ราชวงศ์จักรี
ราชวงศ์จักรี
ต้นราชวงศ์จักรี(2)
เมื่อกรุงศรีอยุธยามีอำนาจเหนือแคว้นสุโขทัยนั้น พระรามาธิบดีที่ ๒ (พระเชษฐา)
พระโอรสของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้รับแต่งตั้งให้ขึ้นไปครองอยู่เมืองพิษณุโลก
และโอกาสนั้นพระองค์ทรงมีพระมเหสีเป็นสตรีเชื้อสายราชวงศ์กษัตริย์ทางเหนือ
(คือราชวงศ์สุโขทัย
ภายหลังพระเชษฐาได้กลับมาครองราชย์เป็นกษัตริย์กรุงศรีอยุธยาทรงพระนามว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่
๒ นัยว่าพระไชยราชาผู้ซึ่งเป็นพระโอรสนั้นอยู่กับพระมารดา
ซึ่งเป็นพระญาติทางฝ่ายพระมารดาของพระเฑียรราชา
พระเฑียรราชา จึงมีฐานะเป็นพระอนุชากับพระไชยราชาด้วย
กล่าวคือต่างมีพระมารดาเป็นพระญาติและสืบเชื้อราชวงศ์กษัตริย์ทางเหนือเช่นกัน
ต่อมาพระเฑียรราชาได้ติดตามเข้ามารับราชการอยู่ด้วยกับ สมเด็จพระไชยราชา
ซึ่งได้เข้ายึดอำนาจขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา
จนเกิดเหตุการณ์กรณีท้าวศรีสุดาจันทร์และขุนวรวงศาธิราช
ทำให้พระเฑียรราชาผู้สำเร็จราชการแผ่นดินต้องหนีออกผนวช ต่อมาขุนพิเรนทรเทพ
ผู้เป็นพระญาติทางมารดากับพระเฑียรราชา ซึ่งติดตามมารับราชการเป็นนายตำรวจหลวง
ได้เป็นหัวหน้านำคณะก่อการชิงราชบัลลังก์กลับคืน
ขุนพิเรนทรเทพ
ผู้นี้เป็นเชื้อสายที่สืบต่อจากเชื้อพระวงศ์ของสมเด็จพระมหาธรรมราชากษัตริย์แคว้นสุโขทัย
จึงได้ทูลเชิญพระเฑียรราชา (ขณะนั้นทรงผนวชหนีภัยอยู่)
ผู้เป็นพระญาติมีฐานะศักดิ์เป็นพระอนุชาของสมเด็จพระไชยราชานั้นขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์
ทรงพระนามว่าสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ และแต่งตั้งพระมเหสีขึ้นเป็น พระมหาเทวี
(ไม่ปรากฏพระนามเดิมว่าอะไร)
พระมหาเทวี พระมเหสีผู้นี้เป็นสตรีเชื้อสายกษัตริย์ทางเหนือ
เป็นพระญาติฝ่ายมารดาของขุนพิเรนทรเทพด้วยเช่นกัน ภายหลังนั้นพระมหาเทวี
พระองค์นี้ได้รับการตั้งพระนามว่าพระสุริโยทัย
เนื่องจากขุนพิเรนทรเทพ
นั้นเป็นบุคคลที่เชื้อสายมาจากราชวงศ์สุโขทัยและมีความดีความชอบในการกู้ราชบัลลังก์กลับคืน
จึงทำให้สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ทรงสถาปนาแต่งตั้งให้ขุนพิเรนทรเทพ
พระญาติผู้นี้มีตำแหน่งเป็น พระมหาธรรมราชา ดำรงพระอริยยศเป็นพระมหาอุปราช
(ตามพระนาม สมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทย กษัตริย์ราชวงศ์พระร่วง
ซึ่งได้ลงมาครองเมืองพิษณุโลกเป็นราชธานีของแคว้นสุโขทัย) ดังนั้นพระมหาธรรมราชา
พระมหาอุปราชจึงขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลกและดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งเจ็ด
ในครั้งนั้นพระมหาธรรมราชาได้รับพระราชทานพระสวัสดิราช
ผู้เป็นพระธิดาของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิกับพระมหาเทวี(พระสุริโยทัย) เป็นพระมเหสี
ดำรงตำแหน่งเป็นพระวิสุทธิ์กษัตริย์ พระมหาธรรมราชา
เชื้อสายราชวงศ์สุโขทัยจึงมีฐานะเป็นราชบุตรเขยของกษัตริย์กรุงศรีอยุธยาและเจ้านายเดิมของราชวงศ์ทางเหนือด้วย
ต่อมาพระมหาธรรมราชานั้นได้รับแต่งตั้งจากพระเจ้าบุเรงนองให้เป็นกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา
ทรงพระนามว่า สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ (ไทยใช้พระนาม สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช)
ดังนั้นในรัชกาลของสมเด็จพระมหาธรรมราชานั้น
พระองค์โปรดให้พระโอรสทั้งสองพระองค์มีอำนาจรับผิดชอบบ้านเมืองแทน โดยพระนเรศวร
พระโอรสองค์โตกับพระเอกาทศรถ พระอนุชา
ได้ทำการกอบกู้อิสรภาพของแผ่นดินจนสามารถชนะสงครามยุทธหัตถี
ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นเอกราชโดยสมบูรณ์
สมเด็จพระมหาธรรมราชานั้นทรงมีพระราชธิดาและพระโอรส ๓ พระองค์ คือพระสุพรรณกัลยา
สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถ
เมื่อ
พ.ศ. ๒๑๒๖ พระยาเกียน (บางแห่งเขียนพระยาเกียรติ์) พระยาราม
(บางแห่งเขียนพระยาพระราม) ขุนนางเชื้อสายมอญจากเมืองหงสาวดี
ได้พาครอบครัวและพวกอพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา
หลังจากที่สมเด็จพระนเรศวรทรงประกาศอิสรภาพเป็นไทไม่ขึ้นเมืองหงสาวดี
มีความปรากฏในพงศาวดารว่า
ข้าพเจ้าจะนำพระองค์กับพระยาเกียน
พระยาราม และญาติโยมทั้งปวงลงไปอยู่ ณ กรุงพระมหานครศรีอยุธยา
จะไดปฏิบัติภาระสนองคุณพระองค์ปลูกเลี้ยงพระยาเกียน พระยาราม
ก็พร้อมโดยพระราชบริพาร
เมื่อสมเด็จพระนเรศวรนำบุคคลสำคัญเชื้อสายมอญดังกล่าวอพยพครอบครัวมายังกรุงศรีอยุธยาแล้ว
พระองค์ได้ให้พระมหาเถรคันฉ่องนั้น จำพรรษาอยู่ที่วัดมหาธาตุ ส่วนพระยาเกียน
พระยารามนั้น ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลบ้านขมิ้น วัดขุนแสน ส่วนญาติพี่น้อง
นอกนั้นให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลบ้านหลังวัดนก
ต่อมา
พระยาราม ขุนนางมอญผู้นี้
มีลูกหลานสืบเชื้อสายอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด นอกจากเล่ากันว่า
พระราชธิดาในสมเด็จพระเอกาทศรถ
องค์หนึ่งนั้นได้แต่งง่านกับบุคคลที่สืบเชื้อสายจากขุนนางมอญไม่ปรากฏชื่อ
และมีบุคคลสืบต่อเชื้อสายมาอย่างไร กี่ชั้นไม่ปรากฏ แต่ปรากฏชื่อบุคคลชั้นหลัง คือ
เจ้าแม่วัดดุสิต
อีกความว่าสมเด็จพระเอกาทศรถ
พระอนุชาธิราชของสมเด็จพระนเรศวรนั้นทรงมีพระชายาเป็นธิดามอญ เป็นบุคคลในเชื้อสาย
(บางแห่งว่าเป็นบุตรี) ของพระยาราม (บางแห่งเรียกพระยารามราช)
ขุนนางมอญที่พาครอบครัวและกลุ่มชาวมอญอพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในสมัยสมเด็จพระนเรศวรพร้อมกับพระยาเกียน
(บางแห่งเขียนพระยาเกียรติ์)
ผู้ที่เป็นพระชายาของสมเด็จพระเอกาทศรถผู้นั้น
ได้บุคคลสืบเชื้อสายต่อมาจนถึงบุคคลชื่อ บัว (บางแห่งเรียก หม่อมเจ้าหญิงบัว)
ความที่เล่าต่างกันนี้ จึงมีทั้งสมเด็จพระเอกาทศรถ
ทรงมีพระชายาเป็นพระธิดาของพระยาพระราม ขุนนางมอญ
และพระองค์ทรงมีพระราชธิดาออกไปแต่งงานกับบุคคลเชื้อสายมอญจาก พระยาพระราม
แล้วมีเชื้อสายสืบต่อมาจนถึงบุคคลชื่อ บัว
สรุปแล้ว บุคคลสำคัญที่ชื่อ บัว
นี้เป็นเชื้อสายที่สืบจากสมเด็จพระเอกาทศรถกับคนในเชื้อสายมอญ ต่อมานั้นบุคคลนี้
(หม่อมบัว) ได้รับแต่งตั้งให้เป็น ท้าวสมศักดิ์วงศามหาธาตีนั่นเอง
(นามนี้อาจแต่งเติมกันในชั้นหลังให้สมฐานะ)
แต่นางผู้นี้ได้มีบทบาทสำคัญมาในสมัยพระนารายณ์มหาราช
มีฐานะเป็นพระแม่นมเอกของสมเด็จพระนารายณ์
จึงถือเป็นบุคคลสำคัญที่ใกล้ชิดในราชสำนักมาก่อน
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้บุตรชายของนางสองคน (คือเหล็กและปาน)
ที่ร่วมดื่มน้ำนมจากเต้าเดียวกับสมเด็จพระนารายณ์นั้นได้เข้ารับราชการในราชสำนักและมีตำแหน่งเป็นขุนนางระดับสูง
|