พระราชพิธีบรมราชาภิเษกกษัตริย์รา
พระราชพิธีบรมราชาภิเษกกษัตริย์ราชวงศ์จักรี
เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแผ่นดินต้น (รัชกาลที่๑)
ทรงสร้างพระนครกรุงรัตนโกสินทร์และพระบรมมหาราชวังหมู่พระปราสาทราชมณเฑียรขึ้นใหม่เรียบร้อยแล้ว
จึงโปรดให้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์โดยจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามราชประเพณีโบราณ
การจัดตั้งเครื่องพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในสมัยนั้นมีข้อมูลสำหรับการศึกษา ดังนี้
๑.
ตั้งมณฑปที่สรงพระกระยาสนานที่ชั้นพระชาลา
อยู่ข้างพระที่นั่งอัมรินทราภิเษกมหาปราสาทด้านทิศตะวันออก
·
มีเสา
บันทวยนาค ช่อห้อย ช่อตั้ง ใบโพธิ์ห้อยและยอดซุ้มหุ้มด้วยผ้าโขมพัตร
·
มีท่อธารสัณฐานดังฝักปทุม (ฝักบัว)
ทำด้วยเงินขังน้ำเบ็ญจสุทธิคงคาไว้บนเพดานผ้าขาวมีนามว่า สหัสสธารา
·
เพดานนั้นประดับด้วยดาวทอง และพวงพู่ล้วนสุวรรณมาลาดอกจำปาทอง
·
พระวิสูตรพื้นผ้าโขมพัตรจำหลักลายดอกสุวรรณประจำอยู่ ๔ ด้าน
·
มีเตียงเหล็กสำหรับประดิษฐานพระพุทธปฏิมากรไชย เมื่อเวลาสรง
·
ตั้งราชวัติและฉัตรทอง ฉัตรนาก ฉัตรเงิน เจ็ดชั้น ที่เสาราชวัติประดับด้วยต้นกล้วย
ต้นอ้อย ดอกหมาก ดอกมะพร้าวล้อมรอบพระมณฑป
ภายในพระมณฑปปูลาดผ้าโขมพัตรตั้งถาดทอง
มีตั่งทำด้วยไม้มะเดือและไม้ชัยพฤกษ์ลาดใบไม้ข่มนามตั้งบนถาดทองนั้นเป็นที่สรง
๒.
รอบพระมหามณเฑียรและพระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาทข้างหน้า
รายด้วยฉัตรเบญจรงค์เจ็ดชั้น มีเสาราชวัติประดับด้วย ต้นกล้วย ต้นอ้อย ดอกหมาก
ดอกมะพร้าว
๓.
ภายในพระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาทนั้น มีการจัดเครื่องพระราชพิธี
๓.๑
ด้านทิศตะวันออกตั้งเตียงแว่นฟ้า
มีเพดานระบายรอบเป็นเตียงพระมณฑลและเตียงพระมณฑลนี้ใช้ประดิษฐาน
พระบรมธาตุ
พระพุทธปฏิมาไชย
พระพุทธปฏิมาห้ามสมุทร
ดวงพระชนมพรรษา
พระสุพรรณบัฎ
พระมหามงกุฎ พระมหามงคล
พระนพ พระมหาสังวาลสร้อยอ่อน พระมหาสังวาลพราหมณ์
เครื่องพิไชยสงคราม
เครื่องพระมนตพิเศษ หีบพระธำมรงค์ พระเกราะนวม พระภูษารัตตกัมพล พระอุณาโลมทำแท่ง
พัดวาลวิชนี ธารพระกร
ฉลองพระบาท พระขรรค์ไชยศรี
พระแสงดาบเชลย
พระแสงง้าว พระแสงจักร พระแสงตรีศูล พระแสงเกาทัณฑ์ พระแสงเขนมีดาบ พระแสงทวน
พระแสงหอกไชย
พระแสงของ้าวเจ้าพระยาแสนพลพ่าย
พระแสงของ้าวตีช้างล้ม พระชนักต้น
พระแสงปืนคาบศิลาที่เคยทรง
พระแสงปืนคาบชุดข้ามแม่น้ำสะโตง
พระเศวตฉัตร
พระเสมาธิปัต พระฉัตรไชย พระเกาวพ่าย
ธงไชยกระบี่ธุช
ธงไชยครุฑพ่าห์
พระมหาสังข์ทักษิณาวัฎ
พระสังข์ทอง พระสังข์เงิน
พระเต้าเบญจครรภ พระเต้าทอง
พระเต้านาก พระเต้าเงิน พระเต้าสัมฤทธิ์
ตั่งใหญ่ไม้มะเดื่อแปดเหลี่ยม ชื่อ อัฐทิศ กั้นบวรเศวตฉัตรเจ็ดชั้น
ตั่งน้อยประจำทิศทำด้วยไม้ฤาษีสุข
ตั้งน้ำกลศ น้ำสังข์
มีฉากรูปเขียนเทพยดาทั้งแปดพระองค์
ผู้ทรงฤทธิ์ประจำทิศทั้งแปด
หน้าเตียงพระมณฑลตั้งเครื่องนมัสการ
หลังเตียงพระมณฑลตั้งบาตรน้ำพระพุทธมนต์ ๕ บาตร ทราย ๕
๓.๒ ด้านทิศประจิม
ตั้งเตียงมีโครงเพดานดาดผ้าขาว เป็นที่สำหรับพระสงฆ์สวดภาณวารและมหาไชย
สำหรับพระราชพิธีมีเครื่องทรงนมัสการ กระบะมุก และตั้งเทียนไชย มีกระโจมหุ้มผ้าขาว
ตั้งพระที่นั่งภัทรบิฐทำด้วยไม้มะเดื่อหุ้มเงินองค์หนึ่ง บนพระที่นั่งลาดด้วยหญ้าคา
และโรยด้วยแป้งข้าวสาลี มีแผ่นทองคำเขียนรูปราชสีห์ด้วยเส้นชาดหรคุณทับบนเส้นหญ้าคา
แล้วคลุมลงด้วยผ้าขาว กั้นพระบาทเศวตฉัตรเจ็ดชั้น
พระแท่นที่พระบรรทมที่พระมหามณเฑียรข้างในแต่งอาสนะปูลาดพรมเจียม
สำหรับเป็นที่พระสงฆ์ราชาคณะสมถะ ๕ รูป สวดพระปริตรพุทธมนต์
กรมโหรตั้งเครื่องบัตรพลีบูชาเทวดานพเคราะห์
เพื่อเจริญพระชนมายุกาลแล้ววงสายสิญจน์สูตรโยงไปโดยตรงกลางสายหนึ่ง
และวงล่ามไปตลอดเตียงพระมณฑลพระพุทธปฎิมาไชยสรรพเครื่องศาสตราวุธ
ตั่งอัฐทิศและพระที่นั่งพภัทรบิฐ
รวมทั้งมณฑปที่สรงพระกระยาสนานตลอดจนท้องพระโรงข้างหน้าและที่ตั้งโรงพิธีพราหมณ์หน้าพระที่นั่ง
ซึ่งประดับด้วยราชวัติฉัตรกระดาษ ๕ ชั้น มีต้นกล้วย ต้นอ้อย และดอกหมาก
ดอกมะพร้าวห้อยตามมุมราชวัตินั้น
|