การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และเศรษฐกิจสังคม นำไปสู่การปฏิรูปด้านการศึกษาของกัมพูชาก่อนปี พ.ศ.2518 ประเทศไทยยึดระบบการศึกษาแบบฝรั่งเศษซึ่งให้มีการศึกษาภาคบังคับ 13 ปี (6+4+2+1) ภายหลังปี พ.ศ. 2522 กระทรวงศึกษาฯใช้ระบบการศึกษาแบบ 10 ปี (4+3+3) และต่อมาได้ขยายเป็นแบบ 11 ปี และใช้สืบเนื่องจากปี พ.ศ.2529 ถึง 2539
กระทรวงศึกษาฯ ยังคงดำเนินการพัฒนาระบบการศึกษา มีการปฎิรูปหลักสูตร มีการพัฒนาตำราเรียนใหม่และนำเทคนิคการสอนใหม่ๆ มาให้กับครูเพื่อเตรียมสำหรับการนำระบบการศึกษาแบบ 12 ปีมาใช้ (6+3+3) ในปีการศึกษา 2539 – 2540 โดยระบบใหม่นี้ จะแบ่งเป็นการศึกษาก่อนประถมศึกษา 3 ปี ประถมศึกษา 6 ปี มัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี มัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี และระดับอุดมศึกษา 4 – 7 ปี ส่วนการจัดการศึกษาด้านอาชีวะและเทคนิคจัดให้ตั้งแต่ 1 ปี ไปจนถึง 3 – 5 ปีการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษานี้ บางสถาบันการศึกษาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเกษตรสาธารณสุขหรือแรงงาน การจัดการศึกษานอกระบบจะเน้นการฝึกทักษะ ให้กับประชาชน
+ นโยบาย/จุดเน้นด้านการศึกษา
ราชอาณาจักรกัมพูชา ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การศึกษาและโครงการส่งเสริมสาขาการศึกษา 2006-2010 เพื่อสนองตอบแผนยุทธศาสตร์ชาติของกัมพูชาระหว่างปี 2006-2010 ในการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน และเป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษกัมพูชา โดยได้มีการดำเนินการต่างๆ จากหน่วยงานทั้งในระดับชาติและระหว่างประเทศ
ยุทธศาสตร์การศึกษาของกัมพูชา
ยุทธศาสตร์กัมพูชาในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ให้ความสำคัญต่อการจัดการศึกษาอย่างเสมอภาคและมีประสิทธิภาพแก่เด็กกัมพูชาให้เป็นนักเรียนที่ดี เยาวชนที่ดี และประชาชนที่ดี เพื่อช่วยส่งเสริมการพัฒนาด้านสังคมเศรษฐกิจของประเทศ นโยบายสำคัญได้แก่
• การให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาด้วยการสร้างโรงเรียนให้อยู่ใกล้บ้านนักเรียน การจัดงบประมาณดำเนินการที่พอเพียง การจัดครู และการสร้างหอพักให้นักเรียน โดยเฉพาะเด็กผู้หญิง
• การปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิภาพการศึกษา ด้วยการเพิ่มอุปกรณ์การเรียนการสอน ห้องสมุด หัองปฏิบัติการ การปฏิรูปหลักสูตร การเพิ่มชั่วโมงการเรียน และการให้ทุนการศึกษาแก่เด็กยากจน
• การพัฒนาสถาบันการศึกษาและการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรการศึกษาด้วยการพัฒนากระบวนการทำงาน ปรับปรุงกฏหมาย และฝึกอบรมเจ้าหน้าที่การศึกษาทุกระดับเกี่ยวกับทักษะด้านเทคนิค
แผนปฏิบัติการด้านการศึกษา ประกอบด้วย
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การให้เด็กทุกคนได้รับบริการการศึกษา
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพการให้บริการการศึกษา
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาสถาบันและการเสริมสร้างศักยภาพการกระจายอำนาจ
นอกจากนี้ ปัจจุบัน ราชอาณาจักรกัมพูขาได้ดำเนินความร่วมมือกับเครือข่าย AUN ในโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษา ปัจจุบันมีสถาบันอุดมศึกษาของรัฐจำนวน 33 แห่ง และเอกชนจำนวน 43 แห่ง มีนักศึกษาลงทะเบียนจำนวน 168,000 คน
+ ความร่วมมือด้านการศึกษาในภูมิภาค
ราชอาณาจักรกัมพูชาได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลกัมพูชาและหุ้นส่วนองค์การระหว่างประเทศ ประกอบด้วย ยูนิเซฟ ยูเนสโก และไจก้า ประเทศญี่ปุ่น
กัมพูชาให้ความสำคัญต่อการพัฒนาความร่วมมือในภูมิภาค ดังนี้
1. การฝึกอบรมครูเพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนและการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในภูมิภาค
2. การศึกษาด้านเทคนิคและอาชีวศึกษาเพื่อสร้างกำลังคนให้มีศักยภาพการแข่งขันในภูมิภาค
3. การพัฒนาด้านอุดมศึกษา (การประกันคุณภาพและระบบการถ่ายโอนหน่วยกิต กรอบคุณวุฒิ