อัญเชิญเทวรูปทั้ง ๗ องค์ออกตั้งไ
อัญเชิญเทวรูปทั้ง ๗ องค์ออกตั้งได้แก่
๑.
พระปรเมศวร ๒. พระพรหมธาดา
๓.
พระนารายณ์ ๔. พระเทวกรรม
๕.
พระพิฆเนศวร ๖. พระอุมาภควดี
๗.
พระลักษมี
ตั้งเครื่องเบญจครรภ นพวรรค หม้อกุณฑ์ เตากุณฑ์โหมเพลิง
และไตรทวารทำด้วยไม้ซีกประดับด้วยไม้ไผ่ อุนาเทวพรหมโองการทิศละ ๓ อัน ทั้ง ๘
ทิศนั้นตั้งกลศสังข์
ดังนั้นในพระที่นั่งอัมรินทราภิเษกองค์นี้
จึงสามารถศึกษาและมีความรู้เรื่องพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกไปพร้อมกันได้ซึ่งมีพระราชพิธีตอนสำคัญ
ดังนี้
ในมหาพิชัยมงคลฤกษ์นั้น พระองค์ทรงเสด็จสถิตเหนืออุทุมพรราชอาสน์ ณ มณฑป
พระกระยาสนาน คณะพระมหาราชครูถวายพระเต้าเบญจครรภ ถวายพระสังข์ทอง ถวายพระสังข์เงิน
เป๋าสังข์อุตราวัฎ ประโคมดุริยางค์ดนตรี มะโหระทึก แตรสังข์ บันเฑาะว์ จนสรงเสร็จ
ถวายพระภูษาทรงผลัดลายเขียนน้ำทอง ทรงฉลองพระองค์ครุยทอง สถิตเหนือพระที่นั่งอัฐทิศ
ผันพระพักตร์ไปสู่อุดรทิศเป็นปฐม
พราหมณ์ถวายน้ำพระสังข์ ทักษิณาวัฎ น้ำกลศ ทรงรับมาสรงพระพักตร์และเสวยหน่อยหนึ่ง
แล้วผันพระองค์ไปตามทิศอาคเนย์โดยทักษิณาวัฎ
ทรงรับน้ำพระพุทธมนต์ นำสังข์ทั้ง ๘ ทิศ
แล้วเสด็จพระราชดำเนินมาประทับที่พระที่นั่งภัทรบิฐ
เหนือแผ่นทองรูปราชสีห์อันมีมหันตเดช
พระมหาราชครูพิธีอ่านพระเวาสรรญเสริญไกรลาศ ถวายพระสุพรรณบัฎ เบจราชกุกุธภัณฑ์
ถวายพระแสงอัษฎาวุฎ และเครื่อราชูปโภค ประกอบด้วยวิษณุเวท อิศวรมนต์
ทรงรับแล้วส่งให้พระยาราชโกศาฯ รับต่อพระหัตถ์ส่งให้เจ้าพนักงาน
สำหรับฉลองพระบาท พระมหาราชครูพิธีรับมาสอดถวาย
แล้วถวายพระพรชัยเสร็จแล้วก็กราบบังคมทูลนำว่า
ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบรท
ปกเกล้าปกกระหม่อม สิริราชสมบัติอันหา พระมหากษัตริย์จะครอบครองมิได้
ข้าพระพุทธเจ้ากับเสนาบดีมุขมนตรีทั้งปวง
ขอพระราชทานทูลเกล้าถวายแด่พระบาทสมเด็จพระบรมนารถบรมบพิตรพระเจ้าอยู่หัวเป็นที่พึ่งแก่สมณพราหมณาจารย์
อาณาบรมราษฎร์สืบไป ขอเดชะ
จากนั้นหลวงสิทธิไชยพร
พระหมอเฒ่า ถวายพระเศวตรฉัตรแล้วกราบทูลว่า
ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาท
ปกเกล้าปกกระหม่อม
ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระมหาเศวตรฉัตร
เป็นที่เฉลิมสิริราชสมบัติสำหับบรมกษัตริย์สืบมาแด่พระบาทสมเด็จบรมนารถบรมบพิตรพระเจ้าอยู่หัว
ขอเดชะ
เสร็จแล้ว พระองค์จึงมีพระราชโองการดำรัสแด่พระมหาราชครูผู้ใหญ่ว่า
พรรณพฤกษ์
ชลธี และสิ่งของในแผ่นดินทั่วทั้งพระราชอาณาเขต ซึ่งหาผู้หวงแหนมิได้นั้น
ตามแต่สมณชีพราหมณาจารย์ ราษฎรจะปรารถนาเทิดพระมหาราชครูผู้ใหญ่
รับพระราโองการเป็นฤกษ์ก่อนว่า
ข้าพระพุทธเจ้าขอรับพระราชโองการมานพระบัณฑูรสุรสิงหนาทใส่เกล้าใส่กระหม่อม
ขอเดชะ
แล้วพระองค์ทรงโปรยดอกพิกุลทอง พิกุลเงิน แล้งทรงหลั่งน้ำทักษิโณทก
ทรงพระอธิษฐานตามพระราชอัธยาศัย
พราหมณ์เป่าพระมหาสังข์ประโคมดนตรีมโหระทึก สุดเสียงประโคมแล้ว
สมเด็จพระสังฆราชดับเทียนไชย
พระองค์ทรงถวายเครื่องไทยธรรมแก่พระราชาคณะ
สมเด็จพระสังฆราชถวายอดิเรกพระสงฆ์ถวายสัพพุทธาแล้วถวายพระพรลา
พระราชครูพิธี
พระหมอเฒ่าประพรมน้ำกลศ
น้ำสังข์รอบพระมหามณเทียรข้างในข้างหน้าเมื่ออวยชัยถวายพระพรแล้ว
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออกท้องพระโรงหน้า
ประทับพระแท่นเศวตรฉัตรท่ามกลางพระบรมวงศานุวงศ์ข้าทูลละอองธุลีพระบาทใหญ่น้อย
ข้าราชบริพารฝ่ายทหารพลเรือนที่เฝ้าขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายข้างพระที่นั่ง
ม้าพระที่นั่ง เมืองเอก โท ตรี จัตวา ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ถวายพระมหาพิชัยราชรถ
เรือพระที่นั่ง เครื่องสรรพยุทธ พระมหามณเฑียร ถวายกรุง
ถวายเครื่องพระพัทยากรราชสมบัติ และถวายธัญญาหาร
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชโองการว่า
สิ่งของทั้งหมดนี้
จงจัดทำนุบำรุงไว้ให้จงดี จะได้ป้องกันรักษาแผ่นดิน ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
และพระราชอาณาเขตสืบไป
อัครเสนาบดีรับสนองพระราชโองการกราบทูลว่า
ข้าพระพุทธเจ้าขอรับพระราชโองการมานพระบัณฑูรสุรสิงหนาท
ใส่เกล้าใส่กระหม่อม ขอเดชะ
เสร็จพิธีที่ท้องพระโรงแล้วพระองค์ก็เสด็จกลับขึ้นข้างใน
เสด็จประทับเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐ ให้ฝ่ายในโดยท้าววรจันทร์ เข้ากราบทูล
ถวายพระสนมสิบสองพระกำนัล
แล้วพระองค์เสด็จพระราชดำเนินสู่พระมหามณเทียร ทรงโปรยดอกพิกุลทอง พิกุลเงิน
โดยมีนางชะระพระบาท ๒ นางเชิญเครื่องราชูปโภค และนางเชื้อพระวงศ์ ๖
สำหรับอุ้มวิฬาร์ ๑ อุ้มศิลาบด ๑ อุมฟักเขียว ๑ ถือขันข้าวเปลือก ๑ ถือขันถั่วทอง
๑ถือขันงา ๑
เมื่อถึงพระองค์ทรงจุดเทียนนมัสการก่อนเสด็จขึ้นพระแท่นที่บรรทมพระราชวงศ์ผู้ใหญ่ถวายดอกหมากทองคำหนัก
๕ ตำลึง ทรงเอนพระองค์บรรทมเหนือพระแท่นที่โดยทักษิณปรัศว์เบื้องขวาเป็นพระฤกษ์ก่อน
พระวงศ์ฝ่ายในกราบทูลถวายพระพร สุดท้ายพระราชวงศ์ข้าราชบริพารฝ่ายทหารฝ่ายพลเรือน
พร้อมกันเวียนเทียนเฉลิมพระมหามณเทียรตามโบราณราชประเพณี
เมื่อเสร็จพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว
ก็โปรดให้จัดการสมโภชพระนครต่อเนื่องกันไปโดยนิมนต์พระสงฆ์ทุกพระอารามทั้งในกรุงและนอกกรุงมาสวดพระพุทธมนต์
บนเชิงเทียนทุกใบเสมารอบพระนคร
และพระราชทานเงินขอแรงให้ข้าราชการจัดข้าวกระทงเลี้ยงพระสงฆ์ตั้งโรงทานรายรอบพระนคร
พระราชทานเลี้ยงยาจกวณิพกทั้งปวง
และให้ตั้งต้นกัลปพฤกษ์ตามวงกำแพงพระนครทิ้งทานต้นละชั่ง ๓ วัน
และจัดให้มีการแสดงมหรสพต่าง ๆ ละครผู้หญิงโรงใหญ่เงินโรงวันละ ๑๐ ชั่ง
เป็นการสมโภชวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ๓ วันด้วย
ในครั้งนั้นสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ( รัชกาลที่ ๑)
ทรงพระราชทานพระนครใหม่ให้ตรงกับพระนามของพระพุทธมหามณีรัตนปฎิมากรว่า
กรุงเทพมหานคร
บวรรัตนโกสินทร์ มหินทราอยุธยามหาดิลก ภพนพรัตนราชธานีบุรีรมย์
อุดมราชนิเวศน์มหาสถาณ อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธ์
กรุงเทพจึงเป็นพระมหานครที่ดำรงรักษาพระพุทธมหามณีรัตนปฎิมากร
อันเป็นแก้วอย่างดีมีสิริอันประเสริฐ สำหรับพระบารมีของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ผู้สถาปนากรุงเทพมหานครนี้ส่วนคำว่ารัตนโกสินทร์ นั้นหมายถึง
แก้วของพระอินทร์ที่มีกายสีเขียว คือ พระแก้วมรกต
ภายหลังพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔
ทรงแก้ไขสร้อยนามพระนครใหม่เฉพาะข้อความว่า บวรรัตนโกสินทร์ เป็น อมรรัตนโกสินทร์
การสร้างพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดารามในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแผ่นดินต้น
(รัชกาลที่ ๑) นั้น ปรากฏว่าได้มีพระราชพิธีสำคัญเกิดขึ้นเป็นธรรมเนียมวัง ดังนี้
พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในพระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาท
พิธีสมโภชพระพุทธมหามณีรัตนปฎิมากรพระแก้วมรกต พิธีถือน้ำพิพัฒนาสัตยาธิษฐาน
ในพระอุโบสถเป็นต้น
|