เหตุการณ์สำคัญสมัยกรุงศรีอยุธยาต
เหตุการณ์สำคัญสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น(4)
ศักราช 946 (พ.ศ.
2127) ครั้งนั้นสมเด็จพระยานารายณ์เป็นเจ้า เสวยราชสมบัติ ณ เมืองพิษณุโลก
รู้ข่าวมาว่าพระเจ้าหงสาและพระเจ้าอังวะผิดกัน
ครั้งนั้นเสด็จไปช่วยงานเศิกพระเจ้าหงสาและอยู่วันพฤหัสบดี แรม 3 ค่ำ เดือน 5
ช้างต้นพลายสวัสดิมงคลและช้างต้นพลายแก้วจักรรัตน์ชนกัน
และงาช้างต้นพลายสวัสดิมงคลลุ่ยข้างช้างและโหรทำนายว่าห้ามยาตรา
และมีพระราชโองการตรัสว่าได้ตกแต่งการนั้นสรรพแล้ว
จึงได้เสด็จพยุหบาตรไปครั้งเถิง ณ วันพุธ แรม 9 ค่ำ เดือน 5
เสด็จออกตั้งทัพชัยตำบลวัดยม ท้ายเมืองกำแพงเพชร ในวันนั้นแผ่นดินไหว
แล้งจึงยกทัพหลวงเสด็จไปเถิงเมืองแกรง แล้วจึงยกทัพหลวงเสด็จกลับมาพระนครศรีอยุธยา
ฝ่ายเมืองพิษณุโลกนั้นอยู่ในวันพุธ ขึ้น
8 ค่ำ เดือน 10 เกิดอัศจรรย์ แม่น้ำทรายหัวเมืองพิษณุโลกนั้น
ป่วนขึ้นสูงกว่าพื้นน้ำนั้น 3 ศอก อนึ่งเห็นสุภาพสตรีท่านหนึ่ง
หน้าประดุจหน้าช้าง และทรงสัญลักษณ์ประดุจงาช้างและหูนั้นใหญ่ นั่งอยู่ ณ
วัดปราสาททอง หัวเมืองพิษณุโลก อนึ่งช้างใหญ่ตัวนั้นยืนอยู่ ณ
ท้องสนามนั้นอยู่ ก็ล้มตายลงที่บัดเดี่ยวนั้น อนึ่ง เห็นตั๊กแตนบินมา ณ
อากาศเป็นอันมากและบังพระอาทิตย์บดแล้วก็บินกระจีดกระจายหายสูญไปในปีเดียวนั้นพระเจ้าหงสาให้พระเจ้าสาถีและพระยาพสิม
ยกพลมายังกรุงพระนคร ณ วันพุธ ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 2 เพลาเที่ยงคืน และ2
นาฬิกา 9 บาทเสด็จพระยุหยาตราไปตั้งทัพตำบลสามขนอนครั้งนั้นเถิงหงสาแตกพ่ายไป
อนึ่ง ม้าตัวหนึ่งตกลูกและศีรษะม้านั้นเป็นศีรษะเดียวกัน แต่ม้านั้นเป็น 2
ตัว และเท้านั้นตัวละ 4 เท้า ประดุจชิงศรีษะกัน
ศักราช 947 ระกาศก (พ.ศ. 2128) พระเจ้าสาวถียกพลมาครั้งหนึ่งเล่า
ตั้งทัพตำบลสะเกษ และตั้งอยู่แต่ ณ เดือนยี่ เถิงเดือน 4 ครั้นเถิงวันพุธ
ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 9 เวลารุ่งแล้ว 4 นาฬิกาบาท
เสด็จพยุหยาตราตั้งทัพชัยตำบลหล่มพลี แล ณ วันเสาร์ ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 5
เสด็จทรงช้างพระที่นั่งมงคลทวีป ออกดาช้างม้าทั้งปวง ณ ริมน้ำ
และพระอาทิตย์ทรงกลดและรัศมีกลดนั้นส่องลงมาต้องช้างพระที่นั่ง
มีทรงสัญลักษณ์ประดุจเงากลดนั้นมากั้นช้างพระที่ยั่ง
ครั้งนั้นตีทัพพระเจ้าสาวถีซึ่งตั้งอยู่ตำบลสะเกษนั้นแตกพ่ายไป
ในปีเดียวนั้นพระมหาอุปราชยกพลมาโดยทางกำแพงเพชร ตั้งทำนาอยู่ที่นั่น
ศักราช
948 จอศก (พ.ศ 2129) ณ วันทร์
แรม 8 ค่ำ เดือน 12 พระเจ้าหงสางาจีสยางยกพลมาเถิงกรุงพระนคร ณ วันพฤหัสบดี
ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 2 พระเจ้าหงสาเข้าล้อมกรุงพระนครและตั้งตำบลคนอนปากคู
และทัพมหาอุปราตั้งขนอนบางตนาวกองทัพทั้งปวงนั้นก็ตั้งรายกันไปล้อมพระนครอยู่
และครั้งนั้นได้รบพุ่งกันเป็นสามารถ พระเจ้าหงสาเลิกทัพกลับคืนไปในศักราช 949
(พ.ศ. 2130) วันจันทร์ แรม 14 ค่ำ เดือน 4
เสด็จโดยทางชลมารคไปตีทัพมหาอุปราชาอันตั้งอยู่ขนอนบางตนาวนั้น
แตกพ่ายถอยลงไปตั้งอยู่ ณ วันศุกร์ แรม 10 ค่ำ เดือน 6
เสด็จพระราชดำเนินออกไปตีทัพมหาอุปราชาอันลงไปตั้งอยู่ ณ บางกระดานนั้นแตกพ่ายไป
วันพฤหัสบดี ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 7 เสด็จพระราชดำเนินพยุหยาตราออกตั้งทัพชัย ณ
วัดเดช และตั้งค่ายขุดคูเป็นสามารถ วันพฤหัสบดี ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 7
เอาปืนใหญ่ลงสำเภาขึ้นไปยิงเอาค่ายพระเจ้าหงสา ๆ ต้านมิได้ ก็เลิกทัพไปตั้ง ณ
ป่าโมกใหญ่ วันจันทร์ ขึ้น 10 ค่ำ 4 เสด็จพระราชดำเนินออกไปตีทัพข้าเศิก ๆ
นั้นแตกพ่าย และไล่ฟันแทงข้าเศิกเข้าไปจนค่ายพระหงสานั้น วันอังคาร แรม 10
ค่ำ เดือน 4 เสด็จพระราชดำเนินออกตั้งทัพซุ่ม ณ ทุ่งหลุมพลี
และออกตีทัพข้าเศิกไปจนถึงหน้าค่าย
ครั้นข้าเศิกแตกทัพพ่ายเข้าค่ายและไล่ฟันแทงข้าเศิกไปจนเถิงหน้าค่าย วันจันทร์
แรม 10 ค่ำ เดือน 3 เพลานาฬิกาหนึ่งจะรุ่ง
เสด็จยกทัพออกไปตีทัพพระยานครซึ่งตั้งอยู่ ณ ปากน้ำมุทุเลานั้น
ครั้งนั้นได้ตีทัพได้เถิงในค่าย และข้าเศิกหนีจากค่ายข้าเศิกเสียสิ้น
และพระเจ้าหงสาก็เลิกทัพคืนไป และพระยาละแวกมาตั้ง ณ บางซาย
ครั้งนั้นเสด็จออกไปชุมพลทั้งปวง ณ บางกระดาน เถิงวันพฤหัสบดี ขึ้น 1 ค่ำ
เดือน 3 เพลาอุษาโยค เสด็จพยุหยาตราจากบางกระดาน ไปตั้งทัพชัย ณ
ซายเคืองและเสด็จไปละแวก ครั้งนั้นได้ช้างม้าผู้คนมาก
ศักราช 950 ชวดศก (พ.ศ. 2131) ณ วันจันทร์ แรม 8 ค่ำ เดือน 12
แผ่นดินไหว
ศักราช 951 ฉลูศก (พ.ศ. 2132)
ข้างแพงเป็นเกวียนละสิบตำลึงปิดตราพระยานารายณ์กำชับ ณ วันศุกร์ แรม 7 ค่ำ
เดือน 2 แผ่นดินไหว
ศักราช 952 ขาลศก (พ.ศ. 2133) วันอาทิตย์ แรม 13 ค่ำ เดือน 8
สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง พระพฤฒาราชนฤพาน วันอังคาร แรม 2 ค่ำ เดือน 12
มหาอุปราชยกทัพมาโดยทางกาญจนบุรี ครั้งนั้นได้ตัวพระพสิมตำบลจระเข้สามพัน
ศักราช 954 มะโรงศก (พ.ศ. 2135) วันศุกร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 2
อปราชายกมาแต่หงสา ณ วันเสาร์ แรม 1 ค่ำ เดือน 1 เพดานช้างต้นพระไชยานุภาพ
ตกออกมาใหญ่ประมาณ 5 องคุลีครั้งเถิงเดือนยี่
มหาอุปราชายกมาถึงแดนเมืองสุพรรณบุรี แต่ตั้งทัพตำบลพังตรุ วันอาทิตย์ ขึ้น
9 ค่ำ เดือน 2 เพลารุ่งแล้ว 4 นาฬิกา 2 บาท
เสด็จพระยุหยาตราโดยทางสถลมารค ฟันไม้ข่มนามตำบลหล่มพลี
ที่ตั้งทัพชัยตำบลม่วงหลาน แล ณ วันพุธ ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 2 เพลารุ่งแล้ว
2 นาฬิกา 9 บาท เสด็จพยุหยาตราโดยทางสถลมาคร อนึ่งเมื่อใกล้รุ่งขึ้นวัน 12
ค่ำ เดือน 2 เพลารุ่งแล้ว 5 นาฬิกา 3 บาท เสด็จทรงช้างต้นพระยาไชยานุภาพ
เสด็จออกรบมหาอุปราชาตำบลหนองสาหร่าย ครั้งนั้นมิได้ตามฤกษ์และฝ่าย (ฝ่า)
ฤกษ์หน่อหน่อย และเมื่อได้ชนช้างพระมหาอุปราชานั้น
สมเด็จพระนารายณ์บพิตรเป็นเจ้าต้องปืน ณ พระหัตถ์ข้างขวาหน่อยหนึ่ง
อนึ่งเมื่อมหาอุปราชาขี่ช้างออกมายืนอยู่นั้น หมวกมหาอุปราชาใส่นั้นตกเถิงดิน
และเอาคืนใส่เล่า ครั้งนั้นมหาอุปราชาขาดคอตายในที่นั้น และช้างต้นพระยาไชนุภาพ
ซึ่งทรงและได้ชนพระมหาอุปราชาและมีชัยชำนะนั้น พระราชทานให้ชื่อเจ้าพระยาปราบหงสา
ศักราช 955 มะเส็งศก (พ.ศ. 2126) วันจันทร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 10
เสด็จเถลิงพระมหาปราสาท ครั้งนั้นทรงพระโกธรแก่มอญให้เอามอญไปเผาเสียประมาณ 100
ณ วันศุกร์ ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 2 เพลารุ่งแล้ว 3 นาฬิกา 6 บาท
เสด็จพยุหยาตราไปเมืองละแวกและตั้งทัพชัย ตำบลบางขวด เสด็จไปครั้งนั้น
ได้ตัวพระยาศรีพรรณในวันอาทิตย์ แรม 1 ค่ำ เดือน 4 นั้น
ศักราช 956 มะเมียศก (พ.ศ. 2139) ยกทัพไปเมืองตะโตง
ศักราช 957 มะแมศก (พ.ศ. 2138) วันอาทิตย์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 1
เพลารุ่งแล้ว 3 นาฬิกา 9 บาท เสด็จพยุหยาตราไปเมืองหงสาครั้งก่อน
ฟันไม้ข่มนามตำบลหล่มพลี ตั้งทัพชัยตำบลม่วงหวานเถิงวันจันทร์ แรม 13 ค่ำ
เดือน 4 เพลาเที่ยงแล้ว เข้าปล้นหงสามิได้ทัพหลวงเสด็จกลับคืนมา
ศักราช 958 วอกศก (พ.ศ. 2139) วันอังคาร ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 6 ลาวหนี
ขุนจ่าเมืองรบลาวตำบลตะเคียนด้วน และ วันพฤหัสบดี ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 3
ฝนตกหนัก 3 วันดุจฤดูฝน
ศักราช 961 กุนศก (พ.ศ. 2142) วันพฤหัสบดี ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 11
เพลารุ่งแล้ว 2 นาฬิกา 8 บาท
เสด็จพยุหยาตราไปเมืองตองอูฟันไม่ข่มนามตำบลหล่มพลี ตั้งทัพชัยตำบลวัดตาล
และในเดือน 11 นั้น สงกรานต์วันเสาร์แต่ (ราศีกันย์ไปราศี)
ตุลย์ครั้นเถิงวันพุธ ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 4 เสด็จพระราชดำเนินเถิงเมืองตองอู
และทัพหลวงเข้าใกล้เมืองตองอูประมาณ 30 เส้นและตั้งอยู่ที่นั้นสองเดือน
ขาดอาหารพ้นกำลัง ไพร่พลทั้งปวงตายด้วยอดอาหารเป็นอันมาก ครั้นวันพุธ แรม 6
ค่ำ เดือน 6 ทัพหลวงเสด็จกลับคืนมาพระนครศรีอยุธยา
ศักราช 963 ฉลูศก (พ.ศ. 2144) เดือน 7 เดือนเดียวนั้นมีสุริยุปราคา
ในปีนั้นรับพระอิศวรและพระนารายณ์เป็นเจ้า ไปถวายพระพรวันเดียวกันทั้ง 4 คานหาม
ศักราช 964 ขานศก (พ.ศ.2145) เสด็จไปประพาสลพบุรี
ศักราช 965 เถาะศก (พ.ศ. 2146) ทัพพระ (เจ้า) ฝ่ายหน้าเสด็จไปเอาเมืองขอมได้
ศักราช 966 มะโรงศก (พ.ศ. 2147) วันพฤหัสบดี
(แรม 6 ค่ำ เดือน 2) เสด็จพยุหยาตราจากป่าโมกทางชลมาคร
และฟันไม้ข่มนามตำบลเอกราช ตั้งทัพชัยตำบลพระหล่อ
วันนั้นเป็นวันอุนเป็นวันสงกรานต์ พระเสาร์ไปราศีธนูเป็นองศาหนึ่ง
ครั้งนั้นครั้นเสด็จพระราชดำเนินเถิงเมืองหลวงตำบลทุ่งวัดหลวง
|