ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี



            วัดสระบาป  อยู่ในตำบลคลองนารายณ์ อำเภอเมือง ฯ อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๗ กิโลเมตร เดิมชื่อ วัดเขาถ้ำ ตั้งอยู่บนเขาสระบาป สร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๗๐๐ มีโบราณวัตถุเหลืออยู่พอสมควร
             การย้ายวัดครั้งแรก ได้ย้ายมาสร้างในบริเวณที่ลุ่ม ห่างจากที่ตั้งปัจจุบันประมาณ ๑๐๐ เมตร และได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดป่าเรไร มีพระภิกษุสงฆ์อยู่เป็นจำนวนมาก แบ่งออกเป็นสามคณะ มีสมภารปกครองพร้อมกันสามรูป จึงได้ชื่อใหม่ว่า วัดสามสมภาร
             การย้ายวัดครั้งที่สอง มาอยู่ ณ ที่ตั้งปัจจุบันมีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า เหตุการณ์บ้านเมืองในสมัยนั้นมีศึกสงครามอยู่เสมอ แม่ทัพขอมได้ร่วมกับชนชาติชอง ยกทัพไปรบกับพวกกุหล่า เมื่อได้ชัยชนะก็ยกทัพมาตั้งค่ายพักแรมที่วัดสามสมภาร ผู้เป็นแม่ทัพได้สร้างถาวรวัตถุเป็นจำนวนมาก และได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็น วัดชัยชุมภูพล ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๕ เจ้าอาวาสได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็น วัดสระบาป เพื่อให้เหมาะสมกับภูเขาสระบาป และบ้านสระบาป
             โบราณวัตถุที่แสดงว่าวัดสระบาปเป็นวัดเก่าแก่คือ หินศิวลึงค์ ใบเสมาหินทราย เทวสตรีสำริด ศิลปะสมัยลพบุรี และรอยพระพุทธบาทจำลอง

            วัดโยธานิมิตร  อยู่ในกำแพงเมืองจันทบุรีที่ค่ายเนินวง ตำบลบางกะจะ อำเภอเมือง ฯ สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๗ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าพระยาพระคลัง (ดิส บุนนาค) สร้างขึ้นในคราวเดียวกันกับค่ายเนินวง เพื่อให้เป็นวัดประจำเมือง
                กำแพงวัดก่อด้วยศิลาแลง  ภายในกำแพงวัดมีโบสถ์หลังหนึ่ง หลังโบสถ์ออกไปมีเจดีย์ทรงกลมแบบลังกา สูงประมาณ ๒๐ เมตร มีศาลาการเปรียญพร้อมกุฎิสงฆ์ ภายในโบสถ์มีพระประธาน เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นชื่อ หลวงพ่อใหญ่ ที่ประชาชนให้ความเคารพนับถือมาสักการะบูชากัน

            วัดจันทนาราม  เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่ง ตั้งอยู่บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำจันทบุรี ตำบลจันทนิมิต อำเภอเมือง ฯ เป็นวัดฝ่ายธรรมยุต ไม่ทราบว่าสร้างเมื่อใด กล่าวกันว่าสร้างก่อนสมัยอยุธยา
             ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ประมาณปี พ.ศ.๒๔๖๘ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะผนวชได้พระราชทานญัตติแห่งธรรมยุต ให้กับเจ้าอาวาส นวม (จนฺ ทิสฺสโร) และได้อยู่สำนักสมเด็จพระอุปัชฌาย์ จนได้สนิสัยมุตตกะ (มีอิสระ) และจึงทูลลาไปรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดจันทนาราม
             อุโบสถสร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๔ พระพุทธรูปศิลาหินอ่อนแบบพม่าองค์หนึ่ง หน้าตักกว้าง ๖๖ เซนติเมตร สูง ๗๘ เซนติเมตร มีโบราณวัตถุเป็นแผ่นศิลากว้าง ๔๐ เซนติเมตร ยาว ๑ เมตร หนา ๑๐ เซนติเมตร อยู่สี่แผ่น
             วัดจันทนาราม เป็นสถานที่สำคัญในการจัดงานประเพณีลอยกระทง เริ่มจัดครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๒ และมีการทอดผ้าป่าหินขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อนำหินไปถมโคนเสาไม้ชายฝั่งแม่น้ำป้องกันน้ำเซาะชายฝั่ง

            วัดใหม่เมืองจันทบุรี  เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของจังหวัดจันทบุรีไม่ปรากฎชัดเจนว่าสร้างสมัยใด แต่ประมาณได้ว่าสร้างมาก่อนปี พ.ศ.๒๔๓๖ เพราะในขณะที่สร้างโบสถ์นั้น ฝรั่งเศสยึงยึดครองเมืองจันทบุรีอยู่ วัดใหม่เมืองจันทบุรีตั้งอยู่ที่ถนนท่าแฉลบ ตำบลตลาด อำเภอเมือง ฯ มีพื้นที่ ๘ ไร่ ๒ งาน ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศง๒๕๑๐ ประกอบพิธีผูกพันธสีมา เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๒
             โบราณวัตถุที่สำคัญของวัดคือ พระพุทธสิหิงค์จำลอง รูปปั้นจำลองสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) รูปปั้นจำลองหลวงพ่อทวด วัดช้างไห้
             วัดใหม่ ฯ เป็นสถานที่สำคัญในการจัดงานประเพณีสงกรานต์มาแต่เดิม และสืบทอดมาถึงปัจจุบัน มีการอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์จำลองออกแห่รอบตลาดจันทบุรี เพื่อให้ประชาชนสักการะบูชาและปิดทอง
             วัดใหม่ ฯ ยังได้เปิดสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรมขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๐๙ และแผนกบาลีในปี พ.ศ.๒๕๑๒ และได้เปิดโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๓

            วัดบูรพาพิทยาราม  เป็นพระอารามหลวง อยู่ในตำบลเขาวัว อำเภอท่าใหม่ มีพื้นที่ ๔๔ ไร่ตั้งวัดเมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๘ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ.๒๕๐๘ และได้ทำพิธีผูกพัทธสีมาในปี พ.ศ.๒๕๑๔
            วัดบูรพา ฯ มีความเจริญรุ่งเรืองเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนมาโดยตลอด พอประมวลได้ดังนี้
                พ.ศ.๒๔๖๔  ได้ตั้งสำนักเรียนพระปริยัติธรรม และโรงเรียนบูรพาพิทยาราม
                พ.ศ.๒๔๗๗  ได้สนับสนุนให้โรงเรียนฝึกหัดครูจันทบุรีมาตั้งอยู่ในเขตวัด
                พ.ศ.๒๕๑๕  ได้รับยกย่องให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง
                พ.ศ.๒๕๑๙  ได้สร้างหอประชุมให้เป็นสมบัติใช้สอยร่วมกันระหว่างวัด โรงเรียน ชุมชนและหน่วยงานต่าง ๆ
                พ.ศ.๒๕๒๐  ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ
                พ.ศ.๒๕๓๙  ได้สร้างหอสมุดประชาชนท่าใหม่เฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองราชย์เป็นปีที่ ๕๐
                ปัจจุบันวัดบูรพา ฯ เป็นพระอารามหลวงที่มีถาวรวัตถุ อาคารเสนาสนะ ศาลาการเปรียญครบถ้วน เป็นวัดที่ร่มรื่นสวยงาม เป็นศูนย์รวมจิตใจประชาชน ให้บริการชุมชนและเป็นแหล่งวิทยาการ การศึกษาที่สำคัญของจังหวัดจันทบุรี

            วัดโบสถ์เมือง  ตั้งอยู่ที่ถนนเบญจมราชูทิศ ตำบลตลาด อำเภอเมือง ฯ ติดกับแม่น้ำจันทบุรีบนฝั่งขวา สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๕ ความเป็นมาแต่เดิมไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัด
            ภายในวัดมีเสนาสนะต่าง ๆ ได้แก่ อุโบสถ ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ เจดีย์ใหญ่บรรจุพระบรมธาตุ มีเจดีย์เล็กล้อมรอบสี่มุม หน้าอุโบสถมีทับหลังศิลปะบาปวนตั้งไว้ และมีโรงเรียนพระปริยัติธรรม
            วัดโบสถ์เมือง เป็นสถานที่จัดหล่อเทียนประจำพรรษาของจังหวัดจันทบุรีมาแต่เดิมจวบจนปัจจุบัน

            วัดเขาสุกิม  ตั้งอยู่บนเขาในตำบลเขาบายศรี อำเภอท่าใหม่ มีพื้นที่ ๓,๒๘๐ ไร่ เริ่มตั้งครั้งแรกเป็นสำนักสงฆ์เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๗ ต่อมาได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ในปี พ.ศ.๒๕๑๖
            วัดเขาสุกิม เป็นศูนย์ปฎิบัติธรรมของโครงการแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง มีศาสนาสถาน ศาสนวัตถุ และศาสนสมบัติอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น โบสถ์ พระตำหนักสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตน์ ฯ พระตำหนักสมเด็จพระสังฆราชชื่อ พระตำหนักจิตตาศรม เรือนรับรอง ตึกธรรมวิจัย ตึกธรรมสาธิต วิหารบูรพาจารย์ ซึ่งสร้างอยู่บนชั้นสี่ของตึก ๖๐ ปี เฉลิมพระชนม์พรรษา ฯ และมีพิพิธภัณฑ์ประจำวัดอยู่ภายในตึก ๖๐ ปี ฯ
            วัดเขาสุกิม เป็นวัดที่ประชาชนมาปฎิบัติธรรมและมาเที่ยวชมจำนวนมาก

            วัดเขตร์นาบุญญาราม (ฮกชั่งยี่)  อยู่ในตำบลวัดใหม่ อำเภอเมือง ฯ เป็นวัดอนัมนิกาย สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๗ และได้รับพระราชทานนามวัดว่า วัดเขตร์นาบุญญาราม
            ในเวลาต่อมาอุโบสถเดิมที่สร้างด้วยไม้ชำรุด จึงได้มีการสร้างอุโบสถขึ้นใหม่ และได้ทำหนังสือกราบบังคมทูล สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ฯ มาเป็นประธานประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อุโบสถหลังใหม่ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๑
            ภายในวัดมีอาคารโรงเจ หรือศาลาบำเพ็ญบุญที่โดดเด่นเป็นที่รองรับผู้ที่มาถือศีลกินเจ ในงานเทศกาลถือศีลกินเจ ซึ่งตรงกับวันขึ้น หนึ่งค่ำ ถึงวันขึ้นเก้าค่ำ เดือนเก้าของจีน ทางวัดได้จัดงานนี้มากว่าร้อยปี
            วัดอนัมนิกายแห่งนี้ตั้งอยู่กลางเมือง เป็นศูนย์รวมพุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายาน ทั้งใกล้และไกลมานมัสการองค์ฮุดโจ๊ว (พระพุทธเจ้า) มาโดยตลอดหลายชั่วอายุ
ศาสนวัตถุ
            มีศาสนวัตถุที่อยู่ตามวัดต่าง ๆ ในเขตจังหวัดจันทบุรีที่ขึ้นทะเบียนแล้วดังนี้
            วัดกลาง  อยู่ในตำบลวัดใหม่ อำเภอเมือง ฯ มีศาสนวัตถุอยู่ ๘ รายการ เป็นใบเสมา ชนิดหินศิลปะอยุธยา มีขนาดต่าง ๆ กันคือ มีความสูงตั้งแต่ ๓๕ - ๖๓ เซนติเมตร มีความกว้างตั้งแต่ ๓๒ - ๔๖ เซนติเมตร และมีความหนาตั้งแต่ ๑๑-๑๕ เซนติเมตร
            วัดทองทั่ว  อยู่ในตำบลคลองนารายณ์ อำเภอเมือง ฯ มีธรรมาสน์ชนิดไม้ศิลปะรัตนโกสินทร์ สูง ๔.๓๐ เมตร กว้าง ๑.๔๕ เมตร
            วัดบน  อยู่ในตำบลบ่อพุ อำเภอท่าใหม่ มีตู้พระธรรม และหีบพระธรรมรวมสามรายการคือ
                 ๑. ตู้พระธรรม ชนิดไม้ลงรักปิดทอง ศิลปะรัตนโกสินทร์ สูง ๑.๖๕ เมตร กว้าง ๐.๗๖ เมตร ยาว ๐.๙๐ เมตร
                 ๒. หีบพระธรรม สองหีบ ชนิดไม้ลงรักปิดทอง ศิลปะรัตนโกสินทร์ สูง ๐.๒๙ เมตร กว้าง ๐.๒๔ เมตร ยาว ๐.๘๑ เมตร และสูง ๐.๓๔ เมตร กว้าง ๐.๓๐ เมตร ยาว ๐.๘๘ เมตร
            วัดสิงห์  อยู่ในตำบลกะจะ อำเภอเมือง ฯ มีพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย ศิลปะรัตนโกสินทร์ หน้าตักกว้าง ๐.๘๒ เมตร สูง รวมฐาน ๑.๑๘ เมตร
            วัดพลับ  อยู่ในตำบลบางกะจะ อำเภอเมือง ฯ มีศาสนวัตถุอยู่สามรายการคือ
                 ๑. ตู้พระธรรมชนิดไม้ ศิลปะรัตนโกสินทร์ สูง ๑.๗๘ เมตร กว้าง ๐.๘๗ เมตร ยาว ๑.๐๐ เมตร
                 ๒. ตู้พระพุทธรูปชนิดไม้ ศิลปะรัตนโกสินทร์ สูง ๑.๗๗ เมตร กว้าง ๐.๘๔ เมตร ยาว ๐.๘๔ เมตร
                 ๓. พระพุทธรูปสำริด ปางบำเพ็ญทุกขกิริยา ศิลปะรัตนโกสินทร์ หน้าตักกว้าง ๑.๒๗ เมตร สูงรวมฐาน ๑.๗๐ เมตร
            วัดเขาพลอยแหวน  อยู่ในตำบลพลอยแหวน อำเภอท่าใหม่ มีตู้พระธรรมชนิดไม้ ศิลปะรัตนโกสินทร์ สูง ๑.๖๐ เมตร กว้าง ๐.๗๗ เมตร ยาว ๐.๙๐ เมตร
            วัดโยธานิมิตร  อยู่ในตำบลบางกะจะ อำเภอเมือง ฯ มีพระพุทธรูปอยู่สององค์คือ
                 ๑. พระพุทธรูปปางประทานอภัย ชนิดไม้ ศิลปะรัตนโกสินทร์ สูงรวมฐาน ๒.๓๔ เมตร
                 ๒. พระพุทธรูปปางแสดงธรรม ชนิดไม้ ศิลปะรัตนโกสินทร์ สูงรวมฐาน ๒.๓๔ เมตร
            วัดสามมะม่วง  อยู่ในตำบลวัดใหม่ อำเภอเมือง ฯ มีพระสาวกทำด้วยสำริด อยู่ในท่ายืน มีจารึกที่ฐาน ศิลปะรัตนโกสินทร์ สูงรวมทั้งฐาน ๑.๖๓ เมตร
            วัดวันยาวบน  อยู่ในตำบลขลุง มีธรรมาสน์ ชนิดไม้ลงรักปิดทอง ศิลปะรัตนโกสินทร์ สูง ๕.๒๐ เมตร กว้าง ๑.๗๐ เมตร บันไดยาว ๑.๒๐ เมตร กว้าง ๐.๕๒ เมตร
            วัดเกวียนหัก  อยู่ในตำบลเกวียนหัก อำเภอขลุง มีธรรมาสน์ชนิดไม้ลงรักปิดทอง ศิลปะรัตนโกสินทร์ สูง ๔.๓๐ เมตร กว้าง ๑.๒๙ เมตร บันไดยาว ๑.๔๘ เมตร กว้าง ๐.๕๐ เมตร
            วัดคานรูด  อยู่ในตำบลเกวียนหัก อำเภอขลุง มีศาสนวัตถุอยู่สี่รายการคือ
                 ๑. พระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย ลงรักปิดทอง ศิลปะรัตนโกสินทร์ อยู่สององค์ องค์หนึ่งขนาดหน้าตักกว้าง ๐.๘๙ เมตร หน้าฐานล่างกว้าง ๑.๔๓ เมตร สูงเฉพาะองค์พระ ๑.๒๕ เมตร สูงเฉพาะฐาน ๐.๕๔ เมตร อีกองค์หนึ่งหน้าตักกว้าง ๐.๓๙ เมตร ฐานล่างกว้าง ๐.๕๗๗ เมตร สูงเฉพาะองค์พระ ๐.๘๔ เมตร ฐานสูง ๐.๒๖ เมตร
                 ๒. ตู้พระธรรมชนิดไม้เขียนภาพรายรดน้ำ ศิลปะรัตนโกสินทร์ สูง ๑.๖๐ เมตร กว้าง ๐.๘๐ เมตร ยาว ๐.๙๒ เมตร
                 ๓. หีบพระธรรม ชนิดไม้ลงรักปิดทอง ศิลปะรัตนโกสินทร์สูง ๐.๓๓ เมตร กว้าง ๐.๒๙ เมตร ยาว ๐.๘๓ เมตร
            วัดตะปอนใหญ่  อยู่ในตำบลตะปอน อำเภอขลุง มีศานวัตถุอยู่สามรายการคือ
                 ๑. ตู้พระธรรม ชนิดไม้ ศิลปะรัตนโกสินทร์ สูง ๑.๗๒ เมตร กว้าง ๐.๗๙ เมตร ยาว ๑.๑๓ เมตร
                 ๒. หีบพระธรรมชนิดไม้ ศิลปะรัตนโกสินทร์ สูง ๐.๓๕ เมตร กว้าง ๐.๒๙ เมตร ยาว ๐.๘๓ เมตร
                 ๓. ธรรมาสน์ ชนิดไม้ ลงรักปิดทอง ศิลปะรัตนโกสินทร์ สสูง ๕.๕๐ เมตร กว้าง ๑.๓๘ เมตร ยาว ๑.๓๘ เมตร บันไดยาว ๑.๕๘ เมตร กว้าง ๐.๕๒ เมตร
            วัดตะปอนน้อย  อยู่ในตำบลตะปอน อำเภอขลุง มีศานวัตถุหกรายการคือ
                 ๑. พระพุทธรูปทองเหลืองปางมารวิชัย ศิลปะรัตนโกสินทร์ หน้าตักกว้าง ๐.๗๖ เมตร หน้าฐานล่างกว้าง ๐.๙๓ เมตร สูงรวมฐาน ๑.๒๓ เมตร
                 ๒. ตู้พระธรรมชนิดไม้ ศิลปะรัตนโกสินทร์ มีสองตู้ ขนาดสูง ๑.๕๐ เมตร กว้าง ๐.๘๒ เมตร ยาว ๐.๙๓ เมตร และขนาดสูง ๑.๕๒ เมตร กว้าง ๐.๗๕ เมตร ยาว ๐.๙๔ เมตร
                 ๓. เจดีย์จำลองทองเหลืองลงรักปิดทอง ศิลปะรัตนโกสินทร์ มีสององค์ มีขนาดสูง ๑.๑๘ เมตรและมีขนาดสูง ๐.๘๗ เมตร
                 ๔. ใบเสมาหินมีจารึกลายบรรทัด ศิลปะรัตนโกสินทร์ สูง ๐.๗๔ เมตร กว้าง ๐.๓๗ เมตร หนา ๐.๑๒ เมตร
            วัดสระบาป  อยู่ในตำบลคลองนารายณ์ อำเภอเมือง ฯ มีสองรายการคือ
                 ๑. พระพุทธบาทจำลอง ชนิดหิน ศิลปะลพบุรี สูง ๐.๒๐ เมตร ยาว ๑.๑๒ เมตร หนา ๐.๑๕ เมตร
                 ๒. เทวรูปสตรี ชนิดสำริด ศิลปะลพบุรี สูง ๐.๑๔ เมตร

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์