แรกเริ่มเดิมทีเจ้าของไร่ชาเป็นไกด์อยู่ที่กรุงเทพฯ พอได้แฟนเป็นคนไต้หวันเลยริเริ่มที่จะคิดปลูกชาอู่หลง เนื่องจากสภาพดินฟ้าอากาศของดอยแม่สลอง ไม่แตกต่างจากที่ไต้หวันมากนัก จากนั้นทางเจ้าของได้ทำการจ้างคนไต้หวันมาเที่ยวเมืองไทยโดยให้นำกิ่งของชาเขียวเข้ามาด้วย เพื่อที่จะทำการเพาะและขยายพันธุ์ ซึ่งในช่วงที่ทำแรกๆ ได้ขาดทุนไปหลายล้านบาทเพราะลองผิดลองถูก และเมื่อทดลองได้ผลแล้วทำให้ได้ขยายพื้นที่ของการปลูกให้มากขึ้น
ชาที่ไร่ 101 จะปลูกอยู่ 3 ชนิด คือ อู่หลงก้านอ่อน อู่หลงเบอร์ 12 และชาสี่ฤดู แต่จะปลูกอู่หลงก้านอ่อนมากที่สุด เนื่องจากอู่หลงก้านอ่อนได้รับการตอบรับและมีสรรพคุณที่ดี การปลูกชาต้องดูแลรักษาเป็นอย่างดีเนื่องจากชาจะดูแลรักษายาก ซึ่งทางเจ้าของไร่ได้บอกกับดูเอเซียว่า ชาก็ต้องมีการใส่ยาเป็นปรกติ แต่จะไม่ให้มีสารตกค้างจากยา และเครื่องจักรที่ใช้เกี่ยวกับการทำชาทั้งหมดจะนำเข้ามาจากประเทศไต้หวันและจะต้องทำมาจาก สแตนเลสเพื่อไม่ให้มีสารตกค้าง
โดยทั่วไปแล้วสามารถเก็บผลผลิตได้ในช่วงเวลาระยะ 45-50วันต่อ หนึ่งครั้ง ซึ่งในหนึ่งปีหากน้ำเยอะก็สามารถเก็บได้ 7-8ครั้ง ในการเก็บยอดชาอ่อน จะต้องเก็บในช่วงที่น้ำค้างแห้งแล้ว เพราะว่าหากน้ำค้างยังไม่แห้งจำให้น้ำชาที่ได้มาเป็นสีออกแดงๆ ซึ่งการมาที่ไร่ชาครั้งนี้ ดูเอเซียก็ต้องเสียดายเพราะว่าชาได้ทำการเก็บยอดชาก่อนที่ดูเอเซียจะเดินทางมาถึงเพียงแค่ไม่กี่วัน เลยอดเก็บภาพสวยๆมาฝากเพื่อนๆ
กรรมวิธี 25 ขั้นตอนก็ยังไม่ได้กินชา เริ่มตั้งแต่การเก็บยอดชาอ่อน จะต้องเก็บในเวลาที่น้ำค้างแห้งแล้ว หลังจากที่เก็บยอดชาจะต้องเอายอดชาที่เก็บมาได้ไปพักในห้องที่ควบคุมความเย็นด้วยการใส่กระด้งเพื่อบ่มชา ซึ่งกระด้งหนึ่งใบจะใส่ยอดชา 3 กิโล พักไว้ประมาณ 3-4 ชั่วโมง นำมาเข้าเครื่องไม่ไผ่เพื่อเลือกเอาความเขียวและความฝาดของใบชาออก เมื่อเอาออกเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็ตองนำใบชามาพักที่กระด้งอีกครั้ง ซึ่งครั้งนี้จะใส่ประมาณ 3.5 กิโลใช้เวลาหมักถึงประมาณตี 3 ถึงตี 4 ถึงจะนำมาเข้าเครื่องคั่ว โดยในการคั่วจะใส่ใบชา 7 กิโล แล้วทำการคั่ว หลังจากที่คั่วเสร็จจะต้องนำใบชามาห่อผ้าเพื่อเข้าเครื่องอัดก้อน แล้วนำไปอัดเป็นเม็ด พออักเม็ดเป็นที่เรียบร้อยแล้วจะต้องนำมาเข้าเครื่องกระจาย ซึ่งการอัดเม็ดและเข้าเครื่องกระจายจะต้องทำถึง 40ครั้งเลยทีเดียว แต่ทำถึง 40 ครั้งแล้วก็ยังไม่จบ เพราะต้องเอาชาที่ได้มาทำให้เม็ดชาสวยด้วยเครื่องดอกบัวอีกครั้ง จากนั้นนำชามาเข้าเครื่องอบเพื่อให้ชาแห้งและได้รสชาติชาที่ดี
จากกรรมวิธีที่ยุ่งยาก ดูเอเซียเลยไม่แปลกใจแล้วครับว่าทำไมชาอู่หลงถึงมีราคาที่ค่อนข้างสูง แต่ยังไงผมก้องไปลองชิมชาอย่างแน่นอน เพราะว่าอากาศเย็นๆได้จิบชาร้อนๆ ชมวิวของไร่ชาคงต้องมีความสุขน่าดู ว่าแล้วก่อนที่จะชิมชา ดูเอเซียก็ได้ให้พี่ที่ทำหน้าที่ชงชาอธิบายให้ฟังถึงวิธีการชงชาด้วย ว่ามีกรมวิธีการชงชาอย่างไร ชงอย่างไรให้อร่อย
เครื่องไม้ไผ่ไล่ความฝาด
ในการชงชาจะต้องไม่ใช้มือจับชา เพราะว่าหากมือเราชื้นจะทำให้ราขึ้นชาได้ อย่างนั้นเราต้องใช้ช้อนตักชาแทน เพื่อป้องกันชาเสีย การชงชาจะใช้น้ำเดือด เพื่อคงคุณภาพของชา น้ำแรกของชาจะเป็นการล้างใบชาและกระตุ้นเพื่อให้ชาตื่นตัว และน้ำแรกขอชานั้นปกติแล้วจะไม่ดื่ม แต่จะนำมาล้างถ้วยชาแทน จากนั้นเติมน้ำครั้งที่ สอง ทิ้งไว้ประมาณ 1 นาที ก็จะสามารถดื่มชาได้ หากน้ำชาแช่น้ำชาไว้นานๆแล้วมาทานจะทำให้ท้องผูก ที่ไร่ชาได้บอกกับดูเอเซียว่า ต้องแยกชาออกจากน้ำ เพื่อที่ท้องจะได้ไม่ผูกแต่ตรงกันข้าม จะช่วยเป็นยาระบายอ่อนได้อีกด้วย ซึ่งชาสามารถชงได้ถึง 7 ครั้งเลยทีเดียว
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ กว่าที่เราจะได้ชิมชา ต้องผ่านกรรมวิธีต่างๆมากมาย สมกับราคาชาที่ขายตามท้องตลาดทั่วไป ทั้งความยากในการผลิตและสรรพคุณของใบชา หากเพื่อนๆ มาเที่ยวที่ดอยแม่สลองก็สามรถ เข้ามาแวะชมที่ไร่ชา 101 ได้ครับ เพราะนอกจะได้ชาแท้ๆแล้วยังได้ถ่ายรูปกับไร่ชาสวยๆอีกด้วย
เครื่องอัดเม็ดชา