ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  เรื่องราวของกรุงศรีอยุธยา

เรื่องราวของกรุงศรีอยุธยา

ข้อมูลจากคำให้การชาวกรุงเก่าและคำให้การขุนหลวงมหาวัด

 

                กรุงศรีอยุธยานั้นมีเอกสารบันทึกถึงสถานที่และภูมิสถานสำคัญอยู่ในคำให้การชาวกรุงเก่าและคำให้การขุนหลวงหาวัด  (พระเจ้าอุทุมพร)  ซึ่งเก็บความจากคำบอกเล่าของชาวไทยมี่เป็นเชลยพม่า  ที่ถูกกลาดต้อนไปเมื่อ  พ.ศ.  2310  คราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่   2  โดยพม่าได้บันทึกปากคำเชลยทั้งหลายไว้เป็นภาษาพม่า  ต่อมาพบบันทึกเป็นภาษามอญ  จึงได้มีการแปลเป็นภาษาไทย  มีความสำคัญสรุปได้ว่า

 

                กรุงศรีอยุธยานั้นตั้งอยู่ที่ตำบลหนองโสน  ในบริเวณที่มีเป็นชุมทางของแม่น้ำหลายสาย  คือแม่น้ำเจ้าพระยา  แม่น้ำลพบุรี  แม่น้ำป่าสัก  และแม่น้ำน้อย  จึงทำให้มีเส้นทางนำสำหรับใช้คมนาคมติดต่อกับหัวเมืองต่าง  ๆ  ในพระราชอาณาเขตได้สะดวก

 

                ตอนแรกนั้นพื้นที่อยุธยานั้นไม่เป็นเกาะ  ในสมัยพระมหาจักรพรรดิ  โปรดฯให้ขุดคลองหรือคูขื่อหน้า  แยกจากแม่น้ำลพบุรีบริเวณหัวรอลงมาบรรจบแม่น้ำบางกะจะหรือแม่น้ำเจ้าพระยาที่หน้าป้อมเพชร  จึงทำให้พื้นที่อยุธยานั้นเป็นเกาะที่มีแม่น้ำล้อมรอบใช้สำหรับข้าศึกมาประชิดเมืองได้

 

                เนื่องจากอยุธยานั้นมีแม่น้ำสายใหญ่  (แม่น้ำเจ้าพระยา)  ไหลลงใต้ออกสู่อ่าวไทย  จึงเป็นเส้นทางน้ำที่ใช้ให้เรือสินค้าขนาดใหญ่จากต่างประเทศ  สามารถแล่นเข้ามาจอดถึงหน้าเมืองบรเวณหน้าป้อมเพชรได้สะดวก

 

                ดังนั้นพื้นที่อยุธยาจึงมีภูมิสถานเหมาะสำหรับเป็นเมืองท่าขนาดใหญ่  (แม่น้ำเจ้าพระยา)  ที่มีเรือสินค้าต่างชาติพากันเดินทางเข้ามาค้าขาย  จึงเป็นเมืองท่าสำคัญในการเลือกเปลี่ยนสินค้าระหว่างประเทศจากทวีปยุโรปและเอเชียตะวันตก  เช่น  ฮอลันดา  ฝรั่งเศล  อิหร่าน อินเดีย  กับประเทศต่าง  ๆ  ที่อยู่แถบเอเชียตะวันออก  เช่น  จีน  เวียดนาม  และญี่ปุ่น  เป็นต้น

 

                กรุงศรีอยุธยานั้นมีกำแพงเมืองซึ่งเดิมทำด้วยดิน  ต่อมาสมเด็จพระมหาจักพรรดิได้เปลี่ยนเป็นกำแพงอิฐถือปูนล้อมรอบพระนครยาว  310  เส้น  สูงประมาณ  4  วา  ตามแนวกำแพงนั้นมีใบเสมาและสร้างป้อมไว้เป็นระยะ  ๆ  มีป้อมสำคัญ  ๆ  ได้แก่  ป้อมเพชร  (อยู่มุมพระนครด้านใต้ตรงบางจะกะสำหรับสู้ข้าศึกที่จะมาทางเรือด้านใต้ )  ป้อมมหาไชย  (มีปืนขนาดใหญ่ชื่อปราบหงสา  อยู่มุมวังจันทร์เกษมตรงตลาดหัวรอปัจจุบัน  ตรงข้ามวัดสามวิหารที่พม่าตั้งค่ายยิงปืนใหญ่เข้ามาก่อนเสียกรุงครั้งที่สอง)  ป้อมซัดกบหรือท้ายกบ  (อยู่มุมพระนครตรงลำน้ำหัวแหลมใกล้วัดภูเขาทอง  มีปืนมหากาฬมฤตยูราช)  ป้อมสุภรัตน์และป้อมปากท่อและป้อมท้ายสนม  อยู่เหนือป้อมซัดกบ  ป้มนายไก่หรือป้อมนายการ  ป้อมมหาสมุทรและป้อมประตู้ข้าวเปลือก  อยู่เหนือวัดธรรมมิกราช  ป้อมมหาชัยหรือป้อมวัดขวางอยู่ใกล้วังหน้าตรงข้ามวัดแม่นางปลื้ม  ป้อมหอราชคฤห์  (อยู่ริมมาน้ำตรงบางจะกะ)  ป้อมวัดฝาง  (อยู่ระหว่างวัดโคกกับวัดตึก)  ป้อมอกไก่อยู่ใกล้วัดขุนเมืองใจ

 

                ในกรุงศรีอยุธยานั้นมีถนนพูนดินสูง  ปูด้วยอิฐตะแคงหรือดินเปล่า  ชื่อถนนป่าตอง  (เป็นเส้นทางเสด็จพระราชดำเนิน  ผ่านหน้าศาลหลักเมือง  ปัจจุบันคือถนนศรีสรรเพชญ)  ถนนหน้าวัง  (ผ่านหน้าศาลพระกาฬไปป่าตองยาว  50  เส้น  ใช้เป็นเส้นทางรับราชทูต)  ถนนหน้าบางตรา  (จากท่าสิบเบี้ยไปปากมะพร้าว)  ถนนตลาดเจ้าพรม  (เชิงสะพานป่าถึงวัดจันทร์)  ถนนหลังวัง  (ข้างหอกลอง)  ถนนหน้าพระกาฬ  (สี่แยกถนนหลังวังตัดถนนหน้าพระกาฬ  เป็นสี่แยกกลางพระนคร  เรียก  ตะแลงแกง  ใกล้บริเวณที่เรียกว่า  ชีกุน)  ถนนป่ามะพร้าวอยู่ข้างวัดพลับพลาชัย

 

                ส่วนสะพานในกรุงศรีอยุธยานั้นมีสะพานไม้หรืออิฐจำนวนมาก  เช่น  สะพานป่าถ่าน  สะพานชีกุน  สะพานประตูจีน  สะพานประตูเทพหมี  สะพานช้าง  สะพานสายโซ่และ  มีคลองหลายคลอง  มีประตูน้ำทำด้วยเสาไม้เคียน  ไม้เต็งรัง  ตอกปิดปากคลองสองชั้น    แล้วเอาดินมาถ่มตรงกลางเพื่อป้องกันน้ำท่วมในหน้าน้ำและกักน้ำไว้ใช้ในพระนครตอนหน้าแล้ง  เช่น  คลองท่อ  ต่อคลองฉะไกรใหญ่  (อยู่ท้ายวังออกแม่น้ำที่วัดพุทไธสวรรค์)คลองประตูข้าวเปลือกต่อคลองประตูจีน  (อยู่ท่าทรายออกแม่น้ำด้านใต้)  คลองหอรัตนชัย  คลองในไก่  (อยู่ใต้วังจันทร์เกษมตะวันออก  ไปออกแม่น้ำริมป้อมเพชร)  คลองประตูจีน  (อยู่ด้านใต้เหนือคลองในไก่)  คลองประตูเทพหมีหรือเขาสมี  (อยู่ใกล้คลองประตูจีน)  คอลงฉะไกรน้อย  (อยู่เหนือคลองประตูเทพหมี)  คลองประตูท่าพระ  มีบึงใหญ่ในกรุงเรียกว่าบึงชีชัน  (บึงพระราม)  ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำหรับใช้ในฤดูแล้งเมื่อน้ำในแม่น้ำลดลงมาก

 

                กรุงศรีอยุธยานั้นมีประตูน้ำหลายประตู  เป็นประตูเมืองกว้างราว  6  ศอก  มียอดทรงมณฑปทาดินแดงหลายประตูเป็นประตูบก  เช่น  ประตูศรีไชยศักดิ์  ประตูจักรมหิมา  ประตูมหาไพชยนต์  ประตูมงคลสุนทร  ประตูสมณพิศาล  ประตูทวารเจษฎา  ประตูกัลยาภิรมณ์  ประตูอุดมคงคา  ประตูมหาโภคราช  ประตูชาตินาวา  ประตูทักขินาภิรมย์  ประตูพรหมสุคต  ประตูทวารวิจิตร  ประตูโอฬาริกฉัตร  ประตูทวารนุกุล  ประตูนิเวศวิมล  ประตูทวารอุทก  ประตูพระพิฆเนศวร  ประตูศรีสรรพทวารประตูนครไชย  ประตูพลทวาร  ประตูแสดงราม  ประตูสะเดาะเคราะห์  ประตูท่าพระ  ประตูเจ้าปราบ  ประตูชัย  ประตูเจ้าจันทร์  ประตูช่องกุฎ  ฯลฯ  ประตูเมืองเหล่านี้ในปัจจุบันถูกทำลายหมดแล้ว

 

                กรุงศรีอยุธยานั้น  มีอู่เรือพระราชพิธีอยู่ที่  ตำบลคูไม้ร้อง  ระหว่างวัดเชิงท่ากับวัดพนมยงค์มีเรือกว่า  150  ลำ  โดรงเรือพระที่นั่งยาวหนึ่งเส้นห้าวาอยู่ริมวัดตีนท่าถึงคูไม้ล้อม  (ในปัจจุบันชาวบ้านแถบนี้เคยขุดพบเรือโบราณอยู่บ่อย ๆ  )  มีเรือสำหรับออกทะเลสำหรับกษัตริย์เสด็จไปทรงเบ็ดปลาฉนากปลาฉลามสองลำเป็นเรือพระที่นั่งกำปาง  (กำปั่น)  ชื่อพระครุฑพ่าห์พระหงส์พ่าห์  นอกจากนั้นมีเรือพระที่นั่งกิ่งใหญ่  ชื่อแก้วจักรมณีขวา  และสุวรรณจักรรัตน์ซ้าย  เรือพระที่นั่งกองรองเรือทรงชื่อ  สุวรรณพิมานไชยขวา  สมมุติพิมายไชย  แก้วคอกรองขวาและสาลิกาล่องลมซ้าย  มีฝีพาย  500  คน  ฝีพายนี้พักอยู่บ้านโพเรียง  และบ้านพุทเลา

 

                ปืนใหญ่ที่สำคัญในกรุงศรีอยุธยา  มีชื่อนารายณ์สังหาร  (มีประวัติการใช้ใน  พ.ศ.  2086ก่อนเสียกรุงครั้งที่  1)  มหาฤกษ์  มหาไชย  มหาจักร  มหากาล  ปราบหงสา  (มีประวัติการใช้ในปี  พ.ศ.  2310)  ชะวาแตก  อังวะแหลก  ละแวกพินาศ  พิฆาตสังหาร  มารประลัย  มหากาฬ  มหามฤตยูราช  (มีประวัติการใช้ใน  พ.ศ.  2310)  และตาปะขาวกวาดวัด

 

                ภายในพระราชวังหลวงของกรุงศรีอยุธยานั้น  มีพระที่นั่งประทับของพระเจ้าแผ่นดินหลายองค์  พระที่นั่งที่สร้างสมัยพระเจ้าอู่ทอง  (พ.ศ.1893-1912)  มีพระที่นั่งไพทูรย์มหาปราสาท  พระที่นั่งไพชยนต์มหาปราสาท  และ  พระที่นั่งไอสวรรค์มหาปราสาท  สันนิษฐานว่าสร้างด้วยไม้  ต่อมาเกิดไฟไหม้พระที่นั่ง  สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงยกที่ดินในพระราชวังหลวงเดิมให้เป็นเขตพุทธาวาสเมื่อ  พ.ศ.  1991  สถาปนาเป็นวัดพุทธาวาส  (ปัจจุบันคือบริเวณวัดศรีสรรเพชญ์  ทืท่มีพระเจดีย์ใหญ่สามเจดีย์อยู่ข้างวิหารพระมงคลบพิตร  บรรจุพระบรมอัฐของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ  พระบรมราชาที่  .  และสมเด็จพระบรมราชาที่  2)ในสมัยสมเด็จพระไตรโลกนาถ  (พ.ศ.  1991-2031)  นั้นได้โปรดสร้างพระราชวังขึ้นใหม่ทางด้านเหนือของราชวังเดิม  คือพระที่นั่งสรรเพชญ์มหาปราสาท  และพระที่นั่งเบญจรัตน์มหาปราสาท

 

                สมัยพระเจ้าปราสาททองนั้นโปรดให้สร้างพระที่นั่งศรียศโสธร  มหาพิมานบรรยงค์ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นพระที่นั่งจักรพรรดิไพชยนต์มหาปราสาท  นอกจากนี้นี้ยังไดโปรดให้สร้างพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์  พระที่นั่งยรรยงก์รัตนาศน์  และ  พระที่นั่งพิมานรัถยา  ขึ้นอีกด้วย

 

                ภายในกรุงศรีอยุธยานั้น  มีหอกลอง  3  ชั้นสูงสิบวาที่ตะแลงแกง  ชั้นยอดใช้คอยดูข้าศึกชื่อมหาฤกษ์  ชั้นกลางนั้นใช้คอยสังเกตไฟไหม้  ชื่อมหาระงับดับเพลิง  ถ้าไฟไหม้นอกกรุงให้ตี  3  ที  ถ้าไฟไหม้เชิงกำแพงและในกำแพงให้ตีกลองกว่าเพลิงจะดับ  ชั้นล่างสุดใส่กลองใหญ่ชื่อทิวาราตรี  สำหรับตีย่ำเที่ยง  ย่ำสันนิบาต  เพลาตะวันยอแสงพลบค่ำผู้รักษาหอกลอง  คือ  กรมพระนครบาล  ซึ่งจะต้องเลี้ยงวิฬา  (แมว)  ไว้ป้องกันไม่ให้มิสิกะ  (หนู)  มากัดกลองได้  ครั้นเวลาเช้าเย็นนั้น  ให้เก็บเบี้ยร้านหน้าตลาดหน้าคุกร้านละ  5  เบี้ย  สำหรับซื้อปลาย่างให้แมวกิน

 

                สมัยพระนารายณ์มหาราชนั้น  เมื่อลาลูแบร์เข้ามาเป็นทูต  ได้ประมาณจำนวนคนในกรุงศรีอยุธยา  ไว้ว่ามีราว  150,000  คน  ผู้คนนั้นตั้งบ้านเรือนทำด้วยไม้อยู่ริมคลองแม่น้ำและใกล้กำแพงพระนคร  กลางเมืองคงเป็นที่ว่างเปล่าไม่ค่อยมีบ้านเรือนผู้คน  บ้านเรือนที่เป็นตึกในกรุงสยามมีน้อย  เช่น  ตึกขายสินค้าของพวกฝรั่ง  ใกล้ที่จอดกำปั่นท้ายคู

 

                ตึกโคระส่านของพวกเปอร์เชีย  อยู่ที่ลพบุรี  (บางแห่งเรียกตึกคชสาร)  พวกโปตุเกส  วิลันดาญี่ปุ่น  นั้นอยู่ริมน้ำ  ตำบลปากน้ำแม่เบี้ย  ใต้ป้อมเพชร  พวกฝรั่งเศลสร้างโบสถ์และบ้านเรือนอยู่ที่ปางตะเคียนด้านเหนือ

 

                วัดพระพุทธศาสนาในกรุงศรีอยุธยานั้นมีจำนวนมาก  เช่น  วัดพนัญเชิง  อยู่ที่ปลายแหลมจะกะใกล้ที่จอดเรือเดินทะเลปากแม่น้ำแม่เบี้ย  มีจารึกระบุว่ามีการสร้างหลวงพ่อวัดพนัญเชิง  เมื่อ  พ.ศ.  1867  คือ  ก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี  26  ปี  วัดแม่นางปลื้มเป็นวัดสมัยอโยธยา  อยู่ใกล้วัดหน้าพระเมรุ  เป็นที่พม่าตั้งปืนใหญ่ยิงกรุงศรีอยุธยาก่อนเสียกรุงครั้งที่สอง  วัดโคกพญาหรือวักโคกพระยา  หลังวัดหน้าพระเมรุ  นอกเกาะเมืองใกล้ภูเขาทอง  เป็นที่สำเร็จโทษเจ้านาย  ชั้นผู้ใหญ่ด้วยท่อนจันทร์  วัดศาลาปูน  มีจิตรกรรมฝาผนังสมัยอยุธยาตอนปลายที่สำคัญ

 

                ตลาดในกรุงศรีอยุธยานั้น  มีเรือใหย่ท้ายแกว่งชาวเมืองพิษณุโลก  บรรทุกน้ำอ้อยยาสูบมาขายที่หน้าวัดกล้วย  เรือใหญ่ท้ายแกว่งชาวเมืองสวรรคโลกบรรทุกสินค้าฝ่ายเหนือมาจอดตามริมแม่น้ำและในคลองมหาธาตุ  มอญบรรทุกมะพร้าวห้าว  ไม้แสมและเกลือมาขายที่ปากคลองกอแก้ว

 

                มีเกวียนเมืองนครราชศรีมาบรรทุกรัก  ขี้ผึ้ง  ปีกนก  ผ้าตะราง  ผ้าสายบัว  หนัง  เนื้อเอ็น  เนื้อแผ่นมาขายที่ศาลาเกวียน  ชาวบ้านแขวงเมืองวิเศษไชยชาญล่องเรือบรรทุกมาขายข้าวเปลือกที่บ้านวัดสมอ  วัดขนุน  วัดขนาน  ชาวบ้านที่นั่นตั้งโรงศรีครกกระเดื่องซ้อมข้าว  ขายสำเภาและโรงเหล้า  จีนต้มเหล้าขาย  ที่บ้านปากข้าวสาร

 

                เรือระแหงแขวงเมืองตากและเรือยางยาวเหยี่ยวเพชรบูรณ์  นายม  บรรทุกครั่งกำยาน  เหล็กหางกุ้ง  ไต้หวายชัน  น้ำมันยาง  บางทะลุ  บรรทุกกะปิ  น้ำปลา  ปูเค็ม  กะพง  กุเลา  ปลาทู  กระเบนย่างมาจออดเรือขาย

 

                บ้านปูน  วัดเขียน  ทำปูนนาย  บ้านพระกรานจับปลาหมอมาเร่ขายชาวกรุง  เพื่อซื้อปล่อยเทศกาลตรุษสงกรานต์

 

                บ้านหน้าวัดราชพลี  วัดทรมา  ขายโลงและเครื่องสำหรับศพ 

                ย่านป่าตองขายฝ้าย  มีตลาดตะแลงแกงขายของสดเช้าเย็น  ชื่อตลาดกน้าคุก

 

                ตะแลงแกงนี้เป็นที่ประหารนักโทษด้วยการตัดหัว  แล้วสับตัวเป็นท่อน  ๆ  แล้วเสียบประจานไว้  อยู่บนถนนป่าโทน  ใกล้หอกรองใกล้วัดพระราม  ที่ประหารนักโทษอีกแห่งคือที่ประตูท่าช้าง  อยู่ริมแม่น้ำลพบุรี  ตอนเหนือของเกาะเมืองใกล้วัดคงคาราม  สถานที่ประหารทั้งสองแห่งนี้ราษฎรสามารถดูการประหารชีวิตได้  ส่วนสถานที่สำเร็จโทษเจ้านายโดยการใส่ถุงแดงแล้วทุบด้วยท่อนจันทร์คือ  วัดโคกพญา  (โคกพระยา)  อยู่ใกล้ทุ่งภูเขาทองและคลองมหานาค

 

                ในฤดูมรสุมนั้นกรุงศรีอยุธยามี  สำเภาจีน  และกำปั่นสุรัต  (อินเดีย)  อังกฤษ  ฝรั่งเศล  และฝรั่งหมากเกาะ  มาทอดสมอกำปั่นที่บ้านท้ายคู  ขนสินค้ามาอยู่บนตึกในกำแพลกรุง

 

                เรือของแขกชะวา  มลายู  บรรทุกหมากเกาะ  กะแซงตานี  มาขายที่คลองคูจาม

 

                จีนต้มเหล้าเลี้ยงหมูที่บ้านคลองสวนพลู  จีนตั้งโรงสุราที่แม่น้ำหัวแหลมใต้วัดภูเขาทอง  ใต้ศาลเจ้านางหอยลอย

 

                แขกจามทำเสื่อลันไตน้อยใหญ่ขายที่บ้านท้ายคู  แขกจามทอผ่าไหมผ้าด้ายขายที่วัดลอดช่อง  แขกฟั่นเชือกเปลือกมะพร้าวขายนายกำปั่นสุรัตอังกฤษที่บ้านท่ากายี  (ต่อมามีการพบเรือสำเภาอยู่ใต้ท้องน้ำหลายลำ  บางลำมีร่องรอยการถูกเผา  ที่หัวรอ  หัวแหลม  ป้อมเพชรแม่น้ำแม่เบี้ย  ไก้เตี้ย  หัวเกาะเรียน  วัดหัวค้อน  วัดคลองหม้อ  ตลาดสุเหร่าแขก  และโบสถ์วัดสุนทรนั้น  เคยมีประดาน้ำดำของโบราณมาขายเป็นจำนวนมาก)

 

                เอกสารหอหลวงในยุคปลายกรุงศรีอยุธยาได้ระบุว่า  มีซ่องซึ่งมีหญิงโสเภณีรับจ้างทำชำเราแก่บุรุษ  อยู่ที่ตลาดบ้านจีน  ปากคลองขุนละครไชย  หรือคลองตะเคียนที่อยู่นอกเมืองด้านตะวันตก  ซึ่งเป็นท่าเรือสำหรับจอดเรือสินค้าที่มาจากอ่าวไทยและมาจากต่างประเทศ

 

                (จากหนังสือ  รวมเรื่องกรุงเก่า  ของ  พระยาโบราณราชธานินท์  (พร  เตชะคุปต์)  ได้วิเคราะห์ถึงสาเหตุที่กรุงเทพฯ  ทวารวดีศรีอยุธยา  เสื่อมถอยหมดกำลัง  ไว้ในหนังสือกรุงเก่า  (พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ  พ.ศ.  2450  โรงพิมพ์อักษรนิติ์)  ว่า

 

“ต้นเหตุเกิดตั้งแต่พระเจ้าทรงธรงแย่งพระราชสมบัติพระศรีเสาวภาคย์  เมื่อจุลศักราช  964  นั้น  ฆ่าขุนนางเก่าเสียมาก  มาแผ่นดินพระเจ้าปราสาททองฆ่าขุนนางพวกพระเชษฐาธิราช  แต่เห็นจะน้อย  ครั้นถึงแผ่นดินพระนารายณ์  ฆ่าขุนนางที่เป็นพวกเจ้าฟ้าชัย  และพระศรีสุธรรมราชาเกือบหมด  จนต้องใช้ขุนนางแขกลาวฝรั่ง  มีพระรามเดโช  พระยาราชวังสัน  พระยาศรีหราชเดโชชัย  และพระยาวิชาเยนต์  เป็นต้น

 

                ต่อมาในแผ่นดินพระเพทราชาก็ฆ่าขุนนางพระนารายณ์เกือบหมด  แผ่นดินพระพุทธเจ้าเสือเห็นจะฆ่ามากเพราะคนนิยมพระเจ้าขวัญ  แผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ  เมื่อจุลศักราช  1094  ข้าราชการวังหลวงเห็นจะตายทั้งหมด  คิดดูในระหว่าง  130  ปี  ฆ่าเททิ้งกันเสียถึง  7  ครั้ง  เป็น  18  ปีฆ่ากันครั้งหนึ่ง  หรือถ้ารอดตายก็กลายเป็นไพร่หลวงและตะพุ่นหญ้าช้างถ้าจะนับพวกรอดตายก็จะต้องว่าผู้ดีกลายเป็นไพร่

 

                เมื่อเป็นเช่นนี้มาตอนหลังบ้านเมืองจะมีกำลังได้อย่างไรกัน  ซ้ำขุนหลวงมหาวัดกับพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ก็ไม่ปรองดองกัน  จึงทำให้การปกครองบ้านเมืองแปรปรวนรวนเรไป  เพราะฉะนั้นมีศึกพม่ามาประชิดติดพระนคร  จึงไม่มีตัวข้าราชการที่สามารถเป็นแม่ทัพนายกองนำพลเข้าต่อสู้ข้าศึก....เหตุการณ์ที่เป็ฯมาแต่ต้นจนเสียเมืองก็สมกับพงศาวดารกล่าวว่าชาตากรุงทวารวดีถึงกาลขาด

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม เรื่องราวของกรุงศรีอยุธยา

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์