พุทธศาสนพิธี1
พุทธศาสนพิธี
พุทธศาสนพิธี คือแบบอย่างหรือแบบแผนต่าง ๆ ที่พึงปฏิบัติในทางพระพุทธศาสนา
เหตุที่เกิดมีพุทธศาสนพิธี ก็เนื่องมาจากหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา ที่เรียกว่า
โอวาทปาติโมกข์
พระพุทธเจ้าได้ทรงวางหลักการสำคัญไว้สามประการ คือ
ในคำสอนของพระพุทธศาสนา
สอนไม่ให้ทำความชั่วทั้งปวง |
สพฺพปาปสฺส อกรณํ |
สอนให้อบรมกุศลให้ถึงพร้อม |
กุศลสูป สมฺปทา |
สอนให้ทำจิตใจของตนให้ผ่องแผ้ว |
สจิตต ปริโยทปนํ |
ด้วยหลักการทั้งสามประการนี้ พุทธศาสนิกชนต้องพยายามเลิกละความประพฤติชั่วทุกอย่าง
จนเต็มความสามารถ พยายามสร้างกุศลสำหรับตนให้พร้อมเท่าที่จะสามารถทำได้ และพยายามชำระจิตใจให้ผ่องใสอยู่เสมอ
ทั้งหมดเป็นการพยายามทำดีที่เรียกว่า ทำบุญ
การทำบุญนี้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงวัตถุคือ ที่ตั้งอันเป็นทางไว้โดยหลักย่อ ๆ
สามประการเรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ
อันประกอบด้วย
ทาน
การบริจาคของ ของตนให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
ศีล
การรักษา กาย และ วาจาให้สงบเรียบร้อยไม่ล่วงบัญญัติที่ห้ามไว้
ภาวนา
การอบรมจิตใจให้ผ่องใสในทางกุศล
บุญกิริยาวัตถุ เป็นแนวทางให้พุทธศาสนิกชนประพฤติบุญตามหลักการดังกล่าวข้างต้น
และทำให้เกิดพุทธศาสนพิธีต่าง ๆ ขึ้น คือเมื่อพุทธศาสนิกชนทำบุญไม่ว่าจะปรารภเหตุใด
ๆ ก็ให้เข้าหลักบุญกิริยาวัตถุทั้งสามประการนี้ โดยเริ่มต้นมีการรับศีล ต่อไปเป็นภาวนาด้วยการสวดมนต์
จบลงด้วยการบริจาคทาน
เมื่อพิธีกรรมใดเป็นที่นิยม และรับรองปฏิบัติสืบ ๆ มาจนเป็นประเพณี พิธีกรรมนั้นก็กลายเป็นศาสนพิธีขึ้น
ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อแยกเป็นหมวด พอจะแบ่งออกได้เป็นสี่หมวดด้วยกัน
คือ
หมวดกุศลวิธี |
ว่าด้วยพิธีบำเพ็ญกุศล |
หมวดบุญพิธี |
ว่าด้วยพิธีทำบุญ |
หมวดทานพิธี |
ว่าด้วยพิธีถวายทาน |
หมวดปกิณกะ |
ว่าด้วยพิธีเบ็ดเตล็ด |
กุศลพิธี
กุศลพิธี คือพิธีกรรม อันเกี่ยวด้วยการอบรมความดีงามทางพระพุทธศาสนา ทั้งตัวบุคคลและหมู่คณะ
ได้แก่ การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ พิธีเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา พิธีรักษาอุโบสถ
ส่วนพิธีเข้าพรรษา พิธีถือนิสสัย พิธีทำสามีจิกรรม พิธีทำวัตรสวดมนต์ พิธีกรรมวันธรรมสวนะ
พิธีสังฆอุโบสถ และพิธีออกพรรษา เป็นพิธีกรรมที่พระภิกษุสงฆ์พึงปฏิบัติเพื่อความดีงามในพระวินัย
บุญวิธี
บุญวิธี คือพิธีทำบุญ หรือทำความดีเนื่องด้วยประเพณีในครอบครัวของพุทธศาสนิชน
เป็นประเพณีที่เกี่ยวกับชีวิตของคนทั่วไป แบ่งออกเป็นสองประเภทคือ ทำบุญงานมงคล
และทำบุญงานอวมงคล นอกจากนี้ยังมีงานทำบุญร่วมกันเป็นส่วนรวม ของชุมชนในระดับต่าง
ๆ
งานหลักของการทำบุญ คือการเลี้ยงพระ เรียกว่า การทำบุญเลี้ยงพระ
มีการนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ แล้วถวายภัตตาหารกับถวายทานอย่างอื่นแด่พระภิกษุสงฆ์
เป็นอันเสร็จพิธี
การทำบุญงานมงคล ได้แก่ การทำบุญในโอกาสต่าง ๆ เพื่อความเป็นศิริมงคล ส่วนการทำบุญงานอวมงคล เป็นการทำบุญเกี่ยวกับการตาย
มีการทำบุญหน้าศพและการทำบุญอัฐิ
พิธีฝ่ายสงฆ์ มีพิธีเจริญพระพุทธมนต์ พิธีสวดพระพุทธมนต์ พิธีสวดพระอภิธรรม
พิธีสวดมาติกา พิธีสวดแจง พิธีสวดถวายพรพระ พิธีอนุโมทนาในกรณีต่าง ๆ พิธีพระธรรมเทศนา
และพิธีพิเศษเฉพาะงาน เช่น พิธีทำบุญตักบาตรเทโวโรหนะ เป็นต้น
ทานพิธี
ทานพิธี คือพิธีถวายทานต่าง ๆ เป็นการถวายวัตถุที่ควรให้เป็นทาน ในพระพุทธศาสนาเรียกวัตถุที่ควรให้เป็นทานว่า
ทานวัตถุ
จำแนกได้เป็นสิบประการคือ ภัตตาหาร น้ำ ผ้า เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ มาลัย
และดอกไม้เครื่องบูชาต่าง ๆ ของหอม หมายถึงธูปเทียนบูชาพระ เครื่องลูบไล้
เครื่องที่นอนอันควรแก่สมณะ ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีป
การถวายทานนิยมทำสองอย่างคือ ถวายเจาะจงเฉพาะภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เรียกว่า
ปาฏิปุคลิกทาน
และถวายไม่เจาะจงภิกษุรูปใด มอบเป็นของกลางให้สงฆ์เรียกว่า สังฆทาน
การถวายทานวัตถุทั้งสิบประการดังกล่าวมีคำถวายแตกต่างกันออกไป แยกออกได้เป็นพวก
ๆ ตามปัจจัยเครื่องอาศัยสี่อย่างของบรรพชิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ
คิลานเภสัช การถวายทานนิยมถวายเป็นสองแบบคือ ถวายในกาลที่ควรถวายสิ่งนั้น
ๆ เรียกว่า กาลทาน
และถวายไม่เนื่องด้วยกาลอีกแบบหนึ่ง
ข้อปฏิบัติในการประกอบพุทธศาสนพิธี
ในการประกอบพุทธศาสนพิธี พุทธศาสนิกชนจะปฏิบัติตนด้วยความเรียบร้อย สำรวม
ด้วยอาการอันแสดงความเคารพตลอดพิธี มีวิธีการปฏิบัติที่ถือกันเป็นประเพณี
เช่น วิธีแสดงความเคารพพระภิกษุ วิธีประเคนของแด่ภิกษุ วิธีทำหนังสืออาราธนา
และทำใบปวารณาถวายจตุปัจจัย วิธีอาราธนาศีล อาราธนาพระปริตร อาราธนาธรรม วิธีกรวดน้ำ
วิธีจับด้ายสายสิญจน์ วิธีตั้งโต๊ะหมู่บูชาพระพุทธรูป และพิธีของพระภิกษุสงฆ์ก็มีวิธีบังสุกุลในพิธีทำบุญอายุ
และพิธีศพ วิธีบอกศักราชในการแสดงพระธรรมเทศนา
พุทธศาสนพิธี มีระเบียบพิธีโดยเฉพาะในแต่ละพิธี งานต่าง ๆ ตามประเพณีเกี่ยวกับชีวิต
งานวันนักขัตฤกษ์ และเทศกาลต่าง ๆ จะมีพุทธศาสนพิธีแทรกอยู่ทั้งสิ้น เช่นงานมงคลสมรส
งานทำบุญฉลองต่าง ๆ งานศพ งานวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ฯลฯ
พระราชพิธีพระราชกุศลและรัฐพิธี
งานพิธีตามประเพณีไทย จะมีพิธีทางพระพุทธศาสนาประกอบอยู่ด้วย พระมหากษัตริย์ไทยทรงเป็นพุทธมามกะ
และเอกอัครศาสนูปถัมภก ดังนั้นในงานพระราชพิธี พระราชกุศล และรัฐพิธีต่าง
ๆ จึงมีพุทธศาสนพิธี ซึ่งเรียกว่า พิธีสงฆ์ เป็นส่วนประกอบอยู่ด้วยทั้งสิ้น
พระราชพิธี
เป็นงานหลวงสำหรับพระมหากษัตริย์ จัดขึ้นประจำตามกำหนดกาล โดยเป็นพระราชพิธีที่สืบเนื่องมาแต่โบราณกาล
ประกาลหนึ่ง และเป็นการพิเศษที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดเป็นงานพระราชพิธีอีกประการหนึ่ง
งานพระราชพิธีประการแรก เป็นงานที่กำหนดเป็นประจำตามกำหนดกาลที่เวียนมาถึงทุกรอบปี
เช่นพระราชสงกรานต์ พระราชพิธีฉัตรมงคล พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
เป็นต้น
งานพระราชพิธีบางงานมีแต่พิธีสงฆ์อย่างเดียว บางงานก็มีทั้งพิธีสงฆ์ และพิธีพราหมณ์ร่วมกัน
และบางทีก็มีพิธีโหรรวมอยู่ด้วย พิธีสงฆ์มีเจริญพระพุทธมนต์ เทศน์ สดับปกรณ์
งานพระราชกุศล
เป็นงานที่พระมหากษัตริย์ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล บางงานก็ต่อเนื่องกับงานพระราชพิธี
เช่น พระราชกุศลทักษิณานุปาทาน พระบรมอัฐิสมเด็จพระบรมราชบุรพการี จัดทำต่อเนื่องกับงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
หรือพระราชพิธีฉัตรมงคล งานที่ไม่เกี่ยวกับงานพระราชพิธีก็มี เช่น พระราชกุศลมาฆบูชา
เป็นต้น
รัฐพิธี
เป็นงานพิธีที่รัฐบาล หรือทางราชการ กำหนดขึ้นประจำปีโดยเชิญเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานในการประกอบพิธี เช่น รัฐพิธีที่ระลึกวันจักรี
รัฐพิธีที่ระลึกวันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นต้น งานใดจะจัดให้มีพิธีสงฆ์ด้วยหรือไม่นั้น
สุดแต่สำนักพระราชวังจะกำหนด และนำความขึ้นกราบบังคมทูล
พุทธศาสนพิธี2
กุศลพิธีเบื้องต้นของพุทธสานิกชน
พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ คือการประกาศตนของผู้แสดงว่าเป็นผู้รับนับถือพระพุทธเจ้าเป็นของตน
เป็นการแสดงตนให้ปรากฏว่ายอมรับนับถือพระพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชีวิตของตน
เป็นพิธีที่ได้ทำกันมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล เพื่อแสดงให้รู้ว่าตนละลัทธิเดิมและรับเอาพระพุทธศาสนาไว้เป็นที่นับถือ
วิธีแสดงตนมีต่างกันโดยสมควรแก่บริษัทคือ
ผู้ที่เป็นบรรพชิตภายนอกพระพุทธศาสนามาก่อน ขอบรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัยของพระพุทธศาสนา
พระศาสดาทรงรับด้วยวาจาว่า มาเถิดภิกษุ ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว
จงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด
หรือเพียงว่า มาเถิดภิกษุ จงประพฤติพรหมจรรย์เถิด
ภิกษุที่ทรงรับใหม่นั้นถือเพศตามเป็นอันเสร็จ ส่วนคฤหัสถ์ผู้ปรารถนาจะเป็นภิกษุก็แสดงตน
และทรงรับเหมือนอย่างนั้น
ผู้ขอบรรพชาอุปสมบทต่อพระสาวก รับถือเพศตามก่อนแล้วเปล่งวาจาถึงพระพุทธ พระธรรม
พระสงฆ์เป็นสรณะ สามครั้ง เป็นอันเสร็จ ต่อมาภายหลังวิธีนี้ใช้สำหรับรับเข้าเป็นสามเณร
พระสงฆ์ประกาศรับเป็นพระภิกษุ
คฤหัสถ์ผู้ไม่ปรารถนาออกบวช เปล่งวาจาถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ
ปฏิญาณตน ชายเป็นอุบาสก หญิงเป็นอุบาสิกา
การปฏิญาณตนเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา ไม่จำทำเฉพาะคราวเดียว ทำซ้ำ ๆ ตามกำลังแห่งศรัทธาและความเลื่อมใส
เกิดเป็นประเพณีนิยม แสดงตนเป็นพุทธมามกะสืบต่อเนื่องกันมาสรุปได้ว่า
เมื่อมีบุตรหลานอายุพอรู้เดียงสา ระหว่าง ๑๒ - ๑๕ ปี ก็ประกอบพิธีให้แสดงตนเป็นพุทธมามกะ
เพื่อสืบความเป็นชาวพุทธต่อไป และเมื่อมีบุคคลต่างศาสนาเกิดเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
ต้องการจะประกาศตนเป็นชาวพุทธ ว่านับแต่นี้ไป ตนยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาแล้ว
จึงมีระเบียบพิธีดังนี้
การมอบตัว
ผู้ที่ประสงค์จะประกอบพิธีต้องไปมอบตัวกับพระอาจารย์ที่ตนเคารพนับถือ แจ้งความประสงค์ให้ทราบ
นำพานดอกไม้รูปเทียนเข้าไปหาพระอาจารย์ คุกเข่าห่างจากตัวพระอาจารย์ ประมาณศอกเศษ
ยกพานน้อมตัวประเคน เมื่อพระอาจารย์กับพานแล้ว ให้ขยับตัวถอยออกมาเล็กน้อย
แล้วประนมมือก้มกราบด้วยเบญจางคประดิษฐตรงหน้าพระอาจารย์สามครั้ง แล้วนั่งพับเพียบลง
ขอเผดียงสงฆ์ต่อพระอาจารย์ตามจำนวนที่ต้องการ ไม่น้อยกว่าสามรูป รวมเป็นสี่รูปทั้งพระอาจารย์
จากนั้นกราบลาพระอาจารย์ด้วยเบญจางคประดิษฐอีกสามครั้ง
การเตรียมการ
พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ ควรประกอบขึ้นในวัดจะเหมาะที่สุด ถ้าจัดทำในพระอุโบสถได้เป็นดี
เพราะเป็นสถานที่สำคัญอันเป็นหลักของวัด ไม่ควรจัดในที่กลางแจ้ง ควรตั้งโต๊ะบูชามีพระพุทธรูปเป็นประธาน
ให้ผู้ที่จะแสดงตนเป็นพุทธมามกะนุ่งห่มให้เรียบร้อย นั่งรอในที่ที่ทางวัดจัดไว้
เมื่อถึงเวลากำหนด พระอาจารย์และพระสงฆ์เข้าสู่บริเวณพิธี กราบพระพุทธรูปประธานแล้วเข้านั่งประจำอาสนะ
ให้ผู้แสดงตนเป็นพุทธมามกะเข้าไปคุกเข่าหน้าโต๊ะบูชา จุดธูปเทียนและวางดอกไม้บูชาพระ
ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยเปล่งวาจาว่า
อิมินา สกฺกาเรน พุทธํ ปูเชมิ |
ข้าพเจ้าขอบูชาพระพุทธเจ้าด้วยเครื่องสักการะนี้ (กราบ) |
อิมินา สกฺกาเรน ธมฺมํ ปูเชมิ |
ข้าพเจ้าขอบูชาพระธรรมด้วยเครื่องสักการะนี้ (กราบ) |
อิมินา สกฺกาเรน สงฺฆํ ปูเชมิ |
ข้าพเจ้าขอบูชาพระสงฆ์ด้วยเครื่องสักการะนี้ (กราบ) |
จากนั้น เข้าไปสู่ที่ประชุมสงฆ์ตรงหน้าพระอาจารย์ ถวายพานเครื่องสักการะแก่พระอาจารย์
แล้วกราบพระสงฆ์ตรงหน้าพระอาจารย์ด้วยเบญจางคประดิษฐสามครั้ง เสร็จแล้วคงคุกเข่าประนมมือเปล่งคำปฏิญาณต่อหน้าพระสงฆ์
เป็นตอนไป ดังนี้
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทฺธสฺส ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
(เปล่งวาจา
สาม ครั้ง )
เอสาหํ ภนฺเต สุจิรปรินิพฺพุตมฺปิ ตํ ภควนฺตํ สรณํ คจฺฉามิ
ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ พุทฺธมามโกติ มํ สํโฆ ธาเรตุ
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น แม้ปรินิพพานไปนานแล้ว
ทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ เป็นสรณะที่ระลึกนับถือ พระพระสงฆ์จงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นพุทธมามกะ
ผู้รับเอาพระพุทธเจ้าเป็นของตนคือ ผู้นับถือพระพุทธเจ้า ถ้าปฏิญาณพร้อมกันหลายคนทั้งชายหญิง
คำปฏิญาณให้เปลี่ยนไปดังนี้
เอสาหํ
ถ้าเป็นชายว่า เอเต มยํ |
ถ้าเป็นหญิงว่า เอตา มยํ |
คจฺฉามิ
เป็น คจฺฉาม |
(ทั้งชายและหญิง) |
พุทฺธมามโกติ เป็น พุทธมามกาติ |
(ทั้งชายและหญิง) |
ม ํ เป็น โน |
(ทั้งชายและหญิง) |
เมื่อผู้ปฏิญาณกล่าวคำปฏิญาณจบแล้ว พระสงฆ์ทั้งนั้นประนมมือรับ "สาธุ" พร้อมกัน
ต่อจากนั้นให้ผู้ปฏิญาณนั่งพับเพียบแล้วประนมมือฟังโอวาทต่อไป เมื่อจบโอวาทแล้ว
ผู้ปฏิญาณรับคำว่า "สาธุ" แล้วนั่งคุกเข่าประนมมือน้อมตัวลงเล็กน้อย กล่าวคำอาราธนาเบญจศีล
และสมาทานศีล ตามคำที่พระอาจารย์ให้ ดังนี้
ผู้ปฏิญาณอาราธนาศีล
อหํ ภนฺเต |
วิสุ ํ วิสุ ํ รกฺขนตฺ ถาย |
ติสรเณน สห |
ปญฺจ สีลานิ ยาจามิ |
ทุติยมฺปิ อหํ ภนฺเต |
วิสุ ํ วิสุ ํ รกฺขนตฺ ถาย |
ติสรเณน สห |
ปญฺจ สีลานิ ยาจามิ |
ตะติยมฺปิ อหํ ภนฺเต |
วิสุ ํ วิสุ ํ รกฺขนตฺ ถาย |
ติสรเณน สห |
ปญฺจ สีลานิ ยาจามิ |
ถ้าสมาทานพร้อมกันหลายคน ให้เปลี่ยนคำ อหํ เป็น มยํ และเปลี่ยนคำ ยาจามิ เป็นยาจาม
คำสมาทานเบญจศีล
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทฺ ธสฺส ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาค
อรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้านั้น
(เปล่งวาจา
สามครั้ง)
พระอาจารย์ว่า ยมหํ วทามิ ตํ วเทหิ ผู้ปฏิญาณรับว่า อาม ภนฺเต
พระอาจารย์ว่านำ ผู้ปฏิญาณว่าตาม ดังนี้
พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ |
ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึก |
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ |
ข้าพเจ้าถึงพระธรรมเจ้าเป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึก |
สงฺฆํ สรรณํ จฺฉามิ |
ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เจ้าเป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึก |
ทุติ ยมฺปิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ |
ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึก แม้ครั้งที่ สอง |
ทุติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ |
ข้าพเจ้าถึงพระธรรมเจ้าเป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึก แม้ครั้งที่ สอง |
ทุติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ |
ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เจ้าเป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึก แม้ครั้งที่ สอง |
ตติยมฺปิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ |
ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึก แม้ครั้งที่สาม |
ตติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ |
ข้าพเจ้าถึงพระธรรมเจ้าเป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึก แม้ครั้งที่สาม |
ตติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ |
ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เจ้าเป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึก แม้ครั้งที่สาม |
พระอาจารย์ว่า ติสรณคมนํ นิฏฺฐิตํ |
ผู้ปฏิบัติรับว่า อาม ภนฺเต |
พระอาจารย์ว่านำ |
ผู้ปฏิบัติว่าตาม |
ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ |
ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท เว้นจากผลาญชีวิตสัตว์ |
อทินฺนาทานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ |
ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท เว้นจากถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้ |
กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ |
ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท เว้นจากประพฤติผิดในกาม |
มุสาวาทา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ |
ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท เว้นจากการพูดเท็จ |
สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ |
ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท เว้นจากสุราและเมรัยอันเป็นฐานแห่งความประมาท |
อิมานิ ปญฺจ สิกฺขา ปทานิ สมาทิยามิ |
ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบทห้าเหล่านี้ |
|
(พระอาจารย์บอกบทนี้จบเดียว ผู้ปฏิญาณพึงว่าซ้ำสามจบ)
แล้วพระอาจารย์บอกอานิสงส์ศีลต่อไปว่า
สีเลน สุคตึ ยนฺติ สีเลน โภคสมฺปทา
สีเลน นิพฺพุตึ ยนฺติ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ผู้ปฏิญาณกราบอีกสามครั้ง ถ้ามีเครื่องไทยธรรมถวายพระสงฆ์ พึงนำมาประเคนในลำดับนี้
เสร็จแล้วนั่งราบตรงหน้าพระอาจารย์ เตรียมกรวดน้ำเมื่อพระสงฆ์ อนุโมทนา ดังนี้
ค ยถา ฯลฯ
ค สพฺพีติโย ฯลฯ
ค โส อตฺถลทฺโธ ฯลฯ หรือ สา อตฺถลทฺธา ฯลฯ หรือ เต อตฺถลทฺธา ฯลฯ แล้วแต่กรณี
ภวตุ สพฺพมงฺคลํ
ขณะพระอาจารย์ว่า ยถา ฯลฯ ผู้ปฏิญาณพึงกรวดน้ำตามแบบ พอพระสงฆ์ว่า สพฺพีติโย ให้กรวดน้ำให้เสร็จแล้วนั่งประนมมือรับพร
เมื่อจบแล้วพึงคุกเข่ากราบพระสงฆ์สามครั้ง เป็นอันเสร็จพิธี
พิธีรักษาอุโบสถ
อุโบสถ เป็นเรื่องของกุศลกรรมที่สำคัญประการหนึ่งของพุทธบริษัท แปลว่าการเข้าจำเป็นอุบายขัดเกลากิเลสอย่างหยาบให้เบาบาง
และเป็นทางแห่งความสงบระงับ อันเป็นความสุขอย่างสูงสุดในพระพุทธศาสนา อุโบสถของคฤหัสมีสองอย่างคือ
ปกติอุโบสถ และปฏิชาครอุโบสถ ทั้งสองอย่างนี้ต่างกันที่จำนวนวันที่รักษาอุโบสถมากน้อยกว่ากัน
โดยเนื้อแท้ก็คือการสมาทานศีลแปดอย่างเคร่งครัด
การรักษาอุโบสถ ประกอบด้วยพิธีกรรม ดังนี้
เมื่อตั้งใจจะรักษาอุโบสถ ในวันพระใด พอได้เวลารุ่งอรุณพึงเตรียมตัวให้สะอาด
แล้วบูชาพระ เปล่งวาจาอธิษฐานอุโบสถด้วยตนเองก่อนว่า
อิมํ อฏฺฐงฺคสมนฺนาคต ํ พุทฺธปญฺญตฺต ํ อุโปสถ ํ อิมญฺจ รตฺตึ อมญฺจ ทิวส ํ
สมฺมเทว อภิรกฺขนฺตุ สมาทิยามิ ข้าพเจ้าขอสมาทานอุโบสถพุทธบัญญัติ ประกอบด้วยองค์แปดประการนี้
เพื่อจะรักษาไว้ให้ดี มิให้ขาดหาย ตลอดคืนหนึ่ง และวันหนึ่งในเวลาวันนี้
จากนั้นจึงไปที่วัดเพื่อรับสมาทานอุโบสถศีล
ต่อพระสงฆ์ตามประเพณี
โดยปกติวันอุโบสถนั้นเป็นวันธรรมสวนะ พระสงฆ์และสามเณรย่อมลงประชุมกันในพระอุโบสถ
หรือศาลาการเปรียญ ประมาณ ๐๙.๐๐ น. ต่อหน้าอุบาสกอุบาสิกาแล้วทำวัตรเช้า พอทำวัตรเสร็จ
อุบาสก อุบาสิกาพึงทำวัตรเช้าร่วมกัน
เมื่อทำวัตรจบแล้ว พึงคุกเข่าประนมมือประกาศอุโบสถ ดังนี้
อชฺช โภนฺโต ปกฺ ขสฺส อฏฺมีทิวโส เอวรูโป โข โภนฺโต ทิวโส, พุทฺเธน ภควตา
ปญฺญตฺตสฺส ธมฺมสฺสวนสฺส เจว, ตทตฺ ถาย อุปาสก อุปาสิกาน ํ อุโปสถสฺส จ กาโล
โหติ , หนฺท มย ํ โภนฺโต สพฺเพ อิธ สมาคตา ตสฺส ภควโต ธมฺมานธมฺมปฏิปตฺติยา
ปูชนตฺถาย ,อิมญฺจ รตฺตึ อิมญฺจ ทิวส ํ อฏฺฐงฺคสมนฺนาคต ํ อุโปสถํ อุปวสีสฺสามาติ,
กาลปริจฺเฉท ํ กตฺวา ต ํ ตํ เวรมณี อารมฺมณ ํ กริตฺวา อวิกฺขิตฺตจิตฺต ํ หุตฺวา
สกฺกจฺจ ํ อุโปสถ ํ สมาทิเยยฺยาม อีทิสํ หิ อุโปสถ ํ สมฺปตฺตานํ อมฺหากํ ชีวิตํ
มนิรตฺ ถกํ โหตุ
ขอประกาศเริ่มเรื่องความที่จะสมาทานรักษาอุโบสถ อันพร้อมไปด้วยองค์แปดประการ
ให้สาธุชนที่ได้ตั้งจิตสมาทานทราบทั่วกันก่อน แต่สมาทาน ณ บัดนี้ ด้วยวันนี้เป็นอัฐมีดิถีที่แปด
แห่งปักษ์มาถึงแล้ว วันเช่นนี้เป็นการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ให้ประชุมกันฟังธรรม
และเป็นการรักษาอุโบสถ ของอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย เพื่อประโยชน์แก่การฟังธรรมนั้นด้วย
เราทั้งหลายที่ได้มาประชุมพร้อมกัน ณ ที่นี้ พึงกำหนดกาลว่าจะรักษาอุโบสถตลอดกาลวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง
พึงทำความเว้นโทษนั้น ๆ เป็นอารมณ์ อย่าให้มีจิตฟุ้งซ่านส่งไปอื่น พึงสมาทานองค์อุโบสถแปดประการโดยเคารพ
เพื่อบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นด้วยธรรมานุธรรมปฏิบัติ ชีวิตของเราทั้งหลายที่ได้เป็นอยู่รอดมาถึงวันอุโบสถเช่นนี้
จงอย่าได้ล่วงไปเสียเปล่าจากประโยชน์เลย
คำประกาศนี้สำหรับวันพระแปดค่ำทั้งข้างขึ้น และข้างแรม ถ้าเป็นวันพระ ๑๕ ค่ำ
เปลี่ยนเป็น ปณฺณรสีทิวโส เปลี่ยนคำแปลว่า วันปัณรสีดิถีที่สิบห้า ถ้าเป็นวันพระ
๑๔ ค่ำ เปลี่ยนเป็น จาตุทฺทสีทิวโส เปลี่ยนคำแปลว่า วันจาตุทฺทสีดิถีที่สิบสี่
เมื่อประกาศจบแล้ว พระสงฆ์ผู้แสดงธรรมขึ้นนั่งบนธรรมาสน์ อุบาสก อุบาสิกาทุกคน
พึงนั่งคุกเข่า กราบพร้อมกันสามครั้ง แล้วกล่าวคำ อาราธนาอุโบสถศีลพร้อมกัน
ดังนี้
มยํ ภนฺเต ติสรเณน สห อฏฺฐงฺคสมนฺคตํ อุโปสถํ ยาจาม (ว่าสามจบ)
ต่อจากนั้นคอยตั้งใจรับสรณาคมน์และศีลโดยความเคารพ คือประนมมือ และว่าตามคำที่พระสงฆ์บอกเป็นตอน
ๆ ดังนี้
พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ.... ตติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ
เมื่อพระสงฆ์ว่า ติสรณคมนํ นิฏฺฐิตํ พึงรับพร้อมกันว่า อาม ภนฺเต แล้วคอยรับศีลต่อไป
ดังนี้
ปาณาติปาตา |
เวรมณี |
สิกฺขาปทํ |
สมาทิยามิ |
อทินฺนาทานา |
เวรมณี |
สิกขาปทํ |
สมาทิยามิ |
อพฺรหมฺจริยา |
เวรมณี |
สิกขาปทํ |
สมาทิยามิ |
มุสาวาทา |
เวรมณี |
สิกขาปทํ |
สมาทิยามิ |
สุราเมรยมชฺชปมาทฏฐานา |
เวรมณี |
สิกขาปทํ |
สมาทิยามิ |
วิกาลโภชนา |
เวรมณี |
สิกขาปทํ |
สมาทิยามิ |
นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนา มาลาคนฺธวิเลปนธารณ มณฺฑนวิภูสนฏฺฐานา |
เวรมณี |
สิกขาปทํ |
สมาทิยามิ |
อุจาสยนมหาสยนา |
เวรมณี |
สิกขาปทํ |
สมาทิยามิ |
อิมํ อฏฺฐงฺ สมนาคตํ พุทฺธปญฺญตฺตํ อุโปสถํ อิมญฺจ รตฺตึ อิมญฺจ ทิวสํ |
สมฺมเทว |
อภิรกฺ ขิตุ ํ |
สมาทิยามิ |
ต่อจากนี้พระสงฆ์จะว่า
อิมานิ อฏฺฐสิกขา ปทานิ อุโปสถวเสน มนสิกรตฺวา สาธุกํ อปฺปมาเทน รกฺขิตพฺพานิ
พึงรับว่า อาม ภนฺเต
พระสงฆ์จะว่า อานิสงส์ของศีลต่อไป ดังนี้
สีเลน สุคตึ ยนฺติ สีเลน โภคสมฺปทา
สีเลน นิพฺพุตึ ยนฺติ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
พึงกราบพร้อมกันสามครั้ง แล้วนั่งพับเพียบประนมมือฟังธรรมต่อไป เมื่อพระแสดงธรรม
เมื่อพระสงฆ์แสดงธรรมจบแล้ว ทุกคนพึงให้สาธุการและสวดประกาศตนพร้อมกัน ดังนี้
สาธุ สาธุ สาธุ |
|
อหํ พุทฺธญฺจ ธมฺมญฺจ |
สงฺฆญฺจ สรณํ คโต |
อุปาสกตฺตํ เทเสสึ |
ภิกฺขุสงฺฆสฺส สมฺมุขา |
เอตํ เม สรณํ เขมํ |
เอตํ สรณํมุตฺตมํ |
เอตํ สรณมาคมฺม |
สพฺพทุกฺข ปมุจฺจเย |
ทุกฺขนิสฺสรณสฺเสว |
ภาคี อสฺสํ อนาค เต |
ถ้าเป็นหญิง คำว่า คโต เปลี่ยนเป็นคตา คำว่าอุปาสกตฺตํ เป็น อุปาสิกตฺตํ
คำว่า
ภาคี อสฺสํ เป็น ภาคีนิสฺสํ
เมื่อสวดประกาศจบแล้ว พึงกราบพร้อมกันอีกสามครั้ง เป็นเสร็จพิธีตอนเช้า พอได้เวลาบ่าย
หรือเย็นจวนค่ำ พึงประชุมกันทำวัตรค่ำ
เมื่อทำวัตรจบแล้ว พึงนั่งคุกเข่ากราบพระสามครั้ง แล้วกล่าวคำอาราธนาพิเศษโดยเฉพาะ
ดังนี้
จาตุทฺทสี ปณฺณรสี |
ยา จ ปกฺขสฺส อฏฺฐมี |
กาลา พุทฺเธน ปญฺญตฺตา |
สทฺธมฺมสฺสวนสฺสิเม |
อฏฺฐมีโข อยนฺทานิ |
สมฺปตฺตา อภิลกฺขิตา |
เตนายํ ปริสา ธมฺมํ |
โสตุ ํ อิธ สมาคตา |
สาธุ อยฺโย ภิกฺขุ สงฺโฆ |
กโรตุ ธมฺมเทสนํ |
อยญฺจ ปริสา สพฺพา |
อฏฺฐิกตฺวา สุณาตุ ตนฺติ ฯ |
คาถาอาราธนาธรรมนี้ใช้เฉพาะวันพระ ๘ ค่ำ ทั้งข้างขึ้นข้างแรม ถ้าเป็นวันพระ
๑๕ ค่ำ เปลี่ยนคำว่า อฏฺฐมีโข เป็น ปณฺณรสี ถ้าเป็นวันพระ ๑๔ ค่ำ เป็น จาตุทฺทสี
เมื่ออาราธนาจบแล้ว พระสงฆ์จะขึ้นแสดงธรรม พอเทศน์จบ ทุกคนพึงให้สาธุการ และสวดประกาศตนพร้อมกัน
แล้วสวดประกาศต่อท้าย ดังนี้
กาเยน วาจาย ว เจตสาวา |
พุทฺเธ กุกมฺมํ ปกตํ มยา ยํ |
พุทโธ ปฏิคฺคณฺหตุ อจฺจยนฺตํ |
กาลญฺตเร สํวริตุ ํ ว พุทฺเธ |
กาเยน วาจาย ว เจตสาวา |
ธมฺเม กุกมฺมํ ปกตํ มยายํ |
ธมฺโม กฏิกฺคณฺหตุ อจฺจยนฺตํ |
กาลญฺตเร สํวริตุ ํ ว ธมฺเม |
กาเยน วาจาย ว เจตสาวา |
สงฺเฆ กุกมฺมํ ปกตํ มยายํ |
สงฺโฆ ปฏิกฺคณฺหตุ อจฺจยนตํ |
กาลญฺตเร สํวริตุ ํ ว สงฺเฆ |
เมื่อสวดประกาศตอนท้ายเทศน์จบแล้ว ลากลับได้ทันที คำลากลับ มีดังนี้
หนฺททานิ มยํ ภนฺเต อาปจฺฉาม
พาหุกิจจา มยํ พหุกรณียา
พระสงฆ์ผู้รับการลาพึงกล่าว ดังนี้
ยสฺสทานิ ตุมฺเห กาลํ มญฺยถ
ผู้ลาพึงรับพร้อมกันว่ สาธุ ภนฺเต แล้วกราบพร้อมกันสามครั้งเป็นเสร็จพิธี
[an error occurred while processing this directive]
[an error occurred while processing this directive]
[an error occurred while processing this directive]
[an error occurred while processing this directive]
[an error occurred while processing this directive]
[an error occurred while processing this directive]
[an error occurred while processing this directive]
พุทธศาสนพิธี10
พิธีสงฆ์ในงานทำบุญ
พิธีเจริญพระพุทธมนต์
การเจริญพระพุทธมนต์ เป็นพิธีกรรมฝ่ายสงฆ์พึงปฏิบัติโดยเฉพาะในงานมงคลต่าง
ๆ ได้แก่ พระสงฆ์ตามจำนวนนิยมของพิธีร่วมกันสาธยายมนต์ จากคาถาพุทธภาษิตบ้าง
จากพระสูตรบ้าง จากมนต์ของเกจิอาจารย์ เป็นธรรมคติบ้าง ตามที่พระโบราณาจารย์กำหนดไว้โดยควรแก่พิธีนั้น
ๆ การสาธยายมนต์ของพระสงฆ์ในพิธีทำบุญ ถ้าเป็นงานมงคลนิยมเรียกว่า เจริญพระพุทธมนต์
ถ้าเป็นงานอวมงคลนิยมเรียกว่า สวดพระพุทธมนต์ แต่ชาวบ้านโดยทั่วไปเรียกกันว่า
สวดมนต์ ไม่ว่าจะเป็นงานใด
บทพระพุทธมนต์ที่ใช้ในงานมงคลต่าง ๆ ใช้กันโดยทั่วไป มีดังนี้
เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร มหาสมยสูตร โพชฌงคสูตร คิริมานนทสูตร
มหาสติปัฏฐานสูตร ชยมงคลคาถา คาถาจุดเทียนชัย และคาถาดับเทียนชัย
การเจริญพระพุทธมนต์ นิยมใช้บทเจ็ดตำนานเป็นพื้น
แต่บทสวดมนต์ที่เรียกว่า เจ็ดตำนานนี้ พระโบราณาจารย์ได้กำหนดพระสูตรคาถา
และหัวข้อ พุทธภาษิต บรรดาที่มีอานุภาพในทางแนะนำและป้องกันสรรพภัยพิบัติ
ซึ่งรวมเรียกว่าพระปริตต์ ไว้ให้เลือกสวดมากบทด้วยกันคือ
มงคลสูตร รตนสูตร กรณียเมตตสูตร ขันธปริตต์ โมรปริตต์ ธชัคคปริตต์ หรือ ธชัคคสูตร
อาฏานาฏิยปริตต์ โพชฌงคปริตต์ มีองคุลิมาลปริตต์ เป็นบทต้น เมื่อรวมโมงปริตต์เข้ากับธชัคคปริตต์
ก็จะเหลือเพียงเจ็ดบท
ในการสวดโดยทั่วไปนิยมใช้สวดเพียงเจ็ดบท หรือน้อยกว่า ทั้งนี้แล้วแต่ความสำคัญของงาน
และเวลาที่สวดมนต์จะอำนวยให้ ดังนั้นในการสวดเจ็ดตำนาน จึงเกิดความนิยมในภายหลังเป็นสามแบบ
เรียกว่าแบบเต็ม แบบย่อ และแบบลัด
การสวดมนต์ จะสวดบทสวดมนต์ อย่างไรก็ตาม บทสวดมนต์นั้น ๆ ต้องมีเบื้องต้นเรียกว่า
ต้นสวดมนต์
หรือต้นตำนาน
ต่อจากบทเบื้องต้นเป็นท่ามกลางสวดมนต์
ซึ่งได้ตำนานหรือพระปริตร์ หรือสูตรต่าง ๆ ตามกำหนด สุดท้ายเป็นเบื้องปลายของบทสวดมนต์
เรียกกันว่า ท้ายสวดมนต์
ถ้าเป็นงานใหญ่ จะมีสวดมนต์เย็นวันหนึ่งก่อน รุ่งขึ้นเลี้ยงพระ นิยมสวดเจ็ดตำนานเต็ม
ให้พระสงฆ์ขัตตำนานขัตนำทุกตอน
และทุกบทที่สวดด้วย ดังนี้
ต้นตำนาน
ขัตนำ สคฺเค ถ้าสวดในงานพระราชพิธีขัตขึ้นต้นตั้งแต่ สรชฺชํ สเสนํ ฯลฯ แต่ถ้าสวดในงานราษฎร์ทั่วไปขัตขึ้นต้นตรง
ผริตฺวาน เมตฺตํ ฯลฯ
ค สวดบทนมัสการ
นโม ตสฺส ภควโต ฯลฯ
ค สวดบท
สรณคมนปาฐะ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ฯลฯ
ค สวดบท
สมฺพุทฺเธ ฯลฯ แต่ปัจจุบันใช้บท นมการสิทธิคาถา โย จกฺขุมา ฯลฯ
ค สวดบท
นมการอัฏฐคาถา นโม อรหโต ฯลฯ
ตัวตำนานหรือพระปริตร
จัดขัตตำนาน และต่อนำมงคลสูตร เย สนฺตา ฯลฯ ถึง ญาติภิ ต่อ ยญฺจทฺวาทสวสฺสานิ
ฯลฯ จนจบ
ค สวดมงคลสูตร
เอวมฺเม สุตํ ฯลฯ
ค ขัตนำ
รตนสูตร ปณิธานโต ปฏฺฐาย ฯลฯ
ค สวด
รตนสูตร ยานิธ ภูตานิ ฯลฯ
ค ขัตนำ
กรณียเมตตสูตร ยสฺสานุ ภาวโต ฯลฯ
ค สวด
กรณียเมตตสูตร กรณียมตฺถกุสฺเลน ฯลฯ
ค ขัตนำ
ขันธปริตต์ สพฺพาสีวิสชาตีนํ ฯลฯ
ค สวด
ขันธปริตต์ วิรูปกฺเขติ เมตฺตํ ฯลฯ
ค ขัตนำ
โมรปริตต์ ปูเรนฺตมฺโพธิสมฺภาเร ฯลฯ
ค สวด
โมรปริตต์ อุเทตยญฺจกฺขุมา ฯลฯ
ค ขัตนำ
ธชัคฺคปริตต ์ ยสฺสานุสฺสรเณนาปิ ฯลฯ
ค สวด
ธชัคคปริตต์ เอวมฺเม สุตํ ฯลฯ
ค ขัตนำ
อาฏานาฏิยปริตต์ อปฺปสนฺเนหิ นาถสฺส ฯลฯ
ค สวด
อาฏานาฏิยปริตต์ วิปสฺสิ นมตฺถุ ฯลฯ
ค ขัตนำ
องคุลิมาลปริตต์ ปริตฺตํ ยมฺภณนฺตสฺส ฯลฯ
ค สวด
องคุลิมาลปริตต์ ยโตหํ ภคินี ฯลฯ
ท้ายตำนาน
ค สวดบท
ยนฺทุนฺนิมิตฺตํ ฯลฯ
ค สวดบท
ทุกฺขปฺปตฺตา ฯลฯ
ค สวดบท
มหากรุณิโกนาโถ ฯลฯ
ค สวดบท
สกฺกตฺวา พุทฺธรตฺตนํ ฯลฯ
ค สวดบท
ยงฺกิญฺจิ รตนํ โลเก ฯลฯ
ถ้าเป็นงานพระราชพิธีต่อไปให้สวดบท รตนตฺตยปฺปภาวาภิยาจนคาถา อรหํ ฯลฯ และสุขาภิยาจนคาถา
ยํยํ ฯลฯ หรือจะสวด อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ ฯลฯ แทนก็ได้ ต่อไปสวดบทมงคลจักรวาฬใหญ่
สิริธิติ ฯลฯ
ค สวดบท
ภวตุ สพฺพมงฺคลํ ฯลฯ
ค สวดบท
นกฺขตฺตยกฺขภูตานํ ฯลฯ
การสวดเจ็ดตำนานแบบเต็ม ต้องใช้เวลาสวดประมาณ สองชั่วโมง ส่วนการสวดย่อจะใช้เวลาประมาณ
๓๐ - ๔๕ นาที นอกจากนี้ยังมีสวดแบบลัดใช้เวลาประมาณ ๒๐ นาที หลักการสวดแบบลัด
จะเว้นไม่สวดมงคลสูตร
กับรตนสูตรไม่ได้
เพราะถือกันว่างานบุญมงคลต้องมีมงคลสูตรเป็นหลัก กับรตนสูตรเป็นบททำน้ำพระพุทธมนต์
พิธีสวดพระพุทธมนต์
การสวดพระพุทธมนต์ คือการสวดมนต์เป็นพิธีสงฆ์ในงานอวมงคล ระเบียบพิธีพึงจัดเหมือนกับงานทั่วไป
ต่างแต่ถ้าเป็นงานทำบุญหน้าศพ ไม่ต้องสงสายสิญจน์ และไม่ต้องตั้งน้ำมนต์ ถ้าปรารภศพแต่ไม่มีศพตั้งอยู่ในบริเวณพิธี
จะวางสายสิญจน์โดยถือเป็นการทำบุญบ้านไปในตัวด้วยก็ได้ แม้นำมนต์จะตั้งด้วยก็ได้ ส่วนระเบียบพิธีฝ่ายสงฆ์มีนิยมต่างกันตามประเภทของงานเป็นอย่าง
ๆ คือ
งานทำบุญหน้าศพ
หมายถึงทำในขณะศพยังอยู่ ยังมิได้ปลงด้วยวิธีฌาปนกิจ มีที่นิยมทำกันทั่วไปมีสี่ลักษณะ
ได้แก่
ทำบุญเจ็ดวัน
วันแรกนับแต่วันมรณะ ทำเป็นงานออกแขกใหญ่ เรียกว่า ทักษิณานุสรณ์ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า
งานทำบุญสัตตมวาร
ทำบุญทุกเจ็ดวัน ก่อนครบ ๕๐ วัน
มักนิยมทำเป็นการภายในไม่ออกแขกเรียกว่า ทักษิณานุประทาน
ทำบุญ ๕๐ วันและ ๑๐๐ วัน
เป็นงานออกแขก
ทำบุญเปิดศพก่อนปลง
เป็นการทำหน้างานปลงศพ อาจทำเป็นการภายใน แล้วออกแขกใหญ่ในงานปลง งานนี้จะทำเป็นงานสองวัน
คือมีสวดพระพุทธมนต์เย็นวันหนึ่ง รุ่งขึ้นมีพิธีเลี้ยงพระ และฌาปนกิจในเวลาบ่ายหรือเย็น
จะทำเป็นงานวันเดียวโดยเริ่มต้นตอนเช้าทำพิธีสวดพระพุทธมนต์แล้วเลี้ยงพระ
บ่ายหรือเย็นชักศพไปทำการฌาปนกิจ ในงานทำบุญดังกล่าวนี้ มีนิยมจัดให้มีพระธรรมเทศนา
สวดมาติกา บังสุกุล และสวดพระอภิธรรมด้วย พระสูตรที่นำมาสวดในงานนี้มักใช้ธรรมนิยามสูตร
หรือสติปัฏฐานปาฐะ เป็นพื้น
ถ้ามีการแสดงพระธรรมเทศนาต่อจากพิธีสวดพระพุทธมนต์ เจ้าภาพไม่ต้องอาราธนาศีลก่อน
พอจุดธูปเทียนหน้าพระ และหน้าศพเสร็จก็อาราธนาพระปริตร แล้วพระสงฆ์ดำเนินพิธีสวดพระพุทธมนต์
การรับศีลไปประกอบพิธีเทศน์หลังสวดมนต์จบ แต่ถ้าจะรับศีลทั้งสองวาระก็ทำได้
งานทำบุญอัฐิ
เป็นการทำบุญหลังการปลงศพแล้ว นิยมทำกันสามลักษณะ คือ
ทำบุญฉลองธาตุ
ต่อจากวันฌาปนกิจเสร็จแล้วเป็นการทำบุญในบ้าน เมื่อเก็บอัฐิแล้วนำมาไว้ในบ้าน
หรือจะทำในสถานที่บรรจุอัฐิธาตุ สำหรับผู้ที่เตรียมที่บรรจุไว้ก่อนแล้วก็ได้
ทำบุญเจ็ดวัน
ทำหลังจากฌาปนกิจ คือปลงศพแล้ว
ทำบุญอุทิศให้ผู้มรณะในรอบปี
คือทำในวันคล้ายวันมรณะ ที่เวียนมาบรรจบในรอบปี บางท่านอาจนำไปรวมทำในวันเทศกาลของปี
เช่นวันสารท วันตรุษสงกรานต์
งานทำบุญทั้งสามลักษณะดังกล่าว การจัดบริเวณพิธีเหมือนกับงานทำบุญทั่วไป ต่างแต่นำโกศอัฐิมาตั้งเป็นประธานแทนศพ
จะใช้รูปถ่ายของผู้มรณะแทนอัฐิก็ได้ บางท่านก็ใช้บริเวณโต๊ะหมู่เครื่องบูชาพระพุทธรูปหัวอาสนสงฆ์
เป็นที่ตั้งโกศอัฐิด้วย คือตั้งโกศชั้นต่ำกว่าพระพุทธรูปลงมา ถ้ามีวงสายสิญจน์ทำบุญบ้านด้วย
ห้ามนำสายสิญจน์วงโกศก่อน ตอนจะบังสุกุลอัฐิท้ายพิธี ถ้าไม่มีภูษาโยง หรือสายสิญจน์ที่จะใช้แทนภูษาโยงต่างหาก
จะใช้สายสิญจน์วงบ้านวงพระพุทธ ต้องตัดสายสิญจน์ที่วงบ้านหรือพระพุทธรูปให้ขาดก่อน
แล้วตั้งต้นวงเฉพาะโกศอัฐิเท่านั้น ชักไปสู่พระสงฆ์แทนภูษาโยง
สำหรับระเบียบสวดพระพุทธมนต์ต้องดูให้สมควร ถ้าเจ้าภาพวงสายสิญจน์ตั้งน้ำมนต์
เป็นการฉลองบ้านด้วย ก็สวดมนต์เจ็ดตำนานเหมือนงานมงคลทั่วไป ต่างแต่ตอนท้ายพิธีมีชักบังสุกุลอัฐิเป็นงานอวมงคล
และอนุโมทนาทานเพื่อผู้มรณะเท่านั้น ถ้าเจ้าภาพไม่วงสายสิญจน์ไม่ตั้งน้ำมนต์
แต่ตั้งโกศอัฐิเป็นประธาน แสดงว่าเจ้าภาพต้องการให้งานนี้เป็นเพื่อผู้ตายโดยตรง
และเป็นงานอวมงคล พระสงฆ์ต้องประกอบพิธีสวดพระพุทธมนต์อย่างเดียวกับงานทำบุญเปิดศพที่กล่าวมาแล้ว
พิธีสวดพระอภิธรรม
งานทำบุญเกี่ยวด้วยศพ นับตั้งแต่มีมรณกรรม จนถึงวันปลงศพด้วยวิธีฌาปนกิจ มักนิยมจัดให้มีพิธีสวดพระอภิธรรมประกอบงานทำบุญศพนั้นด้วย
พิธีสวดพระอภิธรรมมีสองอย่างคือ สวดประจำยามหน้าศพ และสวดหน้าไฟในขณะฌาปนกิจ
การสวดพระอภิธรรมประจำยามหน้าศพ
นิยมจัดในสถานที่ตั้งศพเป็นพิธีในตอนกลางคืนวันที่ศพถึงแก่กรรม การสวดนี้บางแห่งนิยมจัดนิมนต์พระมาสวดเป็นสำรับ
สำรับละยาม สวดตลอดรุ่งสี่ยาม บางแห่งสวดแต่ในยามต้นคือเพียงสามทุ่ม หรืออย่างมากไม่เกินสองยามคือเที่ยงคืน
มีระเบียบพิธี ดังนี้
๑) เจ้าภาพเตรียมอาสนสงฆ์ สำหรับสวดสี่รูปไว้หน้าศพด้านใดด้านหนึ่ง
แล้วแต่เหมาะ มีตู้พระธรรมหนึ่งตู้ ตั้งหน้าอาสนะพระที่สวด ในกึ่งกลางระหว่างรูปที่สองกับรูปที่สาม
ตั้งที่บูชาหน้าตู้พระธรรมออกมาที่หนึ่ง ประกอบด้วยพานดอกไม้ตั้งกลางชิดตู้พระธรรมสองข้างพานตั้งแจกันดอกไม้หนึ่งคู่
ถัดออกมาตั้งกระถางธูปตรงกับพานดอกไม้ สองข้างกระถางธูปตั้งเชิงเทียนหนึ่งคู่ตรงกับแจกัน
มีเทียนและธูปสามดอกปักไว้พร้อม
๒) นิมนต์พระสงฆ์มาสวดพระอภิธรรม จะเป็นสำรับเดียวหรือหลายสำรับแล้วแต่ศรัทธา
๓) พระสงฆ์ที่รับนิมนต์ทุกรูปมีพัดไปด้วย ได้เวลาประกอบพิธีแล้ว เข้านั่งยังอาสน
วางพัดตั้งเรียงไว้ตามระเบียบ เมื่อเจ้าภาพจุดเทียนหน้าศพแล้ว จุดเทียนหน้าที่บูชา
อาราธนาศีล หัวหน้าสงฆ์ให้ศีล จบแล้วเจ้าภาพอาราธนาธรรม การสวดพระอภิธรรม
ทุกรูปตั้งพัดพร้อมกันแล้วดำเนินการพิธีสวด บทสวดพระอภิธรรมประจำยามหน้าศพมีสองแบบ
ถ้าสวดอย่างสวดมนต์ธรรมดา ใช้บทสัตตัปปกรณาภิธรรม
คือบทมาติกา
พระอภิธรรมเจ็ดคัมภีร์ในหนังสือสวดมนต์ฉบับหลวง เริ่มต้นด้วย นโม ฯลฯ นำ แล้วสวดตั้งแต่บทธรรมสังคณีไปจนจบปัฏฐาน
หยุดพักพอสมควร แล้วตั้งต้นสวดบทธรรมสังคณีไปจนจบปัฏฐานอีกรอบหนึ่งแล้วพัก
ต่อไปเริ่มรอบสาม รอบสี่ จบรอบสุดท้ายคือรอบสี่แล้วเจ้าภาพถวายไทยธรรม พระสงฆ์สวดอนุโมทนาต่อด้วยบท
ยถา วาริวหา ฯลฯ สพฺพีติโย ฯลฯ อทาสิ เม ฯลฯ ภวตุ สพฺพมงฺคลํ ฯลฯ
ถ้าเจ้าภาพประสงค์จะให้สวดทำนอง สรภัญญะ หรือจะเป็นฝ่ายสงฆ์เห็นสมควรจะสวดทำนองสรภัญญะ
บทสวดก็ใช้บทพระอภิธัมมัตถสังคหเก้าปริเฉท
เริ่มตั้งแต่ปริเฉทที่หนึ่งไปจบปริเฉทหนึ่ง ๆ แล้วพักในระหว่างจนครบเก้าประเฉท
เวลาก็พอดีหนึ่งยาม สวดจบเก้าปริเฉทแล้ว เจ้าภาพถวายไทยธรรม พึงอนุโมทนาเช่นเดียวกับแบบแรก
เป็นอันเสร็จพิธี
การสวดพระอภิธรรมหน้าไฟ
นิยมสวดในขณะทำการฌาปนกิจ การจัดสถานที่เช่นเดียวกันกับการจัดสวดหน้าศพ ต่างแต่ไปจัดในบริเวณฌาปนสถาน
พิธีสวดของพระสงฆ์ใช้สวดบทสัตตัปปกรณาภิธรรมอย่างเดียว การสวดไม่มีพิธีฝ่ายเจ้าภาพอย่างสวดงานหน้าศพ
แต่ถือพิธีเริ่มจุดศพเป็นสำคัญ เมื่อใกล้เวลาเริ่มจุดศพ
พระสงฆ์ผู้ได้รับนิมนต์พึงเข้านั่งประจำที่ให้พร้อม
พอเริ่มจะจุดศพก็ตั้งพัดพร้อมกัน พอจุดศพเป็นวาระแรกก็ตั้ง นโม ฯลฯ แล้วสวดบทธรรมสังคณีเป็นลำดับไปจนจบปัฏฐาน
เมื่อเจ้าภาพถวายไทยธรรมแล้ว อนุโมทนา เป็นอันเสร็จพิธี
พิธีสวดมาติกา
การสวดมาติกา คือการสวดบทมาติกาของพระอภิธรรมเจ็ดคัมภีร์หรือที่เรียกว่า สัตตัปปกรณาภิธรรม
ซึ่งมีการบังสุกุลเป็นที่สุด เป็นประเพณีนิยม จัดให้พระสงฆ์สวดในงานทำบุญหน้าศพอย่างหนึ่ง
เรียกในงานหลวงว่า สดับปกรณ์
แต่ราษฎรทั่วไปเรียกว่า สวดมาติกา
โดยจัดเป็นพิธีต่อจากการสวดพระพุทธมนต์เย็นบ้าง ถ้ามีเทศน์ต่อจากการสวดพระพุทธมนต์เย็นก็จัดพิธีสวดมาติกาจากการเทศน์
และจัดให้มีต่อจากพิธีเลี้ยงพระในวันรุ่งขึ้นบ้าง นับเป็นพิธีทำบุญแทรกในระหว่างงานทำบุญหน้าศพ
การจัดพิธีสวดมาติกา มีนิยมทำกัน ดังนี้
๑) ฝ่ายเจ้าภาพพึงเผดียงสงฆ์ ตามจำนวนและแจ้งกำหนดเวลา จำนวนพระสงฆ์ผู้ประกอบพิธีสวดมาติกา
นิยมเท่าจำนวนอายุของผู้มรณะ หรือเท่าจำนวนพระสงฆ์ทั้งหมดของวัด หรือน้อยกว่าที่กล่าวนี้ก็ได้
๒) เตรียมจัดที่สำหรับพระสงฆ์สวดมาติกา ถ้าอาสนะไม่พอกับจำนวนพระสงฆ์ที่นิมนต์
ก็ให้พระสงฆ์ขึ้นประกอบพิธีเป็นชุด ๆ จนครบจำนวน
๓) พระสงฆ์ที่รับนิมนต์ มีพัดไปด้วยทุกรูปเพื่อใช้ในพิธี ในกรณีที่มีพัดไม่ครบ
ก็ให้มีแต่หัวหน้าเพียงรูปเดียว เมื่อได้เวลาก็ขึ้นนั่งบนอาสนะพร้อมกันทั้งหมด
ถ้าเป็นงานหลวงใช้พัดยศต้องนั่งเรียงตามศักดิ์พัดที่ตนถือ เมื่อพร้อมแล้วเจ้าภาพจุดธูปเทียนหน้าศพเป็นสัญญาณ
ถ้าไม่มีพิธีรับศีลเพราะรับมาก่อนแล้ว พึงตั้งพัดพร้อมกันทุกรูปแล้วหัวหน้าสงฆ์นำสวดบทมาติกา
ดังนี้
ค นำสวด
นโม ฯลฯ
ค นำสวดบท
กสฺลา ธมฺมา ฯลฯ
ค นำสวดบท
ปญฺจกฺ ขนฺธา ฯลฯ (เฉพาะงานหลวงหรืองานใหญ่เป็นพิเศษ)
ค นำสวดบท
เหตุปจฺจโย ฯลฯ
เมื่อจบแล้ววางพัด เพื่อให้เจ้าภาพทอดผ้าบังสุกุล
เมื่อพระสงฆ์สวดจบ เหตุปจฺจโย ฯลฯ ก่อนจบเจ้าภาพพึงลากผ้าภูษาโยง หรือสายโยงจากศพให้ลาดตรงหน้าพระสงฆ์
พอพระสงฆ์สวดจบก็ทอดผ้าลงบนภูษาโยง เท่าจำนวนพระสงฆ์บนอาสนะ
๔) พอเจ้าภาพทอดผ้าเสร็จ พระสงฆ์ทั้งนั้นพึงตั้งพัดชักบังสุกุล เสร็จแล้วเปลี่ยนมือมาจับด้ามพัดตามแบบสวดอนุโมทนา
แล้วพึงอนุโมทนา ด้วยบท
ค ยถา
ฯลฯ สพฺพีติโย ฯลฯ
ค ในงานหลวงหน้าพระที่นั่ง
พระราชาคณะถวายอดิเรก
ค อทาสิ
เม ฯลฯ
ค ภวตุ
สพฺพมงฺคลํ ฯลฯ
ค ในงานหลวงหน้าพระที่นั่ง
พระราชาคณะถวายพระพรลา
เจ้าภาพกรวดน้ำ เมื่อพระสงฆ์ว่า ยถา ฯลฯ พอพระสงฆ์ว่า สพฺพีติโย ฯลฯ พึงพนมมือรับพร
พิธีสวดแจง
ในงานฌาปนกิจศพ นิยมจัดให้มีเทศน์สังคีติคาถา หรือที่เรียกกันโดยสามัญว่า
เทศน์แจง จะเทศน์ธรรมาสน์เดียว หรือสามธรรมาสน์โดยปุจฉา วิสัชนา ในการนี้นิยมให้มีพระสงฆ์สวดแจงเป็นทำนองการกสงฆ์
ในปฐมสังคายนาด้วย จำนวนพระสงฆ์สวดแจงนี้ ถ้าเต็มที่ก็นับรวมทั้งพระเทศน์ด้วยเต็ม
๕๐๐ รูป เท่าการกสงฆ์ครั้งทำปฐมสังคายนา แต่ในการปฏิบัติจริงอาจลดส่วนพระสวดลงมาเหลือเพียง
๕๐ รูป หรือ ๒๕ รูป อาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่านี้ก็มี ถือกันว่าเป็นบุญพิธีพิเศษ
ซึ่งอุปถัมภ์ให้พระสงฆ์ได้ทำสังคายนาครั้งหนึ่ง อีกประการหนึ่งก็เป็นอุบายประชุมสงฆ์เพื่อให้งานปลงศพนั้น
ๆ คึกคักขึ้นเป็นพิเศษ มีระเบียบดังนี้
๑) การสวดแจงและเทศน์แจง จัดให้มีในงานฌาปนกิจก่อนหน้าเวลาฌาปนกิจ ในวัดหรือฌาปนสถาน
พึงจัดธรรมาสน์ และอาสนสงฆ์ตามจำนวนที่นิมนต์
๒) เมื่อพระสงฆ์ผู้รับนิมนต์เข้าประจำที่เรียบร้อยแล้ว พอพระผู้เทศน์ขึ้นธรรมาสน์เทศน์
เริ่มตั้งแต่นโม เทศน์เป็นต้นไป ทุกรูปพึงประนมมือฟังเทศน์ด้วยความเคารพ เมื่อผู้เทศน์เผดียงให้สวด
พึงสวดบทโดยลำดับ ดังนี้
ค สวดบทนมัสการ นโม ฯลฯ
ค สวดบาลีพระวินัยปิฎก ยนฺเตน ภควตา ฯลฯ
ค สวดบาลี
พระสุตตันตปิฎก เอวมฺเม สุตํ ฯลฯ
ค สวดบาลี
พระอภิธรรมเจ็ดคัมภีร์ กุสลา ธมฺมา ฯลฯ
๓) เมื่อเทศน์จบแล้ว รอให้พระสงฆ์ที่สวดแจงบังสุกุลก่อน จบแล้วหากมีไทยธรรมอื่นอีกนอกจากผ้าทอดให้ถวายในระยะนี้
เสร็จแล้วพระผู้เทศน์ตั้งพัด ยถา ฯลฯ อนุโมทนาบนธรรมาสน์นั้น พระสงฆ์ทุกรูปพึงรับ
สพฺพีติโย ฯลฯ อทาสิ เม ฯลฯ และ ภวตุ สพฺพมงฺคลํ ฯลฯ พร้อมกัน เป็นอันเสร็จพิธี
พิธีถวายพรพระ
ในงานทำบุญเลี้ยงพระต่อเนื่องจากการเจริญพระพุทธมนต์ หรือสวดพระพุทธมนต์ ก่อนถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุในพิธี
มีนิยมถวายพรพระเป็นพิธีสงฆ์นำด้วย ถ้างานในวันเดียว การสวดถวายพรพระให้ต่อท้ายพิธีสวดมนต์
แต่ถ้ามีพิธีสวดมนต์หลังเลี้ยงพระ ก่อนฉันพระสงฆ์ก็ต้องทำพิธีสวดถวายพรพระนำก่อนทุกครั้งนี้
เป็นธรรมเนียมในงานทำบุญเลี้ยงพระจะเว้นเสียมิได้ พิธีถวายพรพระตามธรรมเนียมนี้มีอยู่สองอย่าง
มีระเบียบพิธีดังนี้
การสวดถวายพรพระกรณีสามัญ
ใช้ในงานทำบุญทั่วไปทั้งงานมงคล และงานอวมงคล เมื่อพระสงฆ์ขึ้นนั่งยังอาสนะเรียบร้อยแล้ว
มีการดำเนินการต่อไปดังนี้
๑) เจ้าภาพจุดธูปเทียนหน้าที่บูชา ถ้าทำบุญหน้าศพ ให้จุดธูปเทียนหน้าศพก่อน
แล้วอาราธนาศีล
๒) หัวหน้าสงฆ์แจกสายสิญจน์แล้วตั้งพัด ถ้าเป็นงานทำบุญหน้าศพไม่มีวงสายสิญจน์
ไม่ต้องแจกสายสิญจน์ เริ่มตั้งพัดอย่างเดียวแล้วให้ศีล จบแล้ววางพัดเข้าที่
พระสงฆ์ทุกรูปประนมมือพร้อมกัน ถ้ามีสายสิญจน์ พึงคล้องสายสิญจน์ที่ง่ามนิ้วแม่มือทั้งสอง
จากนั้นหัวหน้าสงฆ์นำสวดบทถวายพรพระตามลำดับ ดังนี้
ค สวด
นโม ฯลฯ
ค สวด
อิติปิ โส ฯลฯ
ค สวด
พาหุ ํ ฯลฯ
ค สวด
มหากรุณิโก ฯลฯ
ค สวด
ภวตุ สพฺพมงฺคลํ ฯลฯ
๓) ถ้ามีพิธีตักบาตรด้วย เช่นในงานฉลองพระบวชใหม่ ในงานทำบุญแต่งงาน
เป็นต้น พอพระเริ่มสวดบท พาหุ ํ ฯลฯ เจ้าภาพพึงลงมือตักบาตรในระหว่างนี้ และทุก
ๆ งาน จะมีการตักบาตรหรือไม่ก็ตาม พอพระสงฆ์เริ่มสวดบท มหากรุณิโก ฯลฯ ก็ให้เตรียมยกภัตตาหารเข้าประจำที่พระสงฆ์ทันที
พอพระสงฆ์สวดจบ เริ่มประเคนพระ หรือเริ่มถวายทานตามนิยม แล้วคอยอังคาสพระสงฆ์ตลอดเวลาที่ฉัน
เมื่อพระฉันเสร็จแล้วถวายไทยธรรม พระสงฆ์อนุโมทนา เป็นอันเสร็จพิธี
ถ้าในงานที่มีพิธีสวดมนต์ก่อนฉัน ฝ่ายพระสงฆ์พึงสวดบทถวายพรพระตั้งแต่บท พาหุ ํ
ฯลฯ ต่อท้ายพิธีสวดมนต์ไปจนจบ
เป็นการผนวกพิธีสวดถวายพรพระเข้าด้วยกันกับพิธีสวดมนต์
การสวดถวายพรพระในกรณีพิเศษ
ใช้ในงานพระราชพิธีที่ประกอบด้วยพระฤกษ์ เช่น พระฤกษ์โสกันต์ พระฤกษ์เกศากันต์
พระฤกษ์สรงในพระราชพิธีฉัตรมงคล เป็นต้น ระเบียบสวดถวายพรพระก่อนรับพระราชทานฉัน
มีดังนี้
๑) สังฆการี อาราธนาศีล สมเด็จพระราชาคณะหรือพระราชาคณะเป็นหัวหน้าสงฆ์แจกสายสิญจน์แล้วตั้งพัดถวายศีล
๒) จบถวายศีลแล้วได้ฤกษ์เจ้าพนักงานลั่นฆ้องชัยประโคมแตรสังข์ พระสงฆ์ทั้งนั้นเริ่มสวด
ค บท ชยนฺโต
ฯลฯ หลาย ๆ จบ จนเสร็จพิธี
ค บท ภวตุ
สพฺพมงฺคลํ ฯลฯ จบแล้วพัก
พอใกล้เวลาภัตตกิจพึงสวดถวายพรพระตามบท ตั้งแต่ นโม ฯลฯ อิติปิโส ฯลฯ เป็นต้นไปจนจบอีกวาระหนึ่ง
แต่ถ้าเวลาฤกษ์อยู่หลังภัตตกิจ ก็ถวายศีล และถวายพรพระอย่างในกรณีสามัญที่กล่าวแล้ว
และทำภัตตกิจก่อน เสร็จแล้วได้เวลาพระฤกษ์จึงสวดบท ชยนฺโต ฯลฯ และบท ภวตุ
สพฺพมงฺคลํ ฯลฯ ในการประกอบพิธีตามพระฤกษ์นั้น แต่การสวดประกอบพระฤกษ์เฉพาะพระฤกษ์หล่อพระ
พระฤกษ์ยกยอดพระปราสาท และพระราชมณเฑียร และพระฤกษ์ยกช่อฟ้าโบสถ์ วิหาร
ศาลาการเปรียญ เป็นต้น นอกจากสวดบท ชยนฺโต ฯลฯ และ ภวตุ สพฺพมงฺคลํ ฯลฯ แล้วจะนิยมใช้วิธีสวดอีกแบบหนึ่ง
คือ พอเริ่มต้นฤกษ์ก็สวด
ค บท ทิวา
ตปฺปติ อาทิจฺโจ ฯลฯ
ค บท ชยนฺโต
ตัดเฉพาะขึ้น สุนกฺขตฺตํ ฯลฯ
ค บท ภวตุ
สพฺพมงฺคลํ ฯลฯ
นอกนั้นสวดถวายพรพระก่อนภัตตกิจ อย่างเดียวกับที่กล่าวแล้ว
สำหรับงานประกอบฤกษ์ของสามัญชนทั่วไป เช่นงานมงคลโกนผมไฟ มงคลตัดจุก โดยประเพณีนิยม
ถือฤกษ์พระเวลาเช้าเป็นสำคัญ การสวดถวายพรพระของฝ่ายสงฆ์ จึงเท่ากับเป็นการเริ่มต้นฤกษ์
พระสงฆ์พึงดำเนินพิธีไปแทรกโดยลำดับได้จนถึงสวดบท มหาการุณิโก ฯลฯ ให้สวดบทนี้ไปยุติตรงคำว่า โหตุ
เต ชยมงฺคลํ เท่านี้ก่อน ถ้ามีฤกษ์โหรประกอบด้วยต้องรออยู่จนได้ฤกษ์ พอพร้อมหรือได้ฤกษ์แล้วพระสงฆ์ก็เริ่มสวดบท
ชยนฺโต ฯลฯ ต่อ และสวดบทนี้ไม่น้อยกว่าสามจบ หรือซ้ำอยู่จนพิธีของฝ่ายเจ้าภาพเสร็จ
แล้วสวดบท ภวตุ สพฺพมงฺคลํ ฯลฯ เป็นอันเสร็จพิธี
พิธีอนุโมทนากรณีต่าง
ๆ
ธรรมเนียมของพระภิกษุสามเณร เมื่อได้รับปัจจัยลาภจะเป็นภัตตาหารหรือทานวัตถุใด
ๆ ก็ตามจากทายกทายิกาแล้ว ต้องทำพิธีอนุโมทนาทานนั้นทุกคราว จะเว้นเสียมิได้
ถือว่าผิดพุทธานุญาต ต่างแต่ว่าอนุโมทนาต่อหน้าหรือลับหลัง ทายกทายิกานั้นเท่านั้น
ธรรมเนียมนี้มีมาแต่ครั้งพุทธกาล การอนุโมทนาลับหลังทายกทายิกามีกรณีเดียวคือ
การบิณฑบาต แต่กลับมาวัดฉันอาหารบิณฑบาตนั้นแล้ว พึงอนุโมทนา หรือยกไปรวมอนุโมทนาในพิธีทำวัตรสวดมนต์ทุกตอนเช้าและตอนเย็นก็ได้
วิธีอนุโมทนา มีนิยมเป็นสองอย่างเรียกว่า สามัญอนุโมทนา และวิเสสอนุโมทนา
สามัญอนุโมทนา
คือการอนุโมทนาที่นิยมใช้กันทั่วไปปกติ มีระเบียบพิธี ดังนี้
๑) อนุโมทนาในงานต่าง ๆ ร่วมกันหลายรูป ผู้เป็นหัวหน้าตั้งพัดว่าบท
ยถา ฯลฯ ถ้าไม่มีพัดพึงประนมมือว่า
๒) เมื่อจบบท ยถา ฯลฯ แล้วรูปที่สองนำรับ สพฺพีติโย ฯลฯ
๓) จบบท สพฺพีติโย ฯลฯ แล้ว หัวหน้านำว่า ภวตุ สพฺพมงฺคลํ ฯลฯ
ถ้าอนุโมทนารูปเดียว มีพัดก็ตั้งพัด ว่าตั้งแต่บท ยถา ฯลฯ ติดต่อกันไปเป็นจังหวะ
ๆ จนจบบท ภวตุ สพฺพมงฺคลํ ถ้าไม่มีพัดก็ประนมมือว่า
วิเสสอนุโมทนา
คือการอนุโมทนาด้วยบทสวดสำหรับอนุโมทนาเป็นพิเศษเฉพาะทาน เฉพาะกาล และเฉพาะเรื่อง
ซึ่งบทสวดพิเศษเฉพาะนี้ แทรกสวดระหว่างดำเนินพิธีสามัญอนุโมทนาดังกล่าวแล้ว
พอว่าบท สพฺพีติโย ฯลฯ จบก็ว่าบทอนุโมทนาพิเศษขึ้นแทรกต่อ จบแล้วจึงว่าบท
ภวตุ สพฺพมงฺคลํ ฯลฯ เป็นบทสุดท้าย
บทอนุโมทนาพิเศษ ที่เป็นบทนิยมเฉพาะทาน มีดังนี้
๑) อนุโมทนาอาหารบิณฑบาตทั่วไป นิยมใช้บท โภชนทานานุโมทนาคาถา อายุโท
พลโธธีโร ฯลฯ บางทีใช้บทมงคลจักรวาฬน้อยทั้งบทขึ้น สพฺพพุทธานุภาเวน ฯลฯ หรือตัดขึ้นตั้งแต่
รตนตฺตยานุภาเวน รตนตฺตยเตชสา ทุกขโรคภายา เวรา ฯลฯ
๒) อนุโมทนาวิหารแทน คือ โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ โรงเรียน กุฎี เสนาสนะที่อยู่อาศัยของสงฆ์
รวมทั้งเครื่องเสนาสนะ จะอนุโมทนาในคราวถวาย หรือในคราวฉลองก็ตาม นิยมใช้วิหารทานคาถา สีตํ อุณฺหํ ปฏิหนฺติ ฯลฯ
๓) อนุโมทนาการสร้างปูชนียวัตถุ หรือถาวรวัตถุ ส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น
พระพุทธรูป พระสถูป พระเจดีย์ และหนังสือธรรมวินัยถวายวัด ตลอดถึงที่บรรจุอัฐิ
และฌาปนสถาน เป็นต้น จะอนุโมทนาในกาลถวายหรือในการฉลองวัตถุดังกล่าวนั้นก็ตาม
นิยมใช้บท อัคคัปปสาทสูตร อคฺคโต เว ปสนฺนานํ ฯลฯ หรือ บท นิธิกัณฑสูตร ทั้งสูตรขึ้น นิธิ นิธิเต ปุริโส ฯลฯ หรืออย่างย่อตัดขึ้นตั้งแต่ ยสฺส ทาเนน สีเลน ฯลฯ
เป็นต้นไปก็ได้
บทวิเสสอนุโมทนาที่นิยมเฉพาะกาล ส่วนมากเกี่ยวด้วยกาลทานโดยเฉพาะ คือในกาลที่ทายกทายิกาถวายผ้าอาบน้ำฝน
ผ้าวัสสาวาสิก ตักบาตรน้ำผึ้ง ถวายผ้าอัจเจกจีวร และผ้ากฐิน เหล่านี้นิยมใช้กาลทานสุตตคาถา กาเล ททนฺติ สปญฺญา ฯลฯ ถ้ากาลทานดังกล่าวเป็นของหลวง เช่นในการพระราชทานผ้ากฐิน
เป็นต้น ระเบียบการถวายอนุโมทนาทั้งบทสามัญและบทพิเศษ มีดังนี้
๑) ตั้งพัดพร้อม หัวหน้าว่าบท ยถา ฯลฯ
๒) รูปที่สองนำว่า บท สพฺพีติโย ฯลฯ พร้อมกัน
๓) หัวหน้าสงฆ์ว่านำเฉพาะรูปเดียวด้วยบท เกณิยานุโมทนาคาถา อคฺคิหุตฺตํ
มุขา ยญฺญา ฯลฯ
๔) รูปที่สองนำรับ กาลทานสุตตคาถา กาเล ททนฺติ สปญฺญา ฯลฯ พร้อมกัน
๕) หัวหน้าสงฆ์ถวายอดิเรก
๖) รูปที่สองนำรับ ภวตุ สพฺพมงฺคลํ ฯลฯ พร้อมกัน
สำหรับบทวิเสสอนุโมทนาที่นิยม เฉพาะเรื่อง มีอยู่หลายเรื่องด้วยกันดังนี้
๑) อนุโมทนาในงานทำบุญปี ตามที่เคยทำทุกปี นิยมใช้บท อาทิยสุตตคาถา ภุตฺตา โภคา ภตา ภจฺจา ฯลฯ
๒) อนุโมทนาในงานบุญอายุใหญ่ สวดนพเคราะห์ มีพิธีโหรบูชาเทวดา และในพระราชพิธีสมโภชพระมหาเศวตฉัตร
ในงานพระราชพิธีฉัตรมงคล และในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษานิยมใช้บท เทวตาทิสสทักขิณานุโมทนาคาถา ยสฺมึ ปเทเส กปฺเปติ ฯลฯ และบท เทวตาภิสัมมันตนคาถา ยานิธ ภูตานิ สมาคตานิ
ฯลฯ ต่อกัน ถ้าในงานหรือในพระราชพิธีนั้นมีน้ำมนต์ตั้งเทียนไว้เพื่อให้ทำน้ำพระพุทธมนต์
นิยมสวดบท ปริตตกรณปาฐะ ยาวตา สตฺตา ฯลฯ สำหรับทำน้ำมนต์ ต่อจากบท เทวตาภิสัมมันตนคาถา
๓) อนุโมทนาในงานทำบุญอายุครบรอบปีธรรมดา นิยมใช้บท โส อตฺถลทฺโธ ฯลฯ
สำหรับชาย หรือ สาอตฺถลทฺธา ฯลฯ สำหรับหญิง แล้วต่อด้วยมงคลจักรวาฬน้อย
๔) อนุโมทนาในงานบรรพชาอุปสมบท หรืองานฉลองพระบวชใหม่รูปเดียวใช้ โส
อตฺถลทฺโธ ฯลฯ หลายรูปใช้ เต อตฺถลทฺธา ฯลฯ บทเดียว
๕) อนุโมทนาในงานมงคลสมรส ใช้บท โส อตฺถลทฺโธ ฯลฯ บทโส อตฺถลทฺธา ฯลฯ
และบท เต อตฺถลทฺธา ฯลฯ ควบกันทั้งสามบท ต่อท้ายด้วยมงคลจักรวาฬน้อย
๖) อนุโมทนาในงานแจกประกาศนียบัตร เป็นต้น ซึ่งร่วมกันหลายคน นิยมใช้บท
เต อตฺถลทฺธา ฯลฯ ต่อท้ายด้วยมงคลจักรวาฬน้อย
๗) อนุโมทนาในงานอวมงคลเกี่ยวด้วยศพ นิยมใช้บท ติโรกุฑฑกัณฑ์ มีแตกต่างกันคือ
- ถ้าในงานทำบุญหน้าศพ ขึ้น อทาสิ เม อกาสิ เม ฯลฯ
- ถ้าในงานทำบุญอัฐิ ขึ้น อยญฺ จ โข ทุกฺขิณา ทินนา ฯลฯ
- ถ้าในงานทำบุญ บุพพเปตพลีทาน เช่นในวันสารท มักใช้สวดเต็ม ขึ้น ติโรกุทฺเทสุ
ติฏธนฺติ ฯลฯ หรือจะย่อ ขึ้น อยญฺ จ โข ทกฺขิณา ทินฺนา ฯลฯ ก็ได้
พิธีมีพระธรรมเทศนา
การจัดให้มีพระธรรมเทศนา หรือที่เรียกกันว่า มีเทศน์ คือการแสดงธรรมฟังกันในที่ประชุมตามโอกาสอันควร
นับเป็นบุญพิธีที่นิยมสำคัญประการหนึ่ง ส่วนมากนิยมผนวกเข้าในการทำบุญต่าง
ๆ ทั้งงานมงคล และงานอวมงคล แม้ไม่ต้องมีงานบุญอะไรก็นิยมจัดให้มีขึ้นตามโอกาสอันควร
เช่นจัดให้มีในวัดหรือตามศาลาโรงธรรมประจำในวันธรรมสวนะ และวันอุโบสถ เป็นต้น
การมีพระธรรมเทศนาเป็นประเพณีนิยมของพระพุทธศาสนามาแต่ครั้งพุทธกาลถือกันว่า พระพุทธศาสนาจะตั้งอยู่ได้ยั่งยืนก็ด้วยมีการประกาศเผยแผ่พระพุทธธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ปัจจุบันมีพระธรรมเทศนาสองอย่างคือ เทศน์ธรรมดาโดยผู้เทศน์แสดงรูปเดียวอย่างหนึ่ง
เทศน์ปุจฉา วิสัชนา โดยมีผู้เทศน์ตั้งแต่สองรูปขึ้นไปแสดงร่วมกันเป็นธรรมสากัจฉาอีกอย่างหนึ่ง
การมีเทศน์นิยมทำกันสี่ลักษณะ คือ
การมีเทศน์ในงานบุญ
สำหรับงานมงคลส่วนใหญ่นิยมจัดให้มีกันเฉพาะงานเกี่ยวด้วยการฉลองเป็นพื้น นิยมทำเป็นรายการสุดท้ายของงานทำบุญ
ถ้าเป็นเทศน์ธรรมดามีได้ท้ายรายการ ทั้งก่อนเพล และหลังเพล เพราะเทศน์ธรรมดาใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมง
แต่ถ้าเป็นเทศน์ปุจฉา วิสัชนา นิยมมีตอนหลังเพล เพราะเทศน์หลายธรรมาสน์ ใช้เวลาตั้งแต่สองชั่วโมงขึ้นไป
ส่วนงานอวมงคล นิยมมีเทศน์ผนวกงานได้ทุกกรณี ทั้งชนิดเทศน์ธรรมดา และเทศน์ปุจฉา
วิสัชนา มีระเบียบพิธีดังนี้
๑) ฝ่ายเจ้าภาพ
อาราธนาพระผู้แสดง แจ้งความประสงค์ว่า จะให้แสดงเรื่องอะไร นิยมทำเป็นหนังสืออาราธนาแบบเดียวกับอาราธนาพระเจริญพระพุทธมนต์
ในวันงานเมื่อการตั้งธรรมาสน์และการอื่น ๆ พร้อมแล้ว เจ้าภาพจุดเทียนใหญ่แล้วนำไปตั้งบนธรรมาสน์
หรือจุดเทียนประจำธรรมาสน์ เป็นสัญญาณเริ่มมีเทศน์ เมื่อพระขึ้นธรรมาสน์เรียบร้อยแล้ว
ถ้าเทศน์มีต่อจากพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ หรือสวดมนต์เย็น ต่อเนื่องกัน และการอาราธนาศีลก่อนเริ่มบุญพิธี ได้มีมาแล้วก็ไม่ต้องอาราธนาศีลก่อนเทศน์ เริ่มต้นด้วยอุบาสกอาราธนาธรรม และเริ่มแสดงธรรมเลย
แต่ถ้ามีเทศน์ต่อเลี้ยงพระ การมีเทศน์ต่อถือว่าเป็นบุญพิธีตอนใหม่ ให้เริ่มต้นด้วยอุบาสกอาราธนาศีล
พระให้ศีลและรับศีล จบแล้วอาราธนาธรรมแล้วจึงเริ่มแสดงธรรม เมื่อจบการแสดงธรรม
ถ้ามีสวดธรรมคาถาต่อท้ายในงานศพ เจ้าภาพต้องจุดธูปเทียนบูชาหน้าพระสวดด้วย
สวดจบแล้วถวายไทยธรรม พระอนุโมทนาและกรวดน้ำเป็นอันเสร็จพิธีฝ่ายเจ้าภาพ
๒) ฝ่ายพระผู้เทศน์
เมื่อรับอาราธนาแล้ว พึงเตรียมและจัดการตามสมควร เมื่อถึงวันแสดง จะต้องเตรียมคัมภีร์ใบลาน
ห่อผ้าสำหรับห่อ หรือใส่ตู้คัมภีร์กับพัดสำหรับให้ศีลและอนุโมทนาไว้ให้พร้อม
เมื่อไปถึงบริเวณงาน มีธรรมเนียมพิธีโบราณอย่างหนึ่งว่า ศิษย์ผู้ติดตามจะต้องแบกคัมภีร์พาดบ่าซ้าย
ประคองคัมภีร์ด้านล่างด้วยมือซ้ายอย่างท่าแบกอาวุธของทหาร มือขวาถือพัดตั้งทาบกับตัว
ห้อยมือลง เดินนำหน้าพระเข้าสู่บริเวณพิธี ธรรมเนียมนี้ถือกันว่าเป็นการยกย่องพระธรรมให้อยู่หน้าพระสงฆ์
ฝ่ายเจ้าภาพต้องคอยต้อนรับ ถ้ายังไม่ถึงเวลาเทศน์ ให้วางคัมภีร์ไว้ในที่ที่สมควรก่อน
หรือจะวางบนธรรมาสน์เลยก็ได้วางไว้ข้างขวาของพระผู้เทศน์ เมื่อได้เวลาเจ้าภาพจุดเทียนประจำธรรมาสน์
พระผู้เทศน์ก็ถือพัดขึ้นธรรมาสน์ วางพัดไว้ข้างซ้าย ปกตินิยมนั่งพับเพียบ
แต่จะนั่งขัดสมาธิก็ได้ เมื่อเจ้าภาพกล่าวคำอาราธนาธรรมก็คลี่คัมภีร์แสดงธรรมต่อไป
มีระเบียบการแสดงธรรมดังนี้
- จับคัมภีร์ใบลานขึ้นประคองระหว่างมือทั้งสองที่ประนมแค่อก
แล้วบอกศักราชตามธรรมเนียม ทั้งคำบาลี และคำแปล
- พอจบคำบอกศักราช ก็ตั้ง นโม เทศน์ คงประนมมืออยู่อย่างเดิม
ถ้าเทศน์อ่านคัมภีร์ให้คลี่มือแยกห่างจากกันในขณะ จะตั้ง นโม ครั้งที่สาม
แล้วใช้นิ้วแม่มือทั้งสองพลิกใบลานเริ่มอ่าน นิเขปบท ให้ติดต่อกับ นโม ต่อจากนั้นก็อ่านแสดงไปจนจบ
- เทศน์จบแล้วเก็บใบลานเข้าที่เดิม แล้วตั้งพัดอนุโมทนาด้วยบท
ยถา ฯลฯ บนธรรมาสน์ แต่ถ้าเป็นเทศน์งานอวมงคล มีพระสวดรับเทศน์ต่อท้ายไม่ต้องยถา
บนธรรมาสน์ถือพัดลงมานั่งอาสนะข้างล่าง รออนุโมทนาเมื่อเจ้าภาพถวายไทยธรรมแล้ว
พร้อมกับพระสงฆ์ที่สวดรับเทศน์ เป็นอันเสร็จพิธี
การเทศน์ปุจฉาวิสัชนา คือ เทศน์สองรูป ผู้อาวุโสให้ศีลและบอกศักราช อีกรูปหนึ่งแสดงอานิสงส์หน้าธรรมาสน์ตามธรรมเนียมแล้วสมมติหน้าที่
ต่อจากนั้นจึงเริ่มเรื่อง ปุจฉาวิสัชนากันจนจบ แล้วรูปปุจฉา หรือรูปอาวุโสสรุปท้ายเทศน์
จบแล้วอีกรูปหนึ่ง ยถา ฯลฯ สพฺพีติโย ฯลฯ เป็นอันเสร็จพิธี
ถ้าเทศน์มากกว่าสองรูป ให้ผู้เทศน์ตกลงแบ่งหน้าที่ดำเนินพิธีกันก่อนขึ้นธรรมาสน์
การมีเทศน์ตามกาลนิยม
การมีเทศน์ตามกาลนิยมคือ การเทศน์ในวันธรรมสวนะ และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเป็นพิเศษ
เช่น วันวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชา วันมาฆบูชา และวันอาสาฬหบูชา เป็นต้น การเทศน์ตามกาลนิยมปรกติมีในวัด
มีระเบียบพิธีดังนี้
๑) เมื่อถึงกำหนดเทศน์ อุบาสกจุดธูปเทียนประจำธรรมาสน์ แล้วพระผู้เทศน์ขึ้นธรรมาสน์
๒) ถ้าเป็นการเทศน์กัณฑ์เช้าที่นิยมเรียกกันว่า กัณฑ์อุโบสถ ต้องให้ศีลตามอาราธนา
บอกศักราช แต่ถ้าเป็นกัณฑ์บ่าย หรือกัณฑ์ในเวลาอื่น ไม่มีรับศีล และไม่ต้องให้ศีล
ไม่ต้องบอกศักราช เพราะถือว่าได้ทำในตอนเช้าแล้ว
๓) เมื่ออุบาสกอาราธนาธรรมเสร็จ ก็เริ่มพิธีแสดงธรรมต่อไป
๔) เมื่อเทศน์จบ ถ้าเป็นกัณฑ์อุโบสถ ไม่ต้องอนุโมทนา ถ้าเป็นกัณฑ์อื่นพึงพิจารณาดูตามควร
ถ้ามีถวายไทยธรรม พึงอนุโมทนาให้เสร็จบนธรรมาสน์แล้วลง ถ้าไม่มีถวายไทยธรรมจะไม่อนุโมทนาก็ได้
การมีเทศน์พิเศษ
หมายถึงเทศน์ที่จัดให้มีเป็นพิเศษนอกจากงานบุญ หรือนอกจากที่มีตามกาลนิยม
เช่นเทศน์สั่งสอนประชาชน เทศน์อบรมคนเป็นหมู่คณะโดยเฉพาะ และเทศน์ไตรมาสที่มีผู้นิยมจัดตามวัด
ตามบ้านหรือตามชุมชนใหญ่ เพื่อฟังกันทุกวันในระหว่างพรรษา เป็นต้น
การเทศน์มหาชาติ
เทศน์มหาชาติ คือ เทศนาเวสสันดรชาดก เป็นบุญพิธีที่นิยมจัดให้มีกันมาแต่โบราณ
ส่วนมากจัดให้มีในวัดเป็นหน้าที่ของชาวบ้านและวัดนั้น ๆ จะตกลงร่วมกันจัด
ปกตินิยมให้มีหลังฤดูทอดกฐิน ผ่านไปแล้วจนตลอดฤดูเหมันต์ นิยมจัดเป็นงานสองวัน
คือ วันเทศน์เวสสันดรชาดกทั้ง ๑๓ กัณฑ์วันหนึ่ง และวันเทศน์จตุราริยสัจจกถา
ท้ายเวสสันดรชาดกอีกวันหนึ่ง
วันแรกเริ่มงานด้วยพิธีทำบุญตักบาตรพระทั้งวัด หรือเลี้ยงพระตามจำนวนที่เห็นสมควร
แล้วเริ่มเทศน์เวสสันดรชาดก ตามแบบเทศน์ต่อกันไปจนสุด ๑๓ กัณฑ์ ถึงเวลากลางคืนบางแห่งจัดปีพาทย์ประโคมระหว่างกัณฑ์หนึ่ง
ๆ ตลอดทั้ง ๑๓ กัณฑ์ด้วย
วันรุ่งขึ้น ทำบุญเลี้ยงพระอีกแล้วมีเทศน์ จตุราริยสัจจกถาในระหว่างเพลจบแล้วเลี้ยงพระเพลเป็นอันเสร็จพิธี
ระเบียบพิธีในการเทศน์มหาชาติ ที่นิยมกันเป็นหลักใหญ่ ๆ ดังนี้
๑) ตกแต่งบริเวณพิธีให้มีบรรยากาศคล้ายอยู่ในบริเวณป่า ตามท้องเรื่องเวสสันดรชาดก
โดยนำเอา ต้นกล้วย ต้นอ้อย และกิ่งไม้มาผูกตามเสา และบริเวณรอบ ๆ ธรรมาสน์
ประดับธงทิว และ ราวัติ ฉัตร ตามสมควร
๒) ตั้งขันสาครใหญ่ หรือจะใช้อ่างใหญ่ที่สมควรก็ได้ใส่น้ำสะอาดเต็ม
สำหรับปักเทียนบูชาประจำกัณฑ์ ในระหว่างที่พระเทศน์ น้ำในภาชนะที่ตั้งนี้เสร็จพิธีแล้ว
ถือว่าเป็นน้ำพระพุทธมนต์ที่สำคัญ ภาชนะใส่น้ำนี้ตั้งหน้าธรรมาสน์ กลางบริเวณพิธี
๓) เตรียมเทียนเล็ก ๆ จำนวน ๑,๐๐๐ เล่ม แล้วนับแยกจำนวนเป็นมัด มัดหนึ่งมีจำนวนเท่าคาถาของกัณฑ์หนึ่ง
แล้วทำเครื่องหมายไว้ให้ทราบ ว่ามัดไหนสำหรับบูชาคาถากัณฑ์ใด เมื่อถึงคราวเทศน์กัณฑ์นั้นก็จะเอาเทียนมัดนั้นออกจุดบูชาติดรอบ
ๆ ภาชนะน้ำ ต่อกันไปจนจบกัณฑ์ให้หมดมัดพอดี ครบ ๑๓ กัณฑ์ถ้วน จำนวน ๑,๐๐๐
เล่ม เท่าจำนวนคาถา บางแห่งนิยมทำธงเล็ก ๆ ๑,๐๐๐ คัน แบ่งจำนวนเท่าคาถาประจำกัณฑ์เช่นอย่างเทียน
แล้วปักธงบูชาระหว่างกัณฑ์บนหยวกกล้วย แต่การใช้ธงไม่เป็นที่นิยม เช่น เทียน
การจุดเทียนหรือปักธงบูชากัณฑ์ดังกล่าวเป็นหน้าที่ของเจ้าภาพผู้รับกัณฑ์นั้น
ๆ
การเทศน์เวสสันดร มีวิธีเทศน์เป็นทำนองโดยเฉพาะ จะต้องได้รับการฝึกอบรมศึกษาต่อท่านผู้ทรงคุณวุฒิทางนี้เป็นพิเศษ
ส่วนการเทศน์จตุราริยสัจจกถา มีระเบียบพิธีอย่างเทศน์ในงานดังกล่าวแล้วข้างต้น
พุทธศาสนพิธี11
พิธีทำบุญเนื่องด้วยประเพณีในครอบครัว
พิธีทำบุญเลี้ยงพระ
การทำบุญเลี้ยงพระ มักนิมนต์พระภิกษุสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ ในสถานที่ ที่ประกอบพิธีในตอนเย็น
เรียกกันสามัญว่าสวดมนต์เย็น
รุ่งขึ้นเวลาเช้า (บางกรณีเป็นเวลาเพล) ถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุที่เจริญพระพุทธมนต์
เรียกกันว่า เลี้ยงพระเช้า
(เลี้ยงพระเพล) หรือฉันเช้า
(ฉันเพล) และในคราวเดียวกันก็มีการตักบาตรด้วย ถ้ามีเวลาน้อยจะย่นเวลามาทำกันในวันเดียวตอนเช้า
หรือในตอนเพลตามสะดวก โดยนิมนต์พระภิกษุสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ก่อน จบแล้วถวายภัตตาหารให้เสร็จสิ้นในห้วงเวลาเดียวกัน
งานทำบุญเลี้ยงพระนี้นิยมทั้งในงานมงคล และงานอวมงคลทั่วไป มีระเบียบพิธีดังนี้
การทำบุญงานมงคล
เจ้าภาพจะต้องเตรียมกิจการต่าง ๆ ดังนี้
๑) อาราธนาพระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์
๒) เตรียมที่ตั้งพระพุทธรูปพร้อมทั้งเครื่องบูชา และตกแต่งสถานที่บริเวณพิธี
คือ
- วงด้ายสายสิญจน์ เชิญพระพุทธรูปมาตั้งบนที่บูชา ปูลาดอาสนะสำหรับพระสงฆ์เตรียมตั้งเครื่องรับรองพระสงฆ์
และตั้งภาชนะสำหรับทำน้ำมนต์
๓) เมื่อพระสงฆ์มาถึง คอยล้างเท้าให้ และประเคนเครื่องรับรองที่จัดไว้
๔) ได้เวลาแล้วจุดธูปเทียนที่โต๊ะบูชา บูชาพระแล้วกราบนมัสการสามครั้ง
๕) อาราธนาศีล และรับศีล
๖) อาราธนาพระปริตร เสร็จแล้วไหว้หรือกราบแล้วแต่กรณี
๗) นั่งฟังพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ เมื่อจบแล้วถวายน้ำร้อนหรือเครื่องดื่ม
อันควรแก่สมณะ
พิธีฝ่ายพระภิกษุ ควรมีพัดไปด้วยทุกรูป และควรใช้พัดงานมงคล ถ้าไม่สามารถนำพัดไปได้ทุกรูปก็มีไปเฉพาะหัวหน้ารูปเดียว
จะขาดเสียมิได้ เพราะพัดจำเป็นต้องใช้ในคราวให้ศีล ขัดสคฺเค และขัดตำนาน อนุโมทนาท้ายพิธี
และถ้ามีการบังสุกุลอัฐิประกอบด้วยก็ต้องใช้พัดทุกรูป
เมื่อไปถึงงาน ขณะขึ้นนั่งบนอาสนะ ให้เข้าที่นั่งกันตามลำดับไว้ระยะให้พองาม
นั่งแบบพับเพียบ ให้ได้แถวให้ได้แนว ดุเข่าให้เสมอกัน และนั่งอย่างผึ่งผาย
เข้าที่แล้ววางพัดไว้ข้างหลังด้านขวามือ
เมื่อเจ้าภาพเริ่มอาราธนาศีล ผู้เป็นหัวหน้าพึงคลี่กลุ่มสายสิญจน์ แล้วส่งต่อกันไปจนถึงรูปสุดท้าย
พออาราธนาศีลถึงวาระที่สามว่า ตติยมฺปิ ฯลฯ ผู้เป็นหัวหน้าพึงตั้งพัดเตรียมให้ศีล
การจับพัดให้จับด้วยมือขวาที่ด้ามคอพัดต่ำลงมา ๔ - ๕ นิ้ว หรือกะว่าจับตรงส่วนที่สามตอนบนของด้ามพัด
ใช้มือกำด้ามพัดด้วยนิ้วทั้งสี่เว้นนิ้วหัวแม่มือ เฉพาะนิ้วแม่มือยกขึ้นแตะด้ามพัดให้ทาบตรงขึ้นไป
นำสายสิญจน์ขึ้นพาดไว้บนนิ้วชี้ ตั้งพัดให้ตรงหน้าปลายด้านอยู่ตรงกึ่งกลาง อย่าให้ห่างตัวหรือชิดตัวนัก
และอย่าตั้งนอกสายสิญจน์ หน้าพัดหันออกด้านนอก ให้พัดตั้งตรงได้ฉาก ทั้งซ้ายขวา
หน้าหลัง พอจบคำอาราธนาศีลก็ตั้ง นโม ฯลฯ ให้ศีลทันที ให้ไปถึงตอนจบไตรสรณาคมน์
ไม่ต้องว่า ติสรณคมนํ นิฏฺฐิตํ เพราะคำนี้ใช้เฉพาะในพิธีสมาทานศีลจริง ๆ เช่น
สมาทานศีลอุโบสถ พึงให้ศีลต่อไตรสรณาคมน์ พอให้ศีลจบก็วางพัด
เมื่อเจ้าภาพอาราธนาพระปริตรถึงครั้งที่สาม รูปที่ต้องขัด สคฺเค เตรียมตั้งพัด
พออาราธนาจบก็เริ่มขัดได้ พอขัดจบ พระสงฆ์ทุกรูปยกสายสิญจน์ขึ้นประนมมือพร้อมกัน
ใช้ง่ามนิ้วมือทั้งสองรับสายสิญจน์ไว้ในระหว่างประนมมือ แล้วหัวหน้านำว่า
นโมและสวดมนต์บทต่าง ๆ ไปตามแบบนิยม
ในการเจริญพระพุทธมนต์งานมงคลทุกแบบ มีตั้งภาชนะน้ำมนต์ไว้ด้วย เพื่อให้พระสงฆ์ทำน้ำมนต์ในขณะสวด
ซึ่งเป็นหน้าที่ของหัวหน้าสงฆ์ เจ้าภาพจะจุดเทียนน้ำมนต์ตั้งแต่พระสงฆ์เริ่มสวดมงคลสูตร
พอสวดรตนสูตรถึงตอน ขีณํ ปุราณํ นวํ นตฺถิ สมฺภวํ ฯลฯ หัวหน้าสงฆ์พึงใช้มือขวาปลดเทียนน้ำมนต์
ออกจากที่ปักไว้ แล้วจับเทียนกับสายสิญจน์เอียงเทียนให้น้ำตาเทียนหยดลงในน้ำ
พร้อมกับสวดพอสวดถึงคำว่า นิพฺ ในคำว่า ปทีโป จึงยกขึ้น แล้ววางหรือติดเทียนไว้ตามเดิม
เป็นอันเสร็จพิธีทำน้ำมนต์ ต่อจากนั้นจึงสวดมนต์ต่อไปจนจบ
ถ้าเจ้าภาพประสงค์ให้มีการพรมน้ำพระพุทธมนต์ต่อท้าย จะต้องเตรียมสิ่งสำหรับพรมคือ
หญ้าคา หรือก้านมะยม
มัดไว้เป็นกำ การใช้ก้านมะยมนิยมใช้เจ็ดก้านมัดรวมกัน ในการพรมน้ำพระพุทธมนต์
ควรเป็นหน้าที่ของผู้เป็นหัวหน้าสงฆ์ในพิธีนั้น การพรมพึงจับกำหญ้าคา หรือก้านมะยม
ใช้มือขวากำรอบด้วยนิ้วทั้งสี่ เว้นนิ้วชี้ให้ชี้ตรงไปตามกำหญ้าคา หรือกำก้านมะยม
มีอาการอย่างชี้นิ้ว เป็นการแสดงปกาสิตของพระสงฆ์ จุมปลายกำหญ้า หรือกำก้านมะยมลงในน้ำพระพุทธมนต์อย่าให้โชกนัก แล้วสะบัดให้น้ำพระพุทธมนต์ออกไปข้างหน้า
ขณะเริ่มพรม พระสงฆ์ที่เหลือควรสวดบท ชยนฺโต ฯลฯ พร้อมกัน
การทำบุญงานอวมงคล
การทำบุญเกี่ยวกับเรื่องการตาย นิยมทำกันอยู่สองอย่าง ทำบุญหน้าศพ ที่เรียกกันว่า
ทำบุญเจ็ดวัน ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน หรือทำบุญวันปลงศพอย่างหนึ่ง และทำบุญอัฐิ หรือทำบุญปรารภการตายของบรรพบุรุษ หรือผู้หนึ่งผู้ใดในวันคล้ายวันตายของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว อีกอย่างหนึ่ง มีระเบียบที่พึงปฏิบัติดังนี้
งานทำบุญหน้าศพ
มีพิธีฝ่ายเจ้าภาพและฝ่ายภิกษุสงฆ์ ดังนี้
๑) อาราธนาพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ นิยม ๘ รูป หรือ ๑๐ รูป หรือกว่านั้นแล้วแต่กรณี
๒) ไม่ต้องวงด้าย คือไม่ต้องตั้งภาชนะน้ำสำหรับทำน้ำมนต์ และไม่มีการวงด้ายสายสิญจน์
๓) เตรียมสายโยง
หรือภูษาโยง ต่อจากศพไว้เพื่อใช้บังสุกุล
สายโยงนั้นก็ใช้ด้ายสายสิญจน์นั่นเอง ถ้าไม่ใช้สายสิญจน์ก็ใช้ทำเป็นแผ่นผ้าแทนเรียกว่า
ภูษาโยง ดังที่ของหลวงใช้อยู่ การเดินสายโยงหรือภูษาโยง จะโยงในที่สูงกว่าพระพุทธรูปที่ตั้งในพิธีไม่ได้
และจะปล่อยให้ลาดมากับพื้นดิน หรือนั่งก็ไม่เหมาะ เพราะสายโยงนี้ เป็นสายที่ล่ามโยงออกมาจากกระหม่อมของศพ
เป็นสิ่งเนื่องด้วยศพจึงต้องล่ามหรือให้สมควร
๔) เมื่อพระสงฆ์มาถึงแล้ว เจ้าภาพจุดธูปเทียนที่โต๊ะบูชา และจุดธูปเทียนที่หน้าศพ
๕) หลังจากพระสงฆ์ฉันเสร็จแล้ว นิยมให้มีการบังสุกุล แล้วจึงถวายไทยธรรม
เมื่อพระสงฆ์อนุโมทนา พึงกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลต่อไป
๖) การสวดมนต์ของพระสงฆ์ มีระเบียบนิยมเหมือนกัน ต่างกันแต่ตอนกลาง
มีนิยมเฉพาะงาน ดังนี้
- ทำบุญเจ็ดวัน สวดอนัตตลักขณสูตร
- ทำบุญศพ ๕๐ วัน สวดอาทิตตปริยายสูตร
- ทำบุญศพ ๑๐๐ วัน หรือทำบุญวันปลงศพสวดธรรมนิยามสูตร
- ทำบุญศพในวาระอื่น จะสวดสูตรอื่นใด นอกจากที่กล่าวนี้ก็ได้ แล้วแต่เจ้าภาพประสงค์
แต่มีธรรมเนียมอยู่ว่า ไม่สวดเจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน ธรรมจักร มหาสมัย
๗) ในการสวดมีระเบียบปฏิบัติคือ เมื่อให้ศีล และเจ้าภาพอาราธนาพระปริตรแล้วไม่ต้องขัด
สคฺเค ทุกรูปประนมมือพร้อมกันแล้ว หัวหน้านำสวด
- นมการปาฐะ (นโม ฯลฯ)
- สรณคมนปาฐะ (พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ฯลฯ)
- ปัพพโตปมคาถาและอริยธนคาถา (ยถาปิ เสสา ฯลฯ)
พอจบตอนนี้ พระสงฆ์ทั้งหมดลดมือลงแล้วรูปที่นั่งอันดับสามตั้งพัด ขัดบทขัดของสูตรที่กำหนดสวดตามงานดังกล่าวแล้ว
เมื่อขัดจบวางพัด ทุกรูปประนมมือพร้อมกัน หัวหน้านำสวดสูตรที่ขัดนำนั้น จบสูตรแล้วนำสวดบทท้ายสวดมนต์ของงานอวมงคลคือ
- ปฏิจจสมุปบาท (อวิชฺชาปจฺจยา สงฺ ขารา ฯลฯ)
- พุทธอุทานคาถา (อทา หเว ฯลฯ )
- ภัทเทกรัตตคาถา (อตีตํ มานฺวาดเมยฺย ฯลฯ)
- ภวตุ สพฺพมงฺคลํ
ถ้าสวดธรรมนิยามสูตร ใช้สวดติลักขณาทิคาถา (สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ฯลฯ เต
โลเก ปรินิพฺพุตาติ) ก่อนสวดปฏิจจสมุปบาท
๕) เมื่อสวดมนต์แล้ว ถ้ามีการชักผ้าบังสุกุลต่อท้าย เจ้าภาพจะลากสายโยง
หรือภูษาโยง แล้วทอดผ้า พอทอดถึงรูปสุดท้าย พระสงฆ์ก็ตั้งพัดพร้อมกัน การตั้งพัดในพิธีชักบังสุกุลให้ใช้มือซ้ายจับพัด
แล้วใช้มือขวาจับผ้าบังสุกุล การจับผ้าให้จับหงายมือใช้นิ้วมือทั้งสี่นิ้ว
เว้นนิ้วแม่มือสอดเข้าใต้ผ้าที่ชักใช้นิ้วแม่มือจับบนผ้า อย่าจับคว่ำมือหรือเพียงใช้นิ้วแตะ
ๆ ที่ผ้าเป็นอันขาด เมื่อจับพร้อมกันทุกรูปแล้ว เริ่มว่าบทชักบังสุกุล (อนิจฺจา
วต สงฺขารา ฯลฯ) พร้อมกัน จบแล้วชักผ้าออกจากสายโยงหรือภูษาโยงวางไว้ตรงหน้า
ข้อความที่กล่าวมานี้เป็นงานที่เจ้าภาพทำสองวัน คือสวดมนต์วันหนึ่ง เลี้ยงพระอีกวันหนึ่ง
ถ้าเป็นงานวันเดียวให้สวดมนต์ก่อนฉัน ในการสวดมนต์นั้น เมื่อสวด ภัทเทกรัตตคาถา
จบแล้วให้สวดถวายพรพระต่อไปจนจบ เป็นอันเสร็จพิธีสวดมนต์
ในกรณีที่มีเพียงสวดมนต์ ไม่มีการเลี้ยงพระ ไม่ต้องสวดบทถวายพรพระ เมื่อพระสงฆ์รับไทยธรรมแล้ว
ในการอนุโมทนาด้วย บทวิเสสอนุโมทนา พึงใช้บท อทาสิ เม ฯลฯ เพราะศพยังปรากฏอยู่
งานทำบุญอัฐิ
เจ้าภาพพึงจัดเตรียมทำนองเดียวกันกับงานทำบุญหน้าศพ ต่างแต่เพียงงานนี้เป็นงานทำบุญหน้าอัฐิ
หรือรูปของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เจ้าภาพต้องเตรียมที่ตั้งอัฐิ หรือที่ตั้งรูประลึกนั้น
ๆ ต่างหาก จากโต๊ะบูชา ให้มีดอกไม้ตั้งหรือประดับพองาม และตั้งกระถางธูปกับเชิงเทียน
หนึ่งคู่ที่หน้าโต๊ะ หรือรูปนั้นด้วยเพื่อบูชา จะใช้พานหรือกระบะเครื่องห้าสำหรับบูชาแทนก็ได้
พิธีฝ่ายพระภิกษุสงฆ์ ส่วนใหญ่ก็พึงปฏิบัติเช่นเดียวกับงานทำบุญหน้าศพ ต่างแต่การสวดมนต์
นิยมใช้สูตรอื่น จากอนัตตลักขณสูตร
การทำบุญงานมงคล
และข้อปฏิบัติบางประการ
พิธีอย่างย่อคือการทำบุญตักบาตร ในการทำบุญเลี้ยงพระมีเรื่องที่พึงปฏิบัติ
ดังนี้
๑) การอาราธนาพระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์
ไม่จำกัดจำนวนข้างมาก แต่นิยมกำหนดจำนวนข้างน้อยไว้โดยเกณฑ์ คือไม่ต่ำกว่าห้ารูป
เกินขึ้นไปก็เป็นเจ็ดรูป หรือเก้ารูป ไม่นิยมพระสงฆ์จำนวนคู่ เพราะถือว่าการทำบุญครั้งนี้มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานแบบเดียวกับครั้งพุทธกาล
โดยตั้งพระพุทธรูปไว้ข้างหน้าแถวพระสงฆ์ นับจำนวนรวมกับพระสงฆ์เป็นคู่ เว้นแต่ในงานมงคลสมรส
มักนิยมนิมนต์พระสงฆ์จำนวนคู่ แต่ในพิธีหลวงปัจจุบัน มักอาราธนาพระสงฆ์เป็นจำนวนคู่
๒) การเตรียมที่ตั้งพระพุทธรูปพร้อมทั้งเครื่องบูชา
ที่ตั้งพระพุทธรูปพร้อมทั้งเครื่องบูชาในงานพิธีต่างนิยมเรียกว่า โต๊ะบูชา
โต๊ะบูชาประกอบด้วยโต๊ะรอง และเครื่องบูชา โต๊ะรองเป็นที่ตั้งพระพุทธรูปและเครื่องบูชา
ที่นิยมใช้เป็นโต๊ะหมู่ ซึ่งสร้างไว้โดยเฉพาะเรียกกันว่า โต๊ะหมู่บูชา มีหมู่ห้า
หมู่เจ็ด และหมู่เก้า หมายความว่าหมู่หนึ่ง ๆ ประกอบด้วยโต๊ะห้าตัว เจ็ดตัว
และเก้าตัว ถ้าหาโต๊ะหมู่ไม่ได้จะใช้ตั่งหรือโต๊ะอะไรที่สมควรก็ได้ มีหลักสำคัญอยู่ว่าต้องใช้ผ้าขาวปูก่อน
ถ้าจะใช้ผ้าสีก็ต้องเป็นผ้าสะอาด ที่ยังไม่ได้ใช้งานอย่างอื่นมาก่อน
การตั้งโต๊ะบูชามีหลักว่า ต้องหันหน้าโต๊ะออกไปทางเดียวกับพระสงฆ์ สำหรับทิศทางที่จะประดิษฐานพระพุทธรูป
มักให้ผินพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ ด้วยถือว่าพระพุทธเจ้าเป็นโลกอุดร หรือมิฉะนั้นก็ให้หันหน้าไปทางทิศตะวันออก
ก็ถือว่าเป็นทิศที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออกในคืนวันตรัสรู้
การตั้งเครื่องบูชา ถ้าเป็นโต๊ะเดี่ยว เครื่องบูชาควรมีแจกันประดับดอกไม้หนึ่งคู่
ตั้งสองข้างพระพุทธรูป หน้าพระพุทธรูปตั้งกระถางธูปกับเชิงเทียนหนึ่งคู่ เชิงเทียนตั้งตรงกับแจกัน
สำหรับโต๊ะหมู่มีการตั้งเชิงเทียนมากกว่าหนึ่งคู่ แจกันดอกไม้มากกว่าหนึ่งคู่
และมีพานดอกไม้ตั้งเป็นคู่และอยู่กลางหนึ่งพาน
๓) การวงด้ายสายสิญจน์
คำว่าสิญจน์แปลว่าการรดน้ำ สายสิญจน์ทำด้วยด้ายดิบ โดยวิธีจับด้ายในเข็ด สาวชักออกเป็นห่วง
ๆ สาวชักออกมาเป็นห่วง ๆ ให้สัมพันธ์เป็นสายเดียวกัน จากด้ายในเข็ดเส้นเดียวจับออกครั้งแรกเป็นสามเส้น
ม้วนเข้ากลุ่มไว้ ถ้าต้องการให้สายใหญ่ก็จับอีกครั้งหนึ่ง จะกลายเป็นเก้าเส้นในงานมงคลทุกประเภท
นิยมใช้สายสิญจน์เก้าเส้น
การวงสายสิญจน์ มีเกณฑ์ถืออยู่ว่า ถ้าเป็นบ้านมีรั้วรอบ ให้วงรอบรั้ว ถ้าไม่มีรั้วรอบหรือมีแต่กว้างเกินไป
ก็ให้วงเฉพาะอาคารพิธีโดยรอบ ถ้าไม่ต้องการวงสายสิญจน์รอบรั้ว หรือรอบอาคาร
จะวงสายสิญจน์ที่ฐานพระพุทธรูปบนโต๊ะบูชาเท่านั้น แล้วโยงมาที่ภาชนะสำหรับทำน้ำมนต์ก็ได้
พึงวางกลุ่มด้ายสายสิญจน์ไว้บนพานสำหรับรองสายสิญจน์ ซึ่งอยู่ทางหัวอาสนะสงฆ์ใกล้ภาชนะสำหรับทำน้ำมนต์
การวงสายสิญจน์ถือหลักวงจากซ้ายไปขวา ของสถานที่หรือวัตถุ ขณะที่วงสายสิญจน์อย่าให้สายสิญจน์ขาด
สายสิญจน์ที่วงพระพุทธรูปแล้วจะข้ามกรายไม่ได้ หากมีความจำเป็นที่จะต้องผ่าน
ให้ลอดมือหรือก้มศีรษะลอดใต้สายสิญจน์
๔) การปูลาดอาสนะสำหรับพระสงฆ์
นิยมใช้กันอยู่สองวิธีคือ ยกพื้นอาสนะสงฆ์ให้สูงขึ้น โดยใช้เตียงหรือม้าวางต่อกันให้ยาวพอแก่จำนวนสงฆ์
อีกวิธีหนึ่งปูลาดอาสนะบนพื้นธรรมดา จะใช้เสื่อหรือผ้าที่สมควรปู ข้อสำคัญคืออย่าให้อาสนะพระสงฆ์กับที่นั่งของคฤหัสถ์เป็นอันเดียวกัน
ควรปูลาดให้แยกจากกัน ถ้าปูเสื่อหรือพรมไว้เต็มห้อง ควรให้ผ้าขาวหรือผ้านิสีทนะก็ได้ปูทับลงไปอีกชั้นหนึ่ง
๕) การเตรียมเครื่องรับรองพระสงฆ์
ตามแบบและตามประเพณีก็มีหมากพลู บุหรี่ น้ำร้อน น้ำเย็น กระโถน การวางเครื่องรับรองเหล่านี้
ต้องวางทางด้านขวามือของพระ วางกระโถนข้างในสุดเพราะไม่ต้องประเคนถัดออกมาเป็นภาชนะน้ำเย็น
ถัดออกมาอีกเป็นภาชนะใส่หมากพลู บุหรี่ ซึ่งรวมอยู่ในที่เดียวกัน เมื่อพระสงฆ์นั่งก็ประเคนของตั้งแต่ข้างในออกมาข้างนอก
๖) การตั้งภาชนะทำน้ำมนต์ ถ้าไม่มีครอบน้ำมนต์
จะใช้บาตรพระหรือขันน้ำพานรองแทนก็ได้ แต่ขันต้องไม่ใช่ขันเงินหรือขันทองคำ
หาน้ำสะอาดใส่ในภาชนะน้ำมนต์ ห้ามใช้น้ำฝน ใส่น้ำเพียงค่อนภาชนะ ควรจะหาใบเงินใบทองใส่ลงไปด้วยเล็กน้อย หรือจะใช้ดอกบัวแทนก็ได้ ต้องมีเทียนน้ำมนต์หนึ่งเล่ม ควรเป็นเทียนขี้ผึ้งแท้ขนาดหนักหนึ่งบาทเป็นอย่างต่ำติดที่ขอบภาชนะ
ไม่ต้องจุด เอาไปวางไว้ข้างหน้าโต๊ะบูชา ให้ค่อนมาทางอาสนะพระสงฆ์ ใกล้กับรูปที่เป็นหัวหน้า
จะได้ทำพิธีได้สะดวก
๗) การจุดธูปเทียนที่โต๊ะบูชา
และที่ทำน้ำมนต์ เจ้าภาพควรเป็นผู้จุดธูปเทียนที่โต๊ะบูชา ควรจุดเทียนก่อน
โดยจุดด้วยไม้ขีดไฟ หรือเทียนชนวน อย่าต่อจากไฟอื่น เมื่อเทียนติดแล้วใช้ธูปสามดอกจุดต่อที่เทียนจนติดดีจึงปักธูปตรง
ๆ ในกระถางธูป
ต่อจากนั้นจึงเริ่มพิธีไปตามลำดับ คืออาราธนาศีล รับศีล อาราธนาพระปริตร จบแล้วพระสงฆ์เริ่มสวดมนต์
ทุกคนที่อยู่ในพิธีพึงนั่งประนมมือ ฟังพระสวดด้วยความเคารพ พอพระเริ่มสวดมงคลสูตรขึ้นต้นบท
อเสวนา จ พาลานํ เจ้าภาพพึงเข้าไปจุดเทียนน้ำมนต์ แล้วประเคนบาตร หรือครอบน้ำมนต์นั้น
ต่อหัวหน้าพระสงฆ์
๘) ข้อปฏิบัติในวันเลี้ยงพระ
ถ้าเป็นงานสองวันพึงจัดอย่างวันสวดมนต์เย็น เมื่อพระภิกษุสงฆ์มาพร้อมแล้ว
เจ้าภาพพึงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระ แล้วอาราธนาศีลรับศีลเช่นเดียวกับวันก่อน
ไม่ต้องอาราธนาพระปริตร พระสงฆ์จะเริ่มสวดถวายพรพระเอง ก็มีการตักบาตรด้วย
พึงเริ่มลงมือตักบาตรขณะพระสงฆ์สวดถึงบท พาหํ และให้เสร็จก่อนพระสวดจบ เตรียมยกบาตร
และภัตตาหารมาตั้งไว้ให้พร้อม พระสวดจบก็ประเคนให้พระฉันได้ทันที ถ้าไม่มีตักบาตร
เจ้าภาพก็นั่งประนมมือฟังพระสวดไปจนจบ
ถ้าเป็นงานวันเดียว คือสวดมนต์ก่อนฉัน ควรตระเตรียมต่าง ๆ คงจัดครั้งเดียว
พระภิกษุสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ก่อน แล้วสวดถวายพรพระต่อท้าย เจ้าภาพพึงนั่งประนมมือฟัง
เมื่อพระสงฆ์สวดบทถวายพรพระจบ ก็ยกภัตตาหารประเคนได้
เมื่อพระสงฆ์ฉันเสร็จแล้ว ถวายเครื่องไทยธรรม พระสงฆ์อนุโมทนา ขณะพระว่าบท
ยถา ฯลฯ ให้เริ่มกรวดน้ำให้เสร็จก่อนจบบท พอพระว่าบท สพฺพีติโย ฯลฯ พร้อมกันพึงประนมมือรับพรไปจนจบ
เป็นอันเสร็จพิธี
การเลี้ยงพระในพิธีทำบุญเลี้ยงพระ มีประเพณีโบราณสืบเนื่องกันมานานคือ ประเพณีถวายข้าวพระพุทธ
ถ้ามีตักบาตรก็ต้องตั้งบาตรพระพุทธไว้หัวแถวด้วย ข้าวพระพุทธที่ถวายนั้นนิยมจัดอย่างเดียวกันกับที่ถวายพระสงฆ์
เมื่อเสร็จภัตกิจแล้วข้าวพระพุทธนั้นตกเป็นของมรรคทายกวัด หรืออุบาสกอุบาสิกาในงาน
การถวายนี้เป็นหน้าที่ของเจ้าภาพ พึงใช้ผ้าขาวปูบนโต๊ะที่จะนำมาตั้งรองข้าวพระพุทธตรงหน้าโต๊ะบูชา
แล้วตั้งสำรับคาวหวานพร้อมทั้งข้าวน้ำให้บริบูรณ์ เสร็จแล้วจุดธูปสามดอก
ปักในกระถางธูปหน้าโต๊ะบูชา นั่งคุกเข่าประนมมือตรงหน้าที่ตั้งข้าวพระพุทธและโต๊ะบูชา
ว่า นโมสามจบ แล้วว่าคำถวายดังนี้ อิมํ สูปพยยญฺชนสมฺปนฺนํ ,สาลีนํ โอทนํ
, อุทกํ วรํ พุทฺธสฺส ปูเชมิ จบแล้วกราบสามครั้ง ต่อนี้จึงจัดถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์ตามวิธีที่กล่าวมาแล้ว
เมื่อเสร็จภัตกิจ และพระสงฆ์อนุโมทนาแล้ว เป็นหน้าที่ของอุบาสกหรืออุบาสิกา
จะลาข้าวพระพุทธนั้นมารับประทาน ผู้ลาข้าวพระพุทธพึงเข้าไปนั่งคุกเข่าหน้าสำรับที่หน้าโต๊ะบูชา
กราบสามครั้ง ประนมมือกล่าวคำว่า เสสํ มงฺคลา ยาจามิ แล้วไหว้ต่อนั้นยกข้าวพระพุทธออกไปได้
ประเพณีเกี่ยวกับการตาย
มีพิธีทำบุญ เรียกว่า ทำบุญงานอวมงคล คืองานทำบุญหน้าศพ และงานทำบุญอัฐิ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ถึงแก่กรรมไปแล้ว
ประเพณีเกี่ยวกับการตายได้แก่ การจัดการศพ การสวดพระอภิธรรม การทำบุญเจ็ดวัน
๕๐ วัน ๑๐๐ วัน การฌาปนกิจ และการทำบุญอัฐิ หรือการทำบุญในวันคล้ายวันตายของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
การจัดการศพ การจัดการศพเริ่มจากการอาบน้ำศพ
การตั้งศพ การสวดพระอภิธรรม พิธีเหล่านี้นิยมทำที่บ้านของผู้ตาย แต่ปัจจุบันในเมืองนิยมทำที่วัด
การอาบน้ำศพเป็นพิธีทำความสะอาดศพ ถ้าถึงแก่กรรมที่โรงพยาบาลทางโรงพยาบาลจะทำความสะอาดตกแต่งศพมาแล้ว
เจ้าภาพเพียงแต่เปลี่ยนเครื่องแต่งกายให้ศพ แล้วจัดพิธีรดน้ำศพ โดยจัดศพวางบนตั่ง ยื่นมือขวาของศพไว้บนพาน
ผู้ที่มารดน้ำศพรดน้ำอบน้ำหอมลงบนมือศพ เป็นการขอขมา เวลารดน้ำศพควรคลุมศพด้วยผ้าขาว
หรือผ้าอย่างอื่น หากเป็นผู้ที่ได้รับพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ผู้อื่นตลอดเจ้าภาพจะรดน้ำศพก่อน
เมื่อประธานในพิธีรดน้ำอาบศพพระราชทานแล้ว ก็จะมีการบรรจุศพลงหีบเลยทีเดียว
เมื่อบรรจุศพลงหีบแล้ว ก็จะจัดการตั้งศพเพื่อสวดพระอภิธรรม นิยมสวดสามคืน
ห้าคืน เจ็ดคืน แล้วจะจัดการเก็บศพ หรือทำการฌาปนกิจ ก่อนเก็บศพหรือฌาปนกิจ
หรือเมื่อครบเจ็ดวัน ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน หรือในวันคล้ายวันถึงแก่กรรมของผู้นั้น
เจ้าภาพจะมีการทำบุญเลี้ยงพระในตอนเช้า หรือตอนเพล แล้วอาจมีเทศน์หลังจากทำบุญเลี้ยงพระ
จะมีการบังสุกุลอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ตายทุกครั้ง
พิธีทำบุญเจ็ดวัน นิยมนิมนต์พระสงฆ์เจ็ดรูปเท่านั้น เพราะถือว่าเป็นงานอวมงคล
การจัดไทยทานก็จัดเจ็ดที่ และในที่บางแห่งอาจมีการจัดสังฆทานประเภท มตกภัตต์ด้วย
คือบรรจุสิ่งของต่าง ๆ ที่เป็นของแห้งใส่ลงในชามอ่าง กะละมัง หรือกระบุง พอพระสงฆ์ฉันภัตตาหารเสร็จแล้วจึงถวาย
ใช้คำถวาย ดังนี้
อิมานิ มยํ ภนฺเต มตกภตฺตานิ สปริวารานิ ภิกขุ สงฺฆสฺส โอโณชยามะ สาธุโน ภนฺเต
ภิกฺขุ สงฺโฆ มตกภตฺตานิ สปริวารานิ ปฏิคฺคนฺหาตุ อมฺหากญฺเจว มาตาปิตุ อาทีนญฺจ
ญาตถานํ ฑีฆรตฺตํ หิตาย สุขาย ฯ
พิธีทำบุญ ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน หรือวันครบรอบวันตายของผู้ตาย นิยมนิมนต์พระสงฆ์
๑๐ รูป และนิยมทอดผ้าบังสุกุลด้วย
การฌาปนกิจศพ งานฌาปนกิจศพจะทำวันเดียวหรือสองวันก็ได้
ถ้าทำวันเดียวก็จะมีการตั้งศพ แล้วสวดพระอภิธรรมกลางคืนนั้น รุ่งเช้าถวายภัตตาหาร
หรือทำบุญเลี้ยงพระเช้าหรือเพลแล้วมีเทศน์ หลังจากเทศน์ก็จัดการฌาปนกิจ
พิธีฌาปนกิจ จะเริ่มขึ้นเมื่อได้มีการสวดพระอภิธรรม ทำบุญเลี้ยงพระ เทศน์
แล้วเมื่อถึงเวลาก็เชิญศพขึ้นเมรุ หรือ ฌาปนสถาน การเคลื่อนศพขึ้นสู่เมรุ
มีการนำศพเวียนซ้ายรอบเมรุสามรอบ แล้วจึงนำศพขึ้นตั้งบนเมรุ พอใกล้เวลาฌาปนกิจก็เริ่มพิธีการทอดผ้าบังสุกุลที่ศพ
โดยเชิญแขกผู้ใหญ่ หรือเจ้าภาพเองเป็นผู้ทอดผ้า แล้วนิมนต์พระสงฆ์ขึ้นชักบังสุกุล
เสร็จแล้วก็ถึงพิธีประชุมเพลิง มักจะเชิญแขกผู้ใหญ่หรือญาติผู้ใหญ่เป็นผู้จุดเพลิงเป็นคนแรก
ถ้าเป็นศพที่ได้รับพระราชทานเพลิงศพ ประธานในพิธีจะเป็นผู้จุดเพลิงพระราชทาน
โดยการวางดอกไม้ขมาศพของพระราชพิธีก่อนแล้วจุดเพลิง หลังจากนั้นผู้เข้าร่วมพิธีก็เข้าจุดเพลิงตามลำดับ
หลังจากเผาจริงเสร็จ หรือในเช้าวันรุ่งขึ้น ก็จะมีพิธีเก็บอัฐิ ซึ่งเจ้าหน้าที่ของวัดจะเป็นผู้ช่วยเหลือ
ทำพิธีให้แก่เจ้าภาพจนเสร็จ ในสมัยก่อนหรือศพเจ้านายในปัจจุบัน ในพิธีเก็บอัฐิ
จะมีพิธีเดินสามหาบด้วย
relcer12
ข้อปฏิบัติและปกิณกพิธีบางประการ
วิธีแสดงความเคารพพระ
พระที่ควรแก่การเคารพได้แก่พระพุทธรูป หรือปูชนียวัตถุ มีพระสถูปเจดีย์เป็นต้น
และพระภิกษุผู้ทรงเพศอุดมกว่าตน การแสดงความเคารพดังกล่าวนี้ มีอยู่สามวิธีด้วยกันคือ
การประณมมือไหว้ การไหว้ และการกราบ
ประณมมือ
ตรงกับภาษาบาลีว่า อัญชลี
คือการกระพุ่มมือทั้งสองขึ้นประณม ให้ฝ่ามือทั้งสองประกบกัน นิ้วมือทุกนิ้วของทั้งสองมือแนบชิดตรงกัน
ไม่เหลื่อมกัน ตั้งกระพุ่มมือทั้งที่ประณมไว้ระหว่างอก ให้ตั้งตรงขึ้นข้างบนมีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม
แนบศอกทั้งสองข้างชิดชายโครง เป็นการแสดงความเคารพเวลาสวดมนต์ หรือฟังพระสงฆ์สวดมนต์
และเวลาฟังเทศน์ แสดงอย่างเดียวกันทั้งหญิง และชาย
ไหว้
ตรงกับคำบาลีว่า
นมัสการ
คือการยกมือที่ประณมแล้วขึ้นพร้อมกับก้มศีรษะลงเล็กน้อย ให้มือที่ประณมจดหน้าผาก
นิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่ระหว่างคิ้ว ใช้แสดงความเคารพพระในขณะที่นั่งเก้าอี้
หรือยืนอยู่ไม่ใช่นั่งราบกับพื้น แสดงอย่างเดียวกันทั้งชายและหญิง
กราบ
ตรงกับคำบาลีว่า
อภิวาท
คือการแสดงอาการกราบลงบนพื้นด้วยเบญจางคประดิษฐ์
ได้แก่การกราบทั้งองค์ห้า ให้หน้าผาก ฝ่ามือทั้งสอง และเข่าทั้งสองจดพื้น
เมื่อกราบอย่างนี้พึงนั่งคุกเข่า ประณมมือไหว้ แล้วหมอบลง ทอดฝ่ามือทั้งสองที่พื้น
เว้นช่องระหว่างฝ่ามือให้ห่างกันเล็กน้อย ก้มศีรษะลงตรงช่องนั้นให้หน้าผากจดพื้น
เป็นอันครบองค์ห้า
การกราบแบบนี้ ชายพึงคุกเข่าตั้งฝ่าเท้าชัน ใช้นิ้วเท้ายันพื้น นั่งทับลงบนส้นเท้าทั้งคู่
ผายเข่าออกเล็กน้อยให้ได้ฉากกันเป็นรูปสามเหลี่ยม แล้วประณมมือ นั่งอย่างนี้เรียกว่า
นั่งท่าพรหม
เวลากราบก็ยกมือขึ้นไหว้ แล้วก้มตัวลงปล่อยมือให้ทอดกับพื้น ให้ศอกต่อกันกับเข่าตรงกันทั้งสองข้าง
แล้วก้มลงให้หน้าผากจดพื้น อยู่ระหว่างฝ่ามือทั้งสอง
สำหรับหญิง พึงนั่งคุกเข่าราบ คือไม่ตั้งฝ่าเท้ายันอย่างชาย แต่เหยียดฝ่าเท้าราบไปทางหลัง
ให้ปลายเท้าทั้งสองทับกันเล็กน้อย แล้วนั่งทับบนฝ่าเท้าทั้งสองนั้นให้ราบกับพื้นให้เข่าทั้งสองชิดกัน
ประณมมือ นั่งอย่างนี้เรียกว่า นั่งท่าเทพธิดา
ขณะกราบก็ยกมือที่ประณมอยู่ขึ้นไหว้ แล้วก้มตัวลงปล่อยมือให้ทอดกับพื้น ให้ข้อศอกพับทั้งสองข้างขนาบเข่าพับทั้งสองไว้
ไม่ใช่ให้ศอกต่อเข่าแบบชาย แล้วก้มลงให้หน้าผากจรดพื้น อยู่ระหว่างมือทั้งสอง
เวลาก้มลงกราบอย่าให้ก้นกระดกขึ้นจึงจะงาม
วิธีประเคนของพระ
การประเคนของพระ คือการถวายของให้พระได้รับถึงมือ ของที่ประเคนนั้นต้องเป็นของที่คนเดียวพอยกได้
ไม่มีวัตถุอนามาศ
คือ เงิน ทอง หรือของกะไหล่ด้วยเงินแท้ หรือทองแท้ปนอยู่ด้วย เพราะเป็นของไม่เหมาะของพระภิกษุที่จะรับได้
ถ้าเป็นของขบฉันต้องประเคนได้เฉพาะในกาล นอกกาลคือเวลาวิกาลตั้งแต่เที่ยงไปแล้ว
จนถึงย่ำรุ่งวันใหม่ ไม่ควรนำมาประเคน
วิธีประเคนพึงปฏิบัติ
ดังนี้
สำหรับชาย พึงนั่งคุกเข่าหรือยืนตามความเหมาะสมแก่สถานที่ ยกสิ่งของนั้นด้วยมือทั้งสองข้าง
น้อมสิ่งของนั้นเข้าไปใกล้พระภิกษุผู้รับประเคนยกของให้พ้นจากพื้น ส่งถวายถึงมือพระผู้รับประเคน
เมื่อถวายเสร็จแล้วพึงไหว้หรือกราบทุกครั้ง
สำหรับหญิง พึงยืนหรือนั่งพับเพียบตามความเหมาะสมแก่สถานที่ แล้วยกสิ่งของนั้นด้วยมือทั้งสอง
น้อมเข้าไปใกล้พระภิกษุผู้รับประเคนพอสมควร วางบนผ้าที่พระภิกษุทอดรับประเคนนั้น
จะส่งถวายให้ถึงมือพระภิกษุแบบผู้ชายไม่ได้ และระวังรอให้พระภิกษุจับชายผ้าที่ทอดรับประเคนนั้นเสียก่อน
แล้วจึงวางของที่จะประเคนลงบนผ้าผืนนั้น เมื่อถวายเสร็จแล้วพึงไหว้ หรือกราบทุกครั้ง
ข้อพึงระวังคือ สิ่งของที่ประเคนแล้วนั้นห้ามฆราวาสไปจับต้อง หากไปจับต้องถือว่าเป็นการขาดประเคน
ต้องประเคนของนั้นใหม่ จึงจะไม่เกิดโทษแก่สงฆ์
ลักษณะของการประเคนที่ถูกต้อง มีดังนี้
๑) ของที่ประเคนต้องไม่ใหญ่โต หรือหนักมากเกินไป พอขนาดคนเดียวยกได้
และต้องยกของนั้นพ้นพื้นที่ของนั้นวางอยู่
๒) ผู้ประเคนต้องเข้ามาในหัตบาส คือผู้ประเคนต้องอยู่ห่างจากพระภิกษุผู้รับประเคน
ประมาณ หนึ่งศอก
๓) ผู้ประเคนน้อมสิ่งของนั้นเข้ามาให้ด้วยอาการแสดงความเคารพ
๔) กิริยาที่น้อมสิ่งของมาให้นั้น จะส่งให้ด้วยมือก็ได้
หรือจะตักส่งให้ด้วยของเนื่องด้วยกาย เช่น ใช้ทัพพีตักถวายก็ได้
๕) พระภิกษุผู้รับประเคน จะรับด้วยมือใดก็ได้ จะทอดผ้ารับก็ได้
หรือจะเอาภาชนะรับ เช่น เอาบาตรหรือจานรับของที่เขาตักถวายก็ได้
หลักสำคัญของการประเคน ต้องแสดงออกด้วยความเคารพ ไม่เลือกไสให้หรือทิ้งให้โดยไม่เคารพ
วิธีทำหนังสืออาราธนา และทำใบปวารณาถวายจตุปัจจัย
การอาราธนาพระสงฆ์ คือการนิมนต์พระสงฆ์ไปประกอบพิธีต่าง ๆ ต้องทำให้เป็นกิจจะลักษณะ
แต่เดิมใช้อาราธนาด้วยวาจาเป็นพื้น แต่ปัจจุบันนิยมทำหนังสืออาราธนา ความมุ่งหมายก็เพื่อแจ้งกำหนดงาน
และรายการให้พระสงฆ์ทราบ หนังสืออาราธนาพระสงฆ์เรียกกันว่า ฎีกานิมนต์พระ
มีข้อความที่เป็นตัวอย่าง ดังนี้
"ขออาราธนาพระคุณเจ้า (พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ในวัดอีก ....รูป) เจริญพระพุทธมนต์
(หรือสวดพระพุทธมนต์ หรือ
แสดงพระธรรมเทศนา)
ในงาน......ที่บ้านเลขที่.......ตำบล........อำเภอ.........กำหนดวันที่....... เดือน........... พ.ศ....... เวลา........ น."
ในการถวายไทยธรรมแก่พระภิกษุสงฆ์ที่นิมนต์มาประกอบพิธีต่าง ๆ นิยมถวายค่าจตุปัจจัยเป็นพิเศษ
จากไทยธรรมอีกส่วนหนึ่งด้วย การถวายจตุปัจจัย นิยมทำใบปวารณาถวายเพื่อให้พระภิกษุได้รับค่าจตุปัจจัยนั้นโดยชอบด้วยพระวินัย
ใบปวารณามีแบบนิยม ดังนี้
"ขอถวายจตุปัจจัยอันควรแก่สมณบริโภค แด่พระคุณเจ้า เป็นจำนวน............ บาท...... สตางค์ หากพระคุณเจ้าต้องประสงค์สิ่งใด อันควรแก่สมณบริโภคแล้ว ขอได้โปรดเรียกร้องกับปิยการถผู้ปฏิบัติของพระคุณเจ้า เทอญ"
วิธีอาราธนาศีล
อาราธนาพระปริตร และอาราธนาธรรม
การอาราธนาคือ การเชื้อเชิญให้พระภิกษุสงฆ์ในพิธีให้ศีล ให้สวดพระปริตรหรือให้แสดงธรรม
เป็นธรรมเนียมที่มีมาแต่เดิม
ที่จะต้องอาราธนาก่อน
พระภิกษุสงฆ์จึงจะประกอบพิธีกรรมนั้น ๆ
วิธีอาราธนา นิยมกันว่า ถ้าพระสงฆ์นั่งบนอาสนะยกสูง เจ้าภาพและแขกที่นั่งเก้าอี้
ผู้อาราธนาจะเข้าไปยืนระหว่างเจ้าภาพกับแถวพระสงฆ์ ตรงกับรูปที่สามหรือที่สี่
ห่างจากแถวพระสงฆ์พอสมควร หันหน้าไปทางโต๊ะบูชา ประณมมือไหว้พระพุทธรูปก่อน
แล้วยืนประณมมือกล่าวคำ อาราธนาตามแบบที่ต้องการ ถ้าพระสงฆ์นั่งอาสนะต่ำ เจ้าภาพและแขกที่นั่งกับพื้น
ผู้อาราธนาต้องเข้าไปนั่งคุกเข่าต่อหน้าแถวพระสงฆ์ตรงหัวหน้า กราบพระพุทธรูปที่โต๊ะบูชาสามครั้งก่อน แล้วประณมมือกล่าวคำอาราธนาที่ต้องการตามแบบคือ
พิธีสวดมนต์เย็น |
อาราธนาศีล อาราธนาพระปริตร |
พิธีเลี้ยงพระ |
อาราธนาศีล |
พิธีถวายทานทุกอย่าง |
อาราธนาศีล |
พิธีเทศน์
ถ้าเทศน์ต่อจากสวดมนต์ ตอนสวดมนต์ไม่ต้องอาราธนาศีล เริ่มต้นด้วยอาราธนาพระปริตร
แล้วอาราธนาศีลตอนพระขึ้นเทศน์ รับศีลแล้วอาราธนาธรรมต่อ แต่ถ้าสวดมนต์กับเทศน์ไม่ได้ต่อเนื่องกัน
ถือว่าเป็นคนละพิธี ตอนสวดมนต์ก็อาราธนาตามแบบพิธีสวดมนต์เย็นดังกล่าวแล้ว
ตอนเทศน์ให้เริ่มอาราธนาศีลก่อน จบรับศีลแล้วจึงอาราธนาธรรม
พิธีสวดศพต่าง ๆ
ถ้าไม่มีพิธีอื่นนำหน้าให้อาราธนาศีลก่อน ถ้ามีพิธีอื่นนำหน้าไม่ต้องอาราธนาศีล
คำอาราธนาศีลห้า
มยํ ภนฺเต วิสุ ํ วิสุ ํ รกขณตฺ ถาย, |
ติสรเนน สห , ปญฺจ สีลานิ ยาจาม |
ทุติยมฺปิ มยํ ภนฺเต วิสุ ํ วิสุ ํ รกขณตฺ ถาย , |
ติสรเนน สห , ปญฺจ สีลานิ ยาจาม |
ตติยมฺปิ มยํ ภนฺเต วิสุ ํ วิสุ ํ รกขณตฺ ถาย , |
ติสรเนน สห , ปญฺจ สีลานิ ยาจาม |
คำอาราธนาพระปริตร
วิปตฺติปฏิพาหาย สพฺพสมฺปตฺติสิทธิยา |
สพฺพทุกฺขวินาสาย ปริตฺตํ พฺรูถ มงฺคลํ |
วิปตฺติปฏิพาหาย สพฺพสมฺปตฺติสิทธิยา |
สพฺพภยวินาสาย ปริตฺตํ พฺรูถ มงฺคลํ |
วิปตฺติปฏิพาหาย สพฺพสมฺปตฺติสิทธิยา |
สพฺพโรควินาสาย ปริตตํ พฺรูถ มงฺคลํ |
คำอาราธนาธรรม
พฺรหมา จ โลกาธิปติ สหมฺปติ |
กตฺ อญฺชลี อนฺธวรํ อยาจถ |
สนฺตีธ สตฺ ตาปฺ ปรชกฺขชาติกา |
เทเสตุ ธมฺมฺ อนุกมฺปิมํ ปชํ |
วิธีกรวดน้ำ
การกรวดน้ำ อุทิศส่วนกุศล ต้องคำนึงถึงประเพณีที่มีมาแต่โบราณกาลด้วย วิธีที่นิยมคือ
เริ่มต้นเตรียมน้ำสะอาดใส่ภาชนะไว้พอสมควร พอพระสงฆ์เริ่มอนุโมทนาด้วยบท ยถา
ฯลฯ ก็เริ่มกรวดน้ำโดยตั้งใจนึกอุทิศส่วนบุญ มือขวาจับภาชนะรินน้ำใช้มือซ้ายประคอง
แล้วว่าบทกรวดน้ำในใจไปจนจบ การหลั่งน้ำกรวดถ้าเป็นพื้นดิน ควรหลั่งลงในที่สะอาดหมดจด
ถ้าอยู่บนเรือนหรือสถานที่ที่มิใช่พื้นดิน ต้องหาภาชนะอื่นที่สมควร เช่น ถาดหรือขันน้ำมารองน้ำที่กรวดไว้
แล้วจึงนำไปเทลงบนพื้นดินตรงที่สะอาด อย่าใช้ภาชนะที่สกปรกและไม่ควรเป็นอันขาด
เพราะน้ำที่กรวดเป็นสักขีพยานในการทำบุญ
คำกรวดน้ำ ที่นิยมว่ากันทั่วไปมีอยู่สามแบบ คือ แบบสั้น แบบย่อ และแบบยาว
ว่าเฉพาะคำบาลีเท่านั้น ดังนี้
คำกรวดน้ำแบบสั้น
อิทํ เม ญาตีนํ โหตุ (ว่าสามหน)
ขอบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าเถิด
หากจะเติมพุทธภาษิตว่า สุขิตา โหนฺตุ ญาตโย ก็ได้
คำกรวดน้ำแบบย่อ
เรียกว่า คาถาติโลกวิชัย
ยงฺกิญฺจิ กุสลํ กมฺมํ |
กตฺตพฺพํ กิริยํ มม |
กาเยน วาจามนสา |
ติทเส สุคตํ กตํ |
เย สตฺตา สญฺญิโน อตฺถิ |
เย จ สตฺตา อสญฺญิโน |
กตํ ปุญฺญผลํ มยฺหํ |
สพฺเพ ภาคี ภวนฺตุ เต |
เย ตํ กตํ ุวิทิตํ |
ทินฺนํ ปุญฺญผลํ มยา |
เย จ ตตฺถ น ชานนฺติ |
เทวา คนฺตวา นิเวทยุ ํ |
สพฺเพ โลกมฺหิ เย สตฺตา |
ชีวนฺตาหาร เหตุกา |
มนุญฺญํ โภชนํ สพฺเพ |
ลภนฺต มม เจตสา |
กุศลกรรมที่เป็นกิริยาควรทำอันหนึ่งด้วยกาย วาจาใจ อันจะเป็นเหตุนำไปให้เกิดในสวรรค์ชั้นไตรทศเทพ
ข้าพเจ้าได้ทำแล้ว ขอสัตว์ซึ่งมีสัญญาและไม่มีสัญญาทุกหมู่เหล่า จะเป็นผู้มีส่วนได้รับผลบุญที่ข้าพเจ้าได้ทำแล้วนั้น
เหล่าสัตว์ที่ไม่รู้ผลบุญที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ขอจงเป็นผู้มีส่วนได้รับผลบุญที่ข้าพเจ้าอุทิศให้
ในบรรดาสรรพสัตว์จำพวกใดไม่รู้ข่าว ถึงบุญที่ข้าพเจ้าได้ทำแล้ว ขอเทพพยาดาทั้งหลาย จงนำไปบอกแก่สัตว์จำพวกนั้น
ขอสัตว์ทุกหมู่ในชีวโลก ซึ่งเสพอาหารเป็นเครื่องเลี้ยงชีพ จงได้เสวยซึ่งโภชนะอันพึงใจ
ด้วยอำนาจเจตนาอุทิศของข้าพเจ้านี้เถิด ฯ
คำกรวดน้ำแบบยาว
อิมินา ปุญฺญกมฺเมน |
อุปชฺฌายา คุณุต์ตรา |
อาจริยูปการา จ |
มาตา ปิตา จ ญาตกา (ปิยา มมํ) |
สุริโย จนฺทิมา ราชา |
คุณวนฺตา นราปิ จ |
พฺรหมมารา จ อินฺท จ |
โลกปาลา จ เทวตา |
ยโม มิตฺตา มนุสฺสา จ |
มชฺฌตฺตา เวริกาปิ จ |
สพฺเพ สตฺตา สุขี โหนฺตุ |
ปุญฺญานิ ปกตานิ เม |
สุขญฺจ ติวิธํ เทนฺตุ |
ขิปปํ ปาเปถ โว มตํ |
อิมินา ปุญฺญกมฺเมน |
อิมินา อุทฺทิเสน จ |
ขิปฺปาหํ สุลเภ เจว |
ตณฺหุปาทานเฉทนํ |
เย สนฺตาเน หินา ธมฺมา |
ยาว นิพฺพานโต มมํ |
นสฺสนฺตุ สพฺพทา เยว |
ยตฺถ ชาโต ภเว ภเว |
อุชุจิตฺตํ สติปญฺญา |
สลฺเลโข วิริยมฺหินา |
มารา ลภนฺตุ โนกาสํ |
กาตุญฺจ วิริเยส เม |
พุทฺธาธิปวโร นาโถ |
ธมฺโม นาโถ วรุตฺตโม |
นาโถ ปจฺเจพุทฺโธ จ |
สงฺโฆ นาโถตฺตโร |
เตโสตฺตมานุภาเวน |
มาโรกาสํ ลภนฺตุ มา |
ด้วยผลบุญที่ข้าพเจ้ากระทำนี้ ขอพระอุปัชฌาย์ผู้มีพระคุณอันยิ่งใหญ่ไพศาล
อีกทั้งอาจารย์ผู้ได้สั่งสอนข้าพเจ้ามา ทั้งมารดาบิดาและคณาญาติทั้งสิ้น ตลอดจนพระอาทิตย์
พระจันทร์ และพระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นใหญ่ในเอกเทศแห่งเมทนีดล และนรชนผู้มีคุณงามความดีทั้งหลายทุกถิ่นฐาน
อีกท้าวมหาพรหมกับหมู่มาร และท้าวมัฆวานเทวราช ทั้งเทพเจ้าผู้รักษาโลกทั้งสี่ทิศ
และพญายมราช อีกมวลมิตรสหาย ทั้งผู้ขวนขวายวางตนเป็นกลาง และผู้เป็นศัตรูของข้าพเจ้าทุก
ๆ เหล่า จงมีความเกษมสุขนิราศภัย ขอบุญที่ข้าพเจ้ากระทำไว้ด้วยไตรทวาร
จงบันดาลให้สำเร็จไตรพิชสุข ถึงความเกษมปราศจากทุกข์ คือ พระอมตมหานฤพานโดยพลัน
อีกโสตหนึ่งนั้น ด้วยกรรมนี้และอุทิศเจตนานี้ ขอให้ข้าพเจ้าบรรลุทันทีซึ่งการตัดขาดตัณหา
อุปาทาน ธรรมอันชั่วในสันดานจงพินาศไปหมด จนตราบเท่าถึงนิพพานสิ้นกาลทุกเมื่อ
แม้ว่าข้าพเจ้ายังท่องเที่ยวไปเกิดในภพใด ๆ ก็ขอให้มีจิตซื่อตรงดำรงสติปัญญาไวชาญฉลาด
ให้มีความเพียรกล้า สามารถขัดเกลากิเลส ให้สูญหาย ขอหมู่มารเหล่าร้าย อย่าได้กล้ำกรายสบโอกาส เพื่อทำให้ข้าพเจ้าพินาศคลายความเพียรได้
อนึ่งไซร้ พระพุทธเจ้าผู้เป็นที่พึ่งอันยิ่งอย่างประเสริฐ พระธรรมเป็นที่พึ่งอันล้ำเลิศยิ่งประมาณ
พระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งอันไพศาล และพระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันอุดมยิ่งประมาณของข้าพเจ้านี้
ด้วยอานุภาพอันอุดมดี พิเศษสูงสุดของพระรัตนตรัย ขออย่าให้หมู่มารได้โอกาสทุกเมื่อไป
เทอญ ฯ
วิธีบอกศักราช
การแสดงพระธรรมเทศนาในงานทำบุญทุกกรณี ยกเว้นที่แสดงตามกาลในวันธรรมสวนะ นิยมให้ผู้แสดงธรรมบอกศักราช
คือ บอก วัน เดือน ปี ของวันนั้น ก่อนเริ่มเทศน์ จุดมุ่งหมายก็เพื่อให้พุทธบริษัทได้ทราบปฏิทิน
เพราะในสมัยก่อนปฏิทินรายวันไม่มีแพร่หลาย
วิธีบอกศักราชให้บอกเป็นภาษาบาลีก่อน แล้วแปลเป็นภาษาไทย ดังนี้
อิมานิ ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทฺธสฺส ปรินิพฺพานโต ปฏฺฐาย จตุตฺตรปญฺจสตาธิกานิ
, เทฺว สํวจฺฉรสหสฺสานิ อติกฺกนฺตานิ , ปจฺจุปนฺนกาลวเสน อสฺสยุชมาสสฺส
เตวีสติมํ ทินํ วารวเสน ปน จนฺทวาโร
โหติ , เอวํ ตสฺส ภควโต ปรินิพฺพานา , สาสนายุกาลคณนา สลฺลกฺเขตพฺพาติ
ฯ
ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนายุกาล จำเดิมแต่ปรินิพพานแห่งองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น
บัดนี้ล่วงแล้วสองพันห้าร้อยสี่พรรษา ปัจจุบันสมัย ตุลาคมมาส สุรทินที่ ยี่สิบสาม
วันนี้ จันทรวาร ศานายุกาล แห่งองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น มีนัยอันพุทธบริษัทจะพึงกำหนดนับด้วยประการ
ฉะนี้ ฯ
หลักการเปลี่ยนคำตาม วัน เดือน ปี สำหรับคำบาลีมีที่ต้องเปลี่ยนสีแห่งตามอักษรสีแดง
ให้รู้ไว้ในแบบ
๑) คำบอกจำนวนศักราช ถ้าจำนวนท้าย พ.ศ.เลื่อนไป ต้องเปลี่ยนดังนี้
ปญฺจจุตฺตร (๐๕) ฉฬุตฺตร (๐๖) สตฺตุตตร (๐๗) อฏฺฐุตฺตร
(๐๘) นวุตฺตร (๐๙) ทสุตฺตร (๑๐) เอกาทสุตฺตร (๑๑)
ทฺวาทสุตฺตร (๑๒) เตวสุตฺตร (๑๓) จตุทฺทสุตฺตร (๑๔) ปณฺนรสุตฺตร
(๑๕) โสฬสุตฺตร (๑๖) สตฺตรสุตฺตร (๑๗) อฏฺฐารสุตฺตร (๑๘)
อูนวีสุตฺตร (๑๙) วีสุตฺตร (๒๐) ตึสุตฺตร (๓๐) จตฺตาวีสุตฺตร
(๔๐) ปณฺณาสุตฺตร (๕๐) สฏฺฐยุตฺตร (๖๐) สตฺตตฺยุตฺตร (๗๐)
อสีตยุตฺตร (๘๐) นวุตยุตฺตร (๙๐)
จำนวนในระหว่างสิบ ต่อจากยี่สิบไป มีหลักเปลี่ยนคล้ายกันคือ เอ็ดเติมเอก สองเติม
ทวา สามเติม เต สี่เติม จตุ ห้าเติม ปญฺจ หกเติม ฉ เจ็ดเติม สตฺต แปดเติม
อฏฺฐ ทั้งนี้ให้เติมเข้าข้างหน้าจำนวนครบสิบนั้น ๆ เช่น
ยี่สิบเอ็ด (เอกวีสุตฺตร) สามสิบสอง (ทฺวตฺตึสุตฺตร) สี่สิบสาม
(เตจตฺตาฬีสุตฺตร) ห้าสิบสี่ (จตุปณฺณาสุตฺตร) หกสิบห้า (ปณฺจสฏฺฐยุตฺตร)
เจ็ดสิบหก (ฉสตฺตตฺยุตฺตร) แปดสิบเจ็ด (สตฺตาสีตยุตฺตร) เก้าสิบแปด (อฏฺฐนวุตฺตร)
ส่วนจำนวนครบเก้าในระหว่างสิบให้เติมอูน หน้าจำนวนครบสิบข้างหน้าทุกจำนวน
เช่น ยี่สิบเก้า เป็น อูนตึสุตฺตร สามสิบเก้าเป็น อูนจตฺตาฬีสุตฺตร
เป็นต้น
๒) การบอกเดือน ในตัวอย่างใช้สำหรับเดือนตุลาคม ถ้าเป็นเดือนอื่นก็เปลี่ยนไป
มีหลักการเปลี่ยนดังนี้
เดือนมกราคม (ปุสฺส) เดือนกุมภาพันธ์ (มาฆ) เดือนมีนาคม (ผคฺคุณ) เดือนเมษายน (จิตฺต) เดือนพฤษภาคม (วิสาข) เดือนมิถุนายน (เชฏฺฐ) เดือนกรกฎาคม (อาสาฬฺห) เดือนสิงหาคม (สาวน) เดือนกันยายน (โปฏฺฐปทฺ หรือภทฺทปท) เดือนตุลาคม (อสฺสยุช) เดือนพฤศจิกายน (กตฺติก) เดือนธันวาคม (มิคสิร)
พึงเปลี่ยนชื่อตามที่ต้องการใส่ไปหน้าคำ มาสสฺส
๓) คำบอกวันที่ของเดือนนั้น ต้องเปลี่ยนไปตามปฏิทินให้ตรงตามวันที่ที่ต้องการ
หลักในการเปลี่ยนจำนวนวัน มีดังนี้
วันที่หนึ่ง (ปฐมํ) วันที่สอง (ทุติยํ) วันที่สาม (ตติยํ) วันที่สี่ (จตุตฺถํ) วันที่ห้า (ปญฺจมํ) วันที่หก (ฉฏฐํ) วันที่เจ็ด (สตฺตมํ) วันที่แปด (อฏฐมํ) วันที่เก้า (นวมํ) วันที่สิบ (ทสมํ) วันที่สิบเอ็ด (เอกาทสมํ) วันที่สิบสอง (ทฺวาทสมํ) วันที่สิบสาม (เตรสมํ) วันที่สิบสี่ (จตุรสมํ) วันที่สิบห้า (ปณฺณเรสมํ) วันที่สิบหก (โสฬสมํ) วันที่สิบเจ็ด (สตฺตรสมํ) วันที่สิบแปด (อฏฺฐารสมํ) วันที่สิบเก้า (อูนวีสติมํ) วันที่ยี่สิบ (วีสติมํ) วันที่ยี่สิบเอ็ด (เอกวีสติมํ) วันที่ยี่สิบสอง (ทฺวาวีสติมํ) วันที่ยี่สิบสาม (เตวีสติมํ) วันที่ยี่สิบสี่ (จตุวีสติมํ) วันที่ยี่สิบห้า (ปญฺจวีสติมํ) วันที่ยี่สิบหก (ฉพฺพีสติมํ) วันที่ยี่สิบเจ็ด (สตฺตวีสติมํ) วันที่ยี่สิบแปด (อฏฺฐวีสติมํ) วันที่ยี่สิบเก้า (อูนตึสติมํ) วันที่สามสิบ (ตึสติมํ) วันที่สามสิบเอ็ด (เอกตึสติมํ)
๔) คำบอกวารในเจ็ดวาร เพื่อให้รู้ว่าวันนั้น ๆ ตรงกับวารอะไร ต้องเปลี่ยนชื่อวารทั้งเจ็ดให้ถูกต้องมีหลักกำหนดไว้
ดังนี้
วันอาทิตย์ (รวิวาโร) วันจันทร์ (จนฺทวาโร) วันอังคาร (ภุมฺมวาโร)
วันพุธ (วุธวาโร) วันพฤหัสบดี (ครุวาโร) วันศุกร์ (สุกฺกวาโร)
วันเสาร์(โสรวาโร)
|