นครหลวงเวียงจันทน์

0

นครหลวงเวียงจันทน์ (ลาว:  นะคอนหลวงเวียงจัน) เป็นเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศลาวและเป็นเขตที่ตั้งของกรุงเวียงจันทน์เมืองหลวงของประเทศลาว ลักษณะการปกครองคล้ายกับกรุงเทพมหานคร อยู่ทางตอนกลางของประเทศลาว มีเมืองเอกคือจันทะบูลี มีเขตติดต่อเป็นชายแดนกับประเทศไทยระหว่างเวียงจันทน์กับหนองคายของประเทศไทย ทางสะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 1 แขวงนครหลวงเวียงจันทน์เป็นแขวงที่เจริญที่สุดใน 18 แขวงของประเทศลาว

Vientiane_prefecture

เขตปกครองนี้ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2532 โดยแยกออกมาจากแขวงเวียงจันทน์  ตามที่สืบค้นมาพบว่า   ชื่อเดิมของเมือง “เวียงจันทน์” มีการเปลี่ยนไปตามยุคสมัย  ได้แก่ เมืองไผ่หนาม   เมืองจันทบุรีสีสัตนาทะนะหุ   เวียงจันทน์ เป็นเมืองหลวงของลาว จะครบ 450 ป ี ในปี 2553   ซึ่งนับมื้อนับยาม (นับวัน) เวียงจันทน์ได้รับการพัฒนาและเจริญขึ้นเป็นลำดับ

ทำไมจึงตั้งชื่อเมืองว่า “เวียงจันทน์”   นั้น ยังหาหลักฐานอ้างอิงที่ชัดเจน ไม่ได้    แต่ได้มีการบอกเล่าสืบต่อกันมา 2 ความคิดเห็น ความคิดเห็นแรกคือ   เดิมเป็นเมืองที่อุดมไปด้วยไม้จันทน์หอม ความคิดเห็นที่สอง คือ ตั้งอยู่ริมน้ำโขงในส่วนที่ลำน้ำโขงโค้งดั่งวงพระจันทร์   แต่ในความคิดเห็นส่วนตัว  คำว่า “เวียง ”  มีความหมายเดียวกับ “บุรี”    ซึ่งแปลว่า ” เมือง” ส่วนคำว่า “จันทน์” น่าจะมาจาก พยางค์แรกของชื่อเมืองเดิม ( จันทบุรีสีสัตนาทนห ุ)   จึงเรียกชื่อเมืองสั้นๆว่า “เวียงจันทน์”    ในโอกาสต่อไป คงต้องสืบค้นให้มีหลักฐาน อ้างอิงที่ชัดเจนน่าเชื่อถือกว่านี้

จากนครหลวงเวียงจันทน์เมื่อเดินทางไปตามถนนหมายเลข 13 เหนือ จะสิ้นสุดเขตนครหลวงเวียงจันทน์ที่หลักกิโลเมตรที่ 52  จะเข้าสู่เมืองโพนโฮง แขวงเวียงจันทน์   สถานท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่ เขื่อนไฟฟ้าน้ำงึม1 และเมืองวังเวียง จากเมืองวังเวียงจะเริ่มขึ้นเขาสูงชั้น  ผ่านเมืองกาสี เพื่อเข้าสู่แขวงหลวงพระบาง

เมืองต่างๆ ในนครหลวงเวียงจันทน์

จันทบุรี  ศรีโคตรบอง  ไชยเชษฐา  ศรีสัตตนาค  นาทรายทอง  ชัยธานี  หาดทรายฟอง  สังข์ทอง  ปากงึม

แนะนำแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ

พระธาตุหลวง
ประตูชัย
วัดสีเมือง
วัดสีสะเกด
หอพระแก้ว
หอคำ (ทำเนียบรัฐบาล)
วัดองค์ตื้อมหาวิหาร
วัดเชียงควน
ศูนย์วัฒนธรรมชนกลุ่มน้อย
อนุสาวรีย์และพิพิธภัณฑ์ท่านไกสอน พรหมวิหาน
เขื่อนน้ำงึม

 

 

 

 

 

ข้อขอบคุณข้อมูล สำนักงานผู้ช่วยทูตทหาร ไทย/เวียงจันทน์

เชิญแสดงความคิดเห็น