เสียมราฐ หรือชื่อท้องถิ่นว่า เสียมเรียบ เป็นจังหวัดหนึ่งในประเทศกัมพูชา ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ อยู่ริมฝั่งทะเลสาบเขมร ห่างจากกรุงพนมเปญ 314 กิโลเมตร โดยใช้เวลาเดินทางด้วยรถยนต์ประมาณ 5 ชั่วโมง
เสียมราฐ เป็นที่ตั้งของนครวัด และกลุ่มปราสาทหินหลายแห่ง อาทิ หมู่ปราสาทหินจากอาณาจักรขอม ได้แก่ ปราสาทนครวัด, กลุ่มปราสาทนครธม, (ตาพรหม และบายน, บันทายศรี, บากอง, โลเลย, พนมบาเค็ง, พนมกุเลน และ บารายตะวันตก
เมืองเอกของจังหวัดนี้ (เทียบได้กับอำเภอเมืองในจังหวัดของไทย) ก็มีชื่อว่า เสียมราฐ เช่นกัน โดยเมืองเสียมราฐนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุดของประเทศกัมพูชา แต่ละปีมีนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมนครวัดประมาณ 1,600,000 คน
นครวัดตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองเสียมเรียบ 6 กิโลเมตร ทำให้นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวนครวัดจะพักที่ตัวเมืองเสียมเรียบ แล้วใช้วิธีการเช้าจักรยานหรือเช่าตุ๊กๆไปเที่ยว ทำให้เมืองเสียมเรียบคึกคักตลอดทั้งปีไม่มีเหงา เมืองเล็กๆที่มีเกรสเฮาส์ โรงแรมในเสียมเรียบมากมายตั้งอยู่ที่ย่านประสาจ๊ะ(Psar Chaa) เป็นหัวใจของเมืองนี้มีตลาดเก่า มีแม่น้ำสุงเสียมเลียบ(Sung siem reap) ไหลผ่านเมือง มีสิ่งปลูกสร้างสมัยฝรั่งเศสดูสวยงาม
การเดินทางมาเสียมเรียม ใช้บริการรถจากปอยเปตมาเสียมเรียบ ค่ารถคนละประมาณ 300 บาท หรือจะเดินทางมาจากพนมเปญใช้เวลา 6 ชั่วโมงด้วยรถบัสประจำทางที่สามารถซื้อตั๋วรถได้จากเกรสเฮาส์ที่เราพัก ในเมืองเสียมเรียบใช้ระบบคอมมิสชั่น ดังนั้นจะไปไหนก็ง่ายครับ ซื้อตามCounter ขายตั๋วได้เลย
ที่มาของชื่อ
คำว่า เสียมเรียบ ในภาษาเขมรมีหมายความว่า “สยามราบ” คือ “สยาม (แพ้) ราบเรียบ” ส่วน เสียมราฐ ในภาษาไทยนั้น หมายถึง “ดินแดนของสยาม”
บ้างว่า เสียมราบ มาจากสงครามที่เกิดขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราช (เจ้าพญาจันทราชา) ซึ่งเป็นการศึกระหว่างกัมพูชากับสยามในปี พ.ศ. 2089 ซึ่งปรากฏในพงศาวดารเขมร จ.ศ. 1217 เพียงฉบับเดียวเท่านั้น ความว่า
“…พระองค์ทรงราชย์ ลุศักราช ๑๔๖๒ (จ.ศ. ๙๐๒) ศกชวดนักษัตรได้ ๒๕ ปี พระชันษาได้ ๕๕ ปี พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา จึ่งยกทัพมาถึงพระนครหลวง ในปีชวดนั้น พระองค์ยกทัพไปถึงพระนครหลวงรบชนะพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาหนีไป พระเจ้าจันทร์ราชาจับได้เชลยไทยเป็นอันมากแล้วเสด็จกลับเข้ามาครองราชสมบัติ…”
จึงสันนิษฐานว่าสงครามครั้งนี้น่าจะเป็นที่มาของชื่อ “เสียมราบ” เนื่องจากเป็นการรบครั้งสำคัญครั้งสุดท้ายที่รบใกล้เมืองพระนคร เพราะหลังจากนี้เส้นทางการเดินทัพและสมรภูมิจะเปลี่ยนไปเป็นเส้นทางฝั่งตะวันตกของทะเลสาบ คือ แถบเมืองพระตะบอง, โพธิสัตว์, บริบูรณ์ และละแวก เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามการสงครามครั้งนี้ไม่มีการกล่าวถึงในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาแต่อย่างใด
บ้างก็ว่าชื่อ “เสียมเรียบ” ตั้งขึ้นใหม่แทน “เสียมราฐ” หลังจากที่ใน กรณีพิพาทอินโดจีน พันตรีแปลก พิบูลสงคราม ผู้บัญชาการกองทัพอีสานและบูรพาในขณะนั้น ได้เคยบุกข้ามชายเดนขับไล่ฝรั่งเศสออกจากดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงพระตะบอง และเสียมราฐ แต่แพ้