ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  เหตุการณ์สำคัญสมัยกรุงศรีอยุธยาต

 

เหตุการณ์สำคัญสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น(1)

ข้อมูลจากจดหมายเหตุเก่สมัยพระนารายณ์

 

 

                เหตุการณ์สำคัญในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้นมีความปรากฏในพงศาวดารอยู่หลายฉบับสำหรับเอกสารเก่าที่มีความเชื่อถืออยู่มากนั้น  คือ  จดหมายเหตุของโหราบดีที่เขียนในสมัยพระนารายณ์  เมื่อ  พ.ศ.  2223  นักประวัติศาสตร์รู้จักกันในชื่อ  พงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์  เอกสารนี้ตั้งชื่อตามผู้ค้นพบคือ  พระยาปริยัติธรรมธาดา  (แพ  ตาละลักษณ์  เปรียญ)  เมื่อครั้งเป็นหลวงประเสริฐอักษรนิติ์    ซึ่งไดเอกสารมาจากชาวบ้านแล้วนำมามอบให้หอสมุดวชิรญาน  เมื่อวันที่  19  มิถุนายน  ร.ศ.  126  (พ.ศ.2451)

 

                ความใน  พงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์  นี้เป็นเอกสารที่เรียบเรียงไว้เมื่อจุลศักราช  1042  (พ.ศ.  2223)  ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์  เป็นจดหมายเหตุสำคัญเขียนลงในสมุดไทย  เขียนเป็นลายมือสมัยอยุธยาตอนปลาย  มีข้อความเป็นเหมือนพงศาวดารย่อมีเนื้อหาสาระคล้ายกับพงศาวดารฉบับกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส  ซึ่งมีข้อความหลักฐานที่ถูกต้องกว่าฉบับอื่น  ๆ  เดิมเอกสารเก่านี้น่าจะมี  2  เล่มจบ  แต่ได้มาเพียงเล่มเดียว

 

                พงศาวดารเล่มนี้ถือเป็นประวัติศาสตร์ที่ได้รับการเชื่อถือได้มากที่สุด  มีประโยชน์การตรวจสอบศักราชของเหตุการณ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาให้มีความชัดเจนขึ้น

 

                (ข้อความเดิมพิมพ์ตามอักขระเดิม  ส่วนข้อความลบเลือนได้เขียนเพิ่มไว้ในวงเล็บเพื่อต่อให้มีความสมบูรณ์)  ดังนี้

 

                ศุภมัสดุ  1042  ศกวอก  นัก  (ษัตร  ณ  วัน  4)  12  5  ค่ำ  (พ.ศ.  2223)  ทรงพระ  (กรุณาโปรด)  เหนือเกล้าเหนือกระหม่อมสั่งว่า  ให้เอากฎหมายของพระ  (หราเขียน)  ไว้แต่ก่อนและกฎหมายเหตุซึ่งหาได้หอหนังสือ  และเหตุซึ่งมีในพงศาวดารนั้น  ให้คัดด้วยกันเป็นแห่งเดียว  ให้ระดับศักราชกันมาตุงเท่าบัดนี้

 

                จุลศักราช  686  ชวดศก  (พ.ศ.  1687)  แรกสถาปนาพระพุทธเจ้า  เจ้าพแนงเชิง

 

                ศักราช  712  ขาลศก  (พ.ศ.  1893)  วัน  6  6  ฯ  5)  ค่ำ  เพลารุ่งแล้ว  3  นาฬิกา  9  บาทแรกสถาปนากรุงศรีอยุธยา

 

                ศักราช  731  ระกาศก  (พ.ศ.  1912)  แรกสร้างวัดพระราม  ครั้งนั้นสมเด็จพระรามาธิบดีเจ้าเสด็จนฤพาน  จึงพระกุมารท่านสมเด็จพระ   (ราเม)  ศวรเจ้าเสวยราชสมบัติ  ครั้นเถิงศักราช  732  จอศก  (พ.ศ.  1913)  สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า  เสด็จมาแต่เมืองสุพรรณบุรีขึ้นเสวยราชสมบัติพระนครศรีอยุธา  และท่านจึงได้สมเด็จพระราเมศวรเจ้า  เสด็จไปเสวยราชสมบัติเมืองลพบุรี

 

                ศักราช  733  กุนศก  (พ.ศ.  1914)  สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า  เสด็จไปเอาเมืองเหนือและได้เมืองเหนือทั้งปวง

 

                ศักราช  735  ฉลูศก  (พ.ศ.  1916)  สมเด็จไปเมืองชากัง  (ราวและพระยา)  ใสแก้วและพระยาคำแหง  เจ้าเมืองรากังราว  ออกต่อรบท่าน  ๆ  (ได้ฆ่าพระยา)  ใสแก้วตาย  และพระยาคำแหงและพลทั้งปวงหนีเข้าเมืองได้  และทัพ  (หลวง) เสด็จกลับคืนมา

 

                ศักราช  736  ขาลศก  (พ.ศ.  1917)  สมเด็จพระบรมราชา  (ธิราช)  เจ้า  และพระมหาเถระธรรมากัลป์ญาณ  แรกสถาปนาพระศรีรัตนมหาธาตุ  ฝ่ายบูรพาทิศหน้าพระบันชั้นสิงห์  สูงเส้น  3  วา

 

                ศักราช  737  มะโรงศก  (พ.ศ.  1918  เสด็จไปเอาเมืองพิษณุโลก  และได้ตัวขุนสามแก้วเจ้าเมืองและครัว  (อพ)  ยพมาครั้งนั้น

 

                ศักราช  738  มะโรงศก  (พ.ศ.  1919)  เสด็จไปเอาเมือง  (ชากังราว)  เล่า  ครั้งนั้นพระยาคำแหงและท้าวผ่าคอง  คิดด้วยกันว่าจะยอทัพ  (หลวง  จะและ)  ทำมิได้  และท้าวผ่าคองเลิกทัพหนี และจึงเสด็จหนีทัพหลวงตาม  และท้าวผ่าคองนั้นแตก  และจับได้ตัวเท้าพระยาและเสนาขุนหมื่นครั้งนั้นมาก  และทัพหลวงเสด็จกลับคืน

 

                ศักราช  740  มะเมียศก  (พ.ศ.  1921)  เสด็จไปเอาเมืองชากังราวเล่า  ครั้งนั้นมหาธรรมราชาออกรบทัพหลวงเป็นสามารถ  และเห็นว่าจะต่อทัพหลวงมิได้  จึงมหาธรรมราชออกถวายบังคม

 

                ศักราช  (748)  ขาลศก  (พ.ศ.  1929)  เสด็จไปเอาเมืองเชียงใหม่  และเข้าไปปล้นเมืองนครลำภางมิได้  จึงแต่งหนังสือให้เข้าไปแก่หมื่นนคร  เจ้าเมืองนครลำภางมิได้  จึงแต่งหนังสือให้เข้าไปแก่หมื่นนครเจ้าเมืองนครลลำภาง  ๆ  นั้นยอมถวายมงคล  และทัพหลวงเสด็จกลับคืน

 

                ศักราชได้  750  มะโรงศก  (พ.ศ.  1931)  เสด็จไปเอาเมืองชากังราวเล่า  ครั้งสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า  ทรงพระประชวรหนักจึงเสด็จกลับคืน  ครั้งเถิงกลางทาง  สมเด็จพระบรมราชาเจ้านครศรีอยุธยาได้  7  วัน  จึงเสด็จพระราเมศวรยกพลมาแต่เมืองลพบุรี  ขึ้นถวายราชสมบัติพระนครศรีอยุธยา  และท่านจึงพิฆาตเจ้าทองลันเสีย

 

                ศักราช  757  กุนศก  (พ.ศ.  1938)  สมเด็จพระราเมศวรเจ้านฤพาน  จึงมีราชกุมารท่านเจ้าพระยาราม  เสวยราชสมบัติ

 

                ศักราช  771  ฉลูศก  (พ.ศ.  1952)  สมเด็จพระยารามเจ้ามีความพิโรธแก่เจ้าเสนาบดีและท่านให้กุมเจ้าเสนาบดีหนีรอด  (และข้ามไป)  อยู่ฟากปท่าคูจามนั้นและเจ้าเสนาบดีจึงให้ไปเชิญสมเด็จ  (พระอินท)  ราชาเจ้ามาแต่เมืองสุพรรณบุรี  ว่าจะเข้ามาเอาพระนครศรีอยุธยาถวาย  ครั้นสมเด็จพระอินราชาเจ้าเสด็จได้เถิงไซร้  จึงเจ้าเสนายกพลไปปล้นเอาพระนครศรีอยุธยาได้  จึงเชิญสมเด็จพระอินทเจ้าขึ้นเสวยราชสมบัติ  และท่านจึงให้สมเด็จพระยารามเจ้าไปกินเมืองปทาคูจาม

 

                ศักราช  781  กุนศก  (พ.ศ.  1962)  มีข่าวมาว่า  พระมหาธรรมราชาธิราชเจ้านฤพานและเมืองเหนือทั้งปวงเป็นจลาจล  และจึงเสด็จไปถึงเมืองพระบาง  ครั้งนั้นพระยาบาลเมืองและพระยารามออกถวายบังคม

 

                ศักราช  786  (พ.ศ.  1967)  สมเด็จพระอินทราชาเจ้า  ทรง  (ประ)  ชวร  นฤพานครั้งนั้นเจ้าอ้ายพระยาและเจ้ายี่พระยา  พระราชกุมารของท่านชนช้างด้วยกัน  ณ  สะพานป่าถ่าน  เถิงพระราลัยทั้ง  2  พระองค์ที่นั่นจึงพระราชกุมารเจ้าสามพระยา  ได้เสวยราชสมบัติพระศรีอยุธยา  ทรงพระ)  นามสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าและท่านจึงได้ก่อเจดีย์สองพระองค์สวมที่เจ้าพระบาอ้ายและเจ้าพระยายี่ชนช้างกัน  เถิง  (อนิจ)  ภาพตำบลป่าถ่านนั้น  ในศักราชนั้นสถาปนาวัดราชบุณ

 

                ศักราช  793  กุนศก  (พ.ศ.  1974)  สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าเสด็จไปเอาเมือง  (นครหลวง)  ได้  และท่านจึงให้พระราชกุมารท่านพระนครอินทร์เจ้าเสวยพระราชสมบัติ  ณ  เมืองนครหลวงนั้น  ครั้งนั้นท่านจึงให้พระยาแก้ว  พระยาไทย  และรูปภาพทั้งปวง  มายังพระนครศรีอยุธยา

 

                ศักราช  800  มะเมียศก  (พ.ศ.  1981)  ครั้นสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า  สร้างวัดมะเหยงคณ์  เสวยราชสมบัติ  และสมเด็จพระราเมศวร  (เจ้าผู้เป็น)  พระราชกุมาร  ท่านเสด็จไปเมืองพิษณุโลกครั้งนั้นเห็นน้ำพระเนตรพระพุทธชินราชออกมาเป็นโลหิต

 

                ศักราช  801 วอกศก  (พ.ศ.  1983)  ครั้งนั้นเกิดเพลิงไหม้พระที่นั่งราชมณเฑียร

 

                ศักราช  803  ระกาศก  (พ.ศ.  1984)  ครั้งนั้นเกิดเพลิงไหม้พระที่นั่งตรีมุก

 

                ศักราช  804  วกศก  (พ.ศ.  1985)  สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า  เสด็จไปเอาเมืองชียงใหม่และเข้าปล้นเมืองมิได้  พอทรงพระประชวร  และทัพหลวงเสด็จกลับคืน

 

                ศักราช  806  ชวดศก  (พ.ศ.  1987)  เสด็จไปปราบทัพและตั้งทัพหลวงตำบลปะทายเขษม  ครั้งนั้นได้เชลย  120,000  คน  ทัพหลวงเสด็จกลับ  (คืน)

 

                ศักราช  810  มะโรงศก  (พ.ศ.  1919)  สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าเสด็จนฤพาน  จึงพระราชกุมารท่าน  สมเด็จพระราเมาศวรเจ้าเสวยราชสมบัติ  ทรงพระนามสมเด็จพระบรมไตรโลกเจ้า

 

                ศักราช  813  มะแมศก  (พ.ศ.  1994)  ครั้งนั้นมหาราชมาเอาเมืองชากังราวได้  แล้วจึงเอาเมืองสุโขทัย  เข้าปล้นเมืองมิได้ก็เลิกทัพกลับคืน

 

                ศักราช  816  จอศก  (พ.ศ.  1997)  ครั้งนั้นคนทั้งปวงเกิดทรพิษตายมากนัก

 

                ศักราช  817  กุนศก  (พ.ศ.  1998)  แต่งทัพให้ไปเอาเมืองมะละกา

 

                ศักราช  818  ชวดศก  (พ.ศ.  1999)  แต่งทัพให้ไปเอาเมืองลิสบทิน  ครั้งนั้นเสด็จหนุนทัพขึ้นไปทัพหลวงตำบลโคน

 

                ศักราช  819  ฉลูศก  (พ.ศ.  200)  ครั้งนั้นข้าวแพงเป็นทะนานแล  800  เบี้ย  เมื่อคิดเสมอเบี้ยเฟืองแล  800 นั้น  เกวียนหนึ่งเป็นสามชั้งสิบบาท

 

                ศักราช  820  ขาลศก  (พ.ศ.  2001)  ครั้งนั้นให้บุณพระศาสนาบริบูรณ์  และหล่อพระโพธิสัตว์  500  ชาติ

 

                ศักราช  822  มะโรงศก  (พ.ศ.  2003)  เล่นการมหรสพฉลองพระ  และพระราชทานแก่พระสงฆ์และพราหมณ์และวณิพกทั้งปวง  ครั้งนั้นพระยาเขลียงคิดเป็นขบถ  พาเอาครัวทั้งปวงไปออกแต่มหาราช

 

                ศักราช  823  มะเส็งศก  (พ.ศ.  2004)  พระยาเชลียงนำมหาราชจะมาเอาเมืองพิษณุโลกเข้าปล้นเมืองเป็นสามารถ  มิได้เมืองแล้วจึงยกทัพเปร่อไปเอาเมืองกำแพงเพชร  และเข้าปล้นเมืองเถิงเจ็ดวันมิได้เมือง  และมหาราชก็เลิกทัพคืนไปเชียงใหม่

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม เหตุการณ์สำคัญสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น(1)

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์