ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
สมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศน์)
ครองราชย์ พ.ศ. 2301 2310(6)
เส้นทางเดินของกำลังไพร่พลของพระยาตากนั้น ไปทางบ้านข้าวเม่า สำบัณฑิต
บ้านโพสามหาวหรือโพธิ์สามหาญ (อยู่ในอำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
บ้านพรานนก (สถานที่นี้กำลังทหารพระยาตาก 5 ม้าได้ ต่อสู้กับทหารพม่า 20 ม้า
เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2309) บ้านบางดง ตำบลหนองไม้ทรง
(แขวงเมืองนครนายก เดินทาง 2 วัน) ถึงบ้านนาเริ่ง
เมืองปราจีนบุรีผ่านด่านกบแจะ (อยู่ในอำเภอเจ้โล้
บ้านคู้ลำพันชายทุ่งพระศรีมหาโพธิ์ (ต้นมหาโพธิ์ต้นนี้ เล่ากันว่า
เจ้าเมืองมโหสถส่งทูตไปขอหน่อพระศรีมหาโพธิ์ จากเจ้าเมืองปาตลีบุตร
ประเทศอินเดีย) บ้านทองหลวงตะพานทอง บางปลาสร้อย บ้านนาเกลือ พัทยา
(เมื่อวันอังคาร แรม 6 ค่ำเดือนยี่) นาจอมเทียน ทุ่งไก่เตี้ย สัตหีบ
บ้านหินโด่ง บ้านน้ำเก่า เมืองระยอง วัดลุ่ม (วัดลุ่มมหาชัยชุมพล) บ้านประแส
บ้านคา บ้านกล่ำ เมืองแกลง ชลบุรี ระยองและ จันทรบูรณ์ (จันทบุรี)
ทหารของพระยาตากคนที่เป็นกำลังสำคัญในการกู้บ้านเมืองในเวลาต่อมานั้น
คือพระเชียงเงิน พระท้ายน้ำ (ต่อมาเป็นเจ้าเมืองสุโขทัย) หลวงชำนาญไพรสนฑ์
พะทำมะรงอิ่ม นายแสง นายอยู่ นายนาค นายทองดี นายบุญรอด แขนอ่อน นายชื่น
บ้านค่าย หลวงพิพิธ (ทหารจีนถือง้าว) หลวงพิชัยราชา ขุนจ่าเมือง เสือร้าย
หมื่นทอง หลวงพรหมเสนา เป็นต้น
บุคคลสำคัญที่สุดท่านหนึ่งคือ นายสุดจินดา (บุญมา)
เป็นน้องชายหลวงยกบัตร (ทองด้วง) เมืองราชบุรี (ต่อมาได้เป็นเจ้าพระยาสุรสีห์
และกรมพระราชวังบวรเจ้ามหาสุรสิงหนาทในรัชกาลที่ 1)
เวลาหกเดือนหลังจากกรุงศรีอยุธยาแตกนั้น
พระยาตากได้รวบรวมผู้คนและศาสตราวุธอยู่ที่เมืองจันทบูรณ์ (จันทบุรี)
แล้วยกกำลังออกจากเมืองจันทบูรณ์ ด้วยเรือประมาณ 100 ลำ เมื่อปีกุน พ.ศ. 2310
กำลังทหารเรือได้เดินทางผ่านชลบุรี ถึงปากน้ำบางเจ้าพระยา
แล้วบุกเข้าตีป้อมวิชัยประสิทธิ์ ที่เมืองธนบุรี
และเดินทางกลางคืนเข้าไปตีค่ายโพธิ์สามต้นของพม่า (อยู่ในอำเภอบางปะหัน
ใกล้เพนียดคล้องช้างทางเหนือของเมืองอยุธยา)
กองทัพของพระยาตากนั้นได้เข้าโจมตีค่ายโพธิ์สามต้นตั้งแต่เก้าโมงเช้าถึงเที่ยงก็ตีได้สำเร็จ
สุกี้ ทหารมอญซึ่งเป็นพระนายกอง หัวหน้าทหารพม่าคอยจับเชลยนั้นตายในที่รบ
ทำให้ทหารพม่าพากันหนีกลับไปเมืองพม่า
อาณาจักรสยามจึงเป็นอิสรภาพจากอำอาจของพม่า เมื่อเวลาบ่ายโมงเศษ
ในวันศุกร์ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 จุลศักราช 1129 ตรงกับวันที่ 6 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2310 รวมเวลาที่อาณาจักรสยามยุคกรุงศรีอยุธยาตกอยู่ในอำนาจพม่าเป็นเวลา 7
เดือน
|