ราชวงศ์จักรี
ราชวงศ์จักรี
ต้นราชวงศ์จักรี(1)
เมื่อ
พ.ศ. ๒๓๕๒ นั้น ภายในพระราชวังกรุงธนบุรีได้เกิดเหตุการณ์จลาจลขึ้น
สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง)
ได้รับแจ้งข่าวจึงยกทัพกลับจากเขมรเข้าพระนครและทำการปราบปรามจลาจลในกรุงธนบุรีได้แล้ว
จึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงราชวงศ์ขึ้นครองอาณาจักร
เนื่องจากสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ หรือ พระเจ้ากรุงธนบุรี (พระเจ้าตากสิน)
ได้สิ้นพระชนม์เสียคราวนั้น
จึงทำให้ฐานอำนาจราชวงศ์ของพระองค์ที่มีอยู่เดิมนั้นอ่อนแอลง
ดังนั้นเมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง)
ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์
และสถาปนาราชวงศ์จักรีขึ้นเป็นกษัตริย์ครองอาณาจักรสยาม
จึงต้องสร้างพระนครขึ้นใหม่และฟื้นฟูวัฒนธรรมเป็นครั้งใหญ่
ครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ใหม่ (รัชกาลที่ ๑)
ทรงโปรดให้ทำการสร้างพระนครแห่งใหม่ขึ้นที่บริเวณพื้นที่บางกอกฝั่งตะวันออก
โดยจำลองแบบการสร้างกรุงตามอย่างกรุงศรีอยุธยา พระนครแห่งนี้ คือ กรุงรัตนโกสินทร์
หรือ กรุงเทพมหานคร
(BANGKOK)
พระนครที่ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นราชธานีของอาณาจักรสนามต่อมา
สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) และสมเด็จเจ้าพระยาสุรสีห์สิงหนาท (บุญมา)
สองพี่น้องผู้มีบทบาทสำคัญในการปราบจลาจลและได้สถาปนาราชวงศ์กษัตริย์ขึ้นนั้น
เมื่อสืบค้นตำนานแห่งสกุลวงศ์ของบุคคลสำคัญทั้งสองนี้แล้วปรากฏว่า
บุคคลทั้งสองนี้เป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากบุคคลสำคัญในราชวงศ์พระร่วง แคว้นสุโขทัย
กล่าวคือ
นับตั้งแต่สมเด็จพระมหาธรรมราชา (ขุนพิเรนทรเทพ) ผู้เป็นเชื้อสายราชวงศ์สุโขทัยนั้น
มีศักดิ์เป็นพระญาติของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พระเฑียรราชา) และพระมหาเทวี
(พระสุริโยทัย) โดยพระนางนั้นเป็นบุคคลในเชื้อสายราชวงศ์สุโขทัยเช่นกัน
เมื่อสมเด็จพระมหาธรรมราชาได้อภิเษกกับพระวิสุทธิ์กษัตริย์ (พระสวัสดิราช)
พระธิดาของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิและพระสุริโยทัย
จึงทำให้คนในเชื้อสายราชวงศ์สุโขทัยกลับมีฐานะทั้งเป็นพระญาติและเป็นบุตรเขยในราชวงศ์กษัตริย์อยุธยา
ต่อมาสมเด็จพระมหาธรรมราชาทรงมีพระธิดาพระโอรสคือ พระสุพรรณกัลยา สมเด็จพระนเรศวร
สมเด็จพระเอกาทศรถ นับเป็นพระนัดดาของ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิและพระสุริโยทัย
แห่งราชวงศ์สุโขทัยด้วย
สมเด็จพระเอกาทศรถนั้นทรงมีพระธิดาของพระยาราม เชื้อสายขุนนางมอญเป็นพระมเหสี
(บางความว่า พระองค์ทรงมีพระธิดา ไปแต่งงานกับ บุคคลในเชื้อสายมอญของพระยาราม)
และมีเชื้อสายสืบมากี่ชั้นไม่ปรากฏ ภายหลังมีชื่อผู้สืบเชื้อสายในชั้นหลัง คือ
เจ้าแม่วัดดุสิต (กรมพระเทพามาตย์)
บุคคลผู้นี้เป็นพระแม่นมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
พระแม่นมผู้นี้มีบุตรชายชื่อ ขุนเหล็ก (เจ้าพระยาโกษาธิบดี) แม่ทัพคนสำคัญ
และออกญาพระวิสูตรสุนทร (ปาน) ราชทูต ในแผ่นดินของสมเด็จพระนารายณ์
ออกญาพระวิสูตรสุนทรผู้นี้ ต่อมาได้เป็นเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน)
บุคคลในตระกูลนี้จึงมีความใกล้ชิดกับราชวงศ์ของสมเด็จพระนารายณ์ กล่าวคือ
ธิดาคนหนึ่งของพระแม่นมนั้นเป็นพระชายาองค์หนึ่งของสมเด็จพระนารายณ์
เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) นั้นมีบุตรชาย ชื่อ ทอง
ภายหลังได้รับราชการมีตำแหน่งเป็นพระยาอัษฎาเรืองเดชและเจ้าพระยาวรวงศาธิราช (ทอง)
ตามลำดับ
เจ้าพระยาวรวงศาธิราช (ทอง) ผู้นี้ มีบุตรชายชื่อ ทองคำ ต่อมาได้เป็นจมื่นมหาสนิท
(ทองคำ) มหาดเล็กในสมเด็จเจ้าฟ้าเพชร กรมพระราชวังบวรฯ
แผ่นดินสมเด็จพระพุทธเจ้าเสือ
ต่อมาได้มีเหตุการณ์ต้องมาตั้งครอบครัวมาอยู่ที่บ้านสะแกกรัง
จนมีบุตรชายคนหนึ่งชื่อ ทองดี
หลังจากที่เจ้าฟ้าเพชร ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นกษัตริย์อยุธยา
ทรงพระนามว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระนั้น จมื่นมหา สนิท
ผู้นี้มีความชอบได้รับแต่งตั้งเป็นพระราชนกูล (ทองคำ)
จึงเดินทางจากบ้านสะแกกรังเข้าไปรับราชการ ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ
(เจ้าฟ้าเพชร) โดยตั้งบ้านเรือนที่ใกล้ป้อมเพชร กรุงศรีอยุธยา
ต่อมา
ทองดี บุตรชายของจมื่นมหาสนิทนั้นได้เข้ารับราชการ มีตำแหน่งเป็น หลวงพินิจอักษร
และพระอักษรสุนทรศาสตร์ (ทองดี) ตามลำดับ จนมีอายุพอสมควรแล้วพระอักษรสุนทรศาสตร์
(ทองดี) ได้แต่งงานกับสตรีหลานพระยาอภัยราชาชื่อดาวเรือง มีบุตรชายคนโตชื่อทองด้วง
(สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก)
ได้เข้ารับราชการและมีตำแหน่งสุดท้ายเป็นหลวงยกบัตร เมืองราชบุรี
หลวงยกบัตร (ทองด้วง) เมืองราชบุรี ผู้นี้ต่อมาได้แต่งงานกับ
นาค
(คือสมเด็จพระอมรินทรามาตย์) สตรีในตระกูล ณ บางช้าง
สำหรับนายบุญมาพระอนุชานั้น ได้รับราชการเป็นทหารในแผ่นดินของสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์
ภายหลังได้หนีพม่าออกมาและไปฝากตัวร่วมกู้ชาติกับพระยาตาก
ได้รับราชการในแผ่นดินของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มีตำแหน่งเป็น
สมเด็จเจ้าพระยาสุรสีห์สิงหนาท (บุญมา) ทหารเสือของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
ดังนั้นการที่บุคคลผู้เป็นเชื้อสายของราชวงศ์สุโขทัยกลับมามีบทบาทสำคัญในการปกครองอาณาจักรสยามนั้น
จึงถือว่าราชวงศ์กษัตริย์โบราณคือ
ราชวงศ์สุโขทัยของพระร่วงเจ้าหรือราชวงศ์เชียงรายเดิม
ได้กลับมาครองอาณาจักรสยามอีกครั้ง
โดยสถาปนาราชวงศ์จักรีขึ้นเป็นราชวงศ์กษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
นับเป็นราชวงศ์กษัตริย์สยาม
ที่มีกษัตริย์สืบราชสมบัติครองแผ่นดินแห่งนี้มายาวนานที่สุดในโลก
ความเป็นมาของราชวงศ์กษัตริย์นี้
เริ่มเมื่ออาณาจักรสุโขทัยเสื่อมอำนาจลงทางตอนเหนือนั้น
โดยพระเจ้าอู่ทองได้สถาปนาอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาขึ้นใน พ.ศ. ๑๙๘๓
นั้นได้มีการขยายอาณาจักรขึ้นทางหัวเมืองตอนเหนือ
จนเป็นเหตุมีการเจรจาเป็นไมตรีต่อกัน ดังนั้นบุคคลในราชวงศ์สุโขทัย
(ราชวงศ์พระร่วง) จึงได้มีโอกาสเข้ามารับราชการอยู่ในราชสำนักของกรุงศรีอยุธยาด้วย
บุคคลสำคัญที่สืบเชื้อสายมาจารราชวงศ์สุโขทัยและเข้ามามีอำนาจในกรุงศรีอยุธยานั้นลำดับได้
ดังนี้
สมเด็จพระไชยราชาธิราช หรือพระชัยราชา มีเชื้อสายมาจากราชวงศ์เชียงราย
(ราชวงศ์อู่ทอง) กล่าวคือพระองค์ทรงสืบเชื้อสายมาจากพระโอรสของพระเจ้าอู่ทอง
(พระราเมศวร สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ราชวงศ์อู่ทอง
และพระเจ้าอู่ทองนั้นเป็นพระโอรสพระเจ้าชัยศิเชียงแสน?
ราชวงศ์เชียงราย)
โดยพระชัยราชานั้นมีพระมารดาเป็นเชื้อสายของราชวงศ์กษัตริย์ทางเหนือด้วย
|