ทางเข้าวัดเชียงมั่น
วัดเชียงมั่น วัดที่เก่าแก่คู่เมืองเชียงใหม่มานาน เป็นวัดแรกและพระอารามหลวงแห่งแรกที่สร้างขึ้นในเขตเมืองเชียงใหม่ ถือได้ว่ามีความสำคัญสำหรับชาวเชียงใหม่เป็นอย่างยิ่ง เมื่อขุนเม็งรายมหาราชสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้น เมื่อปี พ.ศ.1839 พระองค์ทรงยกพระตําหนักที่ประทับชื่อ ตําหนักเชียงมั่นถวายเป็นพระอารามใหม่ชื่อว่า วัดเชียงมั่น วัดนี้เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปสําคัญของเชียงใหม่ คือ พระเสตังคมณี หรือพระแก้วขาว ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนชาวเชียงใหม่นอกจากวัดเชียงมั่นจะมีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ของ เมืองเชียงใหม่ เมื่อถึงเทศกาลสลากภัตร หรือ ทานก๋วยสลาก จะมีการทานก๋วยสลากที่วัดนี้ก่อนแล้วจึงจะทำที่วัดอื่นๆ ต่อไป
วัดเชียงมั่น ยังเป็นศูนย์กลางการศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสมัยพญามังรายอีกด้วย นอกจากนี้ วัดเชียงมั่นเป็นสถานที่รวบรวมโบราณ วัตถุ จำนวนมาก ซึ่งอาคารเสนาสนะและปูชนียวัตถุของวัดเชียงมั่นประกอบไปด้วย วัดเชียงมั่นมี สถาปัตยกรรม สําคัญ ได้แก่ เจดีย์สี่เหลี่ยมผสมทรงกลม ฐานช่างล้อม พระอุโบสถและหอไตร
ความน่าสนใจภายในวัดเชียงมั่น
- วิหารหลวง
ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของวัดถัดจากหอไตรรูปทรงสถาปัตยกรรมแบบล้านนาด้านหน้าอุโบสถประดิษฐานศิลาจารึก หลักที่76 จารึกเมื่อปี พ.ศ. 2124 อุโบสถหลังนี้สร้างขึ้นพร้อมกับวิหารและหอไตร กรมศิลปากรประกาศขึ้น ทะเบียนพร้อมกันกับเจดีย์ วิหาร และหอไตร
- พระวิหารเล็ก
เป็นพระวิหารเดิมของวัด ภายในเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปสำคัญคือ พระเสตังคมณี หรือพระแก้วขาว และพระศิลาปางทรมานช้างนาฬาคีรี โดยพระแก้วขาวนั้น เป็นพระพุทธรูปประจำพระองค์ของพระนางจามเทวี แห่งแคว้นหริภุญชัย ครั้งพญามังรายตีเมืองหริภุญชัย ได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดเชียงมั่น เมื่อปี พ.ศ. 2022
พระแก้วขาว หรือพระเสตังคมณี
- เจดีย์ช้างล้อม
เป็นเจดีย์รูปทรงสถาปัตยกรรมล้านนาฐานช้างล้อม องค์เจดีย์ผสมสี่เหลี่ยมและทรงกลมเปิดทองจังโก สร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. 1840ครั้งพญามังรายสถาปนาวัดเชียงมั่น และได้รับการบูรณะซ่อมแซมจากผู้ครองนคเชียงใหม่สืบมา กรมศลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้วเมื่อ พ.ศ. 2478
เจดีย์ทรงระฆังฐานสี่เหลี่ยม และมีช้างล้อมที่ฐานหมายความว่าคำจุนพระพุทธศาสนาไว้
- หอไตรกลางน้ำ
ตั้งอยู่ด้านหลังเจดีย์ช้างล้อม สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่เก็บรักษาพระไตรปิฎกและคัมภีร์ต่างๆ
- พระอุโบสถ
ตั้งอยู่ด้านหลังพระวิหาร เป็นพระอุโบสถที่เป็นที่ตั้งของ ศิลาจารึกวัดเชียงมั่น ที่กล่าวถึงประวัติของวัดและการสร้างเมืองเชียงใหม่
- ศิลาจารึกวัดเชียงมั่น
ตั้งอยู่ที่โถงด้านหน้าของอุโบสถวัดเชียงมั่น เชียงใหม่ จารึกถึง พระนามของกษัตริย์สามพระองค์ คือ พญามังราย พญางำเมือง และพญาร่วง ( พ่อขุนรามคำแหง ) ว่าทั้งสามพระองค์ทรง ร่วมกันสร้างเมืองเชียงใหม่เป็นการจารึก เกี่ยว กับการสร้างเมืองเชียงใหม่ และการสร้างวัดเชียงมั่น ตลอดจนการทำนุบำรุงวัดนี้จากกษัตริย์และพระราชวงศ์ นับเป็นหลักฐาน ทางประวัติศสาตร์ที่ทรงคุณค่า
7. หอครูบาศีวิชัย
สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2505 ศิลปะสถาปัตยกรรมแบบล้านนา เป็นที่ประดิษฐานรูปเหมือนครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่ง ล้านนาไทย
ประวัติความเป็นมาของวัดเชียงมั่น
ที่ปรากฎในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่และพงศาวดารโยนก คือ หลังจากที่พญางำเมือง พญาร่วง และพญามังราย ทรงสร้างเมืองเชียงใหม่สำเร็จในปี พ.ศ.1839 แล้ว ทั้งสามพระองค์ทรงโปรดให้สร้างเจดีย์ขึ้นตรงที่หอนอน บ้านเชียงมั่นซึ่งพญามังรายทรงสร้างเป็นที่ประทับชั่วคราว ในระหว่างที่ควบคุมการสร้างเมือง ใหม่โดยให้ชื่อที่ ประทับแห่งนั้นว่า “เวียงเล็ก” หรือ “เวียงเหล็ก” หมายถึง “ความมั่นคงแข็งแรง” ต่อมาเมื่อพญามังรายเสด็จแปร พระราชฐานไปยังพระราชนิเวศน์มณเฑียรสถานแห่งใหม่ซึ่งเรียกว่า “เวียงแก้ว” ซึ่งปัจจุบันคือเรือน จำกลาง เชียงใหม่ ทรงอุทิศตำหนักคุ้มหลวงเวียงเหล็ก ถวายแด่พระศาสนา โดยตั้งเป็นพระอารามหลวงแห่งแรกและ พระราชทานนามอันเป็นมงคลว่า “วัด เชียงมั่น” อันหมายถึงบ้านเมืองที่มีความมั่นคง ทั้งนี้ ศิลาจารึกวัดเชียงมั่น พุทธศักราช 1819 ได้จารึกไว้ว่า
(เสียงก้อง) “ศักราช 658 ปีรวายสัน เดือนวิสาขาออก 8 ค่ำ ขึ้น5 ไทยเมืองเปล้า ยามแตรรุ่งแล้ว สองลูก นาฑี ปลายสองบาทน้ำ ลัคคนาเสวยนวางค์ประหัส ในมีนยะราศี พญามังรายเจ้า พญางำเมือง พญาร่วง ทั้งสามพระองค์ ตั้งหอนอนในที่ไชยภูมิ ราชมณเฑียร ขุดคือก่อตรีบูรทั้งสี่ด้านและก่อเจติยะทัดที่นอนบ้านเชียงมั่น ในขณะยาม เดียวนั้น ที่นั้นลวดสร้างเป็นวัด หื้อทานแก่แก้วทั้งสามใส่ชื่อว่าวัดเชียงหมั้น ต่อบัดนี้ …”
จึงนับได้ว่า วัดเชียงมั่น เป็นพระอารามหลวงแห่งแรกในเขตกำแพงเมืองเชียงใหม่ คือสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.1839 จาก นั้นคาดว่าเจดีย์นี้ได้พังลงมาในสมัยของพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ราชวงค์มังราย ลำดับที่ 10 ครองราชย์ ในปี พ.ศ.1985 – 2031 พระองค์จึงโปรดให้สร้างขึ้นใหม่ด้วยศิลาแลงในปี พ.ศ.2014
ต่อมาในปี พ.ศ.2094 เชียงใหม่ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า วัดเชียงมั่นจึงถูกทอดทิ้งให้ เป็นวัดร้าง ครั้นถึง พ.ศ.2101เจ้าฟ้ามังทรา หรือสมเด็จพระมหาธัมมิกะราชาธิราช แห่งพม่า ทรงมีพระราชศรัทธาในพุทธศาสนา โปรดให้พระยาแสนหลวงสร้างเจดีย์ วิหาร อุโบสถ หอไตร ธัมมเสนาสนะกำแพง และประตูโขงขึ้น ที่วัดเชียงมั่น โดยมีพระมหาหินทาทิจจวังสะ เป็นเจ้าอาวาส เมื่อถึงสมัยพระยา กาวิละครองเมืองเชียงใหม่ พ.ศ.2324 – 2358 ได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดเชียงมั่นขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง
หลังจากที่วัดนี้ได้ตกอยู่ในสภาพวัดร้างในสมัยที่ทำสงครามกอบกู้เอกราช คืนมาจากพม่า ตั้งแต่ปี พ.ศ.2319 ต่อมาในสมัยของเจ้าอินทวโรรส พ.ศ.2440 – พ.ศ.2452พระพุทธศาสนาแบบธรรมยุกนิกายได้เข้ามา เผยแผ่ ในอาณาจักรล้านนา เจ้าอินทวโรสจึงได้นิมนต์พระธรรมยุตมาจำพรรษาอยู่ที่วัดเชียงหมั้นเป็น ครั้งแรก และ ภายหลังได้ย้ายไปอยู่วัดหอธรรมและวัดเจดีย์หลวงตามลำดับ
การเดินทางไปวัดเชียงมั่น
วัดเชียงมั่น ตั้งอยู่ที่ ถ.ราชภาคินัย ต.ศรีภูมิ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่
- โดยรถยนต์ส่วนตัว วัดเชียงมั่น เชียงใหม่ ตั้งอยู่บริเวณถนนราชภาคินัย อำเภอเมือง ใกล้กับประตูช้างเผือก ซอยเดียวกับโจ๊กสมเพชรชื่อดัง
- โบกรถเมล์แดงได้ทุกคัน ค่าโดยสารก็ตกลงกันครับไม่แพงแน่นอนสะดวกด้วย