อาณาจักรสยาม
อาณาจักรสยาม
ยุคกรุงธนบุรีเป็นราชธานี (พ.ศ. 2310
2325)(1)
กรุงธนบุรี นั้นเดิมเป็นเมืองหน้าด่านทางทะเลที่สำคัญของสยาม
มาตั้งแต่ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยาโดยเมืองนี้ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาเดิม
(คลองบางกอกน้อย) ซึ่งเป็นเส้นทางเดินเรือเข้าไปยังกรุงศรีอยุธยา
ราชธานีของอาณาจักรสยาม ในแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พ.ศ. 2091
ได้ปรากฏชื่อเมืองในพงศาวดารว่า
เมืองธนบุรีศรีมหาสมุทร
โดยมีพื้นที่ตำบลบางกอกหรือบางเกาะเป็นชุมชนอยู่ในเมืองธนบุรีแห่งนี้ด้วย
ต่อมา พ.ศ. 2077
2089 สมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช
มีการขุดคลองลัดที่แม่น้ำเจ้าพระยาระหว่างปากคลองบางกอกน้อย
และคลองบางกอกใหญ่ที่หน้าวัดแจ้ง ทำให้เกิดเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาใหม่
(ระหว่างคลองบางกอกน้อยกับคลองบางกอกใหญ่
ช่วงหน้าโรงพยาบาลศิริราชและพระบรมมหาราชวัง ในปัจจุบัน)
ในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ได้มีการก่อสร้างป้อมบางกอกสองป้อมขึ้นที่ปากคลองบางกอกใหญ่และฝั่งบางกอกด้านตะวันออกที่อยู่ตรงข้าม
(บริเวณ ร.ร.ราชินี) มีชื่อเรียกเหมือนกันว่า ป้อมวิชาเยนทร์
โดยมีปืนใหญ่และสายโซ่เหล็กขึงกั้นแม่น้ำ เมื่อ พ.ศ. 2220
ป้อมนี้ออกแบบโดยวิศวกรฝรั่งเศส ชื่อ เดอ ลา มาร์ แล้วให้ทหารฝรั่งเศสชื่อ
ฟอร์แบง (ต่อมาได้เป็นออกพระศักดิ์สงคราม)
เป็นผู้บังคับการรักษาป้องบางกอกด้านตะวันออก
ในปลายรัชการสมเด็จพระนารายณ์นั้น
ได้มีการต่อสู้ระหว่างทหารไทยนำโดยพระเพทราชากับทหารฝรั่งเศสนำโดยพลเอก เดส์ฟาร์ช
ที่ป้อมบางกอกด้านตะวันออกแห่งนี้ ทหารฝรั่งเศสสู้ไทยไม่ได้ จึง
ลงเรือถอยกลับไปเมืองฝรั่งเศส
จึงเป็นเหตุสมเด็จพระเพทราชาให้รื้อป้อมบางกอกด้านตะวันออกเสีย
เหลือไว้แต่ป้อมบางกอกด้านตะวันตก (ป้อมวิชัยประสิทธิ์เดี๋ยวนี้)
ตั้งอยู่หน้าเมืองธนบุรีศรีสมุทร
เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าครั้งที่สองในวันที่ 8
เมษายน พ.ศ. 2310 พม่าได้ให้คนไทยชื่อ นายทองอิน
คุมไพร่พลอยู่รักษาเมืองธนบุรีและป้อมบางกอกด้านตะวันตกหรือ (ป้อมวิชาเยนทร์)
ไว้ ต่อมาพระยาตาก (สิน) ได้นำกำลังทัพเรือจากเมืองจันทบูรณ์ (จันทบุรี)
เข้ายึดป้อมบางกอกแห่งนี้ไว้ได้ เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2310
แล้วจึงนำกองทัพเรือขึ้นไปตีค่ายพม่าที่บ้านโพธิ์สามต้น
พระยาตาก (สิน) ได้ทำการกู้อิสรภาพให้อาณาจักรสยามได้แล้ว
จึงขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4
หรือพระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310
ในการสร้างบ้านเมืองนั้นพระองค์ทรงเห็นว่า
กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองใหญ่ที่เสียหายเกินจะซ่อมแซมและห่างไกลจากทะเล
จึงทรงให้ย้ายราชธานีนจากกรุงศรีอยุธยามาทำการสถาปนาเมืองธนบุรีศรีสมุทรแห่งนี้
ขึ้นเป็นเมืองหลวงใหม่ของอาณาจักรสยามสืบต่อจากกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 3
ตุลาคม พ.ศ. 2313
การสร้างพระนครครั้งนั้นได้ใช้ไม้ทองหลางทั้งต้นล้อมพระนครทังสองฟากแม่น้ำ
มูลดินทำเป็นเชิงเทินทำค่ายที่มั่น และทรงให้เปลี่ยนชื่อ
ป้อมวิชาเยนทร์เป็นป้อมวิชัยประสิทธิ์ ในครั้งนั้นบาทหลวงชาวฝรั่งเศส
บันทึกไว้ว่า
อาหารการกินยังแพงมาก
เพราะบ้านเมืองไม่เป็นอันทำมาหากินมา 15 ปีแล้ว เพราะเหตุว่าสงครามมิได้หยุดเลย
เมื่อปี พ.ศ. 2311 2312 เกิดฝนแล้งติดต่อกัน ทำนาไม่ได้ผล
หนูนาระบาดกินข้าวในนาและยุ้งฉาง
พระองค์มีรับสั่งให้ราษฎรดักหนูนาส่งมากรมพระนครบาล เพื่อกำจัดหนู
และทรงให้ข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อยนั้นออกไปทำนาปรัง
พ.ศ. 2312 ชาวโปรตุเกส ที่อยู่กรุงศรีอยุธยานั้น
เนื่องจากหมู่บ้านถูกเผาทำลายจากสงคราม ได้ขออพยพตามพระเจ้ากรุงธนบุรี
จึงโปรดให้แต่งตั้งบ้านเรือนที่วัดซางตาครูส ชุมชนกุฎีจีน ใกล้วัดกัลยาณมิตร
ติดวัดประยุรวงศาวาส ธนบุรี ภายใต้การนำของบาทหลวง กอร์ยาคอเบ
เดิมนั้นบริเวณดังกล่าวมีชาวจีนอาศัยอยู่จึงมีชื่อรู้จักกันว่า กุฎีจีน
นอกจากนี้ชาวโปรตุเกสอีกพวกหนึ่งได้ไปตั้งบ้านอยู่ทีวัดคอนเซปชั่น
ตำบลสามเสนและบริเวณสถานทูตโปรตุเกส (ริมแม่น้ำ เขตบางรักปัจจุบัน)
พ.ศ. 2317 พระยาเจ่ง ชาวมอญ ได้พาพรรคพวก 3,000 คน
หลบหนีพม่ามาจากเมืองเมาะตะมะ เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในแผ่นดินสยาม
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงให้ตั้งบ้านเรือนที่ตำบลปากเกร็ด นนทบุรี
จนถึงตำบลสามโคก ปทุมธานี (ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 1
พระยาเจ่งได้ทำความดีความชอบในการรบกับพม่าจึงได้รับแต่งตั้งเป็น
เจ้าพระยามหาโยธา)
พ.ศ. 2317
อะแซหวุ่นกี้ให้งุยอคงหวุ่นแม่ทัพพม่ายกทัพตามครัวมอญที่หนีมาเมืองไทยทางด่านพระเจดีย์สามองค์
ได้สู้รบกับทหารไทยที่บ้านบางแก้ว อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี (ศึกบางแก้ว)
เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ นำทัพออกสู้รบกับพม่า
กองทัพพม่าถูกล้อมและถูกกองทัพไทยตีแตกพ่ายไป
พ.ศ. 2318 อะแซหวุ่นกี้ยกทัพมาทางเมืองพิษณุโลก
(ศึกอะแซหวุ่นกี้) เจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง)
ทำการสู้รบรักษาเมืองพิษณุโลกอย่างเข้มแข็ง จนอะแซหวุ่นกี้ขอดูตัว
และทำนายว่าเจ้าพระยาจักรีนั้นจะได้เป็นกษัตริย์ต่อไป
พ.ศ. 2319 กองทัพไทยขับไล่กองทัพพม่าออกจากเมืองเชียงใหม่
พ.ศ. 2319 กองทัพไทยขับไล่กองทัพพม่าออกจากเมืองสุโขทัย
พ.ศ. 2319 องเชียงสือ ได้นำชาวญวนมาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
วันแรม 2 ค่ำ เดือน 10 ปีวอก พ.ศ. 2319
นางพระยาช้างเผือกล้ม จึงให้ฝังไว้ ณ วักสำเพ็ง
ซึ่งฝังเจ้าพระยาปราบไตรจักรอยู่ก่อนแล้ว
พ.ศ. 2319 พระเจามังระ กษัตริย์พม่าแห่งกรุงอังวะสวรรคต
จิงกูจา พระราชโอรสได้ครองราชย์เป็นกษัตริย์พม่าต่อมา
พ.ศ. 2320 กัปตัน ฟรานซิสไลท์ ชาวอังกฤษ เจ้าเมืองปีนังคนแรก
ได้สนองพระราชบัญชา พระเจ้ากรุงธนบุรี
ที่ทรงให้จัดซื้อปืนเพิ่มจากของที่ซื้อจากฮอลันดาที่ปัตตาเวียอีก 6,000 กระบอก
ราคากระบอกละ 12 บาท และทรงแต่งตั้งให้กัปตันฟรานซิสไลท์เป็นพระยาราชกปิตัน
พบหลักฐานว่ามีจดหมายองคุณหญิงจน และชาวเมืองถลาง เขียนถึงฟรานซิสไลท์
ด้วยอักษรไทย กว่า 60 ฉบับด้วย (ขณะนี้เก็บรักษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยลอนดอน
ประเทศอังกฤษ)
พ.ศ. 2320
2321 เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) ได้ยกทัพไปตีเวียงจันทน์ได้สำเร็จ
กล่าวคือเมื่อ พ.ศ. 2321
พระเจ้าตากสินนั้นไม่พอพระทัยที่พระเจ้าศิริบุญสารแห่งนครเวียงจันทน์ไม่ช่วยไทยรบกับพม่า
จึงทรงให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ยกพลทางบก ผ่านนครราชสีมา สุรินทร์ ศรีสะเกษ
พระยาสุรสีห์ ยกพลทางเรือผ่านเขมร มาสมทบกับทัพบกที่เมืองจำปาศักดิ์
เข้าตีเมืองนครพนม หนองคาย เวียงคุก ยึดเวียงจันทน์ได้ในเดือน 10 ปีกุน พ.ศ.
2322 แล้วอัญเชิญพระแก้วมรกตจากเวียงจันทน์ (เดิมเป็นของไทย)
ขึ้นช้างมาที่กรุงธนบุรี
พระแก้วมรกต
นี้เป็นพระพุทธรูปสำคัญซึ่งเดิมนั้นเป็นของอาณาจักรสยาม อยู่ที่เมืองเชียงใหม่
ต่อมาพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช
ซึ่งเป็นพระนัดดาของพระเจ้าเชียงใหม่และพระโอรสของกษัตริย์หลวงพระบาง
จึงได้ครองทั้งเมืองเชียงใหม่กับอาณาจักรลานช้างนั้น
ได้ทำอุบายของชาวเมืองไปให้พระญาติวงศ์ที่หลวงพระบางได้บูชาแล้วไม่คืนกลับ
เมื่อสร้างเมืองเวียงจันทน์ก็นำประดิษฐานที่วัดพระแก้วเมืองเวียงจันทน์ตลอดมา
ส่วนพระพุทธรูปของหลวงพระบาง คือ พระบาง
ได้อัญเชิญไว้ที่กรุงธนบุรีเช่นเดียวกัน
ภายหลังนั้นได้ส่งพระบางนี้กลับคืนไปเมืองเวียงจันทน์
|