ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > มรดกไทย > มรดกท่องเที่ยว > ไหว้พระสองเมือง
 
ไหว้พระสองเมือง

ไหว้พระสองเมือง

            ผมไปตักบาตรเทโวที่จังหวัดอุทัยธานีแล้ว ได้มีโอกาสไปไหว้พระสองเมือง เขานิยมไหว้พระเก้าวัดกัน ผมก็นิยมตามแต่เผอิญไปไหว้คราวนี้ ไปเกิน ๙ วัดและเส้นทางไปผ่านหลายจังหวัดจึงกลับบ้าน เลยต้องชื่อว่าไหว้พระ ๒ เมืองคือ เมืองอุทัยธานี และเมืองสุพรรณบุรี ที่สุพรรณบุรีนั้นกำลังนิยมไปไหว้พระเก้าวัด ที่วัดตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน หรือชาวสุพารรณเรียกว่า แม่น้ำสุพรรณ (ชาวนครชัยศรี จ.นครปฐมเรียกแม่น้ำช่วงที่ไหลผ่านอำเภอว่า แม่น้ำนครชัยศรี ๓ ชื่อเป็นแม่น้ำเดียวกัน)
            ที่อุทัยธานี ผมพักอยู่ที่โรงแรม อยู่ใกล้ ๆ ท่าขนส่ง นอนอยู่ ๒ คืน ได้ไปตักบาตรเทโวสมใจที่อยากมา ไหว้พระในตัวเมืองอุทัยได้แก่ วัดสังกัสรัตนคีรี วัดอุโปสถาราม วัดท่าซุง หรือวัดจันทาราม วัดธรรมโฆษก หรือวัดโรงโค วัดมณีสถิตกปิฎฐาราม (พระอารามหลวง)
            เดินทางกลับบ้าน แต่เส้นทางไม่ซ้ำกับวันมา ซึ่งมาผ่านชัยนาท วันนี้เดินทางกลับทางจังหวัดสุพรรณบุรี เพราะตั้งใจจะไปไหว้พระวัดถ้ำเขาวง และไหว้เก้าวัดที่ริมแม่น้ำสุพรรณบุรี จาก อ.เมือง มาตามถนนสายผ่านหน้าวัดสังกัสรัตนคีรี คือทางหลวงสาย ๓๓๓ จะมาผ่านอำเภอหนองขาหย่าง ซึ่งมีวัดสำคัญคือ วัดหนองพวง อยู่ติดถนนทางขวามือ วัดนี้สร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๐๐ อุโบสถมีลักษณะโบสถ์ท้องสำเภา
            อำเภอหนองฉาง มีวัดสำคัญคือ วัดหนองขุนชาติ และวัดในเมืองอุทัยเก่า ไปวัดหนองขุนชาติ ขับรถตรงเข้าตัวอำเภอ (อย่าเลี้ยวซ้ายที่สามแยก) วิ่งไปแล้วเลี้ยวซ้าย พอถึงสามแยกเลี้ยวซ้ายจะไปวัดหนองขุนชาติ หากเลี้ยวขวาจะไปเมืองอุไทยธานีเก่าเลี้ยวซ้ายก่อน ไปวัดหนองขุนชาติ สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ มีพระพุทธบาทจำลอง
                เมืองอุไทยธานีเก่า  เลี้ยวขวาที่สามแยก ตามป้ายไปเรื่อย ๆ ๑.๕ กม.จะถึงวัดแจ้ง วัดนี้อยู่ริมถนนบูรณะใหม่หมดแล้ว ของเก่าโบราณคือ พระปรางค์ สร้างมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๐๘๑ มีภาพจิตรกรรมในอุโบสถ เป็นพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พี่งเขียนเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๙ เล่าไว้ว่าสมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ เคยมาศึกษาวิชาอีกวัดอยู่ลึกเข้าไปคือ วัดหัวเมือง ซึ่งยังมีซากโบสถ์เก่าแบบอยุธยา และเจดีย์โบราณ
            จากตัวอำเภอหนองฉาง ย้อนกลับมาที่สามแยก เลี้ยวขวามุ่งหน้าไปตามถนน ๓๓๓ ซึ่งระยะทางถึง อ.บ้านไร่ ๕๙ กม. แต่พอมาได้ ๓ กม.หากเลี้ยวขวาจะไปยัง หุบป่าตาด ไปตามถนน ๓๔๓๘ ไปบ้านไร่ ไม่เลี้ยวขวาคงตรงต่อไป กม.๕๔ จะถึงเมืองโบราณบ้านการุ้ง ไม่มีซากเมืองให้ชมแล้ว นอกจากศาลเจ้าแม่การุ้ง อยู่ติดถนน และติดคูเมืองเดิม ซึ่งกว้างพอสมควร ศาลเจ้าแม่การุ้งชาวบ้านนับถือมาก สังเกตได้จากพวงมาลัยที่นำมาบูชา และนำไข่ต้มมาถวาย เข้าใจว่าคงจะนำมาแก้บน
            จากศาลเจ้าแม่การุ้ง วิ่งไปนิดเดียวถึงสามแยกด่านช้าง กม.๗๑ หากเลี้ยวซ้ายไปตามถนน ๓๓๓ จะไปยัง อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี หากตรงไปก็จะเข้าตัวอำเภอบ้านไร่ กม.๗๘ มาบ้านไร่เพราะตั้งใจจะมาสำนักปฏิบัติธรรมที่มีชื่อเสียง และสวยงามคือ

                วัดถ้ำเขาวง  วิ่งเข้ามายังตัวอำเภอ แล้วเลี้ยวขวาไปทางโรงพยาบาลบ้านไร่ ถนนสาย ๓๐๑๑ พอถึงหน้าโรงพยาบาลทางซ้ายมือ มีร้านอาหารอร่อยที่จะแวะชิมมื้อเที่ยง วันนี้
                วิ่งผ่านโรงพยาบาลไป ๑๒ กม.แล้วเลี้ยวซ้ายตามป้ายวนอุทยานถ้ำเขาวง (วนอุทยานอยู่เลยวัดไป ๓ กม.)  เมื่อถึงทางเข้าวัดมีป้ายบอกให้เลี้ยวซ้ายเข้าไป
                วัดร่มรื่น ตั้งอยู่บนเนินเขา ริมสระน้ำใหญ่ ด้านหน้ามีร้านสหกรณ์ของวัด ติดสหกรณ์มีถ้ำจำลอง ในถ้ำมีพระบรมสารีริกธาตุ มีพระพุทธรูป มีพระสงฆ์รับการถวายสังฆทาน ในสระน้ำมีปลา มีอาหารปลาวางไว้จำหน่ายถุงละ ๑๐ บาท เดินเลียบสระน้ำไปจนถึงเชิงบันไดขึ้นสู่ตัววัด ทางขวามีศาลาหลวงพ่อปุญสิทธิ์ เดินขึ้นบันไดไปสู่ตัวอาคารไม้มี ๔ ชั้น ชั้นแรกเป็นลานเอนกประสงค์ ชั้น ๒ เป็นที่ปฏิบัติธรรม ชั้น ๓ เป็นที่ว่าง อาจจะใให้ผู้มาปฏิบัติธรรมพักได้ ชั้น ๔ เป็นอุโบสถและแขวนป้ายบอกไว้ว่าเป็นที่ชมวิวด้วย มองลงไปที่สระน้ำสวยมาก ห้องนี้มีพระประธาน ๑ องค์ ทั่วบริเวณวัดเงียบสงบ น่าเลื่อมใส ทางขวาของบันไดทางขึ้นจะมีธารน้ำตกไหลผ่านลงสู่สระ
                กลับจากวัดถ้ำเขาวง พอดีเวลาอาหารกลางวัน  ร้านนี้อยู่ฝั่งตรงข้ามกับโรงพยาบาล มีศาลาอาหารร่มรื่นด้วยพันธ์ไม้ มีห้องแอร์ มีป้ายคลีนฟู๊ด กู๊ด เทสท์  ยังอยู่ในท้องที่ของเมืองอุทัย ต้องเน้นที่อาหารปลา
                ปลาเนื้ออ่อน ทำทอดกระเทียม ฉู่ฉี่ ทอดสามรส สั่งเสีย ๒ อ่อนเลยคือ
                แกงป่าปลาเนื้ออ่อน มะเขือเปราะ มะเขือพวง พริกหยวก ถั่วฝักยาว ฯ เรียกว่า ผักแน่นชามเป็นป่าจริง ๆ ปลาเนื้ออ่อน หั่นมาเป็นชิ้นแล้วทอด
                ปลาเนื้ออ่อนราดพริก หั่นมาเป็นชิ้นแล้วทอด ราดพริก โรยใบโหระพา เผ็ดอ่อน ๆ
                ห่อหมกทะเล ไม่น่าเชื่อมาพบห่อหมกทะเลยอดอร่อยที่กลางป่าบ้านไร่
                อิ่มแล้ว กลับเข้ามาตัวอำเภอบ้านไร่ เที่ยวตลาด สังเกตว่าอำเภอนี้มีร้านเบเกอรี่มากถึง ๓ ร้าน แวะชิม สั่งกาแฟ ไอศรีม เค้กมาชิม อร่อยจริง
                จาก อ.บ้านไร่ มายัง อ.ด่านช้าง (จากสามแยก ๓๒ กม.) ด่านช้างเป็นอำเภอใหญ่ หากเลี้ยวซ้ายที่ตัวอำเภอจะไปยัง อ.เดิมบางนางบวช ผมคนประเภทอุตริ (ทำให้รู้จักเส้นทางมาก)  ไม่เลี้ยวไปเดิมบาง ฯ ตามป้าย (ซึ่งจะไปผ่านบึงฉวากด้วย)  แต่ตรงไปตามป้ายไปอู่ทอง ตามถนน ๓๕๐๒ จะผ่านแยกเข้า อ.สามชุก (ตลาดร้อยปี) เข้า อ.ดอนเจดีย์ ตรงราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช แล้วต่อไปยัง อ.ศรีประจันต์ ยังไม่ตระเวนไหว้พระเก้าวัด เพราะเย็นแล้ว พักที่ รีสอร์ท  ริมแม่น้ำท่าจีน มีอาหารอร่อย   เช้าพระพายเรือมารับบาตร ใส่บาตร รีสอร์ทนี้ร่มรื่น บ้านพักมีหลายแบบ ราคาไม่แพง พร้อมอาหารเช้า
                หลังอาหารเช้า ออกตระเวนไหว้พระเก้าวัด หากตรงมาจากกรุงเทพ ฯ ขอแนะนำว่าอย่าเพิ่งเริ่มต้นที่วัดมหาธาตุ ให้ตรงมาตามถนน ๓๔๐ ถนนสายที่มา อ.ศรีประจันต์ (เสาร์ - อาทิตย์ เปิดตลาด "ตลาดเก่า ศรีประจันต์ บ้านเจ้าคุณ")  แล้วเลี้ยวซ้ายที่ กม. ๑๐๓.๕๐ ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำไป "โพธิ์พระยา" ลงสะพานถึงสามแยกจะมีป้ายใหญ่บอกไว้ บอกระยะทางด้วยว่า ๙ วัดมีวัดอะไรบ้าง "วัดสุดท้ายคือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ระยะทางจะห่างจากป้ายที่สามแยกประมาณ ๘ กฒ.เริ่มต้นกันที่โพธิ์พระยา
                วัดสว่างอารมณ์  เป็นวัดแรกที่จะเข้าไปไหว้พระ วัดนี้มีโบสถ์เก่าประตูเดียว มีศาลาการเปรียญ เป็นเรือนไทย ไหว้พระเอาเคล็ดที่ชื่อวัดคือ สว่างอารมณ์ และมีหลวงพ่อหลีบารมีสูงส่ง มีการพบกรุของพระมเหศวร มีชื่อด้านอยู่ยงคงกระพัน และเมตตา
                วัดชีสุขเกษม  เป็นวัดที่ ๒ ทั้ง ๙ วัด ไปตามถนนสายเดียวกัน และตัววัดนั้นจะอยู่ริมถนน แต่อาจจะหันหน้าอุโบสถออกไปทางแม่น้ำ เพราะเมื่อก่อนถนนไม่มียังไม่ได้ตัด การสัญจรต้องมาทางแม่น้ำ วัดนี้ไหว้พระศักดิ์สิทธิ์อายุกว่า ๑,๐๐๐ ปี ลักษณะเป็นพระพุทธรูปยืน เนื้อหินสีเขียว สร้างในสมัยทวารวดี นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปปางสะดุ้งมาร สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ มีเจดีย์ทรงระฆังครอบสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย นมัสการหลวงพ่อแสงทอง แม่ชีศุขเกษม ในอุโบสถมีภาพจิตรกรรม
                วัดพิหารแดง  ไหว้พระประธานในอุโบสถนามว่า "พระพุทธทศพลญาณมหามุนี" วัดนี้สร้างมาตั้งแต่ พ.ศ.๑๘๘๐ เป็นวัดเก่าแก่ มีพระบรมสารีริกธาตุที่หอระฆัง มีกุฎิเก่าแก่แต่ยังไม่มีพระอยู่ พระประธานในอุโบสถ ศาลาการเปรียญ หันหน้าเข้าหาแม่น้ำ
                วัดพระนอน  นมัสการพระพุทธรูปปางไสยาสน์สลักจากหิน นอนหงายขนาดเท่าคนโบราณ ประมาณ ๒ เมตร ลักษณะคล้ายพระนอน ที่เมืองกุสินารา ประเทศอินเดีย เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งใน  UNSEEN THAILAND โบสถ์เป็นโบสถ์ขนาด ๕ หน้าต่าง สวย หน้าโบสถ์หันสู่แม่น้ำ กลางวัดมีต้นยางสูงใหญ่ พระนอน ประดิษฐานอยู่ในวิหาร ริมแม่น้ำ ในวิหารนอกจากจะมีพระนอนแล้ว ยังมีรูปหล่อของสมเด็จโต หลวงพ่อเงิน หลวงพ่อปาน และหลวงปู่ทวด
                หน้าวิหาร ริมแม่น้ำ มีป้ายขนาดใหญ่ "อุทยานมัจฉาแห่งชาติ"  ซึ่งเข้าโครงการของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ ได้พระราชทานนามไว้ ในแม่น้ำหน้าวิหารมีแพ ลงไปให้อาหารปลาได้ มีปลามาก เป็นปลายี่สก และปลาตะโกก วัดนี้คนมาไหว้พระมาก
                วัดหน่อพุทธางกูร  วัดนี้ไม่ได้อยู่ริมแม่น้ำ อยู่ทางขวาของถนน มีจิตรกรรมฝาผนัง มีกุฎิไม้ ได้รับการบูรณะเรียบร้อยแล้ว มีศาลรูปหล่อหลวงพ่อดำ เกจิอาจารย์ ภาพจิตรกรรมอยู่ในโบสถ์ เขียนในสมัยรัชกาลที่ ๓ ในปี พ.ศ.๒๓๖๙ เจ้าอนุวงศ์เป็นกบฎ เมื่อกองทัพไทยปราบได้แล้ว ได้กวาดต้อนชาวลาวเวียงจันทน์เข้ามาอยู่ในไทย แยกย้ายกันอยู่หลายแห่ง ชาวลาวส่วนหนึ่งได้ให้มาตั้งหลักแหล่งที่ตำบลพิหารแดง สุพรรณบุรี  และได้ช่วยกันสร้างวัดขึ้นชื่อ วัดมะขามหน่อ นายดำ เป็นคนหนึ่งที่ถูกกวาดต้อนมา แต่ไปพักอาศัยอยู่ที่กรุงเทพ ฯ เมื่อทราบว่าพี่น้องชาวลาวอยู่ที่พิหารแดง จึงติดตามหาและพอดีชาวลาว สร้างวัดมะขามหน่อสำเร็จ นายดำจึงอาสาเขียนภาพให้ และยังเรียกนายเทศ บุตรเขยมาช่วยวาดภาพ เมื่อเขียนเสร็จแล้ว นายดำก็กลับกรุงเทพ ฯ ส่วนนายเทศตั้งรกรากอยู่ที่พิหารแดง จนได้เป็นกำนัน ภาพงามมาก ด้านหลังพระประธานเป็นภาพพระเจดีย์จุฬามณี บนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีภาพพุทธประวัติภาพในทศชาติชาดก ภาพเทวดา นางฟ้าถือพานดอกไม้ เครื่องบูชา
                วัดพระลอย  อยู่ริมแม่น้ำ มีอุทยานมัจฉา ศาลเจ้าแม่กวนอิม และวิหารหลวงพ่อขาว หลวงพ่อขาวเป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก เนื้อหินทรายสีขาว สมัยลพบุรี ศิลปะบายน หน้าตักกว้าง ๑ ม. สูง ๒ ม. วัดนี้ดั้งเดิมเป็นวัดร้าง สองวัดคือ วัดกระโจมทอง และวัดมาลา จนมีพระพุทธรูปหินทราย ลอยน้ำมาติดที่ริมฝั่ง ชาวบ้านจึงทำพิธีอัญเชิญขึ้นจากน้ำ แล้วช่วยกันสร้างวัดขึ้นใหม่ ตั้งชื่อวัดว่า วัดพระลอย
                วิหารที่ประดิษฐานหลวงพ่อขาว อยู่ริมแม่น้ำ สมัยอู่ทอง เก่าแก่กว่า ๗๐๐ ปี วิหารที่สร้างใหม่ สร้างครอบอุโบสถเดิม ยังคงเห็นผนังเดิมที่ก่ออิฐอยู่ และด้านซ้ายมีหน้าบันไม้ขนาดใหญ่ เป็นหน้าบันโบราณสลักรูปเทพพนม หน้าวิหารมีเจดีย์แปดเหลี่ยมตั้งอยู่ วัดนี้ยังมีกุฎิเรือนไทยที่งดงาม  และสุขามากหลายห้องเป็นแบบผสม


                วัดสารภี   วัดนี้เมื่อเข้าไปแล้ว ทางซ้ายมือจะมีศาลาชั้นเดียว กว้างใหญ่มาก มีพระพุทธรูปปางต่าง ๆ มากมายหลายองค์ และกลางศาลา มีพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ให้กราบไหว้และไปลอดใต้ท้องช้าง เพื่อสะเดาะห์เคราะห์เสริมดวงชะตา โดยก่อนลอดก็อธิษฐานจิตเสียก่อนว่า ประสงค์สิ่งใด เดินลอดตามแนวทางที่ลูกศรชี้ แล้วสวดมนต์ไปด้วย "สุคะโต ระกะลา" มีทุกข์ โศก โรคภัยอะไร บนบานขอต่อพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณได้
                วัดแค  วัดสำคัญ วัดที่เณรแก้วเคยบวช และได้ถ่ายทอดวิชาจาก "สมภารคง" จนเก่งกาจ และเมื่อเจริญวัย รับราชการก็ได้เป็น "ขุนแผนแสนสะท้าน" ผู้เกรียงไกร เวลานี้ วัดแคได้เจ้าอาวาสหนุ่มนักพัฒนา วัดแควันนี้แตกต่างกับวัดแค ที่ผมเคยไปครั้งสุดท้ายคงสัก ๕ ปี มาแล้ว ต้นไม้สำคัญที่เกิดก่อนเณรแก้วจะมาบวชคือ "ต้นมะขาม" ต้องเติมคำว่า "ยักษ์"  ต่อท้ายเข้าไปอีก ต้นโตมากอายุราว ๆ ๑,๐๐๐ ปี อยู่ด้านหลังของวัดใกล้แม่น้ำ เมื่อเข้ามาในวัด ทางขวามือจะมีศาลาให้เช่าวัตถุมงคล มีรูปหล่อของขุนแผน และรูปหล่อของสมภารคง  อยู่ในศาลานี้ด้วย ใกล้กันกับศาลานี้คือ พระพุทธบาทสี่รอย ส่วนพระบรมสารีริกธาตุและพระพุทธรูปหินพระธาตุ ประดิษฐานอยู่ในมณฑป "บูรพาจริยานุสรณ์" ซึ่งเป็นศาลาทรงไทย
                พระพุทธมงคล อยู่ในวิหารริมน้ำ กระถางธูปมงคลไว้ให้ปักธูป แต่การปักจะไม่เหมือนที่ไหน ให้จุดธูปอธิษฐานเสียก่อน เสร็จแล้วปักธูปคว่ำลงในกระถาง ให้ธูปดับ (เพื่อลดสารก่อมะเร็ง)
                ต้นมะขามยักษ์ อยู่ในอาณาเขตทางขวา เลี้ยวเข้าไปต้นมะขามรอบโคนกว่า ๑๐ เมตร  อายุกว่า ๑,๐๐๐ ปี ยังงอกงามดี และด้านหลังของต้นมะขามคือ เรือนไทยโบราณ เป็นคุ้มขุนแผน สร้างไว้ด้วย
                ด้านซ้ายของมณฑป มีต้นไทรใหญ่ บอกว่าเมื่อก่อนมีรังแตนใหญ่ บอกว่าใหญ่ที่สุดในโลก และทำอันตรายคนที่ผ่านไปมา เมื่อจะมีการก่อสร้าง เช่น มณฑป ฯ ช่างก่อสร้างกลัวแตนต่อย ต้องทำการไล่แตนให้รังร้างไปก่อน และใกล้กันสร้าง "ตัวต่อ" เรียกว่า "พญาต่อยักษ์" หมายถึง ต่อเงิน ต่อทอง สร้างด้วยไฟเบอร์
                วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ  เป็นวัดสุดท้าย วัดที่เก้า คงไปตามถนน ๓๕๐๗ เลยวัดแคไป แต่หากมาเริ่มที่วัดนี้ วัดมหาธาตุจะเป็นวัดแรก แต่ขอให้เริ่มจากวัดสว่างอารมณ์ เส้นทางตามที่ผมแนะนำไว้แล้วคือ ไปเลี้ยวเข้าโพธิ์พระยา ที่ถนน ๓๔๐ กม. ๑๐๓.๕๐
                ไหว้พระผงสุพรรณ ในวิหาร เป็นองค์ที่โตที่สุดในโลก พระผงสุพรรณเป็น ๑ ใน ๕ ของพระชุดเบญจภาคี คือ สมเด็จวัดระฆัง พระรอดมหาวัน ลำพูน ผงสุพรรณ สุพรรณบุรี ซุ้มกอ กำแพงเพชร และนางพญาพิษณุโลก ผงสุพรรณพบในกรุที่วัดนี้ ในวัดทางด้านขวามือ มีวิหารยาว ประดิษฐานหลวงพ่อปิยทัสสะสี และพระพุทธรูปหินทราย สมัยอู่ทอง มากถึง ๒๗๙ องค์ ผมเคยเข้าไปไหว้พระครั้งหนึ่ง พระพุทธรูปเต็มไปหมด ไม่ทราบว่าเปิดให้เข้าไปไหว้พระได้ทุกวันหรือเปล่า
                พระปรางค์ เลยมณฑปผงสุพรรณเข้าไปอยู่ทางขวา มีขนาดใหญ่มาก ก่อด้วยอิฐสอดิน ฉาบปูน ฐานเป็นบัวลูกฟัก ซ้อนลดหลั่นกันสี่ชั้น รองรับเรือนธาตุ มีซุ้มจระนำ ทั้งสี่ด้าน ด้านทางตะวันออกเป็นคูหา มีบันไดขึ้นไปได้ ภายในประดิษฐานพระปรางค์จำลอง ซึ่งถูกปิดทองทั่วองค์ เรียกกันว่า "หลวงพ่อน้อย" ใครบนสำเร็จสมประสงค์ จะนำแดนเซอร์บ้าง หนังบ้าง มาแก้บน
                โบสถ์เก่า อยู่ด้านหลังปรางค์ เป็นโบสถ์ไม้ บางส่วน เช่น หลังคา และฝาผนัง ชำรุดผุพัง แต่ก็ยังงดงามอยู่ ประดิษฐานพระประธานองค์ใหญ่ เสมารอบโบสถ์เป็นปูน ปั้นทรงป้อม ๆ เลียนแบบเสมาหินรุ่นเก่า
                การไหว้พระเก้าวัดถือว่า เป็นมงคลแก่ชีวิต และหากจะไปทางน้ำ จะได้ชมวิถีชีวิตของชาวบ้านด้าย แต่วัดที่ไหว้ไม่เหมือนกันทีเดียว เก้าวัด จะมีวัดพระนอน วัดพิหารแดง วัดสว่างอารมณ์ วัดชีสุขเกษม วัดสำปะทิว วัดพระลอย วัดสารภี วัดแค และวัดพระรูป
                หากไหว้ตามเส้นทางที่ผมพามา พบครบ ๙ วัด ก็หิวพอดี เยื้องประตูทางเข้าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ คือ ร้านก๋วยจั๊บ เก่าแก่อร่อยอย่างยิ่ง และยังมีอาหารอื่น ๆ อีกหลายอย่าง ไหว้พระจบก็หิว แวะชิมได้พอดี

..................................................


| บน |

ไหว้พระสองเมือง: ข้อมูลไหว้พระสองเมือง ท่องเที่ยวไหว้พระสองเมือง ข้อมูลเที่ยวไหว้พระสองเมือง


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์