สมเด็จพระชนกาธิบดี
สมเด็จพระชนกาธิบดี
(ทองดี) แห่งรัชกาลที่ ๑
เมื่อสมเด็จพระพุทธเจ้าเสือทรงประชวรหนักเมื่อ พ.ศ. ๒๒๕๑
พระองค์ทรงพิโรธสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าเพชร กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
จึงเวนราชสมบัติให้กับสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าพร พระบัณฑูรน้อย
แต่พระอนุชาธิราชนั้นยอมถวายราชสมบัติให้พระเชษฐาครองราชย์
ครั้นเมื่อสมเด็จพระเจ้าเสือสวรรคตใน พ.ศ. ๒๒๕๑
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าเพชร จึงได้ครองราชย์สมบัติเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า
สมเด็จพระภูมินทราชา
แต่คนทั่วไปเรียก สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ
เนื่องจากพระองค์ทรงประทับอยู่พระที่นั่งที่ตั้งอยู่ท้ายสระ ดังนั้น จมื่นมหาสนิท
(ทองคำ)
ที่ตั้งบ้านเรือนอยู่บ้านสะแกกรังด้วยเหตุที่จมื่นมหาสนิทนั้นเป็นบุคคลที่มีความดีความชอบในการสนับสนุนให้ขึ้นครองราชย์
จึงได้รับแต่งตั้งเป็นพระราชนกูล (บางแห่งเขียนพระยาราชนิกูล)
ปลัดทูลฉลองกรมมหาดไทย)
ดังนั้นครอบครัวนี้จึงได้ย้ายจากบ้านสะแกกรัง (ตำบลในเขตเมืองอุทัยธานี)
ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา ตรงเหนือป้อมเพชร
จนมีบุตรธิดาเป็นครอบครัวใหญ่แถวบริเวณวัดสุวรรณดาราม
ขณะที่พระราชนกูล (ทองคำ) อยู่ที่บ้านสะแกกรังนั้น ภรรยาให้กำเนิดบุตรชายคนโตชื่อ
ทองดี
มีความปรากฏเป็นหลักฐานในพระราชหัตเลขาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีถึง
เซอร์ จอห์น เบาริ่ง ในหนังสือ THE KINGDOM AND PEOPLE
มีความแปล ดังนี้
ผู้ซึ่งเป็นพระมหาชนกแห่งปฐมกษัตริย์ราชวงศ์จักรี
และเป็นพระอัยกาของพระบิดาแห่งกษัตริย์องค์ปัจจุบัน (คือ ตัวข้าพเจ้าเอง)
ของประเทศสยาม เป็นราชโอรสอันสูงศักดิ์ของราชวงศ์ที่สืบเชื้อสายมาจากตระกูลขุนนาง
กระทรวงต่างประเทศ ซึ่งได้ย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา
และต่อมาได้ย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่บ้านสะแกกรัง อันเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ
ที่ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำ
อันเป็นสาขาของแม่น้ำใหญ่เชื่อมอาณาเขตติดต่อภาคเหนือและภาคใต้ของประเทศสยาม
ประมาณเส้นรุ้ง ๑๓ ๑๕ ๓๐ เหนือ
ดูจะกว่าบ้างเล็กน้อย เส้นแวง ๙๙ ๙๐
ตะวันออก เล่ากันว่าบุคคลผู้มีความสำคัญได้ถือกำเนิดที่นี่
และกลายเป็นผู้มีความรู้ความสามารถเป็นพิเศษของราชวงศ์สยามที่มาจากหมู่บ้านสะแกกรัง
สู่กรุงศรีอยุธยา...
บุคคลผู้มีความสำคัญถือกำเนิดที่บ้านสะแกกรังตามหลักฐานนี้ชื่อทองดี
ก็คือสมเด็จพระปฐมบรมมหาราชชนกนาถ (ทองดี)
ผู้ซึ่งเป็นพระชนกนาถของต้นราชวงศ์จักรีนั่นเอง
นายทองดี
บุตรชายคนโตของพระยาราชนกูล (ทองคำ) ผู้นี้เกิดที่บ้านสะแกกรัง แขวงเมืองอุทัยธานี
ต่อมาบิดาได้นำตัวไปรับราชการอยู่ด้วยที่กรมมหาดไทย
โดยช่วยงานอยู่กับตนในแผ่นดินของสมเด็จพระเจ้าพระบรมโกษฐ์ พ.ศ. ๒๒๗๕-๒๓๑๐)
ในที่สุดได้รับตำแหน่งเป็น หลวงพินิจอักษร
เสมียนตรากรมมหาดไทย
ต่อมาหลวงพอนิจอักษรอายุได้ ๒๐ ปีจึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ
เมื่อลาสิกขาบทแล้วพระราชนุกูล (ทองคำ) จึงได้สู่ขอ
ดาวเรือง
(บางแห่งว่าชื่อ หยก)
หลานสาวของพระยาอภัยราชา
สมุหนายกว่าราชการแผ่นดินในกรุงศรีอยุธยาให้แต่งงานอยู่กินตามประเพณีหลวงพินิจอักษร
(ทองดี) นั้นต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นพระอักษรสุนทรศาวตร์ เสมียนตรมกรมมหาดไทย
มีหน้าที่ร่างพระราชสาสน์ตราต่าง ๆ
ของพระมหากษัตริย์และรักษาพระราชลัญจกรอันเป็นตราประจำแผ่นดิน
เจ้าคุณพระอักษรสุนทรศาสตร์ (ทองดี)
และคุณนายดาวเรืองได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ภายในกำแพง
ตรงกันข้ามกับป้อมเพชรด้านหลังนั้น ปรากฏว่าได้เป็นที่รักใคร่ของคนทั่วไป
เมื่อมีฐานะดีขึ้น จึงได้ถวายที่ดินสร้างวัดชื่อวัดทอง ต่อมาเปลี่ยนเป็น
วัดสุวรรณดาราม นัยว่ามีความหมาย ทองดี กับดาวเรือง) ไว้ใกล้ ๆ
บ้านและถือเป็นวัดประจำตระกูลตามคดีโบราณที่นิยมสร้างวัดให้ลูกหลานไปวิ่งเล่นและใช้ทำบุญในหมู่ญาติที่รวมตัวกันเป็นชุมชนใหญ่
คุณนายดาวเรืองภรรยาของพระอักษรสุนทรศาสตร์ ได้มีบุตรคนแรกเป็นหญิงชื่อสา
คนที่สองเป็นบุตรชายชื่อราม และบุตรคนที่สามเป็นหญิงชื่อแก้ว
ครั้นเมื่อ พ.ศ. ๒๒๗๙ คุณนายดาวเรืองได้ตั้งครรภ์บุตรคนที่สี่
พอเวลาครรภ์แก่จวนใกล้คลอดนั้น พระภิกษุเจ้าฟ้านเรนทร์ กรมขุนสุเรนทร์พิทักษ์
พระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ ซึ่งเสด็จออกทรงผนวชได้เสด็จมาเยี่ยม
และได้ทำน้ำมนต์สะเดาะเคราะห์ให้นางคลอดบุตรง่าย ครั้นถึงวันพุธ เดือน ๔ แรม ๕ ค่ำ
ปีมะโรงตรงกับวันพุธที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๒๗๙ คุณนายดาวเรืองได้คลอดบุตรเป็นชาย
ในครั้งนั้นพระภิกษุเจ้าฟ้านเรนทร์ กรมขุนสุเรนทร์พิทักษ์
ทรงฉีกชายสบงผูกคอเด็กให้เป็นมงคล
บุตรชายคนที่สี่นี้พระอักษรสุนทรศาสตร์ตั้งชื่อว่า
ทองด้วง
|