ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี



| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

เอกลักษณ์ทางธรรมชาติ

            อุทยานแห่งชาติลานสาง  อยู่ที่บ้านลานสาง ตำบลแม่ท้อ อำเภอเมือง ฯ มีพื้นที่ประมาณ ๑๐๔ ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ ๖๕,๐๐๐ ไร่ ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๒
            สภาพโดยทั่วไปเป็นภูเขาสลับซับซ้อนติดต่อกันเกือบตลอดพื้นที่ ส่วนที่สูงที่สุดของอุทยาน ฯ อยู่บริเวณด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ และลาดต่ำลงมาทางด้านทิศตะวันออก มีลำธารไหลผ่านหลายสายเช่น ห้วยลานสาง ห้วยท่าเลย คลองห้วยทราย ห้วยอุมยอม ป่าในเขตอุทยานเป็นป่าดงดิบ ป่าสน ป่าดิบเขา ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ สลับกันไปตามลักษณะภูมิประเทศ
            ตามตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่า เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ เสด็จยกกองทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ ครั้งที่ ๒ ได้ทรงหยุดพักกำลังพลที่บ้านสระแหง แขวงเมืองตาก มีชาวมอญเข้ามาสวามิภักดิ์ด้วยเป็นจำนวนมาก ทหารพม่าได้ติดตามพวกมอญเข้ามา สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ ได้เสด็จยกกองทัพออกไปขับไล่ทัพพม่าและเกิดพลัดหลงกับกองทัพ กองทัพไทยจึงหยุดพักในขณะที่พักอยู่นั้นได้เห็นแสงสว่างพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้า และได้ยินเสียงม้าศึกร้อง จึงรับพากันไปยังจุดนั้น ก็พบสมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ ประทับม้าอยู่กลางลานหิน มีแสงสว่างออกมาจากพระวรกาย มีทหารพม่าคุกเข่าอยู่โดยรอบ ขณะนั้นเป็นเวลาฟ้าสางพอดี จึงเรียกบริเวณนั้นว่า ลานสาง และสถานที่สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ ประทับม้าก็ยังคงอยู่ในปัจจุบัน บริเวณน้ำตกชั้นที่ ๒ บริเวณลานหินจะมีรอยเกือกม้าของสมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ ปรากฎอยู่ด้วย
                สถานที่น่าสนใจ ในอุทยานมีอยู่หลายแห่งด้วยกัน พอประมวลได้ดังนี้
                    ผาลาด  อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยาน ฯ ประมาณ ๑ กิโลเมตร มีลักษณะเป็นแผ่นหิน มีความลาดชันเล็กน้อย กว้างประมาณ ๒๕  เมตร ยาวประมาณ ๔๐ เมตร น้ำจะไหลบ่าไปตามแผ่นหิน แล้วรวมตัวไหลลงแอ่งเล็ก ๆ
                    น้ำตกลานเลี้ยงม้า (น้ำตกชั้นที่สอง)  อยู่ทางตอนต้นของห้วยลานสาง ถัดขึ้นไปจากน้ำตกลานเลี้ยงม้าประมาณ ๒ กิโลเมตร เป็นน้ำตกชั้นที่มีผู้นิยมไปเที่ยวชมมากที่สุด มีความสูงประมาณ ๔๐ เมตร สายน้ำตกจะไหลพุ่งออกมาจากซอกเขา แล้วไหลลดหลั่นลงมาสามชั้น รวมตัวลงสู่แอ่งน้ำแล้วไหลลงสู่น้ำตกลานเลี้ยงม้า
                    น้ำตกผาเงิน  เกิดจากห้วยผาเงิน มีความสูงประมาณ ๑๙ เมตร มีน้ำไหลเฉพาะในฤดูฝน และฤดูหนาว
                    น้ำตากผาผึ้ง (น้ำตกชั้นที่สาม)  อยู่ตอนต้นของลำห้วยลานสาง สูงขึ้นไปตามซอกเขา อยู่ห่างจากน้ำตกลานสางประมาณ ๖๐๐ เมตร มีลักษณะเป็นหน้าผาเรียบ ๆ ลาดชันประมาณ ๗๐ องศา สูงประมาณ ๓๐ เมตร
                    น้ำตกผาน้ำย้อย  อยู่สูงขึ้นไปตามลำห้วยลานสาง อยู่ห่างจากน้ำตาผาผึ้งประมาณ ๑๐๐ เมตร มีลักษณะเป็นซอกผาแคบ ๆ จึงบีบให้ห้วยลานสางเล็กลง ทำให้สายน้ำไหลผ่านด้วยความเร็วพุ่งลงแอ่งน้ำเบื้องล่าง มีความสูงประมาณ ๕เมตร
                    น้ำตกผาเท (น้ำตกชั้นที่สี่)  อยู่สูงขึ้นไปตามลำห้วยห่างจากน้ำตกผาผึ้งประมาณ ๑.๔ กิโลเมตร มีลักษณะเป็นผาดิ่งชันซึ่งเป็นท้องน้ำตก ที่มีการลดระดับต่ำลงอย่างรวดเร็ว น้ำจะพุ่งพ้นยอดผาเป็นสายลงสู่แอ่งน้ำเบื้องล่างด้วยความแรงจนกระจายเป็นฝอย ทำให้เกิดเสียงดังครืน ๆ ได้ยินแต่ไกล
                ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดตาก  (ดอยมูเซอ)  อยู่ในตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด เป็นถิ่นที่อยู่ของชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ซึ่งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลกว่า ๘๐๐ ฟุต บริเวณดอยมูเซอ มีพื้นที่ประมาณ ๒๖,๐๐๐ ไร่ ชาวเขาที่อาศัยอยู่ในบริเวณดอยมูเซอ ได้แก่ เผ่ามูเซอดำ ม้ง และลีซอ
            ชาวเขาที่มาอาศัยอยู่ในประเทศไทยปัจจุบันล้วนอพยพมาจากมณฑลทางตอนใต้ของประเทศจีน และเมืองปัน ในรัฐฉานของพม่า รวมทั้งเขตเมืองเชียงตุงด้วย ภาษาที่พูดจึงมีทั้งภาษาจีน ภาษาธิเบต ภาษาพม่า ผสมกันไม่มีภาษาเขียน มีอาชีพปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด ข้าว มีการเลี้ยงสัตว์บ้าง เช่น หมู ไก่
            ทุกปีชาวเขาแต่ละเผ่า จะจัดงานรับวันปีใหม่ ช่วงที่มักจัดงานได้แก่ ช่วงเทศกาลตรุษจีน
                สถานีทดลองพืชสวนดอยมูเซอ  ตั้งอยู่ใกล้ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา เป็นสถานที่ทดลองวิจัยเมล็ดพันธุ์กาแฟ ชา ผลไม้ ไม้ดอก ผักต่าง ๆ
ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนธันวาคม ดอกบัวตองบนเทือกเขาที่ตั้งสถานีทดลองพืชสวน จะบานสะพรั่งเต็มที่สวยงามน่าชมมาก

            อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช  อยู่ในตำบลแม่ท้อ ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด และอำเภอเมือง ฯ มีพื้นที่ประมาณ ๒๖๔ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๑๖๕,๐๐๐ ไร่ สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูงชัน มีภูเขาสลับซับซ้อน ทิวทัศน์สวยงาม จุดเด่นที่สำคัญคือ ต้นกระบากใหญ่ ซึ่งจัดว่าเป็นต้นไม้ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
            พื้นที่ป่าแห่งนี้ในอดีตเคยใช้เป็นเส้นทางเดินทัพของไทยและพม่า เช่นในปี พ.ศ.๒๓๐๕ พระเจ้าอลองพญากษัตริย์พม่าได้ยกทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยา ในระหว่างยกทัพกลับได้ประชวรและสิ้นพระชนม์ในป่านี้
            พื้นที่ของอุทยาน ฯ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ท้อ ป่าห้วยตากฝั่งขวา และป่าแม่ละเมา สภาพป่าสมบูรณ์อากาศเย็นสบายตลอดปี มีธรรมชาติงดงาม กรมป่าไม้ได้ดำเนินการจัดตั้งเป็นเขตอุทยาน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๔ ป่าในเขตอุทยาน ฯ มีหลายชนิด เช่น ป่าดิบเขา ป่าสนเขา ป่าดงดิบ ป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ
                สถานที่น่าสนใจในอุทยาน ฯ  มีอยู่หลายแห่งด้วยกัน พอประมวลได้ดังนี้
                    ต้นกระบากใหญ่  มีขนาดวัดโดยรอบลำต้นได้ ๑๖.๖๐ เมตร สูงประมาณ ๖๐ เมตร เป็นต้นไม้ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ในจำพวกไม้ชนิดเดียวกัน อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยาน ฯ ประมาณ ๔ กิโลเมตร
                    สะพานหินธรรมชาติ  มีลักษณะเป็นแท่งหินขนาดใหญ่เชื่อมหน้าผาสองแห่งเข้าด้วยกัน มีความกว้างและความสูงประมาณ ๒๕ เมตร เบื้องล่างมีลำธารไหลผ่าน ถัดออกไปประมาณ ๕๐ เมตร มีถ้ำอยู่แห่งหนึ่ง ภายในถ้ำมีหินงอก หินย้อยสวยงาม
                    น้ำตกแม่ย่ามา  เป็นน้ำตกขนาดกลาง เกิดจากลำห้วยแม่ย่ามา อยู่ในป่าทึบมีน้ำไหลหลั่นกันลงมา เป็นชั้นตามร่องห้วย แล้วไหลลงสู่ลำห้วยแม่ท้อ
                    น้ำตกนางครวญ  เดิมชื่อน้ำตกเพอะพะ ต่อมาเปลี่ยนเป็นน้ำตกพบพระ ก่อนเปลี่ยนมาเป็นชื่อน้ำนางครวญ เป็นน้ำตกขนาดกลาง ลดหลั่นกันลงไปเป็่นชั้นเล็ก ๆ ท่ามกลางป่าเลื้องล่าง สายน้ำไหลแรง มีต้นน้ำมาจากคลองเล็ก ๆ ริมท้องนาข้างทาง

                    น้ำตกพาเจริญ  อยู่ในเขตบ้านพากเจริญ ตัวน้ำตกไหลลดหลั่นเป็นชั้น ๆ ถึง ๙๗ ชั้น เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนในละแวกนั้น บริเวณน้ำตกมีลานกว้างขวาง
                    น้ำตกป่าหวาย  ธารน้ำตกเต็มไปด้วยป่าหวายจึงได้ชื่อว่า น้ำตกป่าหวาย การชมน้ำตกต้องเดินจากบริเวณล่างสุด ฝ่ากระแสน้ำขึ้นไปชมน้ำตกชั้นบนเป็นชั้น ๆ บริเวณชั้นบนของน้ำตก ห่างออกไปประมาณ ๓๐ เมตร จะพบปล่องภูเขาขนาดใหญ่มีน้ำไหลลงสู่ปล่องดังกล่าว แล้วหายไปในบริเวณใต้ภูเขา
                    แก่งแม่ตื่น  ลำน้ำแม่ตื่นเป็นลำน้ำสาขาที่มีขนาดใหญ่ของลำน้ำแม่ปิง ไหลมาบรรจบลำน้ำแม่ปิง บริเวณเหนือเขื่อนภูมิพล การล่องแก่งแม่ตื่น จะเริ่มต้นที่ที่ทำการเขตรักษาพันธุ์ป่าแม่ตื่น ล่องไปตามลำน้ำแม่ตื่น ผ่านกลางเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ตื่น ซึ่งจะได้ชมความงามตามธรรมชาติของป่าไม้ และนกนานาพันธุ์ ได้ผจญภัยกับการล่องเรือยาง ผ่านเกาะแก่งต่าง ๆ ตามลำน้ำ

                    ถ้ำแม่อุสุ  อยู่ในเขตอุทยานถ้ำแม่อุสุ บ้านมีโนะโค๊ะ อำเภอท่าสองยาง เป็นถ้ำที่กว้างใหญ่มีเพดานถ้ำสูง อากาศโปร่งและไม่มืดมากนัก มีลำห้วยแม่อุสุไหลผ่าน เมื่อจะเข้าถ้ำต้องลุยน้ำห้วยแม่อุสุเข้าไป น้ำใสเย็นลึกเสมอเข่า กระแสน้ำไหลแรง ในฤดูฝนระดับน้ำจะสูงมาก ภายในถ้ำมีหินงอก หินย้อย สวยงามมาก ทางด้านทิศตะวันตกมีโพรงหินขนาดใหญ่ ในตอนบ่ายจะมีแสงแดดส่องเข้ามาเป็นลำ  ทำให้ในถ้ำดูสวยงามยิ่งขึ้น เมื่อเดินเข้าไปในถ้ำได้ระยะหนึ่ง แล้วมองกลับมาทางเข้า จะเห็นภาพลำห้วยที่ไหลคดเคี้ยว ออกจากถ้ำมืดไปสู่ถ้ำสว่าง มีฉากหลังเป็นทุ่งหญ้าสีเขียวสวยงามมาก
                    ดอยม่อนกระทิง  เป็นสถานที่สวยงามด้วยป่าเขาและสายหมอกในยามเช้า ยังมีสัตว์ป่าต่าง ๆ เช่น กวาง ละมั่ง นก ฯลฯ จุดที่จะชมทะเลหมอกมีหลายจุดเช่น ม่อนครูบาไส ม่อนพุนสุดา และม่อนกิ่วลม

                    น้ำตกทีลอซู  อยู่ที่บ้านโขะทะ  ตำบลแม่จัน อำเภออุ้มผาง มีความสูงประมาณ ๒๐๐ - ๓๐๐ เมตร ยาวประมาณ ๕๐๐ เมตร ฤดูกาลที่เหมาะสมในการท่องเที่ยวคือ เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนเมษายน
                    น้ำตกทีลอจอ  อยู่ที่บ้านอุ้มผาง มีลักษณะคล้ายมีสายฝนตกตลอดเวลา น้ำตกแบ่งเป็นชั้น ๆ รวมสองชั้น ฤดูกาลที่เหมาะแก่การท่องเที่ยวคือ หลังฤดูฝนหรือน้ำหลาก ประมาณเดือนธันวาคม - พฤษภาคม
                    น้ำตกเซปละ  อยู่ที่บ้านเซปละ ตำบลแม่ละมุ้ง เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามอีกแห่งหนึ่ง น้ำตกจะตกลงมาเป็นชั้น ๆ มีความกว้างประมาณ ๑๐ เมตร สูงประมาณ ๕๐ เมตร สายน้ำที่ตกลมาจะกระทบโขดหิน แตกกระจายมองดูคล้ายเมฆสีขาวโดยทั่วไป
                    น้ำตกแม่กลองดี  หรือน้ำตกแม่กลองน้อย อยู่ที่บ้านแม่กลองดี ตำบลโมโกร เป็นน้ำตกมีสองชั้น มีความสูงและทางเดินชัน ฤดูฝนน้ำจะสวยงามมาก มีความสูงประมาณ ๒๐ - ๓๐ เมตร
                    ดอยหัวหมด  อยู่ที่บ้านอุ้มผาง ตำบลอุ้มผาง เป็นภูเขาที่เป็นแนวยาวหลายลูกต่อกัน บนภูเขานี้จะไม่มีต้นไม้ใหญ่ขึ้น แต่จะมีต้นหญ้าเตี้ย ๆ ขึ้นอยู่ทั่วไป รวมทั้งมีโขดหินเป็นระยะ มองจากด้านบนลงมาจะเห็นบ้านอุ้มผาง และทิวเขาสลับซับซ้อนโดยรอบ เป็นทิวทัศน์ที่สวยงามมาก
                    ถ้ำกะโค๊ะบี๊ อยู่ที่บ้านแม่กลองใหญ่ ตำบลแม่กลอง ลักษณะของถ้ำมีทางเดินลงไปเป็นชั้น ๆ ภายในถ้ำจะมีทางแยกหลายทาง บริเวณกว้างขวาง บางแห่งสามารถมองทะลุบ้านแม่กลองได้ มีความลึกประมาณ ๓ กิโลิมตร มีหินงอกหินย้อยสวยงามมาก
                    ทะเลสาบ ปลากะโต ลากะล่อย และเกลือเปอ  อยู่ในเขตตำบลแม่จัน เป็นหนองใหญ่ สามหนอง อยู่ติด ๆ กัน ในฤดูแล้งจะเห็นแยกจากกันชัดเจน แต่ในฤดูฝนจะมองดูเป็นผืนน้ำกว้างใหญ่มาก ล้อมรอบด้วยเขาและป่าไม้ทึบ น้ำใสเย็นเขียวสามารถมองเห็นปลาแหวกว่ายไปมาในน้ำ บริเวณรอบ ๆ มีสัตว์ป่าอยู่ชุกชุม และมีช้างป่าอาศัยอยู่หลายตัว

                การล่องแพแม่น้ำแม่กลอง อุ้มผาง - สบแม่ละมุ้ง - ปะหละทร  ความลึกของแม่น้ำแม่กลองประมาณ ๑ - ๒ เมตร บริเวณที่แพผ่านเป็นเกาะแก่ง หน้าผา วังวน (บริเวณวังวนน้ำอาจจะลึกกว่าที่อื่น)  ลำน้ำบางช่วงกว้างประมาณ ๔ เมตร บางช่วงอาจกว้างถึง ๑๕ เมตร
                วิธีการล่องแพจะใช้แพไม้ไผ่ ขนาด ๖ - ๑๖ ลำ แล้วแต่จำนวนคนที่จะโดยสาร การล่องแพจะเริ่มต้นจากห้วยอุ้มผาง - ลงแม่น้ำแม่กลอง เป็นต้นไป บางครั้งลำน้ำอาจไหลเข้าไปในเวิ้งถ้ำหรือหน้าผา หรือแก่งที่มีหินยื่นออกมาทั้งสองข้าง บางครั้งต้องลงเข็มแพในบริเวณที่น้ำตื่น การล่องแพอาจต้องพักค้างในระหว่างทางอย่างน้อยหนึ่งคืน จะมีหาดทรายที่สวยงามเป็นจุดพักหลายแห่ง ตอนกลางคืนอาจไปส่องดูสัตว์ได้
                เส้นทางล่องแพสองข้างทางจะผ่านหน้าผา น้ำตกสายฝน แก่งมอแกโค้ ป่าที่เขียวขจี พันธุ์ไม้ แปลก ๆ และดอกไม้สวยงาม รวมทั้งฝูงปลาในน้ำ
                ระยะเวลาที่ควรล่องแพ อยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน - เมษายน

            เขื่อนภูมิพล (เขื่อนยันฮี)  อยู่ในเขตสามเงา อำเภอสามเงา เป็นเขื่อนเอนกประสงค์แห่งแรกของประเทศไทย สร้างเป็นเขื่อนคอนกรีตรูปโค้งขนาดใหญ่และสูงที่สุดในประเทศไทย และเอเซียอาคเนย์ และเป็นอันดับแปดของโลก มีความสูงจากฐานถึงสันเขื่อน ๑๕๔ เมตร กั้นแม่น้ำปิงที่เขาแก้ว ตำบลสามเงา อำเภอสามเงา สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ถึง ๗๒๐,๘๐๐ กิโลวัตต์ และให้ประโยชน์ในด้านชลประทานแก่พื้นที่ถึง ๑,๕๐๐,๐๐๐ ไร่ อ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนจุน้ำได้ประมาณ  ๑๓,๔๖๐ ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่ผิวน้ำประมาณ ๓๐๐ ตารางกิโลเมตร ความยาวของลำน้ำจากตัวเขื่อนถึงอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ เป็่นะระยะทางประมาณ ๒๐๗ กิโลเมตร

                ล่องแก่งแม่ปิงเหนือเขื่อนภูมิพล  เป็นการล่องแพโดยใช้เรือลากจูง จะได้ชมและสัมผัสกับธรรมชาติและภูมิประเทศที่เต็มไปด้วยป่าเขา กับอากาศที่บริสุทธิ์ ทิวทัศน์ที่สวยงาม ตลอดเส้นทางจะได้ชมถ้ำหินงอก หินย้อย น้ำตก เกาะแก่งต่าง ๆ และปูชนียสถานที่สำคัญ เช่น พระพุทธบาทเขาหนาม พระธาตุแก่งสร้อย เป็นการเดินทางจากอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนภูมิพลถึงดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ เป็นระยะทางประมาณ ๒๐๔ กิโลเมตร และพักแรมบนแพ

            เนินพิศวง  มีลักษณะเป็นทางขึ้นเนินอยู่บนถนนสายตาก-แม่สอด ตรงหลักกิโลเมตรที่ ๖๘ เมื่อนำรถไปจอดไว้ตรงทางขึ้นเนิน รถจะไหลขึ้นเนินไปเอง ที่เป็นเช่นนี้เกิดจากภาพลวงตา เนื่องจากช่วงที่มองเห็นเป็นที่สูงขึ้นไปนั้น มีระดับต่ำกว่าช่วงที่เห็นเป็นทางขึ้นเนิน
            แม่น้ำเมย  พม่าเรียกแม่น้ำตองยิน อยู่ห่างจากตัวอำเภอแม่สอดไปทางตะวันตก ตามทางหลวงหมายเลข ๑๐๕ ประมาณ ๖ กิโลเมตร  เป็นเขตสุดแดนไทย โดยมีแม่น้ำเมยเป็นเส้นกั้นเขตแดนไทย - พม่า ยาวประมาณ ๓๒๗ กิโลเมตร แม่น้ำเมยไหลขึ้นไปทางเหนือ โดยมีต้นน้ำอยู่ที่บ้านมอเกอ อำเภอพบพระ แล้วไหลผ่านอำเภอแม่ระมาด ท่าสองยาง ตลอดไปถึงจังหวัดแม่ฮ่องสอน ไปบรรจบกับแม่น้ำสาละวิน แล้วไหลเข้าในเขตประเทศพม่า ไปออกทะเลที่อ่าวมะตะบัน น้ำในแม้น้ำเมยจะมีน้อยมากในฤดูร้อน
            บ่อน้ำร้อนแม่กาษา และถ้ำแม่กาษา  อยู่ในตำบลแม่กาสา มีอยู่สองบ่อ บ่อหนึ่งกว้างประมาณ ๑ เมตร อีกบ่อหนึ่งกว้างประมาณ ๑ เมตร นอกจากนี้ยังมีธารน้ำร้อนมาพบกับธารน้ำเย็น พื้นที่บริเวณนั้นจะมีกลิ่นกำมะถันกรุ่นอยุ่ทั่วไป และมีไอน้ำจาง ๆ ลอยอยู่เหนือพื้นดินเล็กน้อย ที่ปากบ่อจะเห็นฟองและการเดือดของน้ำได้ชัดเจน

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์