ลำดับราชสกุลชั้นแรก
ลำดับราชสกุลชั้นแรก
สำหรับราชวงศ์กษัตริย์นั้นแม้จะสืบเชื้อสายเดิมจากราชวงศ์พระร่วงหรือราชวงศ์สุโขทัย
ดังนั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑ ทรงสถาปนาราชวงศ์จักรีแล้ว
ราชวงศ์จักรีจึงตั้งต้นราชวงศ์ตั้งแต่สมเด็จพระชนกาธิบดี (ทองดี)
หรือสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกนาถแห่งปฐมกษัตริย์ราชวงศ์จักรี
ซึ่งทรงมีพระอัครชายาพระนามเดิมว่า
ดาวเรือง
(บางแห่งว่าชื่อหยก) มีพระราชโอรส และพระราชธิดา ๗ พระองค์ เป็นราชสกุลชั้นที่ ๑
ของลำดับราชสกุลพระราชวงศ์จักรีคือ
-
สมเด็จเจ้าฟ้าหญิง กรมพระยาเทพสุดาวดี
(พ.ศ. ๒๒๗๒
๒๓๔๒) พระนามเดิมว่า สา
มีภัสดาชื่อหม่อมเสน เป็นที่พระอินทรรักษ์
เจ้ากรมพระตำรวจวังหน้าในสมัยกรุงศรีอยุธยาและถึงแก่กรรมในสมัยนั้น
-
สิ้นพระชนม์เมื่อวันศุกร์ เดือน ๑๒ แรม ๑๐ ค่ำ ปีมะแม พ.ศ. ๒๓๔๒ พระชันษาได้ ๗๐ เศษ
-
พระเจ้ารามณรงค์
ไม่ปรากฏเดิมมีพระนามอย่างไร ได้เข้ารับราชการเป็นทหาร
เป็นขุนรามณรงค์ และสิ้นพระชนม์เสียตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา
-
สมเด็จเจ้าฟ้าหญิง กรมพระศรีสุดารักษ์
(พ.ศ. ๒๒๘๒
๒๓๔๒) พระนามเดิมว่าแก้ว มีภัสดาชื่อเจ้าขรัวเงิน
ซึ่งถึงแก่อสัญกรรมในสมัยกรุงธนบุรี
-
พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราช รามาธิบดี
(พ.ศ. ๒๒๗๙
๒๓๕๒)
พระนามเดิมว่า ทองด้วง
ทรงพระราชสมภพในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ์ เมื่อวันพุธที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๒๗๙
ตรงกับวันพุธ เดือน ๔ แกรม ๕ ค่ำ ปีมะโรง
ได้เข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กในเจ้าฟ้าอุทุมพร กรมขุนพรพินิจ
และอุปสมบทร่วมสำนักวัดมหาทะลายกับสมเด็จพระเจ้าตากสิน
ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นหลวงยกกระบัตร เจ้าเมืองราชบุรี
พระราชวรินทร์เจ้ากรมพระตำรวจนอกขวา พระยาอภัยรณฤทธิ์ จางวางพระตำรวจฝ่ายขวา
พระยายมราช เจ้าพระยาจักรี สมุหกลาโหมและสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก
แม่ทัพในแผ่นดินกรุงธนบุรี
เมื่อมีชันษาได้ ๔๖
พรรษา ได้เสด็จผ่านพิภพปราบดาภิเษกเป็นพระปฐมกษัตริย์ราชวงศ์จักรีในวันที่ ๑๐
เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ ปีขาล ดำรงสิริราชสมบัติอยู่ ๒๘ พรรษา
พระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๑ พ.ศ. ๒๓๕๒ เดือน ๙ แรม ๑๓
ค่ำ ปีมะเส็ง พระชนมพรรษาได้ ๗๓ พรรษา
พระนามที่ใช้เรียกกันทั่วไปนี้อัญเชิญจากพระนามพระพุทธรูปที่รัชกาลที่ ๓
สร้างอุทิศถวายในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม คือ
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑
และก่อนนั้นนิยมเรียกพระมหากษัตริย์พระองค์นี้ว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแผ่นดินต้น
-
สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท
(พ.ศ. ๒๒๘๖
๒๓๔๖) พระนามเดิมว่า บุญมา
ทรงพระราชสมภพในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๘ กันยายน พ.ศ.
๒๒๘๖ เดือน ๑๑ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีกุน เวลา ๒
ยามเศษได้รับราชการเป็นมหาดเล็กในเจ้าฟ้าเอกทัศน์
กรมขุนอนุรักษ์มนตรีต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นนายสุจินดา มหาดเล็กหุ้มแพร
ครั้งเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยา ได้ลอบหนีออกจากกรุงมาเข้ารับราชการอยู่กับพระยาตาก
(สิน) หรือพระยาวชิรปราการ
ซึ่งต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระมหามนตรีเจ้ากรมพระตำรวจในขวาพระอนุชิตราชา
จางวางพระตำรวจฝ่ายขวา พระยายมราช และเจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราช
ผู้สำเร็จราชการเมืองพิษณุโลก ตามลำดับ
เมื่อพระชันษาได้ ๔๐
พรรษา พระบรมเชษฐาธิราชได้สถาปนาราชวงศ์และมีพิธีอุปราชาภิเษกเป็นสมเด็จเจ้าฟ้า
กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ตำแหน่งพระมหาอุปราช เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕
พระองค์เสด็จสวรรคต เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๔๖ เดือน ๑๒ แรม ๔ ค่ำ
ปีกุน พระชนมายุได้ ๖๐ พรรษา พระนามที่เรียกกันทั่วไปคือ พระยาเสือหรือพระเจ้าเสือ
นอกจากนี้ยังมีพระธิดาและพระโอรสของสมเด็จพระชนกาธิบดีที่ประสูติจากพระอัครชายาและพระชนนีพระองค์อื่น
ๆ นั้นมี
-
เจ้าฟ้ากรมหลวงนรินทร์เทวี
พระนามเดิมชื่อกุ
เป็นพระธิดาที่เกิดจากพระชนนี ผู้เป็นน้องนางของพระอัครชายาเดิม (ดาวเรือง)
พระองค์เสด็จอยู่วังริมวัดโพธาราม (วัดพระเชตุพน) จึงเรียกกันว่า
เจ้าครอกวัดโพธิ์
ได้รับสถาปนาให้เป็น พระองค์เจ้าหญิงกุ มีพระชนม์อยู่ถึงรัชกาลที่ ๓
สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๐ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
ทรงสถาปนาพระนามพระอัฐิเป็น กรมหลวงนรินทรเทวี (ต้นสกุลนรินทรกุล)
-
เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเกษฎา
พระนามเดิมว่าลา
เป็นโอรสพระองค์น้อยที่เกิดจากเจ้าจอมมารดามา เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยา
ได้ติดตามเสด็จพระชนกาธิบดี (ทองดี) และเจ้าจอมมารดามาขึ้นไปอยู่ที่เมืองพิษณุโลก
เมื่อสมเด็จพระชนกาธิบดีพระบิดาถึงแก่อสัญกรรมได้ปลงพระศพ
และได้อัญเชิญพระอัฐิมาถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชรัชกาลที่ ๑
และสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระราชวังบรมมหาสุรสิงหนาท
ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็นกรมหลวงจักรเจษฎา (ต้นสกุล เจษฎากูร)
วังที่ประทับอยู่ตรงบางลำพู พระองค์สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๑ เมื่อ เดือน ๗ ปีเถาะ
พ.ศ. ๒๓๕๐
|