โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ “เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์”
โครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักอันเนื่องมาจากพระราชดำริเป็นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ประเภทเขื่อนเก็บกักน้ำ เพื่อนำน้ำไปใช้ในการเกษตรกรรมและการอุปโภค-บริโภค บนพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำป่าสัก ในเขตจังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี รวมทั้งจังหวัดต่างๆทางตอนล่างของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
ความเป็นมาของโครงการ
ในพ.ศ.2508 กรมชลประทานได้ศึกษาโครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักครั้งแรก แต่เนื่องจากเป็นโครงการขนาดใหญ่ค่าใช้จ่ายสูง จึงได้ระงับฝดครงการไว้ก่อน ต่อมา วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2532 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริให้กรมชลประทานศึกษาความเหมาะสมของโครงการพัฒนุ่มน้ำป่าสักอย่างจริงจังเร่งด่วน เพื่อแก้ไบปัญหาการขาดแคลนน้ำและบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่เพาะปลูก ในเขตลุ่มน้ำป่าสัก และลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ตลอดจนบริเวณกรุงเทพฯ และปริมณฑล
และในวันที่ 3 พฤษภาคม 2537 คณะรัฐมนตรีมีมติให้กรมชลประทานก่อสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ โดยเริ่มก่อสร้างในวันที่ 2 ธันวาคม 2537 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2542 และในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2542 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด และทรงพระราชทานนามเขื่อนแห่งนี้ว่า “เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์” แปลว่า เขื่อนแม่น้ำป่าสักที่กักเก็บน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่บ้านหนองบัว อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี และบ้านคำพราน อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรีลักษณะของเขื่อน เป็นเขื่อนแกนดินเหนียว ความยาว 4,860 เมตร ความสูงที่จุดสูงสุด 36.50 เมตร ปริมาณน้ำเก็บกัก 785 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณเก็บกักสูงสุด 960 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่กักเก็บน้ำ 114,119 ไร่ประโยชน์ของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
- เป็นแหล่งน้ำสำหรับอุปโภค-บริโภค ของชุมชนต่างๆ ในเขตจังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี
- เป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร สำหรับพื้นที่ชลประทานเกิดใหม่ 114,500 ไร่ และจัดหาน้ำเพื่อการเกษตร 30,000 ไร่
- เป็นแหล่งน้ำเสริมสำหรับพื้นที่โครงการชลประทานเดิมในทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง เนื้อที่ประมาณ 2,200,000 ไร่
- ช่วยบรรเทาอุทกภัยแก่พื้นที่ริมแม่น้ำป่าสักในเขตจังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี และยังมีผลช่วยบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ตอนล่างของแม่น้ำเจ้าพระยา รวมถึงกรุงเทพมหานครและปริมณฑลด้วย
- เป็นแหล่งน้ำเพื่ออุตสาหกรรมในเขตจังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี
- อ่างเก็บน้ำที่เกิดขึ้นเป็นแหล่งเพาะพันธ์ปลาและแหล่งประมงน้ำจืดขนาดใหญ่
- ช่วยแก้ไขปัญหาการคมนาคมทางน้ำมนแม่น้ำป่าสักตอนล่างและปัญหาน้ำเค็ม- น้ำเสีย
- เป็นแหล่งน้ำเสริม เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
- เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในเขตภาคกลาง
- ช่วยให้เศษฐกิจของจังหวัดลพบุรีและจังหวัดสระบุรีขยายตัวมากยิ่งขึ้น
- ท่องเที่ยวรอบอ่างเก็บน้ำ เส้นทางนี้สามารถเดินทางไปรอบอ่างเก็บน้ำ ระยะทาง 140 กิโลเมตร เพื่อชมทัศนียภาพบริเวรเขื่อนได้เป็นอย่างดี เช่นต้นตาล แช้น้ำในอ่าง ปีละ 8 เดือน และสนุกสนานกับกิจกรรมการตกปลาบริเวณรอบๆอ่าง
- รถลากเที่ยวชมทัศนียภาพบนสันเขื่อน รถลากสามารถพาท่านท่องเที่ยวชมทัศนียภาพของเขื่อน โดยใช้ระยะเวลาการชมเป็นเวลา 40 นาที ระยะทางไปกลับรวม 9 กิโลเมตร ท่านจะสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ความสวยงามของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ได้อย่างเต็มอิ่ม
- หอคอยเฉลิมพระเกียรติ เป็นหอคอยที่สร้างขึ้นมาใหม่ มีทมั้งหมด 8 ชั้น ชั้นที่ 1 เป็นจุดจำหน่ายของที่ระลึกและบัตรขึ้นลิฟท์เพื่อขึ้นไปยังจุดชมวิว ชั้น 8 ซึ่งสามารถชมวิวทิวทัศน์ได้ 180 องศา และยังจัดแสดง ภาพถ่ายโบราณสถาน ของจังหวัดลพบีรี พร้อมข้อมูลความเป็นมาของเขื่อน และบริเวณโดยรอบ ชั้นที่ 5-7 จัดแสดง พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอนยู่หัว และพระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยแดชมหาราช
- ให้อาหารปลาริมอ่างเก็บน้ำ เพลิดเพลินกับการให้อาหารปลา ซึ่งมีปลาหลากหลายพันธุ์ให้ท่านได้ดูได้ชมกัน เช่นปลาเสือ ปลาเทโพ ฯลฯ
- นวดเท้าและนวดตัว ซึ่งจะทำให้ท่านรูสึกผ่อนคลายความเหนื่อนล้า และตคึงเครียดจากการเดินทาง จัดโดยสมาคมแพทย์แผนไทย ในราคาเป็นกันเอง
- บ้านโคกสลุง “ถิ่นผ้าขาวม้างาม ถุงย่ามสวย ล้อมด้วยพนังกั้นน้ำ แหล่งวัฒนธรรมไทยเบิ้ง” ท่านสามารถเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว หรือรถไฟ (สายกรุงเทพฯ-หนองคาย หรือเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์- ลำนารายณ์) ข้ามสะพานในอ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ซึ่งเป็นจุดชมวิวที่สวย
บ้านพักสวัสดิการ
สัมผัสกับบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติในรูปแบบบ้านพักกึ่งรีสอร์ท หรือกางเต้นท์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สวัสดิการโครงการฯเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ โทร.0-3649-4243 การเดินทางมาท่องเที่ยว
จากตัวเมืองลพบุรีใช้เส้นทางสายลพบุรี-โคกตูม พัฒนานิคม (ทางหลวงหมายเลข 3017) ระยะทาง 48 กม. มีบริการรถสองแถวลพบุรี-วังม่วง ผ่านหน้าเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ รถออกจากสถานีขนส่งลพบุรี ระหว่างเวลา 06.00-17.30 น.นอกจากนั้นยังมีบริการรถโดยสารประจำทาง (กรุงเทพฯ-ลพบุรี หรือกุงเทพฯ-หล่มสัก) หรือรถตู้จากอนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สายกรุงเทพฯ-วังม่วง ค่าโดยสาร 140 บาท ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง จากกรุงเทพฯถึงเขื่อนป่าสัก
ขอบคุณภาพ web.rid.go.th