ตื่นตาตื่นใจบ้านนกเหยี่ยวแดงของเมืองจันทบุรี

0

ดูเอเซีย.คอม พาชมนกเหยี่ยวแดง  ณ ป่าโกงกาง อ.ขลุง จันทบุรี เหยี่ยวแดงนับร้อย ถลาลงโฉบเหยื่ออย่างไกล้ชิด อีกแหล่งท่องเที่ยวของจันทบุรีที่น่าตื่นตาตื่นใจ การถ่ายภาพเหยี่ยวแดงนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ต้องใช้กล้องที่ติดเลนซูมอย่างไกลๆ และถ่ายภาพที่กำลังเคลื่อนไหวอีกต่างหาก

การเดินทางนั้นใช้เส้นทางจากจันทบุรีไปทางจังหวัดตราดประมาณเลยกิโลเมตรที่ 374 ที่เป็นเส้นทางชมหิ่งห้อย ไปอีกไม่กี่กิโลเมตร ก็จะถึงสะพานข้ามแม่น้ำเวฬุ ต้องนั่งเรือยาวไปอีกประมาณ 30 นาที ลัดเลาะตามแม่น้ำเวฬุ สองข้างทางจะเป็นป่าชายเลน ซึ่งป่าชายเลนลุ่มน้ำเวฬุนี้มีเนื้อที่ถึง 120,000 ไร่ ส่วนใหญ่จะมีชาวบ้านไปทำนากุ้ง นาหอย และก็มีป่าโกงกางเต็มไปหมดสองข้างทาง ชาวบ้านแถวนี้ยังต้องใช้เส้นทางเรือเป็นหลัก ไม่มีถนนเข้าถึง สถานที่เราไปชมเหยี่ยวแดงก็เป็นของชาวบ้าน แต่เป็นชาวบ้านที่เข้าใจธรรมชาติเป็นอย่างดี เหยี่ยวแดงจึงได้ยึดเป็นที่อยู่อาศัยนับสิบๆ ปีแล้ว และจำนวนก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆมิได้ลดลง

red-hawks ‎ (1)red-hawks ‎ (4)red-hawks ‎ (9) red-hawks ‎ (7)ขอขอบคุณภาพ: คุณภัทรานิตย์

แม่น้ำเวฬุไหลมาจากเขาพระบาทและไหลลงทะเลที่อ่าวไทย บริเวณเกาะจิก อ.ขลุง สถานที่ที่เราไปชมเหยี่ยวแดงห่างจากชายทะเลถ้าใช้เรือวิ่งไปก็ไม่กี่ชั่วโมงก็ถึง ที่เรามีเหยี่ยวแดงเป็นฝูงๆ ได้ชมกันทุกวันนี้ก็เพราะชาวบ้านที่ไม่ทำลายธรรมชาติและระบบนิเวศนั่นเอง

อาหารของเหยี่ยวแดงตามธรรมชาตินั้นคือ  กบ เขียด งู นก แมลง หนู ลูกเป็ด ลูกไก่ สัตว์เลื้อยคลานเล็กๆ เนื่องจากบริเวณป่าชายเลนป่าโกงกางอันอุดมสมบูรณ์มีอาหารการกินของนกเหยี่ยวแดงที่สมบูรณ์ และมีที่อาศัยนอนไม่มีใครรบกวน มันจึงอยู่ได้อย่างอิ่มและปลอดภัย เหยี่ยวแดงนับพันจึงอยู่ได้โดยไปหนีไปไหน

 img_8319 img_8321 img_8381 img_8397 img_8428 img_8440

ข้อมูลทั่วไปของนกเหยี่ยวแดง

Brahminy Kite(Red-backed Sea Eagle)  

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Haliastur indus 

ลักษณะทั่วไป

เป็นนกขนาดกลาง ขนาดลำตัวประมาณ 40 – 46 เซนติเมตร ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะเหมือนกัน ขนสีน้ำตาลแดง สดใส แต่หัว คอ และหน้าอกสีขาวมีลายสีดำเล็กๆ ทั่วไป เวลาบินจะเห็นหางกางออกค่อนข้างกลม มีปากแหลมคมสีเทา และมีขาสีเหลือง

ถิ่นอาศัย, อาหาร

พบในอินเดีย จีน พม่า ไทย เขมร ลาว มาเลเซียซุนดาส์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ทวีปออสเตรเลีย ประเทศไทยพบได้ทุกภาค  อาหารได้แก่ กบ เขียด งู นก แมลง หนู ลูกเป็ด ลูกไก่ สัตว์เลื้อยคลานเล็ก ๆ

พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

เหยี่ยวแดงชอบอยู่ตามที่ราบทุ่งนา ตามริมแม่น้ำ ชายทะเล และตามป่าโปร่ง ซึ่งเป็น ป่าต่ำส่วนใหญ่ชอบอยู่ใกล้หมู่บ้านซึ่งอยู่ใกล้แม่น้ำใหญ่ ๆ ชอบบินอยู่ตัวเดียวหรือ เป็นคู่หรือเป็นกลุ่มเล็ก ๆ เมื่อพบอาหารมันจะบินเป็นวงกลม พร้อมกับบินดิ่งควงลงมา โฉบอาหารนั้นขึ้นไปกินบนต้นไม้สูงซึ่งอยู่ใกล้ ๆ

เหยี่ยวแดง ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูหนาวต่อฤดูร้อน ทำรังตามกิ่งไม้ใกล้แหล่งน้ำ วางไข่ครั้งละ 2 – 4 ฟอง ไข่สีขาวไม่มีลวดลายใดๆ ทั้งสองเพศช่วยกันฟักไข่นาน 29 – 31 วัน

สถานภาพปัจจุบัน

เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

สถานที่ชม

สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา

 img_8214 img_8219img_8277 img_8307img_8362 img_8372img_8378  img_8395

เหยี่ยวแดงที่ครั้งหนึ่งหาชมได้ตามสวนสัตว์ เช่น สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา  แต่วันนี้เราพาท่านมาชมแบบธรรมชาตินับพันตัว ช่วงเช้าจะออกหากินโดยบินไปที่อื่นบ้างแต่ช่วงเย็นเวลาประมาณ 17.00 น. จะบินกลับมานอน การชมเหยี่ยวแดงต้องนิ่งๆ ไม่ส่งเสียงดัง และเพื่อให้ชมได้อย่างไกล้ชิดและเห็นมันโฉบข้างๆ เรา ลองนำปลาเหยื่อไปหว่านผิวน้ำ เมื่อเหยี่ยวแดงเห็นจะบินวนบนฟ้าก่อนถลาลงมาโฉบเหยื่อให้เราชมอย่างสวยงาม

red-hawks ‎ (10) red-hawks ‎ (2) red-hawks ‎ (6)red-hawks ‎ (3)

ตัวแล้วตัวเล่าโฉบลงกินเยื่อและนำไปกินบนต้นไม้ บางตัวก็กินหลายๆ ครั้ง เป็นภาพที่งดงามหาชมได้ยากมาก นอกจากมาเที่ยวและชมเหยี่ยวแดงแล้ว เรายังมีโอกาสได้ชมและชิมกุ้งแสนอร่อย ซึ่งเป็นกุ้งแห่งธรรมชาติไม่เจือสีก่อนเดินทางกลับไปชมหิ่งห้อยกันต่อ

การท่องเที่ยวในจังหวัดจันทบุรี นั้นช่วงหลังๆ มีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวกันมากขึ้น หนังสือพิมพ์ไทยรัฐก็ยังเคยลงบทความของ ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ ซึ่งขออนุญาตคัดลอกข้อความบางตอนเพื่อยืนยันความเป็นอเมสซิ่งของเมืองจันทร์

“ในขณะที่หิ่งห้อยแม่กลองหายไป ก็มีหิ่งห้อยที่เมืองจันท์มาแทนที่ ป่าชายเลนลุ่มน้ำเวฬุ มีเนื้อที่ถึง 120,000 ไร่ มีส่วนที่ถูกทำลายไปบ้าง และมีการปลูกใหม่ขึ้นมาทดแทน ป่าชายเลนที่มีหิ่งห้อยมากมายนับแสนอยู่ในบริเวณป่าชายเลน 2,000 ไร่ มีไม้ป่าชายเลนอย่างโกงกาง ลำพู แสม เติบโตอย่างหนาแน่น เป็นที่อาศัยของหิ่งห้อย ซึ่งไม่มีสิ่งรบกวนเหมือนแม่กลอง นับวันหิ่งห้อยก็จะเพิ่มจำนวนขึ้นมหาศาลจนกลายเป็น “อุทยานหิ่งห้อย”  ในอนาคต

สมัยที่ผมอยู่เมืองจันท์เมื่อห้าสิบปีก่อน ไม่เคยเห็นหิ่งห้อยสักตัว คงเป็นเพราะสวนบ้านแก้วห่างจากทะเลหลายสิบกิโลเมตร การไปชมหิ่งห้อยคราวนี้จึงมีความตื่นเต้นพอดู“

ป่าชายเลนที่มีหิ่งห้อยนี้อยู่ที่ถนนสุขุมวิท  จันทบุรี-ตราด  กม.374  แยกเข้าไปบ้านท่าสอน อำเภอขลุง มีที่จอดรถกว้างขวางก่อนจะเข้าป่าชายเลน การชมหิ่งห้อยที่นี่ไม่ต้องลงเรือ เพราะมีถนนคนเดินยาว 2 กิโลครึ่ง วกวนเข้าไปในป่าชายเลน ซึ่งมีหิ่งห้อยนับแสนเปล่งแสงระยิบระยับ งดงามเหมือนฝันอยู่ลึกเข้าไปทั้งสองข้างทาง

red-hawks ‎ (5)

การไปชมนั้นควรจะไปในช่วงบ่าย 3 โมง จะได้ดูเหยี่ยวแดงนับพันตัวถลาลม โฉบลงกินปลาที่กลางทะเล มีเรือรับนักท่องเที่ยวอยู่เป็นประจำ ขากลับท่านจะได้ชมพระอาทิตย์อัสดงที่งดงามเหลือที่จะพรรณนา

ขอขอบคุณภาพ: คุณภัทรานิตย์

เชิญแสดงความคิดเห็น