ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี



| หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

จังหวัดเพชรบูรณ์

            จังหวัดเพชรบูรณ์  ตั้งอยู่บริเวณภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย หรือภาคกลางตอนบน ส่วนกว้างที่สุดของจังหวัด จากด้านตะวันออกถึงตะวันตก ประมาณ ๕๕ กิโกลเมตร ส่วนยาวที่สุดจากทิศเหนือไปทิศใต้ ประมาณ ๒๙๕ กิโลเมตร สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๑๑๕ เมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพ ฯ ตามทางหลวงหมายเลข ๒๑ ประมาณ ๓๔๕ กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
            ทิศเหนือ  ติดต่อกับจังหวัดเลย
            ทิศตะวันออก  ติดต่อกับจังหวัดขอนแก่น และจังหวัดชัยภูมิ
            ทิศใต้  ติดต่อกับจังหวัดลพบุรี
            ทิศตะวันตก  ติดต่อกับจังหวัดพิษณุโลก จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดพิจิตร
            จังหวัดเพชรบูรณ์ ตั้งอยู่บริเวณใจกลางของประเทศ อยู่ห่างจากชายแดนด้านทิศเหนือ ด้านทิศตะวันออก และด้านทิศตะวันตก และอ่าวไทย ทางด้านทิศใต้ ด้านละประมาณ ๔๐๐ กิโลเมตร พื้นที่ราบอันเป็นที่ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ในร่องเขาทั้งสามด้าน เชื่อมโยงกับเทือกเขาติดต่อภาคเหนือถึงเชียงราย ประเทศลาว และภาคอีสานของไทย มีพื้นที่ประมาณ ๑๒,๖๗๐ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๗.๙ ล้านไร่
สภาพทางภูมิศาสตร์
            จังหวัดเพชรบูรณ์มีภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มแบบท้องกระทะ ประกอบด้วยเนินเขา ป่าไม้ และที่ราบเป็นตอน ๆ สลับกันไป พื้นที่ลาดจากเหนือลงไปทางใต้ ตอนเหนือมีทิวเขาสูง ตอนกลางเป็นพื้นที่ราบและมีทิวเขาขนาบกันไปทั้งสองข้าง มีลักษณะเป็นรูปเกือกม้า ทิวเขาทางด้านทิศตะวันตกติดต่อกับเขตจังหวัดพิษณุโลก ประกอบด้วยแนวเทือกเขาใหญ่ เทือกเขาค้อ ภูหวด ติดต่อกับภูหินร่องกล้า เชื่อมกับแนวเขาทางด้านเหนือ ซึ่งเป็นเขตติดต่อกับจังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดเลย ประกอบด้วย ภูผานกนางแอ่น ภูกกม่วง ภูสะแดง เขาแผงม้า ต่อเนื่องกับเทือกเขาทางด้านทิศตะวันออก ในเขตอำเภอน้ำหนาว ติดต่อกับจังหวัดเลย จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดชัยภูมิ คือ เทือกเขาเพชรบูรณ์ อันประกอบด้วยภูเขาต่าง ๆ ได้แก่ ภูห้วยหินลาด ภูกระดึง ภูเรือ ภูหลวง เขาเสลียงเตาถาด เขาแปปันน้ำ เขาอุ้มนาง และเขาลวก
            มีร่องอากาศเย็นจากเทือกเขาหิมาลัย เคลื่อนมาตามลำน้ำโขง ไปยังบริเวณเทือกเขาบริเวณอำเภอน้ำหนาว อำเภอหล่มเก่า อำเภอหล่มสัก และอำเภอเขาค้อ ทำให้บริเวณทางตอนเหนือมีอากาศเย็นตลอดปี โดยเฉพาะในเขตอำเภอน้ำหนาว
            จังหวัดเพชรบูรณ์ มีเทือกเขาล้อมรอบทางด้านทิศตะวันออก และทิศตะวันตก มีแม่น้ำป่าสัก ซึ่งเป็นแม่น้ำสำคัญที่สุดของจังหวัด ไหลผ่านตอนกลางของจังหวัด จากทิศเหนือไปทิศใต้ยาวประมาณ ๓๕๐ กิโลเมตร ต้นน้ำเกิดจากภูเขาผาลา ในจังหวัดเลย และมีห้วยน้ำลำธารหลายสายมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาเพชรบูรณ์
            ยอดเขาและสันเขาที่สำคัญของจังหวัดเพชรบูรณ์ คือ ภูขัด ภูเมี่ยง ภูสอยดาว ภูหินรอ่งกล้า เขาปู่ เขาย่า และเขาวัง มีความสูงเฉลี่ยตั้งแต่ ๒,๕๐๐ ฟุต ถึง ๕,๕๐๐ ฟุต
ทรัพยากร
            ทรัพยากรดิน
            ลักษณะดินของจังหวัดเพชรบูรณ์  แบ่งตามลักษณะกลุ่มดินได้เป็นสี่กลุ่มคือ
              กลุ่มดินนา  ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ ร้อยละ ๒๐ ของพื้นที่จังหวัด
              กลุ่มดินไร่  ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ ร้อยละ ๓๐ ของพื้นที่จังหวัด
              กลุ่มดินตื้น  ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ ร้อยละ ๑๐ ของพื้นที่จังหวัด
              ภูเขา  ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ ร้อยละ ๔๐ ของพื้นที่จังหวัด
            ดินที่มีลักษณะพิเศษ จะเป็นดินที่ราบริมแม่น้ำ หรือลานตะพักลำน้ำ ประกอบด้วยดิน ที่มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงระดับสูง เหมาะสมต่อการเกษตร
            ดินที่พบบนที่ราบลุ่มแม่น้ำ และลานตะพักของแม่น้ำป่าสัก มีพื้นที่ประมาณร้อยละ ๓๐ เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ระดับต่ำ และปานกลาง
            พื้นที่ส่วนที่เหลือประมาณร้อยละ ๕๐ เป็นพื้นที่ภูเขาหรือเนินเขา มีดินตื้น หรือพบหินโผล่ สภาพดินไม่เหมาะกับการเกษตร
    ทรัพยากรป่าไม้

            จากการสำรวจเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๐ พบว่าพื้นที่ป่าลดลงเหลือประมาณ ๑,๔๓๖,๐๐๐ ไร่ จากเดิมที่เคยมีอยู่ ๔.๒ ล้านไร่ พื้นที่ป่าได้แปรสภาพไปเป็นพื้นที่ปลูกพืชไร่ สวนผลไม้ ที่อยู่อาศัยและสถานที่ท่องเที่ยว
                การปลูกป่าในเขตอนุรักษ์  ได้ดำเนินการปลูกป่าตามโครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ์ ประมาณ ๒๙๖,๐๐๐ ไร่ มีพื้นที่จอง ๒๖๙,๐๐๐ ไร่ ได้ปลูกป่าไปแล้วประมาณ ๑๑๐,๐๐๐ ไร่
                อุทยานแห่งชาติ ป่าสงวนแห่งชาติ  และสวนรุกขชาติ
                    อุทยานแห่งชาติ  มีอยู่สามแห่งด้วยกันคือ อุทยาน ฯ ทุ่งแสลงหลวง (๗๘๙,๐๐๐ ไร่)  อุทยาน ฯ น้ำหนาว (๔๘๕,๐๐๐ ไร่)  อุทยาน ฯ ตาดหนอก (๑๘๑,๐๐๐ ไร่)
                    ป่าสงวนแห่งชาติ  มีอยู่ ๑๕ แห่ง ด้วยกันคือ ป่าสงวน ฯ ป่าน้ำหนาว (๕๓๓,๐๐๐ ไร่)  ป่าห้วยใหญ่ (๓๑๒,๐๐๐ ไร่)  ป่าลุ่มน้ำสัก (๑๔๘,๐๐๐ ไร่) ป่าห้วยหิน - คลองตับ (๓๑๕,๐๐๐ ไร่)  ป่าลุ่มน้ำป่าสักฝั่งซ้าย (๒๖๔,๐๐๐ ไร่) ป่าลำกง - คลองตะไก (๑๒๐,๐๐๐ ไร่)  ป่าวังโป่ง - ชนแดน - วังกำแพง (๕๙๐,๐๐๐ ไร่)  ป่าห้วยโจน - วังสาง (๔๔,๕๐๐ไร่)  ป่าสองข้างทางสายชัยวิบูลย์ (๕๑๓,๐๐๐ ไร่)  ป่าฝั่งซ้ายแม่น้ำป่าสัก (๕๓๘,๐๐๐ ไร่)  ป่าโคกซกซาง  (๕๑,๐๐๐ ไร่)  ป่าเขาปางก่อ - วังชมภู (๕๓๘,๐๐๐ ไร่) ป่าโปกโหล่น (๑๑,๓๐๐ ไร่)  ป่าหนองน้ำหนาว (๕๕,๐๐๐ ไร่)  ป่าห้วยทราย (๓๒,๐๐๐ ไร่)
                    สวนรุกขชาติ  มีอยู่สองแห่งคือ ผาเมือง  (๕๐๐ ไร่)  ซับชมภู (๒๐๐ ไร่)
            ทรัพยากรแหล่งน้ำและชลประทาน
                แหล่งน้ำธรรมชาติ  ที่สำคัญคือแม่น้ำป่าสัก ลำห้วย ลำธาร คลองต่าง ๆ ๑,๑๘๖ สาย สามารถใช้ได้ในฤดูแล้งประมาณร้อยละ ๗๓  นอกจากนั้นยังมีหนองบึงอีก ๘๓ แห่ง มีพื้นที่บางแห่งขาดน้ำในฤดูแล้ง เช่น อำเภอหล่มเก่าและอำเภอเขาค้อ
                แหล่งน้ำชลประทาน  ประกอบด้วย
                    โครงการชลประทานขนาดกลาง  มี ๕ โครงการ พื้นที่รับประโยชน์ ๘๗,๐๐๐ ไร่
                    โครงการชลประทานขนาดเล็ก  มี ๙๑ โครงการ พื้นที่รับประโยชน์ ๒๐๑,๕๐๐ ไร่
                    โครงการชลประทานตามพระราชดำริ  มี ๘ โครงการ พื้นที่รับประโยชน์ ๙,๐๐๐ ไร่
                    สระเก็บน้ำในไร่นา  มี ๑,๘๔๒ โครงการ พื้นที่รับประโยชน์ ๙,๐๐๐ ไร่
ประชากร
            จากการสำรวจเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๑ มีประชากรประมาณ ๑,๐๔๑,๐๐๐ คน เป็นจังหวัดที่มีประชากรเกินหนึ่งล้านคน นับว่าเป็นจังหวัดที่มีประชากรมากเป็นลำดับที่ ๑๙ ของประเทศ
            ประชากรส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อชาติไทย สามารถแบ่งออกตามลักษณะทางวัฒนธรรม ได้แก่กลุ่มหล่มเก่า - หล่มสัก กลุ่มเพชรบูรณ์กลุ่มเพชรบูรณ์ตอนล่าง กลุ่มชาวบนและกลุ่มชาวไทยภูเขา
                กลุ่มหล่มเก่า - หล่มสัก  สันนิษฐานว่า เป็นพวกลาวพุงขาว ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากหลวงพระบาง มีภาษาพูด ขนบธรรมเนียมประเพณี และศิลปวัฒนธรรมเฉพาะกลุ่ม เช่น การนับถือผี และประเพณีเกี่ยวกับการนับถือผี ผสมกับนับถือพระพุทธศาสนา
                กลุ่มเพชรบูรณ์  อยู่ทางใต้ลงมา เป็นคนไทยที่มีขนบธรรมเนียมประเพณีเดียวกัน กับคนไทยในภาคกลางบริเวณใกล้เคียง เช่น ชาวพิจิตรและลพบุรี แต่มีสำเนียงภาษาพูดแตกต่างออกไปเล็กน้อย
                กลุ่มเพชรบูรณ์ตอนล่าง  มีชาวไทยจากภาคอีสานอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นจำนวนมาก และได้นำเอาขนบธรรมเนียม
ประเพณีของชาวอีสานติดมาด้วย เช่น ภาษาพูด อาหาร การแต่งกาย การทอผ้า ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นต้น
                กลุ่มชาวบนหรือชะบน  เป็นกลุ่มที่ตั้งถิ่นฐานบนฝั่งซ้ายแม่น้ำป่าสักที่บ้านน้ำเลา บ้านห้วยไคร้ บ้านท่าด้วง อำเภอเมือง ฯ และบางส่วนของอำเภอหนองไผ่  ที่ได้ชื่อว่าชาวบน คงจะเนื่องจากชอบตั้งบ้านเรือนอยู่ในที่สูง  ปลูกข้าวไร่ นับถือผี มีภาษาพูด และขนบธรรมเนียมประเพณีเฉพาะกลุ่ม สันนิษฐานว่า สืบเชื้อสายมาจากพวกลัวะ
                กลุ่มชาวไทยภูเขา  มีอยู่ประมาณ ๑,๔๘๐ ครัวเรือน ใน ๑๘ หมู่บ้าน กระจายอยู่ในเขตอำเภอเขาค้อ อำเภอน้ำหนาว อำเภอหล่มเก่า  มีอยู่หลายเผ่าด้วยกันคือเผ่าม้ง ลีซอ เย้า มูเซอและเผ่าฮึป่า มีอยู่ประมาณ ๑๐,๕๐๐ คน ส่วนใหญ่เป็นเผ่าม้ง และลีซอ โดยเฉพาะบ้านเจ็กน้อย ทุ่งแสลงหลวง เป็นหมู่บ้านม้งที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
                ประชากรที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณอำเภอทางตอนเหนือของจังหวัดคือ อำเภอหล่มเก่า อำเภอหล่มสัก อำเภอเขาค้อ และอำเภอเมือง ฯ  ส่วนใหญ่เป็นประชากรท้องถิ่นดั้งเดิม มีภาษาพูดและขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมท้องถิ่นที่คล้ายคลึงกัน ส่วนประชากรที่อยู่ทางตอนใต้ของจังหวัด ได้แก่ อำเภอชุมแดน อำเภอวังโป่ง อำเภอหนองไผ่ อำเภอบึงสามพัน อำเภอวิเชียรบุรีและอำเภอศรีเทพ  ส่วนใหญ่อพยพมาจากถิ่นอื่นประมาณร้อยละ ๖๕

| หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์