เหตุการณ์สำคัญสมัยกรุงศรีอยุธยาต
เหตุการณ์สำคัญสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น(3)
ศักราช 910 วอกศก
(พ.ศ. 2091) วันเสาร์ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 เสด็จออกสนามให้ชนช้าง
และช้างพระยาไฟนั้นหักเป็น 3 ท่อน อนึ่งอยู่ 2 วัน
ช้างต้นพระฉันทันต์ไล่ร้องเป็นเสียงสังข์ อนึ่งประตูไพรยนต์ร้องเป็นอุบาทว์
เถิงวันอาทิตย์ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 8 สมเด็จพระเจ้ายอดฟ้าเป็นเหตุ
จึงขุนชินราชได้ราชสมบัติ 42 วัน
และขุนชินราชและแม่ยั่วศรสุดาจันทร์เป็นเหตุจึงเชิญเสด็จพระเธียรราชาธิราชเสวยราชสมบัติ
ทรงพระนามสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ และครั้นเสวยราชสมบัติได้ 7 เดือน
พระยาหงสาปังเสวกี ยกทัพมาพระนครศรีอยุธยาในเดือน 4 นั้น
เมื่อเสด็จพระมหาจักรพรรดิเจ้าเสด็จออกไปรบหงสานั้น สมเด็จพระองค์มเหสี
และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระราชบุตรตรีเสด็จทรงช้างออกไปโดยเสด็จออกไปด้วย
และเมื่อได้รบหงสานั้นทัพหน้าแตกมาปะทะทัพหลวงเป็นโกลาหลใหญ่ และสมเด็จองค์มเหสี
และสมเด็จลูกยาเธอราชบุตรตรีนั้นได้รบด้วยเศิกสิ้นชนม์กับคอช้างนั้นและเศิกหงสาครั้งนี้เสียสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า
และสมเด็จพระลูกยาเธอพระราเมศวรไปแก่พระยาหงสา
และจึงเอาพระยาปราบและช้างต้นพระยานุภาพ
ตามไปส่งให้พระยาหงสาเถิงเมืองกำแพงและพระยาหงสาจึงส่งพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า
สมเด็จพระราเมศวรเจ้า มายังพระนครศรีอยุธยา
ศักราช 911 ระกาศก (พ.ศ. 2092 ณ วันเสาร์ ขึ้น 10 คำ เดือน 2
ได้ช้างพลายตำบลป่ามะนาวตำบลศรีสูง 4 ศอกมีเศษ ชื่อปัจจัยนาเคนทร์
ครั้งนั้นแรกให้ก่อกำแพงพระนครศรีอยุธยา
ศักราช 912 จอศก (พ.ศ. 2093) เดือน 8 ขึ้น 2 ค่ำ
ทำการพระราชพิธีปฐมกรรมสมเด็จพระมหาจัรกพรรดิเจ้า ตำบลท่าแดง
พระกรรมวาจาเป็นพฤฒิบาศ พระพิเชฏฐ์เป็นอัษฎาจารย์ พระอินโทรกรมการ
ศักราช 914 ชวดศก (พ.ศ. 2095) ตรั้งนั้นได้แปลงเรือแซและเรือชัยเป็นหัวสัตว์
ศักราช 915 ฉลูศก (พ.ศ. 2096) เดือน 7 นั้น แรกทำการราชพิธีมัธยมกรรม
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ตำบลชัยนาถบุรี
ศักราช 916 ขาลศก (พ.ศ. 2097)
เสด็จไปวังช้างตำบลวังลำมุง ได้ช้างพลายพัง 60 ช้าง อนึ่งในเดือน 12 นั้น
ได้ช้างเผือกตำบลกาญจนบุรีสูง 6 ศอกเศษ ชื่อพระคเชนโทรดม
ศักราช 917 ฉลูศก (พ.ศ. 2098) วันจันทร์ แรม 7 ค่ำ
ได้ช้างเผือกพลายตำบลป่าเพชรบุรี สูง (สี่ศอกคืบหนึ่งชื่อพระ) แก้วทรงบาศ
ศักราช 918 มะโรงศก (พ.ศ.2099) เดือน 12 (แต่งทัพไปละแวก)
พระยาองค์สวรรคโลกเป็นทัพหลวงถือพล 3 (0,000 ให้พระ) มหามนตรีถืออาชญญาสิทธิ์
พระมหา (เทพถือวัวเกวียว 11...) ฝ่ายทัพเรือไซร้ พระยาเยาวเป็นนายกอง
ครั้งนั้นลมพัดขัด ทัพเรือมิทันทัพบก และพระยารามลักษณ์ (ซึ่ง)
เกณฑ์เข้าทัพบกนั้น เข้าบกทัพในกลางคืน และทัพพระยารามลักษณ์นั้นแตกมาประทัพใหญ่
ครั้งนั้นเสียพระยาองค์สวรรคโลกนายกองและช้างม้ารี้พลมาก
ศักราช 919 มะเส็งศก (พ.ศ. 2100) วันอาทิตย์ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 4
เกิดเพลิงไหม้ในพระราชวังมาก อนึ่งในเดือน 3 นั้น
ทำการพระราชพิธีอาจาริยาภิเษก และทำการพระราชพิธีอินทราภิเษกในวังใหม่
อนึ่งในเดือน 4 นั้น พระราชทานสัตดกมหาทาน
และให้ช้างเผือกพระราชทานมีกองเชิงเงิน 4 เท้าช้างนั้น เป็น เงิน 1,600 บาท
และพระราชทานรถ 7 รถ เทียมด้วยม้า และมีนางสำหรับเสมอรถนั้นมี 7 นาง
อนึ่งในเดือน 7 นั้น เสด็จไปวังช้างตำบลโครกพระ ได้ช้างพลายพัง 60 ช้าง
ศักราช 921 ฉลูศก (พ.ศ. 2102) เสด็จไปวังช้างตำบลแสนตอ ได้ช้างพลาย 40 ช้าง
ศักราช 922 ฉลูศก (พ.ศ. 2103) เสด็จไปวังช้างวัดไก่ ได้ช้างพัง 50 ช้าง
อนึ่งอยู่ในวันเสาร์ แรม 8 ค่ำ เดือน 12
ได้ช้างเผือกและตาช้างนั้นมิได้เป็นเผือก และลูกติดมาด้วยตัวหนึ่ง
ศักราช 923 ฉลูศก (พ.ศ. 2104) พระศรีศิลป์บวชอยู่วัดมหาธาตุ
แล้วหนีออกไปอยู่ตำบลม่วงมดแดง และพระสังฆราชวัดป่าแก้วให้ฤกษ์แก่พระศรีศิลป์
ให้เข้ามาพระราชวัง ณ วันเสาร์ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 9
ครั้งนั้นพระยาศรหราชเดโชจึงให้ว่าแก่พระศรีศิลป์ว่า
ครั้นพ้นวันพระแล้วจึงให้ลงพระราชอาญา ฆ่าพระศรีศิลป์จึงเข้ามาแต่ในวันพฤหัสบดี
แรม 14 ค่ำ เดือน 8 เพลาเย็นนั้นมาแต่กรุง ครั้นวันรุ่งขึ้นในวันพระนั้น
พระศรีศิลป์เข้าราชวังในครั้งนั้น พระศรีศิลป์มรณภาพในพระราชวังนั้น
ครั้นแลรู้ว่าพระสังฆราชวัดป่าแก้วให้ฤกษ์แก่พระศรีศิลป์เป็นแม่นแล้วไซร้
ก็ให้เอาพระสังฆราชวัดป่าแก้วไปฆ่าเสีย
ศักราช 984 จอศก (พ.ศ. 2105)เสด็จไปวังช้างตำบลไทรย้อย ได้ช้างพลายพัง 70
ช้าง
ศักราช 925 กุนศก (พ.ศ. 2106) พระเจ้าหงสานิพัตรยกทัพลงมาในเดือน 12 นั้น
ครั้นเถิงวันอาทิตย์ แรม 5 ค่ำ เดือน 2 พระเจ้าหงสาได้เมืองพิษณุโลก
ครั้งนั้นเมืองพิษณุโลกข้าวแพง 3 สัดต่อบาท อนึ่งคนทั้งปวงเกิดทนพิษตายมาก
แล้วพระเจ้าหงสาจึงได้เมืองเหนือทั้งปวงแล้งจึงยกทัพลงมากรุงศรีอยุธยาครั้งนั้นฝ่ายกรุงมหานครศรีอยุธยาออกเป็นราชไมตรีและสมเด็จพระมหากษัตริย์เจ้าทั้งสองฝ่าย
เสด็จทำสัตยาธิฐานหลั่งน้ำษิโณฑกตำบลวัดพระเมรุ
แล้งจึงพระเจ้าหงสาขอเอาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ พระเมศวรเจ้าและช้างเผือก 4
ช้างไปเมืองหงสา ครั้งนั้นพระยาศรีสุลต่าน พระยาตานีมาช่วยการเศิก
พระยาตานีนั้นเป็นขบถและคุมชาวตานีทั้งปวงเข้าไปในพระราชวัง
ครั้นแลเข้าในพระราชวังได้เอาช้างเผือกมาขี่ยืนอยู่ ณ ท้องสนาม
แล้วจึงลงช้างออกไป ณ ทางตะแลงแกง และชาวพระนครเอาพวนมาขึงไว้ต่อรบด้วยชาวตานี
ๆ นั้นตายมาก และพระยาตานีนั้นลงสำเภาหนีไปรอด ในปีเดียวนั้น
พระเจ้าล้านช้างดพระราชสารมาถวายว่าจะขอสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเทพกระษัตรเจ้า
และทรงพระกรุณาพระราชทานแก่พระเจ้าล้านช้าง และครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ
พระเทพกระษัตรเจ้าทรงพระประชวร จึงขอพระราชทานสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ
พระแก้วฟ้าราชบุตรตรีแก่พระเจ้าล้านช้าง
ศักราช 929 ชวดศก (พ.ศ. 2107)
พระเจ้าล้านช้างจึงให้เชิญ สมเด็จพระแก้วฟ้าพระราชบุตรตรี
ลงมายังพระนครศรีอยุธยา และว่าจะขอสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ พระเทพกษัตรเจ้านั้น
และจึงพระราชทานสมเด็จพระเทพกระษัตรเจ้าแก่พระเจ้าล้านช้าง
ครั้นนั้นพระเจ้าหงสารู้ความทั้งปวงนั้น จึงแต่งทัพมาซุ่มอยู่กลางทาง
และชิงเอาพระเทพกระษัตรเจ้าได้ไปถวายแก่พระเจ้าหงสา อนึ่งในปีนั้น น้ำ ณ
กรุงพระนครศรีอยุธยานั้นน้อยนัก
ศักราช 930 มะโรงศก (พ.ศ. 2111) ในเดือน 12 นั้น
พระเจ้าหงสายกพลมาแต่เมืองหงสา ครั้นเถิงวันศุกร์ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 1
พระเจ้าหงสาเข้าล้อมพระนครศรีอยุธยานั้นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเจ้าทรงประชวรนฤพาน
และครั้งนั้นสมเด็จเจ้าลูกยาเธอพระมหินทราธิราช ตรัสมิได้นำพวกการเศิก
แต่พระเจ้าลูกเธอพระศรีเสาวนั้นตรัสเอาพระทัยใส่และเสด็จไปบัญชาการที่จะรักษาพระนครทุกวัน
ครั้นแลเห็นสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าตรัสรู้ว่าพระเจ้าลูกยาเธอพระศรีเสาวเสด็จไปบัญชาการเศิกทุกวัน
ดังนั้นก็มิได้วางพระทัย ก็ให้เอาพระเจ้าลูกยาเธอพระศรีเสาวนั้นฆ่าเสีย ณ
วัดพระราม
ครั้งนั้นการเศิกซึ่งจะรักษาพระนครก็คลายลง ครั้งเถิงศักราช 931 มะเส็งศก (พ.ศ
2110) ณ วันอาทิตย์ แรม 11 คำ เดือน 9 เพลารุ่งประมาณ 3 นาฬิกา
ก็เสียกรุงพระนครศรีอยุธยาแก่พระเจ้าหงสา ครั้งเถิงวันศุกร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน
12 ทำการปราบดาภิเษก สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า
เสวยราชสมบัติพระนครกรุงศรีอยุธยา
อนึ่งเมื่อพระเจ้าหงสาเสด็จกลับคืนไปเมืองหงสานั้น
พระเจ้าหงสาเอาพระมหินทราธิราชเจ้าขึ้นไปด้วย
ศักราช 932 มะเมียศก (พ.ศ. 2113)
พระยาละแวกยกพลมาพระนครศรีอยุธยาพระยาละแวกยืนช้างตำบลสามพิหาร และได้รบพุ่นกัน
และชาวเมืองนครได้ยิงปืนออกไปต้องพระยาจัมปาธิราชตายกับคอช้าง
ครั้งนั้นศึกพระยาละแวกเลิกทัพกลับคืนไป ในปีนั้นน้ำ ณ กรุงพระนครศรีอยุธยามาก
ศักราช 933 มะแมศก (พ.ศ. 2114) น้ำน้อย
อนึ่งพระนารายณ์บพิตรเป็นเจ้าเสด็จขึ้นไปเสวยราชสมบัติเมืองพิษณุโลก
ศักราช 934 วอกศก (พ.ศ. 2115) น้ำน้อยนัก
ศักราช 935 ระกาศก (พ.ศ. 2116) น้ำน้อยมัธยม
ศักราช 936 จอศก (พ.ศ. 2117) น้ำมากนัก
ครั้งนั้นสมเด้จพระเจ้าลูกยาเธอทรงพระประชวรทรพอพิษ
ศักราช 937 ขาลศก (พ.ศ.2118) พระยาละแวกยกทัพมายังพระนครศรีอยุธยาในวันเสาร์
ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 1 ชาวเมืองละแวกตั้งทัพเรือตำบลพะแนงเชิง
และได้รบพุ่งกันครั้งนั้นเศิกละแวกต้านมิได้เลิกทัพกลับไป และจับคน ณ
เมืองปักษ์ใต้ไปครั้งนั้นมาก ในปีนั้นน้ำ ณ กรุงศรีอยุธยาน้อย
ศักราช 940 ขาลศก (พ.ศ. 2121) พระยาละแวกแต่งทัพให้เอาเมืองเพชรบุรี
มิได้เมืองและชาวละแวกนั้นกลับไป ครั้งนั้นพระยาจีนจันตุหนีมาแต่เมืองละแวก
มาสู่พระราชสมภารครั้นนั้นอยู่มาพระยาจีนจันตุหนีก็หนีกลับคืนไปเมือง
ศักราช 942 มะโรงศก (พ.ศ. 2123) รื้อกำแพงเมืองพระนครออกไปตั้งเถิงริมแม่น้ำ
ศักราช 943 มะเส็งศก (พ.ศ. 2124)
ญาณประเชียรเรียนศาสตราคมและคิดขบถคนทั้งปวงเสด็จเข้าด้วยมาก และยกมาเมืองลพบุรี
และยืนช้างตำบลหัวตรี และบรเทศคนหนึ่งอยู่ในเมืองนั้น
ยิงปืนออกไปต้องญาณประเชียรตายกับคอช้าง และในปีนั้นมีหนังสือมาแต่เมืองหงสาว่า
ปีมะเส็งตรีนิศกนี้ อธิกมาสมิได้ ฝ่ายกรุงพระมหานครศรอยุธยานี้มีอธิกมาส
อนึ่งในวันเสาร์ ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 2 รู้ข่าวมาว่าพระเจ้าหงสานฤพาน
อนึ่งในเดือน 3 นั้น พระยาลละแวกยกพลมาเมืองเพชรบุรี
ครั้งนั้นเสียเมืองเพชรบุรีแก้พระยาละแวก
ศักราช 944 มะเมียศก (พ.ศ. 2125) พระยาละแวกแต่งทัพให้มาจับคนปลายด่านตะวันออก
ศักราช 945 มะแมศก (พ.ศ. 2126) ครั้งนั้นเกิดเพลิงไหม้แต่จวนหลาโหม
และเพลิงนั้นลามเถิงในราชวัง และลามไหม้ไปเมืองท้ายเมือง ครั้งนั้นรู้ข่าวมาว่า
ข้างหงสาทำทางมาพระนครศรีอยุธยา
|