ท่องเที่ยว
||
เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว
||
ดูดวงตำราไทย
||
อ่านบทละคร
||
เกมส์คลายเครียด
||
วิทยุออนไลน์
||
ดูทีวี
||
ท็อปเชียงใหม่
||
รถตู้เชียงใหม่
Truehits.net
dooasia : ดูเอเซีย
รวมเว็บ
บอร์ด
เรื่องน่ารู้ของสยาม
สิ่งน่าสนใจ
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
เที่ยวหลากสไตล์
มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
เส้นทางความสุข
ขับรถเที่ยวตลอน
เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
อุทยานแห่งชาติในไทย
วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
ไก่ชนไทย
พระเครื่องเมืองไทย
เที่ยวภาคเหนือ
กำแพงเพชร
:
เชียงราย
:
เชียงใหม่
:
ตาก
:
นครสวรรค์
:
น่าน
:
พะเยา
:
พิจิตร
:
พิษณุโลก
:
เพชรบูรณ์
:
แพร่
:
แม่ฮ่องสอน
:
ลำปาง
:
ลำพูน
:
สุโขทัย
:
อุตรดิตถ์
:
อุทัยธานี
เที่ยวภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
:
ขอนแก่น
:
ชัยภูมิ
:
นครพนม
:
นครราชสีมา(โคราช)
:
บุรีรัมย์
:
มหาสารคาม
:
มุกดาหาร
:
ยโสธร
:
ร้อยเอ็ด
:
เลย
:
ศรีสะเกษ
:
สกลนคร
:
สุรินทร์
:
หนองคาย
:
หนองบัวลำภู
:
อำนาจเจริญ
:
อุดรธานี
:
อุบลราชธานี
:
บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
เที่ยวภาคกลาง
กรุงเทพฯ
:
กาญจนบุรี
:
ฉะเชิงเทรา
:
ชัยนาท
:
นครนายก
:
นครปฐม
:
นนทบุรี
:
ปทุมธานี
:
ประจวบคีรีขันธ์
:
ปราจีนบุรี
:
พระนครศรีอยุธยา
:
เพชรบุรี
:
ราชบุรี
:
ลพบุรี
:
สมุทรปราการ
:
สมุทรสาคร
:
สมุทรสงคราม
:
สระแก้ว
:
สระบุรี
:
สิงห์บุรี
:
สุพรรณบุรี
:
อ่างทอง
เที่ยวภาคตะวันออก
จันทบุรี
:
ชลบุรี
:
ตราด
:
ระยอง
เที่ยวภาคใต้
กระบี่
:
ชุมพร
:
ตรัง
:
นครศรีธรรมราช
:
นราธิวาส
:
ปัตตานี
:
พัทลุง
:
พังงา
:
ภูเก็ต
:
ยะลา
:
ระนอง
:
สงขลา
:
สตูล
:
สุราษฎร์ธานี
http://www.dooasia.com
>
กิจกรรมท่องเที่ยว
>
เที่ยวคลอง-ล่องแม่น้ำ
>
ล่องแม่น้ำ - ปทุมธานี
ปทุมธานี
ล่องแม่น้ำ - ปทุมธานี ก๋วยเตี๋ยวเรือ คลองรังสิต
ล่องแม่น้ำ - ปทุมธานี
วัดที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตปทุมธานี เป็นวัดมอญทั้งหมด จะสังเกตได้ว่าวัดมอญจะมีเสาหงส์อยู่หน้าวัด ชุมชน มอญที่จังหวัดปทุมธานียังรักษาขนบธรรมเนียมเดิมได้ดี ถ้านักท่องเที่ยวผ่านไปในช่วงทอดกฐิน จะพบธงตะขาบ และ หงส์ อยู่หน้าวัด แสดงว่าที่วัดนั้นรับกฐินแล้ว อีกประเพณีหนึ่งที่น่าสนใจคือ ตักบาตรพระร้อย ทุกวัดในเขตปทุมธานีจะ จัดเวียนกันไป ส่วนวันสงกรานต์จะมีการแห่ข้าวแช่ซึ่งตลอดทั้งปีจะทำหนเดียว เพราะจะมีกรรมวิธีการทำที่ซับซ้อนมาก และยังรักษาพิธีขนทรายเข้าวัดไว้อย่างดี บ้านเรือนสองฝั่งแม่น้ำยังยังพบบ้านมอญ ที่มีลักษณะหันหน้าสู่ตะวัน เรียกว่า บ้านมอญขวาง ซึ่งปกติบ้านไทยจะไม่หันหน้าสู่ตะวัน หรือหันจั่วลงน้ำ
วัดน้ำวน (ตอ.)
ที่เรียกชื่อวัดอย่างนี้เล่ากันว่า สมัยก่อนตรงนี้น้ำจะวนมากทำให้เรือจมอยู่บ่อยๆ แต่ปัจจุบัน ที่นี่มีชื่อเรื่องการ ประสานกระดูกที่หัก เช่นขาหัก เป็นการรักษาแบบมอญและประคบสมุนไพร
คลองรังสิต (ตอ.)
เนื่องจากเป็นสายน้ำหลักของจังหวัดจึงทำการขุดคลองรังสิตขึ้นมาเพื่อนำน้ำเข้าสู่บ้านเรือน และสวน ถูกแบ่งออก เป็นคลอง 1 - คลอง 12 แต่ปัจจุบันการเกษตร ไม่ได้ผลมากนักเพราะกรุงเทพฯ แผ่นดินทรุดน้ำไม่เพียงพอ และน้ำทะเล หนุนเข้ามา
วัดหงษ์ปทุมาวาส หรือ วัดหงษา (ตต.)
อยู่ใกล้กับศาลากลางจังหวัดปทุมธานี เป็นวัดในสมัยกรุงธนบุรี ที่วัดนี้ยังมีการทำเหมกันอยู่ เมื่อมีคนในละแวกนั้น เสียชีวิตชาวบ้านจะช่วยกันลงแรงสร้างลาย ต่อโลง ถือว่าเป็นงานบุญ การเผาศพ ตามประเพณีมอญนั้นจะเผากันแต่โรง ส่วนฝาที่มีรูปร่างเหมือนปราสาทหรือจองพารานั้นไม่ได้เผาไปด้วย บริเวณหน้าวัดทางกรมประมงได้จัดให้เป็นเขตสงวน พันธุ์สัตว์น้ำ
วัดบางนา หรือ วัดกลางนา (ตต.)
เป็นวัดเก่า ในสมัยอยุธยาซึ่งได้รับการบูรณะใหม่ มีศพหลวงปู่เส็ง ที่มีสภาพไม่เน่าเปื่อย เป็นที่นับถือของชาวบ้าน บนโบสถ์ มีกระเบื้องกาบูจัดแสดงไว้ (กระเบื้องกาบู เป็นกระเบื้องมุงหลังคาโบราณ มีทั้งตัวผู้ตัวเมียวางอยู่บนไม้ระแนง เกี่ยวกันโดยตะขอ)
วัดสิงห์ (ตต.)
มีพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงศิลปะวัตถุมอญโบราณ เช่น หม้อข้าวแช่ อิฐมอญแบบเก่าที่มี 4,6,8 รู (ในแถบวัดนี้ยังมีการ ทำอิฐมอญเป็นอุสาหกรรมในครัวเรือน) นอกจากนั้นยังมีพระพุทธบาทจำลองทำด้วยไม้สัก และพระแท่นบรรทมของพระ บาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ชุมชนสามโคก (ตต.)
เป็นชุมชนชาวมอญดั้งเดิม ที่มาลี้ภัยสงครามมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา แถบนี้ดังในเรื่องของตุ่มใส่น้ำที่เรียกว่า ตุ่มสามโคก เพราะสมัยก่อนชาวบ้านแถวนี้ มีอาชีพเผาตุ่มขาย แม้ปัจจุบันจะไม่ทำแล้วแต่ก็ยังนำเรือกระแชงไปเกาะ เกร็ดซื้อเครื่องปั้นดินเผามาขายที่กรุงเทพฯ ดินที่นำไปทำภาชนะดินเผาที่ปากเกร็ดก็นำมาจากสามโคก
วัดจันทน์กะพ้อ (ตอ.)
วัดนี้สร้างขึ้นพร้อมกับชาวมอญที่อพยพมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ชื่อของวัดอาจจะเกี่ยวเนื่องกับ ความเชื่อของชาวมอญที่ถือว่าต้นจันทน์กะพ้อเป็นไม้มงคล บริเวณวัดร่มรื่นด้วยพุทธอุทยานซึ่งมีการเขียน คติธรรมสอน ใจไว้ตามต้นไม้ด้วย และหน้าวัดเป็นวังมัจฉา
วัดไผ่ล้อม(ตอ.)
เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่อยู่ในความสนใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากบริเวณ วัดนั้นเป็นที่อาศัยของ นกปากห่าง จำนวนมาก เป็นนกในตระกูลนกกระสา มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ลังกา อัสสัม พม่า ไทย ลาว เขมร และเวียตนาม เป็นนกประจำถิ่น แต่มีบางพวกที่อพยพเปลี่ยนที่หากินไปตามฤดูกาล นกจะเริ่มอพยพ มาอาศัยอยู่ที่วัดไผ่ล้อมในระหว่างเดือน พฤศจิกายนถึงเดือนมิถุนายนของทุกปี โดยจะเริ่มจับคู่ทำรัง และผสมพันธุ์จน กระทั่งวางไข่และเลี้ยงลูกอ่อนจนลูกนกโต และสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ พอเข้าฤดูฝนประมาณเดือนมิถุนายนถึงเดือน ตุลาคมนกส่วนมากจะอพยพไปยังประเทศอินเดีย อาหารของนกปากห่าง คือ หอยโข่ง ปัจจุบัน นกปากห่าง เป็นสัตว์ป่า สงวนที่อยู่ในความดูแลของกองอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้
การเดินทาง โดยเรือ
ใช้เส้นทางถนนสายปทุมธานี-สามโคก เลยที่ว่าการอำเภอสามโคกถึงวัดสามัคคิยาราม แล้วลงเรือ ข้ามฟากไปวัดไผ่ล้อม นอกจากนี้ บริษัทสุภัทรา ยังมีบริการเรือนำเที่ยว กรุงเทพฯ-วัดไผ่ล้อม-ศูนย์ศิลปาชีพ ไป-กลับ ทุก วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 08.00 และจะกลับเวลา 17.30 น. จากท่าเรือมหาราช อัตราค่าโดยสาร 280 บาท (ไม่รวมค่าน้ำ อาหาร หรือค่าเข้าชมสถานที่ต่าง ๆ เช่น ศูนย์ศิลปาชีพพิเศษบางไทร พระราชวังบางปะอิน) ติดต่อสอบถามรายละเอียด ได้ที่ท่ามหาราช โทร. 0 2222 5330, 0 2225 3002-3 วันเสาร์และอาทิตย์ในบริเวณวัดมีร้านจำหน่าย อาหารเครื่องดื่ม และของที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยว
วัดเจดีย์ทอง (ตต.)
หากมาทางเรือจะพบเจดีย์ทอง ทรงรามัญสวยเด่นอยู่ริมน้ำเป็นสถาปัตยกรรมมอญที่เลียนแบบมาจากเจดีย์จิตตะ กองของพม่า ที่โบสถ์ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยอันเป็นที่เคารพสักการะของชาวรามัญ พระองค์นี้สร้างขึ้นด้วย หยกขาวที่นำมาจากพม่า
วัดสองพี่น้อง (ตต.)
เป็นวัดรามัญแบบมหานิกาย ที่ริมน้ำประดิษฐานพระพุทธรูปหินทรายศิลปะอู่ทองหลวง พ่อเพชร และหลวงพ่อ พลอย ว่ากันว่าเป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธ์มาก ผู้คนที่มาค้าขายในบริเวณนี้จะนำน้ำในแม่น้ำทางด้านหน้า มาประพรม สินค้า เชื่อว่าจะทำให้ทำมาค้าคล่อง
ตามตำนานเล่าว่าสมัยก่อนแถบนี้ไม่มีผู้คนอยู่อาศัย เพราะพื้นดินเป็นลานเท เวลาใครมาค้าขายจะไม่มีบ้านพักอาศัย มีแต่ โจรสองพี่น้องอาศัยอยู่ วันหนึ่งพ่อแม่ของโจรสองพี่น้องมาค้าขายแถวนี้ พอตกดึกโจรลอบไปปล้นแล้วฆ่าโดยที่ไม่รู้ว่าเป็น พ่อแม่ พอรุ่งเช้าจึงรู้ว่าฆ่าพ่อแม่ของตัวเอง จึงสำนึกบาปและนำเงินทั้งหมดไปสร้างวัดสองพี่น้อง
วัดศาลาแดง (ตต.)
ศาลาการเปรียญของวัดนี้เคยเป็นโรงโขนมาก่อน ชะลอ (แยกชิ้นส่วนมาประกอบภายหลัง) มาทางน้ำจากกรุงเทพฯ ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นศาลาไม้สักทั้งหลัง มีเสาเท่านั้นที่หล่อขึ้นมาใหม่ ภายในประดิษฐานหลวงพ่อหยกขาว ที่บรรจุพระ บรมสารีริกธาตุซึ่งอัญเชิญมาจากอินเดีย ชื่อของวัดคงได้มาจากว่า ที่วัดนี้มีต้นแดงอยู่ ถ้าแวะไปในโอกาสดีก็จะเห็นดอกไม้ แดงบานสะพรั่งอยู่เต็มต้น
สิ่งที่น่าสนใจมากคือเครื่องกรองน้ำที่ทันสมัยที่สุดเมื่อ 60 ปีที่แล้ว เล่ากันว่านำมาจากเมืองจีนเมื่อใส่น้ำลงไปในตุ่มดินเผา แล้วปล่อยให้น้ำซึมออกมาจะได้น้ำใสสะอาดใช้ดื่มได้ และน้ำจะเย็นชื่นใจมากเพราะตุ่มดินเผานั้นมีคุณสมบัติเก็บความเย็น
ชุมชนศาลาแดง
เป็นชุมชนชาวมอญที่เข้ามาตั้งถิ่นฐาน ในสมัยรัชกาลที่ 2 เป็นชุมชนที่มีระบบการจัดการชุมชนที่ดี เคยได้รับรางวัลทาง ด้านความสะอาด บ้านเรือนในหมู่บ้านพร้อมใจสร้างเป็นแบบเดียวกันหมด สร้างเป็นบ้านไม้ทรงไทย และเคลือบเงาไม้เท่า นั้น หลังคาสีแดงตามชื่อชุมชน นักท่องเที่ยวมักจะแวะเวียนไปขอชมความสะอาด
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย
www.dooasia.com
เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com
ใช้
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย
.