ผมไปเชียงใหม่คราวนี้ไปตอนกลางฤดูฝน ขับรถฝ่าฝนไปสนุกพิลึก และเดินทางค่อนข้างจะพิสดาร เพราะไม่ได้ไปตามเส้นทางสายตรงที่ควรจะไปคือ เส้นทางที่ไปตามถนนพหลโยธิน ผ่านอยุธยา สิงห์บุรี ชัยนาท อุทัยธานี นครสวรรค์ กำแพงเพชร ตาก ลำปาง แล้วแยกจากพหลโยธินเข้าทางสาย ๑๑ (อินทร์บุรี - เชียงใหม่) ไปเชียงใหม่ เป็นเส้นหลักในการเดินทางไปเชียงใหม่ ซึ่งเส้นทางนี้ถนนจุเป็นถนนสี่เลนหรือหกเลนหมดแล้ว หากขับความเร็วไม่เกินกฎจราจรกำหนดไว้รับรองว่าไม่มีอันตราย และเส้นทางที่จะผ่านบนเขาไม่มากคือคดเคี้ยวไปตามไหล่เขา ช่วงห้างฉัตรไปยังแม่ทา ต่อจากนั้นไปยังลำพูนถึงเชียงใหม่ล้วนเป็นเส้นทางในที่ราบ ชายชราปูนผม ขับถึงเชียงใหม่ได้ในเวลา ๑๐ - ๑๒ ชั่วโมง แต่ผมอยากไปเที่ยวพิจิตร ซึ่งไม่ได้ไปมาหลายปีแล้ว ไม่ทราบว่าการท่องเที่ยวจะก้าวหน้าไปอย่างไร จึงแยกจากพหลโยธินที่นครสวรรค์แล้วไปตามถนนสาย ๑๑๗ ไปเลี้ยวขวาเข้าพิจิตรที่สามแยกหนองหัวปลวก (๒๔ กม.จะถึงพิจิตร) กินข้าวกลางวันที่พิจิตร ๑ มื้อ ร้านที่เคยชิมกันมา ต่อจากนั้นก็ไปนอนที่พิษณุโลก พอหรุ่งขึ้นเช้าไปไหว้พระพุทธชินราช ซึ่งทุกครั้งที่มาเยือนพิษณุโลก ถึงจะมีเวลาน้อยก็วจะต้องไปนมัสการพระพุทธชินราช แล้วไปกราบสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ศาลของท่านอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่านตรงข้ามกับวัดพระศรีมหาธาตุ จากพิษณุโลกไปตามถนนสายพิษณุโลก - หล่มสัก ทางหลวงแผนดินสาย ๑๒ ใครอยากฝึกปรือ หรือทดลองฝีมือในการขับรถบนเขาให้สนุก ให้ลองไปตามเส้นทางนี้ ซึ่งไปสมัยนี้ถนนส่วนใหญ่จะสี่เลนหมดแล้ว แต่จะคดเคี้ยวไปตามไหล่เขาร่วมร้อย กม. ไปตามสาย ๑๒ ประมาณ ๖ กม. ก็จะแยกซ้ายที่สี่แยกอินโดจีน ที่เขาปักป้ายบอกระยะทางไปนอกประเทศเช่น ไปกัวลาลัมเปอร์ ไปลาวเป็นต้น เส้นนี้จะผ่านไปยังอุตรดิตถ์ (ผ่านทางแยกขวาเข้า อ.ทองแสนขัน ที่มีบ่อเหล็กน้ำพี้) เด่นชัย ซึ่งหากแยกขวาจะไปยังแพร่ น่าน พะเยาได้ แต่ผมเลี้ยวซ้ายมาผ่านวัดพระธาตุสุทนคีรี แล้วเลี้ยวขวาไปยังลำปาง ช่วงที่สนุกด้วยการวิ่งรถบนเขาคือ ชาวงมาอุตรดิตถ์ช่วงหนึ่ง และช่วงจากเด่นชัย มาลำปางมีขึ้นเขา ๒ ช่วงด้วยกัน จากลำปางเมื่อมาตัดกับถนนไฮเวย์ที่ผ่านลำปางไปเชียงรายแล้ว ก็เลี้ยวขวาเข้าสาย ๑๑ ไปต่อยังลำพูน เชียงใหม่ เชียงใหม่ เดี๋ยวนี้มีทัวร์พาไปไหว้พระเก้าวัดเช่นเดียวกับกรุงเทพ ฯ ซึ่งไหว้พระเก้าวัดของกรุงเทพ ฯ นั้นเดี๋ยวนี้ การท่องเที่ยวเปลี่ยนแปลงไปคือ เมื่อก่อนไม่มี วัดอรุณราชวราราม กับวัดกัลยา ฯ เดี๋ยวนี้มี วัดที่เคยมีแล้วหายไปคือ วัดสระเกศ กับวัดบวรนิเวศ กรุงเทพ ฯ ๙ วัด จึงมีวัดพระแก้ว ศาลหลักเมือง วัดชนะสงคราม วัดสุทัศน์ ศาลเจ้าพ่อเสือ วัดเชตุพน วัดระฆัง วัดอรุณ และวัดกัลยา ส่วนที่เชียงรายมีไหว้พระธาตุเก้าจอม ผมเคยเล่าไปแล้วครั้งหนึ่ง แต่ยังไม่ได้ไปสำรวจให้ละเอียด ไปคราวนี้ก็สำรวจได้ไม่ครบทั้งเก้าจอม ขอผลัดไปเล่าในภายหลัง การไหว้พระเก้าวัดของเชียงใหม่ มีทัวร์นำเที่ยวรับจากรถไฟ หรือท่าอากาศยาน พาไปนอนโรงแรมแถว ๆ แม่ริม คืนหนึ่ง รุ่งขึ้นจึงพาวทัวร์ดูเหมือนราคาคนละสี่พันบาทเศษ ผมทราบวนัดแล้วผมไปของผมเองสนุกกว่า ได้ความรู้มากกว่า ขยันขับรถหน่อยก็แล้ววกัน เก้าวัดในเชียงใหม่ ลองจัดลำดับการไปไหว้พระเสียก่อน ว่าควรเดินทางไปวัดไหนก่อนหลัง ผมลองจัดดู ได้ดังนี้ เริ่มต้นจากไหว้พระหรือเที่ยววัดเจ็ดยอด (วัดโพธารามมหาวิหาร) วัดสวนดอก วัดพระสิงห์ วัดับภัย วสัดหมื่นเงินกอง วัดเจดีย์หลวง วัดดวงดี วัดชัยมงคล และวัดเชียงมั่น (อาจไปก่อนตอนไปวัดเจดีย์หลวง แล้วก็ได้เพราะใกล้กัน) จากลำพูนมาตามถนนไฮเวย์ เมื่อสมัยที่ผมรับราชการอยู่ที่เชียงใหม่ ถนนสายนี้พึ่งเริ่มสร้าง พอผมไปรบเวียดนามกลับมาถนนก็สร้างเสร็จ แต่ผมก็ย้ายมาเป็นอาจารย์โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ได้อยู่กรุงเทพ ฯ กับเขาเป็นครั้งแรก และผมเป็นคนโชคดีคือ ย้ายไปไหนได้ไปอยู่ที่ถนนแย่ไปมาลำบากทุกที พอจะย้ายออกเขาก็เริ่มสร้างเช่น ไปอยู่ปราจีนบุรี ไปอยู่ทุ่งสง เป็นต้น มาตามถนนไฮเวย์ จนผ่านทางแยกขวาไปสันกำแพง ไปดอยสะเก็ด ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำปิงผ่าน "ตลาดคำเที่ยง" จำต้นโพธิ์ต้นใหญ่ตรงมุมตลาดไว้ให้ดี ๆ โอกาสหน้าผมจะพามาเที่ยวย่านช๊อปแห่งใหม่ และแหล่งอาหารย่านใหม่ของเชียงใหม่คือ "ย่าน เจ เจมาร์เก็ต" เลยคำเที่ยงมาแล้ว วันที่มานี้ถนนกำลังขยายจนมาถึงสี่แยกที่เลี้ยวขวาไป อ.แม่ริม เลี้ยวซ้ายไปยังประตูช้างเผือก ตรงต่อไปวัดเจ็ดยอดจะอยู่ทางขวามือ วัดเจ็ดยอด (พระอารามหลวง) ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง เชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.๑๙๙๙ พระเจ้าติโลกราช สดับธรรมบรรยายเรื่องอานิสงส์ในการปลูกต้นโพธิ์ จึงมีพระราชประสงค์ที่จะปลูกต้นโพธิ์ ทรงพิจารณาหาสวถานที่และโปรดให้สร้างอารามอรามขึ้นแห่งหนึ่ง เพื่อเปว็นที่พำนักของพระมหาเถระนาม "อุตตมปัญญา" สถานที่นี้คือ วัดมหาโพธาราม แล้วทรงสร้างสัตตมหาสถาน (คือ สถานที่ ๗ แห่ง ซึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่แห่งละ ๗ วัน ภายหลังบที่ตรัสรู้แล้ว) ต่อมาในปี พ.ศ.๒๐๒๐ พระเจ้าติโลกราช โปรด ฯ ให้ใช้วัดมหาโพธาราม เป็นที่ประชุมสังคายนาพระไตรปิฏกเป็นครั้งที่ ๘ ของโลก และมีความสำคัญอีกหลายประการเช่น เมื่อ พ.ศ.๒๐๓๑ สร้างสถูปบรรจุพระอัฐิของพระเจ้าติโลกราช การสร้างพระอุโบสถ ณ สถานที่ถวายพระเพลิงพระเจ้ายอดเชียงราย เมื่อ พ.ศ.๒๐๕๓ ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๐๕๙ สถาปนาเจ้าอาวาสวัดมหาโพธารามเป็นพระสังฆราช สิ่งสำคัญภายในวัดนอกจากสัตตมหาสถาน (เหลือไม่ครบ ๗ แห่งแล้ว) ก็มี "เจดีย์วิหาร" คือวิหารเจ็ดยอด ที่เด่นเป็นสง่าอยู่กลางวัด เจดีย์บรรจุพระเจ้าติโลกราช เป็นเจดีย์ทรงปราสาทยอดทรงระฆัง กู่ประดิษฐานพระแก่นจันทร์ มิมิตเจดีย์ ซุ้มประตูโขง ไปวัดเจ็ดยอดเข้าไปนมัสการพระพุทธรูปสำคัญในพระวิหารพระเจ้า ๗๐๐ ปี (เข้าประตูมาอยู่ทางขวามือ) คือพระพุทธชัยมงคลสิทธิเทพมหามนี (สร้างด้วยไม้ตะเคียนอายุ ๗๐๐ ปี) และนมัสการในวิหารเจ็ดยอด วัดสวนดอก ตำบลสุเทพ จากวัดเจ็ดยอด กลับมาออกถนนไฮเวย์แล้วกลับรถวิ่งตรงมาถึงสี่แยกโรงแรมรินคำ ตรงต่อไปจนบรรจบกับถนนสายที่ผ่านหน้าโรงพยาบาลมหาราช - ตลาดต้นพะยอม วัดสวนดอกจะอยู่ทางซ้ายมือ สังเกตง่ายมีกลุ่มเจดีย์ขาวสะอาดมากมายหลายองค์ เมื่อ พ.ศ.๑๙๑๔ พระเจ้ากือนา ได้ยกอุทยานของพระองค์ให้เป็นวัดชื่อว่า "วัดสวนดอกไม้" แล้วอาราธนาพระมหาสุมนเถระจากวัดพระยืน ใให้มาจำพรรษายังเมืองเชียงใหม่ที่พระอารามแห่งนี้ ต่อมาราว พ.ศ.๑๙๑๖ พระสุนเถระ ได้สร้างเจดีย์ขึ้น เพื่อบรรจุพระบรมธาตุที่นำมาสด้วย สิ่งสำคัญภายในวัดคือ พระเจ้าเก้าตื้อ ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารวัดเก้าตื้อ ซึ่งปัจจุบันวัดเก้าตื้อได้รวมกับวัดสวนดอก พระพุทธรูปองค์นี้สรน้างเมื่อ พ.ศ.๒๐๔๗ เจดีย์ประธานทรงระฆังแบบพื้นเมือง ตั้งอยู่บนฐานขนาดใหญ่ วิหาร เป็นวิหารโถงขนาดใหญ่ สร้างวโดยครูบาศรีวิชัย กู่บรรจุอัฐิเชื้อสายเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เป็นกลุ่มเจดีย์สีขาวสะอาด ปัจจุบันเป็นวิทยาเขต มหาวิทยาลัยจุฬา ฯ และนำหน่อต้นโพธิ์จากพุทธคยามาปลูกไว้ด้วย วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร ตำบลพระสิงห์ จากวัดสวนดอกวิ่งกลับมาผ่านหน้าโรงพยาบาลถึงสี่แยก (ตรงมาไม่ได้) ต้องเลี้ยวซ้ายไปกลับรถมาแล้วเลี้ยวซ้าย ถึงสี่แยกมีไฟสัญญาณ เลี้ยวขวาวัดพระสิงห์ ฯ จะอยู่ทางขวามือ (ประตูวัดจะตรงกับถนนที่ไปยังประตูท่าแพ และจะเป็นถนนคนเดินในคืนวันอาทิตย์) วัดนี้เดิมชื่อว่า วัดพระเชียง พระเจ้าผายุทรงสถาปนา เมื่อ พ.ศ.๑๘๘๗ และโปรดให้สร้างพระเจดีย์บรรจุอัฐิ และอังคารของพระเจ้าคำฟูพระราชธิดา และนิมนต์พระอภัยจุฬาเถระพร้อมศิษย์จากหริภุญชัยมาจำพรรษาที่นี่ วัดพระสิงห์จึงเป็นศูนย์กลางของนิกายพื้นเมืองเดิม สิ่งสำคัญภายในวัด มีเจดีย์ประธาน เป็นเจดีย์ทรงระฆังแบบพื้นเมือง ฐานมีช้างล้อมบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และถือเป็นเจดีย์ของคนเกิด "ปีมะโรง" ควรได้ไปไหว้ให้ได้สักครั้งในชีวิต วิหารลายคำ อยู่ติดกับเจดีย์ประธาน ด้านหน้าของพระอุโบสถ ประดิษฐาน "พระสิงห์" มีจิตกรรมลายคำภาพจิตรกรรฝาผนังเรื่องสังข์ทอง และสุวรรณหงส์ ซึ่งเขียนโดยช่างชื่อเจ๊กเส็งและหนานโพธา ผู้เขียนเรื่องสังข์ทองน่าจะเป็นช่างพื้นเมือง ได้สอดแทรกวิถีชีวิตของชาวเมืองไว้ พระอุโบสถ สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.๒๓๕๕ มีมณฑปทรงปราสาท ประดิษฐานพระพุทธรูปประธาน หันหน้าออกทางประตูพระอุโบสถ (เดิมด้านนี้เป็นด้านหลังของพระอุโบสถ) และด้านฝหน้าพระประธาน ประดิษฐานพระแก้วมรกตจำลอง ซึ่งผมเป็นผู้นำไปถวายเอาไว้ และเดิมผมสร้างแท่นหินอ่อนประดิษฐาน แต่เมื่อ ๒ - ๓ ปี มานี้ทางวัดคงเห็นว่าไม่งาม จึงหันหน้าประตูพระอุโบสถลงไปทางใต้ และรื้อแท่นหินอ่อนออก นำพระแก้วมรกตไปประดิษฐานอยู่ด้านหลังของพระประธาน "พระเจ้าทองทิพย์" ผมไปเชียงใหม่ครั้งใดก็ไปนมัสการพระประธานในพระอุโบสถ พระสิงห์ในพระวิหารลายคำและชื่อนใจเมื่อได้ไปนมัสการพระแก้วมรกตที่ได้นำไปถวายไว้ หอไตร เป็นอาคารสองชั้น สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.๒๓๕๕ งามด้วยประติมากรรมเทวดาและลวดลายปูนปั้นรูปสัตว์ในกรอบช่องกระจก ขอออกนอกวัดพระสิงห์ไปสักนิด เพราะไปนมัสการในครั้งนี้เห็นแล้วก็ชื่นใจเช่นกันคือผมสร้างศานสถานไว้ที่กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๗ ซึ่งอยู่ที่ อ.แม่ริม สร้างเมื่อผมเป็นผู้บังคับกองพัน สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๘ และอัญเชิญพระพุทธรูปเชียงแสนอายุกว่าสี่ร้อยปีเป็นของกองพันที่ผู้ผู้บังคับกองวพันที่นับถือคริสต์นำไปถวายไว้ที่วัดเมืองกราย นำกลับมาแล้วสร้างวิหารยื่นลงไปในสระน้ำถวายหลวงพ่อ ผู้บังคับกองพันคนต่อ ๆ มาบางคนก็ได้บูรณะศาสนสถาน บางคนก็ไม่เหลียวแล แต่ส่วนใหญ่จะบูรณะ ตกแต่งเพิ่มเติมจนสวยงามยิ่งกว่าที่ผมสร้างไว้ ไปคราวนี้ทราบว่ามีผุ้มีจิตศรัทธาขออนุญาตบูรณะใหม่ สร้างเสียงดงามมาก และให้ช่างของกองพันมือระดับจิตรกรวาดภาพเพิ่มเติมตามผนัง ตามแนวที่ผมได้แนะนำไๆว้ในภายหลัง เสียนิดเดียวตรงที่อุตริวาดภาพของผมในชุดเต็มยศ แต่ใส่สายสะพายมหาปรมาวภรณ์ช้างเผือกกลับข้าง ร้านอาหารที่จะพาไปชิมวันนี้ ชิมไวด้ตั้งแต่เจ็ดโมงเช้าไปจนยถึงบ่ายสองโมง เป็นร้านข้าวต้ม ที่เขาเปิดขายกันในตอนกลางยคืน แต่ร้านนี้ขายเช้ายันบ่าย (มีอีกร้านขายเช้ายันเย็น ข้าวต้มเครื่องอยู่ที่ชลบุรี) พึ่งย้ายมาอยู่ไวด้สักสิบปีเศษ แต่เดิมไม่ได้อยู่ตรงนี้ เส้นทางไปร้านปฐม หากรู้จักมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ก็ง่าย เพราะอยู่ตรงข้ามมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ หากมาจากประตูช้างเผือก วิ่งตรงมาผ่านแยกมีไฟสัญญาณผ่านประตูมหาวิทยาลัย ร้านอยู่ทางซ้ายฝมือ ร้านขนาด ๒ ห้อง เห็นหม้ออาหารตั้งอยู่หน้าร้าน กินข้าวต้มร้านนี้ ต้องสั่งอาหารจานเด็ดคือ จับฉ่าย ที่มีรสไม่เหมือนใคร และใส่แคบหมูต้มลงไปด้วย ผักเปื่อย ไม่ยุ่ย ได้เคี้ยวแทบจะลืมซดข้าว เมื่อตักจับฉ่ายเข้าปาก เสริฟมาร้อน ๆ พร้อมข้าวต้มร้อน ๆ หรือชอบข้าวสวยก็สั่งมาพุ้ยได้ หน่อไม้จีนต้มกระดูกหมู มีหน่อไม้อ่อน ๆ ฯ้ำซุปหวานหอม เนื้อหมูติดโครงเปื่อยร่อน พะโล้ สั่งพะโล้รวมจะได้มาทั้งไส้หมู ขาหมู กระเพาะหมู ลิ้น เต้าหู้ เลือดหมู เต็มจาน หมูเค็มทอด อย่าโดดข้ามไป เข้ากันดีนักจับฉ่ายแล้วซดข้าวต้มร้อน ๆ ตาม ไก่คั่ว กุนเชียง ก็สั่งมาชิมอร่อยอีก แม้แต่ผัดมะเขือยาว ผัดเองที่บ้านไม่เห็นได้รสและสุกพอดีอย่างนี้ ร้านนี้บริการรวดเร็วมาก ยิ่งกว่าอาหารฟาสต์ฟู้ด บางโต๊ะที่เขาคงมากินประจำจนรู้จักกันดี พอนั่งยังไม่ทันเรียบร้อย ชามจับฉ่ายยกมาวางโดยไม่ต้องสั่ง สั่งกับข้าว ๕ - ๖ อย่าง รับรองว่าไม่ถึง ๕ นาที ยกมาตั้งเต็มโต๊ะแล้ว ข้อสำคัญราคาถูกมาก อร่อย ถูก น่าชิม