เหตุการณ์สำคัญสมัยกรุงศรีอยุธยาต
เหตุการณ์สำคัญสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น(2)
ศักราช 824
มะเมียศก (พ.ศ 2005) เมืองนครไทย พ้เอาครัวอพยพหนีไป
และให้พระกลาโหมไปตามคืนมา แล้วพระกลาโหมยกพลไปเอาเมืองสุโขทัย
ได้เมืองคืนดุจเก่า
ศักราช 825 มะแมศก (พ.ศ. 2006) สมเด็จพระบรมไตรโลกเจ้า
ไปเสวยราชสมบัติเมืองพิษณุโลก
และตรัสให้พระเจ้าแผ่นดินเสวยราชสมบัติพระนครศรีอยุธยา ทรงพระนามสมเด็จพระบรมราชา
ครั้งนั้นมหาราชท้าวลูก ยกพลเอาเมืองสุโขทัย จึงสมเด็จพระบรมไตรโลกเจ้า
และสมเด็จพระอินทราชาเสด็จไปกันเมือง และสมเด็จพระราชาตีทัพพระยาเถียรแตก
และทัพท่านมาประทับหมื่นนคร และท่านได้ชนช้างด้วยหมื่นนคร
และครั้งนั้นเป็นโกลาหลใหญ่และข้าเถิงลาวทั้งสี่ช้างเข้ารุมพระที่นั่งข้างเดียวนั้น
ครั้งนั้นสมเด็จพระอินทราชาเจ้าต้องปืน ณ พระพักตร์
และทัพมหาราชนั้นเลิกกลับคืนไป
ศักราช 426 วอกศก (พ.ศ. 2007) สมเด็จพระบรมไตรโลกเจ้า
สร้างพระวิหารวัดจุฬามณี
ศักราช 827 ระกาศก (พ.ศ. 2008) สมเด็จพระบรมไตรโลกเจ้า ทรงผนวช ณ
วัดจุฬามณีได้ 8 เดือน แล้วลาผนวช
ศักราช 830 ชวดศก (พ.ศ. 2011) ครั้งนั้นมหาราชท้าวบุญ
ชิงเอาเมืองเชียงใหม่แก่ท้าวลูก
ศักราช 833 เถาะศก (พ.ศ. 2014) ได้ช้างเผือก
ศักราช 834 มะโรงศก (พ.ศ 2015) พระราชสมภพพระราชโอรสท่าน
ศักราช 835 มะเส็งศก (พ.ศ. 2016) หมื่นนครได้ลอกเอาทองพระเจ้าลงมาหุ้มดาบ
ศักราช 836 มะเมียศก (พ.ศ. 2017) เสด็จไปเอาเมืองเชลียง
ศักราช 837 มะแมศก (พ.ศ. 2018) มหาราชขอมาเป็นไมตรี
ศักราช 839 ระกาศก (พ.ศ. 2020) แรกตั้งเมืองนครไทย
ศักราช 841 กุนศก (พ.ศ. 2022) พระสีหราชเดโชเถิงแก่กรรม
ศักราช 842 ชวดศก (พ.ศ. 2023) พระยาล้านช้างเถิงแก่กรรม
และพระราชทานให้อภิเษกพระยาซ้ายขวาเป็นพระยาล้านช้างแทน
ศักราช 844 ขาลศก (พ.ศ. 2025) ท่านให้เล่นมหรสพ 15 วัน
ฉลองพระศรีรัตนมหาธาตุ แล้งจึงพระราชนิพนธ์มหาชาติคำหลวงจบบริบูรณ์
ศักราช 845 เถาะศก (พ.ศ. 2026) สมเด็จพระบรมราชาเจ้า
เสด็จไปวังช้างตำบลไทยย้อย
ศักราช 846 มะโรงศก (พ.ศ. 2027) สมเด็จพระเชษฐาธิราชเจ้า
และสมเด็จพระราชโอรสสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าทรงพระผนวชทั้งสองพระองค์
ศักราช 847 มะเส็งศก (พ.ศ. 2028)
พระราชโอรสท่านลาผนวชและประดิษฐานพระองค์นั้น ไว้ในพระมหาอุปราช
ศักราช 848 มะเมียศก (พ.ศ. 2029) สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า
ไปวังช้างตำบลสัมฤทธิบูรณ์
ศักราช 849 มะแมศก (พ.ศ. 2030) ท้าวมหาราชลูกพิราลัย
ศักราช 850 วอกศก (พ.ศ. 2031) สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า
เสด็จไปเมืองทวายและเมื่อเมืองทวายนั้นเกิดอุบาทว์เป็นหลายประการโคตกลูกหนึ่งตัวเป็นแปดเท้า
ไก่ฟักไข่ตัวหนึ่งเป็นสี่เท้า ไก่ไข่สามค่องออกลูกหกตัว อนึ่งข้าวสารงอกเป็นใบ
อนึ่งในปีเดียวกันนั้น
สมเด็จพระราชาบรมไตรโลกนาถเสด็จนฤพาน ณ
เมืองพิษณุโลก
ศักราช 852 จอศก (พ.ศ. 2033) แรกให้ก่อกำแพงเมืองพิชัย
ศักราช 853 วอกศก (พ.ศ. 2035) สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้านฤพาน
จึงสมเด็จพระเชษฐาธิราชเจ้าเสวยราชสมบัติพระนครศรีอยุธยา
ทรงพระนามสมเด็จพระรามฺบดี
ศักราช 854 ชวดศก (พ.ศ. 2035) ประดิษฐานมหาสถูปพระบรมธาตุ
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และพระสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า
ศักราช 858 มะโรงศก (พ.ศ. 2039) ท่านประพฤติการเบญจาพิธพระองค์ท่าน
และให้เล่นการดึกดำบรรพ์
ศักราช 859 มะเส็งศก (พ.ศ. 2040) ท่านให้ทำการปฐมกรรม
ศักราช 861 มะแมศก (พ.ศ. 2042) แรกสร้างพระวิหารศรีสรรเพชญ์
ศักราช 862 วอกศก (พ.ศ. 2043) สมเด็จพระรามาธิบดีเจ้า
แรกให้หล่อพระพุทธเจ้าพรีศรีสรรเพชญ์ และแรกหล่อในวันพระอาทิตย์ ขึ้น 11 ค่ำ
เดือน 6 ครั้นเถิงศักราช 865 กุนศก (พ.ศ. 2046) วันศุกร์ ขึ้น 11 ค่ำ
เดือน 8 ฉลองพระพุทธเจ้าศร้สรรเพชญ์คณนา พระพุทธเจ้านั้น
แต่พระบาทเถิงยอดรัศมีนั้น สูง 8 วา พระพักตร์นั้นยาวได้ 4 ศอก
กว้างพระพักตร์นั้น 3 ศอก และพระอุระนั้นกว้าง 22 ศอก
และทองหล่อพระพุทธเจ้านั้นหนัก 5 หมื่น 3
พันชั่งทองคำหุ้มนั้นหนักสองร้อยแปดสิบหกชั่ง ข้างหน้านั้นทองเนื้อ 7 น้ำสองขา
ข้างหลังนี้นทองเนื้อ 6 ขา
ศักราช 877 (พ.ศ. 2058) วันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เพลารุ่งแล้ว 8
ชั้น 3 ฤกษ์ 9 ฤกษ์ สมเด็จพระรามาธิบดีเสด็จไปเมือง น (คร) ลำ (ภางได้)
เมือง
ศักราช 880 (พ.ศ. 2061) ครั้งสมเด็จพระรามาธิบดี
สร้างพระศรีสรรเพชญ์เสวยราชสมบัติ แรกตำราพิชัยสงครามและแรก (ทำสารบาญ) ชี
พระราชสัมฤทธิ์ทุกเมือง
ศักราช 886 วอกศก (พ.ศ. 2067) (ครั้ง) นั้นเห็น (งา)
ช้างเจ้าพระยาปราบแตกข้างขวายาวไป อนึ่งในเดือน (นั้นมีผู้ทอดบัตร) สรเท่ห์
(ครั้งนั้นให้) ฆ่าขุนนางเสียมาก
ศักราช 887 ระกาศก (พ.ศ. 2068) น้ำน้อย ข้าวเสียทั้งปวง
อนึ่งแผ่นดินไหวทุกเมืองและเกิกอุบาทว์หลายประการ ครั้งรุ่งปีศักราช 888 จอศก
(พ.ศ. 2069) (ข้าวสารแพง) เป็น 3 ทะนาน ต่อเฟื่องเบี้ยแปดร้อย
เกวียนหนึ่งเป็นเงินชั่งหกตำลึง
ครั้งนั้นประดิษฐานสมเด็จหน่อพุทธางกรูเจ้าในที่อุปราชและใฟ้เสด็จขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก
ศักราช 891 ฉลูศก (พ.ศ. 2072) เห็นอาการนิมิตเป็นอินทรธนูแต่ทิศรหดี
ผ่านอากาศมาทิศพายัพ มาพรรณขาว วันอาทิตย์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 12
สมเด็จพระรามาธิบดีเจ้า เสด็จพระที่นั่งหอพระครั้นค่ำลงวัน (นั้น)
สมเด็จพระรามาธิบดีเจ้านฤพาน
จึงสมเด็จพระอาทิตย์เจ้าเสวยราชสมบัติพระนครศรีอยุธยา
ทรงพระนามสมเด็จบรมราชาหน่อพุทธางกรู
ศักราช 895 มะเส็งศก (พ.ศ. 2076)
สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกรูเจ้านฤพานจึงสมเด็จพระราชกุมารได้เสวยราชสมบัติ
ครั้นเถิงศักราช 896 มะเมียศก (พ.ศ. 2077) พระราชกุมารท่านนั้นเป็นเหตุ
จึงได้ราชสมบัติแก่ไชยราชาธิราชเจ้า
ศักราช 900 จอศก (พ.ศ. 2081) แรกให้พูนดิน ณ วัดชีเชียงในเดือน 6 นั้น
แรกสถาปนาพระพุทธเจ้าและพระเจดีย์ เถิงเดือน 11 เสด็จเสด็จไปเชียงไกรเชียงกราน
เถิงเดือน 4 ขึ้น 9 ค่ำ เพลาค่ำประมาณยามหนึ่ง เกิดลมพายุพัดนักหนา
และคอเรืออ้อมแก้วแสนเมืองมานั้นหัก และเรือไกรแก้วนั้นหลาย
อนึ่งเมื่อเสด็จแต่เมืองกำแพงเพชรนั้น ว่าพระนารายณ์คิดเป็นขบถ
และให้กุมเอาพระนารายณ์นั้นฆ่าเสียในเมืองกำแพงเพชร
ศักราช 907 มะเส็งศก (พ.ศ. 2088) วันพุธ ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 7
สมเด็จพระราชาธิราช เจ้า เสด็จไปเชียงใหม่ ให้พระยาพิษณุโลกเป็นทัพหน้า
และยกทัพพลออกตั้งทัพชัย ตำบลบางบาล ณ วันเสาร์ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 7
จึงยกทัพหลวงจากทัพชัยไปเมืองกำแพงเพชรเถิง ณ วันอังคาร แรม 9 ค่ำ เดือน 7
เสด็จออกจากทัพชัย ณ เมืองกำแพงเพชร ณ วันอาทิตย์ แรม 14 ค่ำ เดือน 7
ยกทัพไปตั้งเชียงทอง แล้วยกไปตั้ง ณ เมืองเชียงใหม่ เถิง ณ วันอาทิตย์ ขึ้น
4 ค่ำ เดือน 9 ทัพหลวงเสด็จคืนเมืองชียงใหม่ เถิงวันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ
เดือน 9 ทัพหลวงเถิงเมืองกำแพงเพชร แล้วเสด็จมายังพระนครศรีอยุธยา
ฝ่ายพระนครศรีอยุธยานั้น ในวันพุธ ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 3 เกิดไฟไหม้เถิง 3
วัน จึงดับได้และจึงมีบาญชีเพลิงไหม้นั้น 10,050 เรือน ณ วันอาทิตย์ ขึ้น
11 ค่ำ เดือน 2 สมเด็จพระไชยราชาธิราชเจ้า
เสด็จไปเมืองชียงใหม่และให้พระยาพิษณุโลกเป็นทัพหน้า
และยกทัพหลวงเสด็จไปเมืองกำแพงเพชร แรมทัพอยู่ ณ เมืองกำแพงเพชรนั้นเดือนหนึ่ง
เถิง ณ วันพฤหัสบดี ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 3 เสด็จออกตั้งทัพชัยเถิง ณ
วันอาทิตย์ ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 3 จึงยกทัพเสด็จไปเมืองชียงใหม่แล ณ
วันอังคาร ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 4 ได้เมืองลำพูนชัย วันศุกร์ขึ้น 13 ค่ำ
เดือน 4 มีอุบาทว์เห็นเลือดติดอยู่ ประตูบ้านเรือนและวัดทั้งปวง
ในเมืองและนอกเมืองทั่วทุกตำบล เถิง ณ วันจันทร์ แรม 15 ค่ำ เดือน 4
ยกทัพเสด็จจากเมืองเชียงใหม่ มายังพระนครศรีอยุธยา
ศักราช 908 มะเมียศก (พ.ศ. 2089) เดือน 6
นั้น สมเด็จพระไชยราชาธิราชเจ้านฤพานจึงสมเด็จพระเจ้ายอดฟ้า
พระราชกุมารท่านเสวยราชสมบัติพระนครศรีอยุธยา ในปีนั้นแผ่นดินไหว
|