ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  ราชวงศ์บ้านพลูหลวง

 

ราชวงศ์บ้านพลูหลวง

สมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์  (พระเจ้าเอกทัศน์)

ครองราชย์  พ.ศ. 2301 – 2310(4)

 

กรุงศรีอยุธยานั้นได้แต่งกองทัพเรือออกไปทำการตีค่ายของพม่าดังกล่าว  แต่พอพม่ายิงปืนออกมาถูก  นายฤกษ์  ทหารไทยซึ่งยืนรำดาบอยู่หน้าเรือตกลงน้ำ  ทหารไทยก็ใจเสียจึงพากันถอยทัพเรือนั้นกลับคืนเข้ากรุงทั้งหมด  ดังนั้นการสู้รบกันต่างฝ่ายก็เอาปืนใหญ่ตั้งยิงกันทั้งสองข้าง  ฝ่ายไทยนั้นเอาปืนขนาดใหญ่ขึ้นตั้งยิงบนป้อมปืน  พลปืนยิงปืนกลัวปืนจะแตกมากกว่าเสียกรุงจึงใส่ดินปืนไม่เต็มขนาด  เมื่อยิงออกไปลูกปืนจึงไปตกไม่ถึงคูเมือง  ฝ่ายที่กล้าใส่ดินปืนก็ใส่เสียเกินขนาดเป็นสองเท่า  ดังนั้นพอยิงได้นัดเดียวปืนก็แตกร้าวใช้การไม่ได้ต่อไป

 

ครั้งนั้นกรุงศรีอยุธยาได้เอาปืนใหญ่ชื่อ  ปราบหงสา  ซึ่งเป็นปืนใหญ่ศักดิ์สิทธิ์โบราณคู่พระนคร  ไปตั้งบนป้อมมหาชัย  ยิงเข้าค่ายพม่าที่วัดศรีโพธิ์  และพระยาศรีสุริยพาหะ  ได้นำปืนใหญ่ชื่อ  มหากาฬมฤตยูราช  ประจุดินปืนสองเท่า  ตั้งบนห้อมท้ายกบ  ยิงค่ายพม่าที่ภูเขาทอง  แต่ยิงไปเพียงนัดเดียวปืนก็ร้าวใช้การไม่ได้  จนทำให้ต้องออกกฎประกาศในสงครามว่า  ถ้าใครจะยิงปืนใหญ่ต้องไปขออนุญาตที่ศาลาลูกขุนเสียก่อน

 

ครั้งนั้น  พระยาตาก  (สิน )  เจ้าเมืองกำแพงเพชร  ที่เดินทางเข้ามารับตำแหน่งพระยาวชิรปราการในพระนคร  พอเกิดศึกสงครามจึงถูกเกณฑ์ให้อยู่ช่วยป้องกันพระนครนั้นได้ทำหน้าที่รักษาพระนครด้านตะวันออก  เมื่อเห็นทหารพม่ายกเข้ามาก็ให้ปืนใหญ่ทำการยิงข้าศึกโดยไม่ได้มาบอกที่ศาลาลูกขุน  จึงทำให้มีโจท์กกล่าวโทษเกือบจะต้องอาญาโทษ  แต่ด้วยพระยาตาก  (สิน)  นั้นมีความชอบในการสงครามจึงได้ภาคทัณฑ์โทษไว้ก่อน  ด้วยเหตุนี้จึงทำให้พระยาตาก  (สิน)  มีความท้อใจและเห็นว่าหากเหตุการณ์สู้รบยังเป็นเช่นนี้ต่อไป  ไม่เห็นหนทางที่จะชนะได้จึงคิดหนีไปจากพระนคร

 

                ครั้นเมื่อน้ำหลากท่วมทุ่งพม่าได้ยกทัพเรือลัดทุ่งหนีทางปืนมาจากค่าย  โดยทำทีท่าว่าจะมาตรวจการพื้นที่เตรียมล้อมกรุงด้านตะวันออก  สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์  จึงให้พระยาเพชรบุรีคุมกองทัพเรือกองหนึ่ง  พระยาตาก  (สิน)  คุมทัพเรืออีกกองหนึ่งยกออกไปตั้งทัพที่วัดป่าแก้วคอยตีสะกดกองทัพพม่าที่จะยกมาทางทุ่ง  ครั้นพม่ายกมาอีก  พระยาเพชรบุรีจึงระดมกองทัพเรือเข้าโจมตีกองทัพพม่าที่ริมวัดสังฆาวาส  กองทัพพม่ามีจำนวนมากกว่าได้เข้าล้อมพระยาเพชรบุรีไว้แล้วเอาหม้อดินดำทิ้งลงไปในเรือ  ดินปืนระเบิดจนเรือแตก  พระยาเพชรบุรีตายในที่รบ  ทำให้กองทัพไทยที่เหลือนั้นหนีตายแตกพ่ายไป  พระยาตาก  (สิน)  นันได้ห้ามปราบพระยาเพชรยุรีไว้ก่อนแล้วว่าไม่ให้สู้รบแบบซึ่งหน้า  เมื่อรู้ว่าพระยาเพชรบุรีสู้รบจนตัวตายเช่นนั้น  ก็ให้ถอยทัพกลับมาตั้งรับอยู่ที่วัดพิชัย  ตั้งแต่นั้นมาพระยาตาก  (สิน)  ไม่กลับเข้าไปในพระนครอีก  พอน้ำลดดินแห้งแล้วพระยาตาก  (สิน)  ก็พาสมัครพรรคพวกจำนวนมาก  (ว่า  500  เป็นความหมายในนับว่ามีจำนวนมากมายนับไม่ถ้วน)  ตีฝ่าแนวพม่าหนีออกไปทางทิศตะวันออก

 

                ครั้นถึงฤดูแล้ง  พม่าได้ส่งกองทัพมาเพิ่มขึ้น  พม่าจึงนำกำลังเข้าตีค่ายกองทัพไทยที่ออกไปตั้งค่ายห้องกันพระนครอยู่ทางด้านหนึ่งจนค่ายแตกพ่ายกลับเข้ากรุงจนหมดทุดค่าย  จากนั้นพม่าก็ยกกำลังเข้ามาประชิดพระนครทางด้านเหนือ  ทำการปลูกหอรบเอาปืนขึ้นไปตั้งจังกายิงเข้าไปในพระนครทุกวันไม่ได้ขาด  ทำให้บ้านเรือนถูกทำลายและระส่ำระสายโกลาหล  ส่วนกองทัพพม่าทางด้านใต้นั้นได้เข้ายกตีค่ายทหารไทยที่ตั้งรบ  จนแตกพ่ายเข้าพระนคร  กรุงศรีอยุธยาถูกกองทัพพม่าล้อมอยู่นานหลายเดือน  พอนานวันเสบียงอาหารก็เริ่มขัดสน  ทำให้เกิดโจรผู้ร้ายเข้าแย่งชิงปล้นอาหารและทรัพย์สินกันทั่วไป  ภายในกำแพงเมืองเกิดไฟไหม้ขนาดใหญ่โดยไหม้ตั้งแต่ท่าทรายริมกำแพงด้านเหนือ  ลุกลามไปทางประตูข้าวเปลือก  แล้วไหม้ข้ามไปติดเอาบ้านเรือนเสียหาย  วัดวาอารามในกรุงศรีอยุธยารวมกว่า  10,000  หลัง  ถูกไฟไหม้ทำลายย่อยยับ   บ้านเมืองถูกเผาทำลายจนเดือดร้อนไปทั่วทุกแห่ง  ทหารที่ป้องกันพระนครนั้นต่างก็เศร้าสลดไม่มีใจที่จะต่อสู้กับข้าศึกต่อไปได้

 

                เมื่อสถานการณ์สงครามเป็นเช่นนี้  สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์จึงได้ส่งทูตออกไปเจรจาขอเลิกรบยอมเป็นเมืองขึ้นต่อพม่า  แต่เนเมียวสีหบดี  แม่ทัพนั้นไม่ยอมเลิกสงคราม  ด้วยประสงค์จะตีเอาทรัพย์จับผู้คนไปให้หมดสิ้น  ชาวเมืองในพระนครนั้นเมื่ออดอยากหนักเข้าก็พากันข้ามกำแพงเมืองหลบหนีออกไปเป็นจำนวนมาก  หากหนีไม่พ้นก็ยอมเข้าไปให้พม่าจับเอาตัวเพื่อจะได้มีอาหารกินก็มีอยู่จำนวนมาก

 

                เนเมียวสีหบดี  เมื่อเห็นว่ากรุงศรีอยุธยานั้นอ่อนกำลังและเกิดความระส่ำระสายมากขึ้นแล้ว  จึงพยายามสร้างสะพานเรือกจนสำเร็จ  แล้วให้ขุดอุโมงค์เดินเข้าไปจนถึงรากกำแพงพระนคร  แล้วขนเอาไม้ฟืนมากองไว้ใต้รากกำแพงนั้น  เพื่อเตรียมการตีเอากรุงศรีอยุธยาด้านนอกนั้นก็ให้เตรียมบันไดสำหรับพาดปีนกำแพงไว้สำหรับใช้บุกเข้ไปในพระนคร

 

                ต้นปี  พ.ศ. 2310  เป็นเนาว์สงกรานต์  คือ  วันอังคารขึ้น  9  ค่ำ  เดือน  5  ปีกุน  ตรงกับวันที่  7  เมษายน  พ.ศ. 2310  กรุงศรีอยุธยาได้เสียแก่กองทัพของพระเจ้ามังระ  กษัตริย์พม่าโดยกองทัพพม่าได้ยิงปืนป้อมสูงที่วัดการ้อง  และวัดแม่นางปลื้ม  ขุดอุโมงค์เข้ามาจุดไฟเผาใต้กำแพงเมืองด้านตะวันออก  ตรงหัวรอ  ริมป้อมมหาชัย  ซึ่งมีลำน้ำแคบ  แล้วสร้างสะพานเชือกข้ามคูเมืองเวลาพลบค่ำ

 

                พงศาวดารพม่าฉบับคองบอง  ได้รายงานเหตุการณ์ตอนกรุงศรีอยุธยาแตก  แปลได้ความว่า

                “ไฟที่รากฐานกำแพงลามเลียไหม้ซุงซึ่งเป็นฐานรากจนก่อเกิดเป็นควันดำโขมง  ผืนดินที่ซึ่งตัวกำแพงตั้งอยู่ก็ปริแตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย  กำแพงที่สูงตระหง่านเป็นร้อยศอกก็มีอันพังคลืนลงมา  ทัพพม่าที่ห้อมล้อมรอคอยอยู่ก็บุกเข้าตีพระนครพร้อมกันทุกด้าน ปืนใหญ่น้อยกว่าพันกระบอกก็ระดมยิงถล่มพระนครราวห่าฝน...เหล่าทหารพลช้าง  พลม้า  และทหารราบก็ไม่รีรอ  กรูกันเข้าตีพระนครด้านที่กำแพงพัง”

 

                พงศาวดารพม่าระบุว่า  กองทัพพม่าตีเข้าพระนครกรุงศรีอยุธยาได้ในเวลาตี  4  กว่าของวันพฤหัสบดีขึ้น  11  ค่ำ  เดือนเมษายน  พุทธศักราช  2310  ตรงกัยปี  1129  ของศักราชพม่า

 

                “พม่าจุดไฟเผาบ้านเรือน  ปราสาทราชวัง  วัด  เพื่อหาทรัพย์สินและทองคำเป็นเวลาเก้าวันเก้าคืน  อยุธยาถูกเผาทำลายอย่างยับเยินคนไทยส่วนหนึ่งหนีพม่าเข้าไปอยู่ในป่า  แล้วพม่าได้ยกกองทัพกลับไปเมื่อวันที่  15  เมษายน  พ.ศ. 2310  โดยจับพระเจ้าอุทุมพร  (ขุนหลวงหาวัด)  และกวาดต้อนคนไทยไปเป็นเชลยที่เมืองอังวะของพม่า  จำนวนประมาณ  30,000  คน  พระเจ้าอุทุมพรสวรรคตระหว่างการเดินทางไปพม่า  พม่าขนปืนใหญ่กลับไปกรุงอังวะกว่า  500  กระยอก  โดยมีปืนคู่แฝดสำริดขนาดยาว  12  ศอกด้วย”

 

                (จากเรื่อง  สงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยา  ครั้งที่  2  พ.ศ. 2310  สุเนตร  ชุตินธรานนท์  ศึกษาจากพงศาวดารพม่าฉบับราชวงศ์คองบอง,)

 

                สรุปแล้วกองทัพพม่าทังหมด  สามารถเข้าเมืองได้ในเวลาค่ำวันนั้นทุกทิศทาง  รวมเวลาที่กองทัพพม่าตั้งค่ายล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่  1  ปี  2  เดือน  กรุงศรีอยุธยาจึงแตกโดยพม่านั้นเอาไฟสุมรากกำแพงและปีนเข้ากรุงได้  ดังนั้นเมื่อข้าศึกเข้าภายในพระนครได้แล้วในเวลากลางคืน  เมื่อรุกไปถึงที่ใดก็จุดไฟเผาบ้านเรือน  วัดวาอารามตลอดปราสาทราชมณเทียรจนไฟลุกแดงฉานสว่างไปทุกแห่ง  กำลังของพม่านั้นเที่ยวเก็บทรัพย์สินเงินทองและไล่จับผู้คนกันอลหม่านไปทั่วทุกแห่ง  เนื่องจากเป็นเวลากลางคืนจึงทำให้ผู้คนนั้นได้อาศัยความมืดพากันหนีตายออกไปได้เป็นจำนวนมาก  ครั้งนั้นพม่าจับผู้คนได้ประมาณ  30,000  คน

 

                สำหรับสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์นั้น  มหาดเล็กได้พาลงเรือลำเล็กหลบหนีออกไปทางประตูน้ำโดยซ่อมซ่อนอยู่ตามสุมทุมพุ่มไม้ไปจนถึง  บ้านจิก  ริมวัดสังฆาวาส  โดยที่พม่านั้นไม่รู้ไม่หนีไปแห่งใด  ครั้งนั้นพม่าจึงจับได้แต่  สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร  ซึ่งทรงผนวชเป็นพระภิกษุอยู่กับเจ้านายข้าราชการที่หลบหนีไม่พ้น  จึงถูกควบคุมตัวส่งไปพม่า  สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรนั้นสวรรตจระหว่างทาง  จากนั้นกำลังของพม่าได้เที่ยวตรวจหาทรัพย์สินและสิ่งของที่เป็นของหลวงนัยว่าได้สุมทองคำที่หุ้มพระพุทธรูป  “พระศรีสรรเพชดาญาณ”  โดยเอาไฟสุมให้ทองคำนั้นละลายลงมาด้วย  บรรดาเจ้าของทรัพย์นั้นต่างถูกเฆี่ยนตีบังคับให้บอกที่ซ่อนทรัพย์สินและถูกทารุณกรรมจนถึงตายหากไม่ยอมบอก  ผู้คนในกรุงศรีอยุธยานั้นต่างได้รับความเดือดร้อนจากสงครามที่เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งนี้อย่างแสนสาหัส

 

                กองทัพพม่านั้นได้เข้ายึดพระนครอยู่ประมาณ  9 – 10  วัน  เมื่อกวาดเก็บทรัพย์สินจับผู้คนเป็นเชลยเสร็จแล้วก็เลิกทัพกลับไป  โดยตั้ง  สุกี้  นายทหารมอญ  เป็นนายทัพคอยคุมไพร่พลพม่ามอญ  3,00  คน  อยู่ที่ค่ายบ้านโพธิ์สามต้น  เพื่อคอยตรวจหาทรัพย์จัผู้คนเป็นเชลยส่งตามไปเมืองพม่า  ต่อมาทหารพม่าได้พบสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์  อดอยากอยู่ที่บ้านจิกซึ่งอดอาหารมากว่า  10  วันแล้ว  พอควบคุมตัวพระองค์ส่งไปถึงค่ายบ้านโพธิ์สามต้น  สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์  ก็เสด็จสวรรคต  พระบรมศพจึงถูกฝังไว้ที่ค่ายแห่งนั้น

 

                กองทัพพม่าได้นำผู้คนที่ถูกจับเป็นเชลยและสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรไปสอบสวนจดบันทึกเรื่องราวต่างๆ  ไว้เป็นภาษาพม่า  ต่อมามีการแปลเป็นภาษามอญ  แล้วแปลมาเป็นภาษาไทยอีกต่อหนึ่ง  เรียกว่า  คำให้การชาวกรุงเก่า  หรือคำให้การขุนหลวงหาวัด

 

                เชลยศึกชาวไทยคนหนึ่งที่พม่ากวาดต้อนไปคราวเสียกรุงครั้งที่สองนี้  คือ  “นายขนมต้ม”  ซึ่งเป็นนักมวยฝีมือดี  เคยไปชกมวยกับนักมวยพม่าหน้าพระที่นั่ง  พระเจ้าอังวะที่เมืองย่างกุ้งนายขนมต้มชกพม่า  มอญ  ชนะถึงเก้าคน  พระเจ้าอังวะตรัสชมว่า  “คนไทยมีพิษอยู่ทั่วตัวเพราะเจ้านายไม่ดีจึงเสียเมืองกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า”  แล้วพระราชทานรางวัลแก้นายขนมต้ม

 

                นายแอนโทนี  โกยาตัน  (Antony  Goyaton)  หัวหนาชาวยุโรปในกรุงศรีอยุธยา  ซึ่งเป็นชาวอาร์เมเนียได้อยู่ในเหตุการณ์วันที่กรุงศรีอยุธยาแตก  แล้วให้การไว้  เมื่อวันที่  16  เมษายน  พ.ศ. 2311  ว่า

 

                “พม่าได้เข้าล้อมกรุงสยามในเดือนกรกฎาคม  หรือเดือนสิงหาคม  พ.ศ. 2309  และเข้าตีโดยใช้เรือหลายลำ  ใช้บันไดพาดกำแพงและโยนหม้อดินที่บรรจุดินปืนเข้าภายในกำแพงที่ถูกล้อม  ครั้นเมื่อยึดกรุงได้แล้วพม่าได้ช่วยกันทำลายเมืองลงเป็นเถ้าถ่านหมด  การปฏิบัติครั้งนี้  พวกพม่าได้รับการช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมชาติของตนที่อยู่ในกรุงจำนวน  ประมาณ  500  คน  ที่เคยถูกฝ่ายสยามจับตัวมาในเหตุการณ์ครั้งก่อนๆ  กษัตริย์หนุ่มแห่งกรุงศรีอยุธยาก็ถูกนำไปเมืองพม่าด้วย  ระหว่างทางกษัตริย์ประชวรสวรรคต  กษัตริย์องค์ที่สูงด้วยวัยถูกลอบปลงพระชนม์ในคืนเดียวกันโดย  ชาวสยามด้วยกัน  ผู้ให้การพร้อมเพื่อจำนวนประมาณ  1,000  คน  ประกอบด้วย  ชาวโปรตุเกส  อาร์เมเนีย  มอญ  สยาม  และมาเลย์  ถูกนำตัวไปพะโค  แต่หลบหนีมาได้  ผู้ให้การลงเรือเล็กไปกัมพูชาและต่อไปปาเล็มบัง”

 

                สำหรับเชลยศึกชาวไทยที่ถูกพม่ากวาดต้อนไปเมื่อ  พ.ศ. 2310  ได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่คลองชะเวตาชอง  หรือคลองทองคำ  ห่างจากเมืองมัณฑะเลย์ประมาณ  13  กิโลเมตร  มีวัดระไห่เป็นศูนย์กลางของหมู่บ้าน  มีตลาดโยเดียและระโยเดีย  ที่มีพรหมสี่หน้าของไทยอยู่ในเมืองพม่าปัจจุบันด้วย

 

                สภาพของกรุงศรีอยุธยานั้นได้ถูกทิ้งร้างมาเป็นระยะเวลานาน  ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์นั้น  สุนทรภู่  ได้กล่าวถึงสภาพของกรุงศรีอยุธยาไว้ในนิราศพระบาทว่า  “น่าในหายเห็นศรีอยุธยาทั้งวัดหลวงวัดหลังก็รั้งรก  เห็ฯนนกหกซ้อแซ้บนพฤกษา  ดูปราสาทราชวังเป็นรังกา  ดังป่าช้าพงชัฏสงัดคน  อนิจจาธานินทร์สิ้นกษัตริย์  เหงาสงัดเงียบไปดังไพรสนธ์  แม้กรุงยังพรั่งพร้อมประชาชน  จะสับสนแซ่เสียงทั้งเวียงวัง  มโหรีปี่กลองจะก้องกึก  จะโครมครึกเซ็งแซ่ด้วยแตรสังข์  ดูพาราน่าคิดอนิจจัง  ยังได้ฟังแต่เสียงสกุณาฯ

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม สมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์  (พระเจ้าเอกทัศน์)(4)

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์