ธุรกิจการบินสยายปีกรับประชาคมอาเซียน

0

ปีที่ผ่านมาเป็นอีกปีที่อุตสาหกรรมการบินในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ “คึกคัก” เพื่อรอรับกระแสการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) ในปี 2558 โดยการเติบโตอย่างรวดเร็วเป็นผลมาจากการขยายตัวของสายการบินต้นทุนต่ำ หรือโลว์คอสต์แอร์ไลน์ รวมถึงการเปิดตัวสายการบินใหม่ 5 รายในภูมิภาคนี้ การเติบโตของธุรกิจที่ผ่านช่วงร้อนแรงที่สุดมาแล้ว อาจทำให้ปี 2556 อัตราอาจไม่สูงเท่าเดิม แต่จะเข้าสู่ภาวะที่เริ่มมั่นคง ด้วยปัจจัยสนับสนุนจากการเติบโตของเศรษฐกิจในเติบโตของกำลังซื้อผู้บริโภคระดับกลำง

Centre for Aviation หรือ CAPA เปิดเผยว่าปัจจุบันสายการบินต้นทุนต่ำครองส่วนแบ่งที่นั่งราว 50% ของเที่ยวบินทั้งหมดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย 3 ใน 5 สายการบินน้องใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อปีที่ผ่าน ยังเป็นสายการบินต้นทุนต่ำ ได้แก่ แอร์เอเชีย ฟิลิปปินส์, สกู้ต ของสิงคโปร์ และแมนดาลำ จากอินโดนีเซีย ซึ่งแปลงโฉมตัวเองจากที่เคยให้บริการเต็มรูปแบบ

airway

ขณะที่การบินไทยส่ง “ไทยสไมล์” รุกตลาดภูมิภาคนี้ รวมทั้ง สปป.ลำวก็เปิดตัว “ลำว เซ็นทรัล แอร์ไลนส์” เช่นกัน อย่างไรก็ตามคาดว่าตลาดโลว์คอสต์ แอร์ไลน์ในอาเซียนยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก โดยเฉพาะการเข้าไปแสวงหาโอกาสชิงส่วนแบ่งการตลาดในประเทศพม่าและเวียดนาม ซึ่งขณะนี้อัตราการเข้าถึงของสายการบินประเภทนี้ยังต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยของทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 26%

สำหรับธุรกิจการบินในประเทศไทย สายการบิน ไทยแอร์เอเชีย และ นกแอร์ ซึ่งได้รับประโยชน์จากนโยบายการย้ายฐานการบินมาที่สนามบินดอนเมืองตั้งแต่เดือน ต.ค.ที่ผ่านมา ได้วางแผนเพิ่มฝูงบินราว 33% ในปี 2556 โดยไทยแอร์เอเชีย จะรับมอบเครื่องบินแอร์บัส เอ320 เพิ่มอีก 9 ลำ ทำให้รวมทั้งสิ้นมี 36 ลำ ขณะที่นกแอร์ คาดว่าจะเพิ่ม 6 ลำ รวมเป็น 24 ลำ

นอกจากนี้นกแอร์ ซึ่งปัจจุบันให้บริการเฉพาะเที่ยวบินประจำภายในประเทศเท่านั้น ได้มีแผนจะใช้เครื่องบินโบอิ้ง 737-800s ให้บริการเส้นทางต่างประเทศเป็นครั้งแรกด้วย ขณะที่แอร์เอเชีย ซึ่งมีสัดส่วนที่นั่งกว่า 40% ให้บริการเส้นทางต่างประเทศอยู่แล้ว ก็จะสยายปีกสู่ตลาดในและต่างประเทศมากขึ้น โดยใช้ข้อได้เปรียบจากการเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในปีก่อน มาสนับสนุนการเติบโตต่อเนื่องในปีนี้

สำหรับประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเปิดสนามบินชางยีต้อนรับผู้โดยสารเกิน 50 ล้านคนในปีที่ผ่านมา ในปีนี้การจราจรทางอากาศของสิงคโปร์อาจชะลอตัวลง คาดการเติบโตไม่เกิน 10% หลังจากที่ขยายตัวถึง 11% เมื่อปี 2554 และอีก 10% ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2555 เนื่องจากได้อานิสงส์ของตลาดสายการบินต้นทุนต่ำที่ขยายตัวรวดเร็ว ครองสัดส่วนการให้บริการ 30% ของสนามบินชางยีในปัจจุบัน โดยคาดว่าในปีหน้าการเปิดตัวของ สกู้ต สายการบินน้องใหม่ที่ให้บริการโลว์คอสต์ในเส้นทางระยะไกล (Long Haul) จะเติบโตได้เร็วที่สุด เพราะถือเป็นกลยุทธ์หนึ่งของบริษัทแม่อย่าง สิงคโปร์ แอร์ไลนส์ ที่ต้องการหันมาปั้นรายได้จากสายการบินในเครือข่ายทดแทนรายได้ของธุรกิจหลักที่ชะลอ ไม่ว่าจะเป็น สกู้ต หรือกระทั่ง ซิลค์แอร์, เจ็ตสตาร์ ที่กำลังมีแผนขยายเส้นทางบินที่มีศักยภาพ

นอกจากนี้ สนามบินชางยี จะเริ่มลงมือก่อสร้างอาคารที่ 4 เพิ่มเติม ซึ่งอยู่ภายใต้แนวคิดอาคารลูกผสมที่จะมาแทนบัดเจ็ต เทอร์มินัล ที่จะถูกรื้อทิ้งในเร็วๆ นี้ และคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2560 เพื่อรองรับผู้โดยเพิ่มราว 16 ล้านคนต่อปี

ขณะที่ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของธุรกิจสายการบินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในด้านประชากรจำนวน ได้ผงาดขึ้นเป็นหนึ่งในตลาดที่การเติบโตร้อนแรงแห่งหนึ่งของโลก เฉพาะตลาดการบินในประเทศมีผู้โดยสารถึง 70 ล้านคน และขึ้นแท่นกลำยเป็น “ตลาดในประเทศ” ใหญ่ที่สุดอันดับ 5 ของโลกรองจาก สหรัฐฯ จีน บราซิล และญี่ปุ่น นับตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา มีการเติบโตเกินกว่า 10% ต่อปี และคาดว่าจะยังรักษาอัตรานี้ต่อเนื่องอีกหลำยปี เพราะสายการบินรายใหญ่ยังมีแผนที่จะขยายเส้นทางในประเทศต่อเนื่อง

ไลอ้อน แอร์ ผู้นำในตลาดการบินในอินโดนีเซีย ยังขยายฝูงบินใหม่ โบอิ้ง 737-900ERs อย่างต่อเนื่องเฉลี่ย 2 ลำต่อเดือน ทำให้สายการบินนี้ครองส่วนแบ่งการตลาดในประเทศถึง 40% เพราะมีเครื่องบินใหม่เข้ามาเสริมทัพ รองรับการเติบโตอย่างรวดเร็ว และตลาดยังเพียงพอ สำหรับรองรับสายการบินในเครือข่ายสายใหม่อย่าง บาติคแอร์ ซึ่งให้บริการเต็มรูปแบบ และมีกำหนดเปิดตัวในปีนี้

ขณะที่ ซิตี้ลิงค์ สายการบินราคาประหยัด ซึ่งเป็นเครือข่ายของ การูด้า คาดเติบโตถึง 150% ด้านจำนวนผู้โดยสารที่คาดว่าจะแตะ 10 ล้านคนเมื่อมีการขยายฝูงบิน แอร์บัส เอ320 และเริ่มทยอยรับมอบเครื่องเอทีอาร์ 72 เข้าประจำการลำแรก ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่หวังนำมาปะทะโดยตรงกับ วิงส์แอร์ สายการบินลูกของไลอ้อน แอร์ ที่เน้นเส้นทางบินระยะสั้น

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ

เชิญแสดงความคิดเห็น