เจ้าพ่อซำปอกง
เจ้าพ่อซำปอกง
ชาวจีนในประเทศไทย นิยมเรียกหลวงพ่อโต แห่งวัดพนัญเชิง จ.อยุธยาว่า "เจ้าพ่อซำปอกง"
ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีหน้าตักกว้าง
๒๐.๑๗ เมตร สูง ๑๙ เมตร พระพักตร์เหลี่ยมอันเป็นอิทธิพลศิลปะสมัยอู่ทอง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า
ฯ ให้บูรณะหลวงพ่อใหม่ทั้งองค์พร้อมกับถวายพระนาม "พระพุทธไตรรัตนายก"
หลวงพ่อโตหรือที่ชาวจีนนิยมในไทยเรียกว่า "ซำปอกง" นั้นในประเทศไทยมีอยู่ด้วยกัน
๓ องค์ และขนาดขององค์ไม่เท่ากัน
องค์ที่ใหญ่ที่สุดเปรียบเสมือนพี่ใหญ่คือ หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง อยุธยา
องค์รองลงมา เปรียบเสมือนพี่รองคือ หลวงพ่อโต วัดกัลยา ฯ กรุงเทพ ฯ
องค์น้องเล็ก คือหลวงพ่อโต วัดอุภัยภาติการามหรือวัดซำปอกง ฉะเชิงเทรา
ผมจะเล่าถึงวัดซำปอกง ที่เมืองแปดริ้วหรือฉะเชิงเทรา ไปเที่ยวตลาดร้อยปีคลองสวนมาแล้ว
ซึ่งหากไปตั้งแต่เช้าและควรจะเป็นเช้าวันหยุด ตลาดจึงจะติดแน่นขนัด แต่หากไปวันธรรมดาก็คงมีตลาดที่เป็นตลาดร้อยปี
สร้างยาวไปตามแนวคลองประเวศน์บุรีรมย์ประมาณ ๑ กม. และยังตั้งอยู่ในพื้นที่ของเทศบาลตำบลคลองสวน
จังหวัดสมุทรปราการ ต่อเนื่องกับเทศบาลตำบลเทพราช จังหวัดฉะเชิงเทรา เรียกว่าตลาดชื่อคลองสวน
กินเนื้อที่ดินติดต่อกัน ๒ จังหวัด หากไปถึงตลาดตอนเช้าสักหน่อยเก็บท้องเอาไว้ไปหาอาหารเช้าอร่อย
ๆ ในตลาดคลองสวนกินจะเป็นข้าวแกง ข้าวผัดปู ก๋วยเตี๋ยวเป็ดที่อยู่ตรงรอยต่อของ
๒ จังหวัดพอดี หรือกาแฟ เจ้าที่เก่าแก่ที่สุดในตลาดนี้ แต่อยู่ทางด้านหน้าเทศบาลเทพราช
แล้วเดินซื้อสารพัดของกิน เดินชมร้านค้าประเภทโชว์ห่วยที่กำลังหายไปจากชนบทไทย
กลับมาขึ้นรถซึ่งผมขอแนะนำว่าไปตลาดคลองสวนในวันหยุดให้จอดรถทางที่ติดกับเทศบาลเพทราช
จะมีที่จอดสะดวกกว่าทางเทศบาลคลองสวน จากตลาดคลองสวนที่บรรจุอาหารเช้ามาแล้ว
ขับรถออกจากเทศบาลแล้วเลี้ยวซ้ายจะมีป้ายบอกเป็นระยะ ๆ ว่าฉะเชิงเทรา จะบรรจบกับสาย
๓๑๔ ถนนสายบางปะกง - ฉะเชิงเทรา (จะมีป้ายบอกไปนครราชสีมาด้วย ไปตามเส้นทางนี้ได้)
เมื่อวิ่งไปใกล้จะถึงทางแยกขวาเข้าตัวเมือง
จะเห็นป้ายบอกไป "วัดโสธรวรารามวรวิหาร" ซึ่งมีพระพุทธรูปสำคัญคือ หลวงพ่อพุทธโสธร
พระพุทธรูปปางสมาธิ หน้าตักกว้าง ๑.๖๕ เมตร สูง ๑.๔๘ เมตร ฝีมือช่างลานช้าง
วัดนี้สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย พระพุทธโสธรตามตำนานกล่าวว่า ลอยทวนน้ำมาจึงได้อัญเชิญขึ้นไว้ที่วัดแห่งนี้
ซึ่งเล่ากันว่าท่านมีพี่น้อง ๕ องค์ ล้วนแต่ลอยน้ำมาและอัญเชิญขึ้นไปประดิษฐานตามวัดต่าง
ๆ ขอผลัดเอาไว้ก่อนแล้วผมจะนำเอามาเล่าให้ทราบทั้ง ๕ องค์ วันนี้ขอเล่าองค์เดียว
ประชาชนเคารพบูชาหลวงพ่อพุทธโสธรกันมาก จนพระอุโบสถหลังเดิมรับศรัทธาของประชาชนไม่ไหว
จึงได้สร้างพระอุโบสถหลังใหม่ และคณะกรรมการวัดมีมติให้รื้อพระอุโบสถหลังเดิม
ขณะที่กำลังสร้างอยู่นั้น ได้สร้างเป็นอาคารชั่วคราว แต่อัญเชิญพระพุทธโสธรจำลองประดิษฐานเอาไว้
ผู้คนก็มากราบไหว้กันแน่นขนัดเช่นเดิม ส่วนพระอุโบสถหลังใหม่นั้น สร้างใกล้แม่น้ำเป็นแบบรัตนโกสินทร์ประยุกต์
สำนักงานการโยธาจังหวัดเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ และเริ่มดำเนินการก่อสร้างมาตั้งแต่ปี
พ.ศ.๒๕๓๐ มาแล้วเสร็จเอาประมาณปี พ.ศ.๒๕๔๘ งดงามอย่างยิ่ง ในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธโสธร
และกลุ่มพระพุทธรูปบริวารไว้เช่นเดิม เหมือนกับในอาคารชั่วคราวซึ่งก็ยังคงประดิษฐานพระพุทธโสธรจำลองเอาไว้
ผู้คนจะไปกราบไหว้บูชา จุดธูป เทียน ต้องทำกันที่อาคารชั่วคราวที่อยู่ติดกับพระอุโบสถ
ส่วนทางพระอุโบสถหลังใหม่คงให้นำดอกไม้ที่มีขายหน้าทางเข้า เข้าไปวางบูชาได้เท่านั้น
การจัดระเบียบภายในวัดเป็นระเบียบเรียบร้อยดี ลานจอดรถอยู่ตรงข้ามทางเข้าวัด
ซึ่งทางฝั่งนี้จะเหมือนยกตลาดหนองมน และอีกหลายตลาดมารวมกันไว้เช่น ขนมจากหากินยากที่ปากน้ำสมุทรปราการ
แต่ตลาดหน้าวัดมีขนมจากข้าวเหนียวดำอร่อยด้วย ปิ้งขายหลายเจ้า มีข้าวหลามรสหนองมนขาย
ปูดอง ผลไม้แช่อิ่ม กะละแม ฯ
จากวัดหลวงพ่อพุทธโสธร ออกมาเลี้ยวขวามาผ่านอนุสวาวรีย์พระยาศรีสุนทรโวหาร
(น้อย อาจารยางกูร) อยู่ตรงมุมถนนศรีโสธร ท่านผู้นี้เป็นชาวแปดริ้ว เป็นนักปราชญ์
สมัยรัชกาลที่ ๕
ป้อมเมืองฉะเชิงเทรา
ผ่านหน้าอนุสาวรีย์ไปแล้ว ก็จะผ่านกองพันทหารช่าง ที่อยู่ติดกับแม่น้ำบางปะกง
ต้องหักเลี้ยวซ้ายเลียบริมน้ำจะผ่าน ป้อมเมืองฉะเชิงเทรา ซึ่งสร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่
๓ เสียดายที่การปรับปรุงพัฒนาทำน้อยมาก หญ้าจึงขึ้นรกพอควร น่าจะพัฒนาพื้นที่หลังป้อมให้เป็นสวนสาธารณะ
เหมือนป้อมแผลงไฟฟ้าที่พระประแดง ก็จะดูงามดี และยังจะเป็นที่พักผ่อนของประชาชนด้วย
ถนนสายหน้าป้อม หรือถนนมรุพงษ์นี้ จะเลียบแม่น้ำและมีหลายร้านอาหารอร่อย ๆ
หลายร้าน ยาวไปจนถึงวัดเมือง
วัดปิตุลาราชรังสฤษฎิ์) ตำบลหน้าเมือง เป็นวัดที่สร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่
๓ พ.ศ. ๒๓๗๗ พร้อมกับการสร้างป้อมและกำแพงเมือง โดยช่างฝีมือจากเมืองหลวง
เดิมเรียกว่า วัดเมือง ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๑๔ รัวชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสวัดเมือง
จึงได้พระราชทานนามใหม่ว่า "วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์" แปลว่า วัดที่สร้างโดยลุงของพระเจ้าแผ่นดิน
(ซึ่งก็ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินเช่นกัน)
ตรงต่อไป วิ่งลอดใต้สะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง
ซึ่งแม่น้ำนี้มีต้นกำเนิดจากทิวเขาสันกำแพง บนที่ราบสูงโคราช ตอนที่ไหลผ่านตัวเมืองปราจีนบุรี
เรียกว่า แม่น้ำปราจีนบุรี
พอมาผ่านอำเภอบางน้ำเปรี้ยวเรียกว่า แม่น้ำแปดริ้ว
ผ่านอำเภอบางคล้า เป็นต้นมาจนผ่าน อ.เมือง ออกสู่อ่าวไทยที่ อ.บางปะกง จีงจะเรียกว่า
แม่น้ำบางปะกง การท่องเที่ยวทางน้ำมีท่าเรือ ลงที่ท่าวัดหลวงพ่อ หรือหากจะไปดูปลาโลมา
ในช่วงเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม ก็ไปลงเรือที่ อ.บางปะกง เพราะปลาจะมาขึ้นให้ชมที่ปากอ่าวบางปะกง
ส่วนลงเรือหน้าวัดหลวงพ่อ จะผ่านอาคารตำหนักของกรมขุนมรุพงษ์ ศิริวัฒน์ ผ่านป้อม
กำแพงเมืองโบราณ อาคารศาลากลางหลังเก่า กลุ่มเรือนแพสมัยเก่า วัดวาอาราม ทั้งวัดไทย
จีน ฝรั่ง เช่น วัดเมือง วัดสัมปทวน วัดแหลมใต้
วัดสายชล วัดสายชล วัดเซนต์ปอล แล้วไปขึ้นฝั่งหาอาหารกลางวันกิน
ถ้าไปไกลก็ไปขึ้นวัดโพธิ์บางคล้า
ชมค้างคาวแม่ไก่ หากไปใกล้ก็ขึ้นบก กินกลางวันที่ตลาดบ้านใหม่
ชื่อใหม่นี้เป็นชื่อเรียกกัน เมื่อสร้างเสร็จใหม่ ๆ คือ เมื่อ "ร้อยปีแล้ว"
ผมจะพามากินอาหารกลางวัน ที่ตลาดนี้
เส้นทาง ไปวัดหลวงพ่อซำปอกง หรือวัดอุภัยภาติการาม รวมทั้งตลาดบ้านใหม่
จะวิ่งลอดใต้สะพานไปเลยก็ได้ แต่ต้องเลี้ยวขวาอีกที ผมจะบอกเส้นทาง
หากมารถยนต์จากกรุงเทพ ฯ มาตามถนนที่มาจากมีนบุรี จะผ่านสถานีรถไฟทางซ้าย
ตรงต่อมา เกือบจะข้ามสะพานข้ามแม่น้ำ จะมีถนนแยกซ้ายจะถูกบังคับให้เลี้ยวซ้าย
ชื่อถนนชุมพล วิ่งไปตามถนนชุมพล จะพบทางแยกขวาไปวัดแหลมใต้ (มีร้านอาหารพื้นบ้านแพ
ริมน้ำ ต้นตำรับที่ผมเรียกว่า "ปังแดง" ขนมปังโรยน้ำแข็ง ราดด้วยน้ำแดง) ให้ตรงผ่านสามแยกไป
จะผ่านเจ้าแม่กวนอิมลอยน้ำทางซ้าย (มูลนิธิสว่างศรัทธาธรรม) กำลังสร้างหอสูงหลายชั้น
เพื่อประดิษฐานยังไม่แล้วเสร็จ
วัดอภัยภาติการาม (วัดซำปอกง)
เลยเจ้าแม่กวนอิมลอยน้ำไป ก่อนถึงวัดเทพนิมิต จะถึงวัดซำปอกง มีลักษณะเหมือนศาลเจ้า
มีงิ้วฉลองในเดือนเมษายน เดิมเป็นวัดจีน แต่ปัจจุบันแปรสภาพเป็นวัดญวนในอนัมนิกาย
ในลัทธิมหายาน เมื่อเข้าไปจะพบพระสังกัจกายน์ อยู่ที่หน้าประตู มองเข้าไปจะเห็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่คือ
หลวงพ่อซำปอกง ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อ จะมีนักท่องเที่ยวจากฮ่องกง ไต้หวัน
สิงคโปร์ มาบูชา
เลยวัดหลวงพ่อซำปอกง ก็จะถึงวัดเทพนิมิต
ตรงข้ามวัดเทพนิมิต คือ ทางเข้าตลาดใหม่ ให้วิ่งเลยข้ามสะพานไปก่อน ไปยังวัดจีนประชาสโมสร
คือ วัดเล่งฮกยี่
นิกายมหายาน ขยายมาจากวัดเล่งเน่ยยี่ ที่ถนนเจริญกรุง ควรแก่การเข้าไปสักการะ
เช่น รูปปั้นท้าวจตุโลกบาล เทวรูปจีนอ้วยโห้ เจ้าแม่กวนอิม (สร้างจากรากไม้)
เทพว่องอ้วนตี่ วิหารบูรพาจารย์ วิหารตี่ซัวอ๋อง สระนทีสวรรค์ เทวรูปนักรบ
ขอลาภโดยเอาเงินไปใส่หนีบไว้ในมือ แล้วไปตีระฆังโบราณ กลับรถที่หน้าวัดแล้วย้อนกลับมาหาที่จอดรถแถว
ๆ หน้าตลาดบ้านใหม่ แต่เก่ากว่าร้อยปี เดินเข้าไปจะเห็นเรือนแถวไม้ แต่ไม่ค่อยมีสินค้าขาย
เหมือนตลาดคลองสวน กลายเป็นที่อยู่อาศัยเป็นส่วนใหญ่ไปหมดแล้ว
ร้านอาหารของสามสาว แต่สาวคนพี่นั้นอายุกว่าเจ็ดสิบปีแล้ว ตั้งขายตรงกลางตลาด
ใช้เตาฟืน ทำอาหารกันเป็นทีม เร็วมากราคาย่อมเยา คนพื้นบ้านนิยมมากินผัดไทย
เส้นหมี่ผัด คนต่างถิ่นมาทั้งที สั่งอาหารให้หนักเพราะอร่อย ถูก เช่น เป็ดพะโล้
ไส้หมูทอด ปลาทอดผัดกับใบกระเทียม ต้มยำกุ้ง (ไม่ทราบว่าสุขาอยู่หนใด)
หากเดินไปทางหลังร้าน ข้ามสะพานไปแล้วทางขวาคือ ร้านกาแฟโบราณ เยื้องสามสาว
คือ รถเข็นขายอาหารถุง อร่อยทุกอย่าง ถุงละ ๒๐ บาท
เดินเลยมาสัก ๒๐ เมตร ก็จะเป็นท่าน้ำลงสู่บางปะกง เรือนักท่องเที่ยวจะมาขึ้นฝั่งกินอาหารกันที่ตลาดใหม่นี้
หากตรงท่าน้ำเลย ก็ร้านบ้านป้า ราคาพอสมควร อาหารมากกว่า สถานที่กว้างขวาง
บรรยากาศดีเพราะอยู่ริมแม่น้ำ สุขายอดเยี่ยม ส.ว.พึ่งได้
ถ้าไม่กลัวราคา ก็ต้องกินกุ้งแม่น้ำตัวโต กก.ละ ๙๐๐ บาท ทำฉู่ฉี่กุ้งเยี่ยมนัก
น้ำพริกไข่ปู มีรสเปรี้ยวนิด ๆ เผ็ดก็นิดเดียว เนื้อปูผสมไข่ปู จัดผัดน่ากิน
ปรุง ๓ รส กลมกล่อม น้ำพริกสีเหลืองนวล คลุกข้าวร้อน ๆ กินก็เข้ากันดี
แกงเขียวหวานลูกชิ้นปลากรายลูกจาก สั่งจานนี้ สั่งขนมจีนมาด้วย เด็ดนัก
เปาะเปี๊ยะฮ่องกง หรือ จะสั่งหอยจ๊อ กรอบนอกนุ่มใน จิ้มน้ำบ๊วยเจี่ย
ส้มตำปูดอง จานนี้ก็ดีรสเข้ม
ของหวาน ลูกตาลลอยแก้ว หรือใครชอบรสเปรี้ยว เขามีไอศคริมผลไม้
............................................................
|