แขวงหลวงน้ำทาตั้งอยู่ทางภาคเหนือของ สปป. ลาว ทิศเหนือติดต่อกับประเทศจีนและพม่า ทิศใต้ติดต่อกับ แขวง.อุดมไซ ทิศตะวันออกติดต่อกับแขวงพงสาลี ทิศตะวันตกติดต่อกับแขวงบ่อแก้ว การเดินทางในประเทศลาวเพื่อไปแขวงหลวงน้ำทาด้วยทางรถยนต์ตามทางลาดยางที่แคบ ขึ้นเขา ลงเขา และคดไปโค้งมาเกือบตลอดทาง
ซึ่งเป็นทางเดียวกับการเดินทางไปหลวงพระบาง แต่ขับรถเลยขึ้นไป ผ่านแขวงอุดทไซ จึงจะเข้าสู่แขวงหลวงน้ำทา ซึ่งทางในช่วงท้ายๆค่อนข้างลำบาก ทางไม่ดี (อยู่ในระหว่างการพิจารณาให้การช่วยเหลือจากรัฐบาล สปจ.) ถ้าเดินทางผ่านประเทศไทยโดยข้ามแพขนานยนต์ที่ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เข้าสู่ สปป.ลาวที่เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว
ใช้เส้นทาง R3 ซึ่งสร้างใหม่โดยการช่วยเหลือของประเทศไทยและประเทศจีน เส้นทางตัดผ่านเขาแต่ไม่น่ากลัวเมื่อเทียบกับทางไปเชียงขวาง ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมงก็จะถึงเมืองหลวงน้ำทา
ประวัติแขวงหลวงน้ำทา
เป็นจุดหมายปลายทางของผู้ที่ชอบแสวงหาสิ่งใหม่ๆ หลวงน้ำทามีทั้งการให้ชมวิถีชีวิตของชนเผ่าต่างๆ ร่องรอยจากสงครามกองทัพขบวนการปะเทดลาวกับกองโจรม้ง กอปรกับเมืองสิงห์ ซึ่งเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำ
ในช่วงสงครามอเมริกา พ.ศ. 2498-2518 พื้นที่แถบนี้เคยเป็นสมรภูมิรบ ระหว่างขบวนการปะเทดลาวและกลุ่มกองโจรของพวกชาวเขา ส่วนใหญ่เป็นม้ง ที่ได้รับการหนุนหลังจากหน่วยงานซีไอเอของสหรัฐฯ ส่งผลให้ตัวเมืองถูกทำลายโดยไม่สามารถซ่อมแซมได้ ต้องย้ายไปสร้างเมืองใหม่ที่ริมฝั่งแม่น้ำทา ห่างจากที่ตั้งเดิมมาทางเหนือ 7 กิโลเมตร ใกล้กับทางหลวงที่ใช้ไปยังเมืองสิงห์ อุดมไชย และบ่อเต็น ประกอบด้วยคนหลายชนเผ่า แม้ว่าทางการจะย้ายเมืองหลวงใหม่มาแล้วก็ตาม แต่สถานที่ท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะอยู่ในเมืองเก่า ชาวหลวงน้ำทาเรียกเขตนี้ว่า เมือง และเรียกเขตที่สร้างใหม่ว่าแขวง นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะเข้ามาแวะพักเพื่อเดินทางต่อไปยังแขวงบ่อแก้ว หรือไม่ก็ไปจีน หรือไปยังเมืองสิงห์ ภายตัวเมืองหลวงน้ำทามีที่พักแบบเกสต์เฮาท์ค่อนข้างเยอะ ปัจจุบันหลวงน้ำทามีถนนสายกว้าง ถ้าเดินมาทางเชิงสะพานด้านตะวันออกของถนนสายหลักในยามเช้า จะเห็นผู้คนออกมาจับจ่ายซื้อของที่ตลาดซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของสถานีรถขนส่ง ถัดจากเมืองประมาณ 2 กิโลเมตรไปตามเส้นทางเมืองสิงห์ จะพบศูนย์หัตถกรรมหลวงน้ำทาซึ่งสหภาพยุโรปเป็นผู้ออกเงินสร้างเพื่อให้มีที่จำหน่ายสินค้าหัตถกรรมของชาวบ้าน
เมืองหลวงน้ำทาเป็นจุดหมายปลายทางของผู้ที่ชอบแสวงหาสิ่งใหม่ๆ หลวงน้ำทามีทั้งการให้ชมวิถีชีวิตของชนเผ่าต่างๆ ร่องรอยจากสงครามกองทัพขบวนการประเทศลาวกับกองโจรม้ง กอปรกับเมืองสิงห์ ซึ่งเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำ ในช่วงสงครามอเมริกา พ.ศ. 2498-2518 พื้นที่แถบนี้เคยเป็นสมรภูมิรบ ระหว่างขบวนการประเทศลาวและกลุ่มกองโจรของพวกชาวเขา ส่วนใหญ่เป็นม้ง ที่ได้รับการหนุนหลังจากหน่วยงานซีไอเอของสหรัฐฯ ส่งผลให้ตัวเมืองถูกทำลายโดยไม่สามารถซ่อมแซมได้ ต้องย้ายไปสร้างเมืองใหม่ที่ริมฝั่งแม่น้ำทา ห่างจากที่ตั้งเดิมมาทางเหนือ 7 กิโลเมตร ใกล้กับทางหลวงที่ใช้ไปยังเมืองสิงห์ อุดมไชย และบ่อเต็น ประกอบด้วยคนหลายชนเผ่า แม้ว่าทางการจะย้ายเมืองหลวงใหม่มาแล้วก็ตาม แต่สถานที่ท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะอยู่ในเมืองเก่า ชาวหลวงน้ำทาเรียกเขตนี้ว่า เมือง และเรียกเขตที่สร้างใหม่ว่าแขวง นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะเข้ามาแวะพักเพื่อเดินทางต่อไปยังบ่อแก้ว หรือไม่ก็ไปจีน หรือไปยังเมืองสิงห์ ภายตัวเมืองหลวงน้ำทามีที่พักแบบเกสต์เฮาท์ค่อนข้างเยอะ ปัจจุบันหลวงน้ำทามีถนนสายกว้าง ถ้าเดินมาทางเชิงสะพานด้านตะวันออกของถนนสายหลักในยามเช้า จะเห็นผู้คนออกมาจับจ่ายซื้อของที่ตลาดซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของสถานีรถขนส่ง ถัดจากเมืองประมาณ 2 กิโลเมตรไปตามเส้นทางเมืองสิงห์ จะพบศูนย์หัตถกรรมหลวงน้ำทาซึ่งสหภาพยุโรปเป็นผู้ออกเงินสร้างเพื่อให้มีที่จำหน่ายสินค้าหัตถกรรมของชาวบ้าน
ภูมิประเทศ
เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน จึงเป็นที่อยู่อาศัยของชาวเขาเผ่าต่างๆ ได้แก่ ม้ง ขมุ ไทเหนือ ไทดำ ไทแดง ไทขาว ไทยวน ไทลื้อ ละวิด ละเมด สีดา อีก้อ มูเซอ กะลอม ไทยใหญ่
แหล่งท่องเที่ยว
- วัดหลวงบ้านเชียงใจ
- วัดพระธาตุเชียงตึง
- วัดพระธาตุเมืองสิงห์
- เรือนพญาเซกอง
- ตลาดใหญ่
- พระธาตุหลวงน้ำทา
- ตลาดมืด
การเดินทาง
การเดินทางมายังหลวงน้ำทา มีรถประจำทางไว้บริการจากหลวงพระบางและห้วยทรายทุกวัน และจากหลวงน้ำทาก็มีรถประจำทางมายังเมืองสิงห์เช่นกัน ระยะทางประมาณ 59 กิโลเมตร ใช้เวลา 2 ชั่วโมง