์
|