เที่ยวเปลี่ยนโลก…..ท่องไปบนเส้นทางสายอาหารอินทรีย์

0

คุณค่าของ วิถีเกษตรอินทรีย์ นอกจากสร้างความสมดุลให้กับธรรมชาติได้อย่างงดงาม ยังสร้างรอยยิ้มแห่งความสุข จากสุขภาพที่ดี เพราะปลอดภัยจากสารเคมีให้กับเกษตรกรผู้ปลูก และผู้บริโภคแล้ว มนต์เสน่ห์ของการทำเกษตรอินทรีย์แบบดั้งเดิม ยังสร้างการท่องเที่ยวมิติใหม่ของกลุ่มคนรักสุขภาพ ที่ต้องการสัมผัสชีวิตเกษตรกร เรียนรู้ที่มาของผลผลิต ทั้งวิธีการทำชีวภัณฑ์ การปลูก การเก็บเกี่ยว จนทำให้สวนหลายแห่งกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน

บันทึกภาพกลางแปลงนาข้าวไรซ์เบอร์รี

เช่นเดียวกับ สวนเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร โครงการ “สามพรานโมเดล” ในพื้นที่อำเภอ          สามพราน จ. นครปฐม ที่ มูลนิธิสังคมสุขใจ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และโรงแรม สามพรานริเวอร์ไซต์   ซึ่งกำลังมีการส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วม เที่ยวแบบวิถีอินทรีย์ เชื่อมผู้ปลูกกับผู้บริโภคได้ให้ได้พบปะกันโดยตรง ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง

            ล่าสุด กองส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยว  การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) นำทีมผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวต่างประเทศและสื่อมวลชน ลงพื้นที่สำรวจภูมิทัศน์ จุดเด่น  ของสวนเกษตรอินทรีย์ ในพื้นที่ ต.บางช้าง ต.ตลาดจินดา ต.ไร่ขิง รวมถึงตลาดสุขใจ เพื่อนำร่องสู่เส้นทางท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์สายอาหาร รองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่นิยมเที่ยวเพื่อสัมผัสวิถีไทย 

OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA โชว์ปีนหมาก OLYMPUS DIGITAL CAMERA เก็บผักในสวนออร์แกนิก ของสามพรานฯ SAM_0092

            คณะเริ่มสำรวจเส้นทางกันตั้งแต่เช้า จุดเริ่มแรกไปกันที่ กลุ่มเกษตรกร ตลาดจินดา ซึ่งเป็นแหล่งปลูกไม้ผลสำคัญของอ.สามพราน จุดนี้นั่งเรือแจวล่องไปตามลำน้ำคลองจินดา ระหว่างชมบรรยากาศริมฝั่งคลอง มัคคุเทศก์น้อย ก็เล่าประวัติของคลองแห่งนี้ให้ฟังว่า ในอดีตชื่อว่า “คลองจีนด่า” ซึ่งเป็นคลองที่เชื่อมมาจากแม่น้ำท่าจีน ด้วยว่าชาวจีนมาตั้งรกรากทำสวนผลไม้อยู่มาก ต่อมาเพื่อความไพเราะเพราะพริ้งจึงเปลี่ยนชื่อเป็น “คลองจินดา”  ลำคลองแห่งนี้เป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญทั้งในอดีตและปัจจุบัน  เพราะบางรายถนนยังเข้าเทียบไม่ถึง

ระหว่างเพลิดเพลินกับเสียงเจื้อยแจ้วของหนูน้อยมัคคุเทศก์ เรือก็ล่องมาถึงจุดเลี้ยวเข้าร่องสวน จากจุดนี้พายลัดเลาะเข้าไปชมสวนผลไม้ สัมผัสความงดงามของร่องน้ำที่เขียวขจีไปด้วยแหน สลับทิวมะพร้าวน้ำหอมทอดยาวเป็นแนวมองไปไกลสุดลูกตา ใช้เวลาประมาณ 15 นาที ก็จะถึงบ้าน คุณประกฤติ เกิดมณี หนึ่งในเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้อินทรีย์ โดยเฉพาะ มะเฟือง ซึ่งมีพื้นที่ปลูกราว  14 ไร่

สวนมะเฟืองคุณลุงประกฤติOLYMPUS DIGITAL CAMERA

             ลุงประกฤติ เล่าว่า ทำสวนผัก ผลไม้ มาตั้งแต่อายุ 12 ขวบ ทำแบบเคมีตามรุ่นพ่อแม่ จนมาถึงอายุ 30 กว่า พบว่าร่างกายอ่อนเพลียไม่มีสาเหตุ หมอตรวจเลือดพบว่ามีสารเคมีในเลือดสูงมาก จึงสั่งให้หยุดใช้สารเคมี แต่เมื่ออาการดีขึ้นก็ไปฉีดยาเคมีอีก จนหมอบอกว่าถ้าไม่หยุด คือ ตาย ช่วงหลังในปี 2543เปลี่ยนมาทำเกษตรปลอดภัย คือใช้ยาเคมีบ้างแต่มีระยะปลอดภัย 3-4 เดือน

             “แต่รู้ไหมว่าขนาดฉีดยา 3-4 เดือนต่อครั้ง เมื่อนำมะเฟืองไปตรวจยังพบสารเคมีตกค้าง สมัยนี้สารเคมีตกค้างนานมาก อย่างแต่ก่อนปลูกคะน้า เช้าฉีดยาน็อคให้หนอนหมดแรง เย็นฉีดยาฆ่าให้หนอนตาย ทำแบบนี้ทุกวันจนเก็บเกี่ยว คิดดูว่าคะน้าต้นหนึ่งจะมีสารตกค้างสักเท่าไร และเพราะพิษภัยของสารเคมีทำคนแถวนี้เป็นมะเร็งตายทั้งนั้น”  ลุงประกฤติ สะท้อนถึงอันตรายจากสารเคมี

ปัจจุบัน ลุงประกฤติหันมาทำสวนมะเฟือง ชมพู่ ฝรั่งอินทรีย์ กล้วย มะพร้าวน้ำหอม ในช่วงแรกระหว่างที่ปรับเปลี่ยนพืชไม่มีแรงต้านทาน มะเฟืองห่อไว้เสียเกือบทั้งสวน แต่เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง เริ่มดีขึ้น ตอนนี้ผ่านมา 4 ปีแล้ว ทั้งชมพู่และมะเฟืองให้ผลผลิตดี แม้จะมีขนาดลูกเล็กลง เมื่อหักลบต้นทุนแล้วค่าใช้จ่ายถูกกว่าใช้สารเคมี  ที่สำคัญดีกับสุขภาพของเราด้วย

            ฟังเรื่องเล่ากันแล้ว คราวนี้ลุงประกฤติ ก็พาเดินชมสวนมะเฟืองที่มีอายุกว่า 40 ปี แต่การเข้าสวนมะเฟืองนั้นต้องทำตัวนอบน้อม คือ ต้องก้มตัวลง ตามระดับความสูงของต้นมะเฟือง เพราะต้องตัดยอด เพื่อให้ง่ายต่อการเก็บเกี่ยว ในสวนยามนี้ มะเฟืองกำลังออกดอกสะพรั่ง สีชมพูอมม่วง ชูช่ออวดความงามตามกิ่งน้อยใหญ่ สลับสีเหลืองของลูกมะเฟืองสุก บ้างก็สลับกับสีเขียวแก่ของผลอ่อน แต่ที่มากกว่าความงดงามของสีสันจากธรรมชาติ  คือ ผลผลิตที่ได้ปราศจากสารเคมีนั่นเอง  

ล่องเรือไปตามลำคลองจินดา OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA
ล่องเรือไปตามลำคลองจินดา

             ออกจากสวนมะเฟืองพาเหรดกันขึ้นรถ มุ่งหน้าสู่สวนฝรั่งอินทรีย์ของ ป้าประหยัด  ปานเจริญ หัวหน้ากลุ่มเกษตรอินทรีย์กลุ่มบางช้าง จุดนี้ได้ลองนั่งเรือโฟม ล่องไปตามร่องสวน นอกจากจะได้เก็บฝรั่งกลับบ้าน ยังได้เรียนรู้วิธีการห่อฝรั่ง การดูแล การเก็บเกี่ยว ตลอดจน การทำน้ำฝรั่งคั้นสด น้ำฝักข้าวคั้นสด รวมถึงขนมไทย ให้ได้ชิมกัน อีกทั้งมีผลไม้อินทรีย์ให้ได้เลือกช็อปกลับบ้านอีกด้วย

ป้าประหยัด ปลูกฝรั่ง  80 ไร่ ใช้เคมีมาตลอด แต่ตอนหลังตัดสินใจปลูกแบบอินทรีย์เพราะพบว่าสุขภาพย่ำแย่ กว่าจะมาถึงวันนี้ไม่ง่ายเลย เพราะต้องโน้มน้าวสามีที่เป็นผู้ใหญ่บ้านอยู่นานกว่าจะเปลี่ยนใจมาทำเกษตรอินทรีย์ด้วยกัน จนปัจจุบันสถานที่แห่งนี้ กลายเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องการทำเกษตรอินทรีย์ ที่มีผู้คนพากันแวะเวียนมาศึกษาดูงานกันอย่างไม่ขาดสาย

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

เดินมาครึ่งทางแล้ว มองนาฬิกาเวลาเที่ยงพอดี ได้เวลามื้อกลางวัน แวะเติมพลังกันที่ สวนลุงเขียด หรือสวนเกษตรอินทรีย์ของสามพราน ริเวอร์ไซด์ เสน่ห์ของสวนแห่งนี้ นักท่องเที่ยวจะได้เรียนรู้ที่มาของอาหารอินทรีย์ วิถีชีวิตชาวนาแบบดั้งเดิม ผ่านกิจกรรมต่างๆ อาทิ  การทำชีวภัณฑ์ต่างๆ   เก็บผักสดจากแปลง เก็บไข่จากฟาร์ม ที่เลี้ยงแบบธรรมชาติ มาปรุงอาหาร ทดลองทำนาด้วยตัวเอง

อาหารตาบนเส้นทางท่องเที่ยวสายอาหาร อรุษ นวราช OLYMPUS DIGITAL CAMERA ลั้นลา ที่นาข้าวไรซ์เบอร์รีพี่ประกิต ปีนหมากโชว์ ตะลุยสวนฝรั่ง

             หลังอิ่มท้อง ยังมีโชว์ปีนต้นหมาก โดยปรมาจารย์แห่งการปีนหมากมาสองทศวรรษ ย้อนให้เห็นวิถีชีวิตของชาวสวนหมากเมื่ออดีต ซึ่งปัจจุบันหาดูไม่ได้แล้ว เพราะอาชีพนี้ต้องใช้ความชำนาญเป็นอย่างมาก

โปรแกรมต่อไปได้เวลาช้อปปิ้งที่ตลาดสุขใจ ซึ่งขายสินค้าเกษตรอินทรีย์ เปิดเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ นอกจากพืชผัก ผลไม้หลากชนิดแล้ว ยังมีสินค้าประเภท เนื้อสัตว์หมู ไก่ที่ผ่านการเลี้ยงโดยไม่พึ่งพายาปฏิชีวนะ นอกจากนี้ยังมีอาหารสำเร็จ เช่นผัดไทย ส้มตำ ข้าวโพดปิ้ง กล้วยปิ้ง ขนมไทย เป็นต้น

            ส่วนจุดหมายปลายทางสุดท้ายของเส้นทางการท่องเที่ยวสายอาหารในวันนี้ คือ นาข้าวไรซ์เบอร์รี ของพี่ประกิต สุนประชา เกษตรกรกลุ่มไร่ขิง ช่วงนี้ข้าวกำลังออกรวงเขียวขจีเต็มท้องทุ่ง ความโดดเด่นของข้าวไรซ์เบอร์รีที่นี่ คือการแปรรูปข้าว ออกมาในรูปแบบ ข้าวต้มมัดไรซ์เบอร์รี ไอศครีมข้าวไรซ์เบอร์รี ตลอดจนข้าวตูไรซ์เบอร์รี ซึ่งนอกจากรสชาติแสนอร่อย ได้คุณค่าทางอาหาร ยังปลอดภัยต่อสุขภาพอีกด้วย      หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจลองมาฟังเสียงสะท้อนจากคณะผู้ร่วมสำรวจเส้นทางในวันนี้กัน                 

          นาย จารุเชฏฐ์ เรืองสุวรรณ  ผู้อำนวยการกองส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยว ของ ททท.  บอกว่า                โครงการ สามพรานโมเดล มีจุดเด่นที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค เมื่อนำการท่องเที่ยวเข้ามาทำให้ผู้บริโภครู้จักและเข้าใจสินค้าอินทรีย์มากขึ้น ขณะนี้กระแสรักสุขภาพในสังคมเมืองถวิลหามาก ไม่ว่าจะเป็น สุขภาพกาย  สุขภาพจิต

OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERAอชิรญา ธรรมปรีพัตรา  แปลงนาข้าวไรซ์เบอร์รีของพีประกิต

            “หากจะขยายโมเดลไปสู่แหล่งท่องเที่ยว ต้องหาผู้ประกอบการ ผู้ประสานงาน ในการทำงานที่เข้มแข็งอย่างคุณอรุษ ซึ่งตัวชาวบ้านที่เป็นเกษตรกรจะได้ประโยชน์ด้วย สำหรับการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ททท.พยายามสานต่อไป กับแคมเปญที่ททท.ทำคือ 12 เมืองท่องเที่ยวห้ามพลาด”

ด้าน น.ส.อชิรญา ธรรมปรีพัตรา ผู้บริหาร บริษัท Hivester ในฐานะผู้ทำธุรกิจการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนให้มุมมองว่า การท่องเที่ยวในรูปแบบนี้ให้ประสบการณ์ที่ดี เพราะมีกลุ่มนักท่องเที่ยวที่สนใจกิจกรรมรูปแบบนี้ โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่เป็นพรีเมี่ยม ถือเป็นการเพิ่มมูลค่า เขามาได้เรียนรู้ ได้สุขภาพ และสนุก เหมาะกับกลุ่มยุโรปอเมริกา ส่วน ตลาดเอเชีย คนญี่ปุ่น  สิงคโปร์น่าจะชอบ

“มองว่าการท่องเที่ยววิถีไทย คือเสน่ห์ของตัวมันเองโดยไม่ปรุงแต่ง คนไทยมีของดีอยู่แล้ว แต่ไปปรับให้เป็นโมเดิร์นขึ้น ทำให้เสียเสน่ห์ เช่นพายเรือพายดีอยู่แล้วแต่ไปติดมอเตอร์ วิถีเดิมๆ เป็นแม่เหล็กดึงนักท่องเที่ยว”  ผู้ประกอบการรุ่นใหม่บอกถึงความคิด

ปิดท้ายที่ นายอรุษ นวราช  ผู้ริเริ่มผลักดันให้เกิดโครงการสามพรานโมเดล ย้ำภาพของการท่องเที่ยววิถีไทยที่นี่ว่า การมาเที่ยวสวนอินทรีย์ในพื้นที่ อ.สามพราน ได้เห็นวิถีไทยของแท้ ไม่ได้ไปจัดฉาก มีการซื้อขายสินค้าเกษตรจริงๆ การท่องเที่ยวคือผลพลอยได้ของกิจกรรมเหล่านี้ และจะเป็นการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนจริง ซึ่งการท่องเที่ยวเป็นตัวที่ช่วยทำพีอาร์ ทำการตลาดให้สินค้าของเกษตรกรที่ทำอินทรีย์

 “เราดึงนักท่องเที่ยวมา เมื่อเขามั่นใจก็เกิดการแชร์ ลึกกว่านั้นเป็นการเชื่อมสังคมแบบใหม่ระหว่างผู้ปลูกกับผู้บริโภค ซึ่งสมัยก่อนเป็นเรื่องธรรมดา แต่สมัยนี้มันหายไปนานแล้ว ผู้บริโภครู้จักแค่ซุปเปอร์มาร์เกต ผู้ปลูกรู้จักแค่พ่อค้าคนกลาง มันขาดการเชื่อมตรงนี้ ซึ่งการเชื่อมตรงนี้ช่วยเรื่องความเหลื่อมล้ำเรื่องธุรกิจที่ไม่เป็นธรรม สามารถแก้ได้ทุกปัญหา ทั้งเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม และสุขภาพ จาก              ทุกมุมมอง แค่มาทำโซ่อาหารอินทรีย์” 

วิถีอินทรีย์จึงไม่ได้ให้แค่อาหารดีแต่เป็นบ่อเกิดสังคมแห่งความเกื้อกูล คือความเป็นไทยที่สัมผัสได้จากหัวใจ … แค่คุณเที่ยวโลกก็เปลี่ยนได้

เชิญแสดงความคิดเห็น