ท่องเที่ยว
||
เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว
||
ดูดวงตำราไทย
||
อ่านบทละคร
||
เกมส์คลายเครียด
||
วิทยุออนไลน์
||
ดูทีวี
||
ท็อปเชียงใหม่
||
รถตู้เชียงใหม่
Truehits.net
dooasia : ดูเอเซีย
รวมเว็บ
บอร์ด
เรื่องน่ารู้ของสยาม
สิ่งน่าสนใจ
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
เที่ยวหลากสไตล์
มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
เส้นทางความสุข
ขับรถเที่ยวตลอน
เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
อุทยานแห่งชาติในไทย
วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
ไก่ชนไทย
พระเครื่องเมืองไทย
เที่ยวภาคเหนือ
กำแพงเพชร
:
เชียงราย
:
เชียงใหม่
:
ตาก
:
นครสวรรค์
:
น่าน
:
พะเยา
:
พิจิตร
:
พิษณุโลก
:
เพชรบูรณ์
:
แพร่
:
แม่ฮ่องสอน
:
ลำปาง
:
ลำพูน
:
สุโขทัย
:
อุตรดิตถ์
:
อุทัยธานี
เที่ยวภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
:
ขอนแก่น
:
ชัยภูมิ
:
นครพนม
:
นครราชสีมา(โคราช)
:
บุรีรัมย์
:
มหาสารคาม
:
มุกดาหาร
:
ยโสธร
:
ร้อยเอ็ด
:
เลย
:
ศรีสะเกษ
:
สกลนคร
:
สุรินทร์
:
หนองคาย
:
หนองบัวลำภู
:
อำนาจเจริญ
:
อุดรธานี
:
อุบลราชธานี
:
บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
เที่ยวภาคกลาง
กรุงเทพฯ
:
กาญจนบุรี
:
ฉะเชิงเทรา
:
ชัยนาท
:
นครนายก
:
นครปฐม
:
นนทบุรี
:
ปทุมธานี
:
ประจวบคีรีขันธ์
:
ปราจีนบุรี
:
พระนครศรีอยุธยา
:
เพชรบุรี
:
ราชบุรี
:
ลพบุรี
:
สมุทรปราการ
:
สมุทรสาคร
:
สมุทรสงคราม
:
สระแก้ว
:
สระบุรี
:
สิงห์บุรี
:
สุพรรณบุรี
:
อ่างทอง
เที่ยวภาคตะวันออก
จันทบุรี
:
ชลบุรี
:
ตราด
:
ระยอง
เที่ยวภาคใต้
กระบี่
:
ชุมพร
:
ตรัง
:
นครศรีธรรมราช
:
นราธิวาส
:
ปัตตานี
:
พัทลุง
:
พังงา
:
ภูเก็ต
:
ยะลา
:
ระนอง
:
สงขลา
:
สตูล
:
สุราษฎร์ธานี
http://www.dooasia.com
>
กิจกรรมท่องเที่ยว
>
เที่ยวคลอง-ล่องแม่น้ำ
>
ล่องเรือเที่ยวในกรุงเทพ
กรุงเทพมหานคร
คลองบางกอกใหญ่
สะพานเจริญพาสน์ 33 วัดอินทราราม หรือ วัดบางยี่เรือ
คลองบางกอกน้อย
คลองบางกอกใหญ่
คลองบางกอกใหญ่ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า คลองบางข้าหลวง หรือ คลองบางหลวง เคยเป็นชุมชนของข้าหลวง ตั้งแต่สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี คลองนี้ก็คือแม่น้ำเจ้าพระยาสายเดิม เคยเป็นเส้นทางสำหรับเรือที่มาค้าขาย สองฝั่งคลองมี เรือนไทย ให้เห็นตามรายทาง ทั้งเรือนปั้นหยา เรือนฝากระดาน เรือนทรงระบำแบบบังกะโล มีเรือเมล์เข้ามาจากท่าราชินี (ปากคลอง ตลาด) และท่าสะพานพุทธ มีสถานที่น่าสนใจ ดังนี้
วัดหงส์รัตนาราม(วัดเจ๊สัวหง)
ตั้งอยู่ที่เขตบางกอกใหญ่ เป็นวัดในสมัยอยุธยาตอนปลาย มาบูรณะในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี และครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาล ที่ 3 เพื่อถวายพระกุศลให้ท่านแก้วพระอัยยิกา ชื่อของวัดจึงประกอบด้วยสองคำ คือ คำว่า หงส์ นั้นมาจากคำว่า อาฮง แถบนี้เคยมีชุมชนชาวจีนมาอยู่ก่อน ต่อมามีชุมชนชาวมอญมาอยู่ ส่วนคำว่า รัตนา มาจากชื่อของท่านแก้ว
โบสถ์ที่สร้างสมัยสมเด็จพระเจ้าตาก พระองค์มักจะเสด็จมานั่งวิปัสสนากรรมฐานที่วัดนี้ด้วย เมื่อบูรณะใหม่สมัยรัชกาลที่ 3 เป็นลักษณะทางสถาปัตยกรรม สมัยอยุธยาตอนปลาย แต่ที่เสาภายในพระอุโบสถเป็นแบบอยุธยาตอนต้นซึ่งนำแบบอย่าง มาจากสุโขทัยเป็นเสากลมเรียงเข้าไปแบ่งได้ เจ็ดห้อง เขียนลายพุ่มข้าวบิณฑ์ประดับด้วยดอกพุดตานด้านใน ตรงเพดาน ทำลดหลั่นกันเป็นชั้น มีกระดานคอสองและมีหงส์ ฐานแบบตกท้องช้าง
จิตรกรรมฝาผนังและลวดลายแกะสลักที่ประตูนั้น ล้วนแต่เป็นลายดอกพุดตาน และเบญจมาศเป็นพระราชนิยมในรัชกาลที่ 3 ซึ่งดอกพุดตาน เบญจมาศ และโบตั๋นนั้น จะเกี่ยวกับความเชื่อใน ฮก ลก ซิ่วด้วย ตรงบันไดทางขึ้นพระอุโบสถมีรูปปั้น ประดับแปลกกว่าที่อื่นคือเป็นรูปกบ ด้านข้างมีศาลสมเด็จพระเจ้าตากสิน ศาลเก่าซึ่งสร้างเป็นไม้ชำรุดทรุดโทรม ต่อมา กองทัพเรือก็มาบูรณะสร้างศาลใหม่ แต่ยังรักษาศาลเก่าไว้ รายละเอียดสอบถามที่ โทร. 0 2466 8126
สะพานเจริญพาสน์ 33
สร้างในสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นพระราชนิยมที่สร้างสะพานและนำหน้าชื่อด้วยคำว่า เจริญ และต่อด้วยเลขบอก พระชนมายุ ซึ่งรัชกาลที่ 5 พระบรมชนกนาถนิยมสร้างสะพานชุด เฉลิม เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาของ ทุกปี
วัดอินทราราม หรือ วัดบางยี่เรือ
เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี เครื่องบนพระวิหารประดับด้วยชามกระเบื้อง ภายในมีพระพุทธรูป สมัยอยุธยาตอนปลาย คือ หลวงพ่อดำ และมีพระแท่นบรรทมสำหรับพระเจ้าตากเมื่อมา วิปัสสนาที่วัดแห่งนี้ พระแท่นทำด้วยไม้ พนักประดับด้วยงาช้างแกะลาย พระวิหารเปิดให้ชมทั้งวัน ส่วนพระอุโบสถเปิดในวันพระ จะมีพุทธศาสนิกชนมานั่ง วิปัสสนากรรมฐาน ด้านข้างมีเจดีย์ที่บรรจุอัฏฐิของพระเจ้าตากและพระมเหสี เรียกว่า เจดีย์กู้ชาติและบริเวณบ้านเรือนรอบ ๆ วัดยังคงอนุรักษ์ไว้เป็นเรือนปั้นหยา สร้างสมัยรัชกาลที่ 6 - 7
คลองด่าน
จากคลองบางกอกใหญ่เลี้ยวซ้ายเข้าสู่คลองด่านซึ่งขุดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เพื่อเป็นเส้นทางลำเลียงสินค้าจากเพชรบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร ราชบุรี สินค้าที่ลำเลียงมาเป็นจำพวกอ้อย และน้ำตาล ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ ตั้งแต่หลัง การทำสนธิสัญญาเบอร์นีกับอังกฤษในสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นสินค้าที่ชาวตะวันตกต้องการและให้กำไรมาก เพราะเป็นเส้น ทางลำเลียงสินค้านี่เองตรงนี้จึงเป็นด่านเก็บภาษีอันเป็นที่มาของชื่อคลอง
คลองนี้แบ่งเป็นสามช่วงตามชื่อเรียก คลองด่าน จะสิ้นสุดตรงวัดราชโอรสาราม และต่อไปเป็น คลองสนามชัย หรือ คลองมหาชัย เป็นจุดที่รัชกาลที่ 3 ได้เปิดโขลนทวารไปรบพม่า ที่ด่านเจดีย์สามองค์ จ.กาญจนบุรี คลองโคกขาม เป็น จุดที่เกิดตำนานพันท้ายนรสิงห์ ปัจจุบันยังมีเรือบรรทุกทรายหินจากมหาชัยมาตามเส้นทางนี้ เพราะคลองนี้จะไปออกที่ แม่น้ำท่าจีนได้
วัดปากน้ำ
เป็นวัดในสมัยอยุธยาตอนปลาย แต่หลังจากที่มีการปฏิสังขรณ์วัดใหม่ ปัจจุบันจึงเหลือเพียงหอไตรที่ยังเป็นของ เก่าอยู่ เป็นฝีมือช่างสมัยพระนารายณ์ยังเห็นลวดลายสลัก เป็นรูปกระจังที่ซุ้มประตูหน้าต่างและหน้าบันยังสมบูรณ์และงดงาม ที่วัดนี้มีโรงเรียนปริยัติธรรมภาวนานุสนธ์ ประชาชนมาทำบุญสักการะหลวงพ่อวัดปากน้ำกันทุกวัน
วัดอับสรสวรรค์วิหาร
มีอีกชื่อหนึ่งว่า วัดหมูประวัติความเป็นมาของชื่อนั้นน่าสนใจ เล่ากันว่าผู้สร้างวัดนี้เป็นเศรษฐีจีน ชื่อ อู๋ จึงเรียกวัดจีนอู๋ ต่อมาจึงเพี้ยนไปเป็นวัดหมูแต่ที่น่าสนใจ มากกว่านั้น และผูกพันกับวิถีชีวิตชาวบ้านคือ ชาวบ้านบริเวณวัด ส่วนมากมีอาชีพ เลี้ยงหมูและขายหมูเป็นหลัก ในวัดเองก็เต็มไปด้วยหมูที่ชาวบ้านนำมาปล่อยแก้บน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 เจ้าจอมน้อย สุหรานากงผู้ที่มีท่วงท่ารำที่งดงามมากดุจนางอัปสรสวรรค์ เห็นสภาพวัดชำรุดทรุดโทรม จึงมาปฏิสังขรณ์ เพื่ออุทิศ ส่วนกุศลให้แก่เจ้าพระยาพลเทพ ผู้เป็นบิดา จากนั้นจึงกำหนดให้เป็นชื่อของวัด
วัดนางชี
บรรยากาศภายในวัดร่มรื่นมากประดับตกแต่ง ด้วยต้นไม้นานาพันธุ์งดงามมาก พระอุโบสถที่วัดนี้มีมาตั้งแต่ สมัยอยุธยา แต่วัดนี้มาบูรณะในสมัยรัชกาลที่ 3 รูปแบบ ทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมในวัดจึงเป็นแบบจีน โดยปกติ ไม่เปิดให้ นักท่องเที่ยวเข้าชม ส่วนที่พระวิหารมีเตียงไม้มะเกลือ แบบจีนที่สลักลวดลายวิจิตรงดงามมาก ซึ่งพระยาโชดึกราชเศรษฐี นำมาถวายวัด เนื่องจากบุตรีของท่านคลอดบุตรแล้วเสียชีวิตบนเตียงนี้
วัดนี้เป็นวัดเดียวในกรุงเทพที่มีประเพณีชักพระ จึงจะอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าและพระสาวก ประดิษฐานยังบุษบก แล้วชักแห่ไปทางเรือ เข้าคลองชักพระ แล้วแวะเลี้ยงเพลที่วัดไก่เตี้ย ก่อนจะย้อนกลับทางขวาเข้า คลองบางกอกน้อย ออกแม่น้ำเจ้าพระยาแล้วกลับเข้าคลองบางกอกใหญ่ กลับวัดนางชี ถือเป็นการทักษิณาวัตรบางกอก ประเพณีนี้จะกระทำทุกวันแรม 2 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี เป็นวันสิ้นฤดูฝน จะมีการละเล่นต่าง ๆ เช่น แข่งเรือ เพลงเรือ และแห่เรือ
วัดหนังราชวิหาร
สันนิษฐานว่าเป็นวัดสมัยอยุธยาเดิมเป็นวัดราษฎร์ มาบูรณะในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยสมเด็จ พระศรีสุราลัยพระบรมราช ชนนีในรัชกาลที่ 3 และยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เล่ากันว่าคงเป็นเพราะท่านมีนิวาสถาน อยู่บริเวณนี้จึงได้มาบูรณะ ที่นี่
วัดนางนองวรวิหาร
อยู่ตรงข้ามฝั่งคลองกับวัดหนัง สร้างในสมัยอยุธยา มาบูรณะในสมัยรัชกาลที่ 3 ภายใน พระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธ รูปสมัยสุโขทัย สร้างด้วยสัมฤทธิ์ ลงรักปิดทองทรงเครื่องน้อยซึ่งเครื่องทรงนั้นทำแยกต่างหาก จากองค์พระนับเป็นงาน ปฏิมากรรมที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ พระมหามงกุฏของพระประธานสร้างขึ้นใหม่ เนื่องจากของเก่านั้น รัชกาลที่ 3 ทรง โปรดให้อัญเชิญไปอยู่ที่ยอดนภศูลของพระปรางค์ วัดอรุณ จิตรกรรมฝาผนังที่วัดนี้มีทั้งการเขียนด้วยลายรดน้ำ แบบไทย รูปดอกพุดตาน และลายกำมะลอแบบจีนเรื่องสามก๊ก ฮ๊ก ล๊ก ซิ่ว ม้าหมู่บูชาสวยงามมากทีเดียว (การเขียนลายกำมะลอ เป็นการเขียนลงรัก ปิดทออง แล้วนำสีมาแต้ม)
วัดราชโอรสาราม หรือ วัดจอมทอง
มีทางเดิน เชื่อมกับวัดหนังเป็นวัดเก่าตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และเป็นวัด ประจำรัชกาลที่ 3 พระองค์มาบูรณะวัดนี้ตั้งแต่ ยังดำรงพระยศเป็น กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ที่มุมหนึ่งด้านนอกพระอุโบสถมีพระแท่น ที่ประทับอยู่ใต้ต้นพิกุล (เล่ากันว่า เวลาที่ท่านเสด็จมาที่วัดนี้ มักจะประทับที่ใต้ต้นพิกุลต้นนี้) วัดนี้เป็นวัดแม่แบบของการสร้างโบสถ์แบบพระราชนิยม ในรัชกาลที่ 3 ที่หน้าบันจะไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ประดับ ตกแต่งด้วยถ้วยชามเบญจรงค์ ภายในโบสถ์ประดิษฐาน พระประธานเป็นปางสมาธิ ฐานชุกชีนั้นนับว่ามีความละเอียด งดงามที่สุดก็ว่าได้ มีตราพระราชลัญจกรของรัชกาลที่ 3 เป็นรูปปราสาทและภายในฐานนั้นบรรจุพระสรีรังคาร ของรัชกาลที่ 3 จิตรกรรมฝาผนังเป็นรูปม้าหมู่บูชาทั้งหมดสวยงามมาก
คลองสนามชัย
วัดไทร
มีพระพุทธรูปสลักหินทรายแดง ปางต่างๆ อยู่ในพระวิหาร ทำให้ทราบว่าเป็นวัดตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สิ่งที่น่าสนใจ ในวัด คือ พระตำหนักทอง ที่พระเจ้าเสือทรงอุทิศ ให้เป็นกุฏิสงฆ์ พระตำหนักนี้เขียนลายทองทั้งข้างนอกและข้างใน
คลองบางเชือกหนัง
วัดเกาะ
รอบ ๆ บริเวณวัดมีบรรยากาศสงบร่มรื่น มีวิหารเก่าอายุประมาณ 80 ปี และได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณ สถานแล้ว
ฟาร์มกล้วยไม้
ชาวบ้านสองฝั่งคลองประกอบอาชีพ ทำสวน และส่วนใหญ่จะเป็นฟาร์มกล้วยไม้ตัดดอกขาย ชาวพุทธนิยมนำมาถวาย พระ
คลองชักพระ
วัดกำแพง
สร้างในสมัยอยุธยา มีลายปูนปั้นที่ซุ้มประตู หน้าต่างงดงามมาก ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 3 ภาพจิตรกรรม ภายในยังรักษาได้สมบูรณ์อยู่มาก
ตลาดน้ำตลิ่งชัน
อยู่หน้าที่ทำการเขตตลิ่งชัน เป็นตลาดน้ำที่บรรยากาศจะแตกต่างกับตลาดน้ำที่อื่น ๆ ตรงที่มีแพให้เรือนำสินค้ามาขาย สะดวกสำหรับนักท่องเที่ยวในการที่จะซื้อของ มีอาหารหลายชนิด อีกทั้งผลไม้ตามฤดูกาลที่ชาวสวนพายเรือมาขายเอง ในวันอาทิตย์ ทางเขตตลิ่งชันได้จัดดนตรีไทยบรรเลงโดยนักเรียนของโรงเรียนในพื้นที่ และดนตรี กลางสวนป่าในช่วง เที่ยงวันเสาร์และบ่ายวันอาทิตย์ ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเข้าร่วมเล่นด้วยก็ได้ ใกล้สวนป่ามีร้านจำหน่ายพันธุ์ไม้ดอกไม้ ประดับ โดยสามารถเลือกซื้อคุณภาพดี ได้ในราคาถูก พันธุ์ไม้หายากตั้งแต่ต้นปาหนันช้าง ต้นจันทร์กะพ้อ ต้นสุพรรณ- ณิการ์ ฯลฯ ทางสำนักงานเขตได้จัดบริการเรือนั่งชมธรรมชาติคลองต่าง ๆ พาชมสวนผลไม้ดอกไม้และสวนผักของ ชาวบ้าน
สอบถามก่อนล่วงหน้าได้ที่เขตตลิ่งชัน โทร. 0 2424 2515 จะมีบริการนำเที่ยวสลับสับเปลี่ยนกันไป จัดเฉพาะเสาร์-อาทิตย์ เวลา 08.00-16.00 น. ใช้เวลาท่องเที่ยวประมาณ 2 ชั่วโมง ผู้ใหญ่ท่านละ 70 บาท เด็ก 40 บาท
การเดินทางมาที่เขตตลิ่งชัน วิ่งรถเข้าถนนคู่ขนานด้านใน ข้ามสะพานยกระดับทางรถไฟ เมื่อถึง สน.ตลิ่งชัน แล้วเตรียม เลี้ยวซ้ายเช้าถนนฉิมพลี ผ่านสวนหย่อม วิ่งตรงมาเรื่อย ๆ จนสุดถนนฉิมพลี ก็จะพบสำนักงานเขตตลิ่งชัน หากโดยสารรถ ประจำทาง สาย ปอ. 79 จากหน้ากองสลาก ถนนราชดำเนินกลาง แล้วลงหน้า สำนักงานเขตตลิ่งชัน ตลาดจะเริ่มในช่วง เช้า-บ่าย
คลองบางระมาด
เป็นคลองเล็ก ๆ แยกจากคลองชักพระ ไปทางด้านตะวันตก ไปบรรจบกับคลองบางพรหม จะพบชาวสวนนำผักผลไม้ไป ขายตรงสถานีรถไฟบางกอกน้อย
คลองบางกอกน้อย
คลองบางกอกน้อยแบ่งเป็นสองช่วง คือจากคลองชักพระ เลี้ยวซ้ายเข้าคลองบางกอกน้อย คลองช่วงนี้จะขุดในสมัย สมเด็จ พระมหาจักรพรรดิ และช่วงที่เป็นแม่น้ำเจ้าพระยาสายเดิม คือตั้งแต่วัดโพธิ์บางโอขึ้นไปจนถึงคลองอ้อม ในสมัยกรุง ศรีอยุธยา เคยเป็นเส้นทางลำเลียงสินค้าจาก นครชัยศรี สุพรรณบุรี ฉะนั้นจึงเคยมี ตาเหลว หรือด่านเก็บภาษีเช่นเดียว กับคลองด่าน สามารถโดยสารเรือจากท่าช้าง เส้นทางบางกอกน้อย - บางใหญ่ ตั้งแต่เวลา 06.30 - 21.00 น. ค่าโดยสาร 30 บาท มีสถานที่น่าสนใจ ดังนี้
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี
เป็นอู่เก็บเรือ พระที่นั่งสุพรรหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่ง เอนกชาติภุชงค์ และเรือที่ใช้ในพระราชพิธี ต่าง ๆ ตั้งแต่สมัย กรุงธนบุรีถึงกรุงรัตนโกสินทร์ เรือเหล่านี้ล้วนเป็นเรือขุดทั้งสิ้น ซึ่งพระราชพิธีหลวงทางชลมารคนี้ มีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยแล้ว ต่อมาสมัยอยุธยาจึงมีพระราชพิธีกฐินหลวง ทางชลมารค
วัดสุวรรณาราม
เป็นพระอารามหลวง ก่อสร้างสมัยอยุธยาตอนปลาย ครั้งหนึ่งในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีเคยใช้เป็นลานประหารหมู่เชลยศึก พม่า เนื่องจากท่านเกรงว่านักโทษจะแหกคุกตอนที่จะยกทัพหลวงขึ้นไปต้านพม่าที่พิษณุโลก สิ่งที่เป็นสมบัติล้ำค่าของวัด นี้และของประเทศชาติอยู่ในพระอุโบสถ นั่นก็คือ ภาพจิตรกรรมฝีมือเยี่ยมของช่างหลวงสมัยรัชกาลที่ 3 และจิตรกรชั้นครู ซึ่งเขียนประชันกัน อย่างคงแป๊ะที่ถนัดภาพมโหสถ และอาจารย์ทองอยู่วาดชาดกตอนเตมีราช
วัดศรีสุดาราม (วัดชีปะขาว)
สร้างในสมัยอยุธยา และมาบูรณะในสมัยรัชการที่ 1 และวัดนี้เคยเป็นที่จำพรรษาเมื่อครั้งสุนทรภู่เป็นภิกษุ นักท่องเที่ยว จะหยุดแวะให้อาหารปลาที่หน้าวัดนี้เสมอ
วัดนายโรง
สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยา แล้วมาปฏิสังขรณ์ ในสมัยรัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 4 ตามประวัติผู้สร้างโบสถ์ที่นี่คือ นายโรง ละคร จึงเรียกที่นี่ว่า วัดนายโรง ที่วิหารมีรูปปั้นของนายโรงละคร ภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นฝีมือช่างพื้นบ้านมีการสอด แทรกอารมณ์ขันของศิลปินไว้ในภาพ ส่วนบนจะเป็นภาพพุทธประวัติ ภาพเทพ คนธรรม์ ชาวต่างประเทศ และภาพเทพ ชุมนุมซึ่งแบบนำมาจากพระที่นั่งพุทไธสวรรค์ ซี่งนำแบบมาจากวัดใหญ่สุวรรณารามที่เพชรบุรีอีกต่อหนึ่ง
วัดสุวรรณคีรี (วัดขี้เหล็ก)
ตั้งอยู่ตรงทางสามแพร่งพอดี คือทางที่แยกไปคลองชักพระและบางกรวย ทางวัดจึงได้สร้าง พระพุทธรูป ปางห้ามสมุทร ไว้หน้าวัดเพื่อเป็นเครื่องกันอาถรรพ์ เป็นความเชื่อที่ถือมาแต่โบราณ ภายในโบสถ์ที่ประดับด้วย รูปแกะนารายณ์ทรง สุบรรณฝีมือช่างจิตรลดา และภาพไม้แกะสลัก เป็นรูปศาสนสถานที่สำคัญต่างๆ เช่น พระธาตุดอยสุเทพ พระธาตุหริภุญชัย และ พระธาตุพนม โบสถ์เปิดทุกวันถึง 17.00 น
สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือ หอไตรซึ่งมีบานประตู เขียนลายทองทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ลายหน้ากระดานเป็นก้ามปู สวยงาม มาก ลวดลายแบบนี้จะนิยมในสมัยรัชกาลที่ 4
วัดไก่เตี้ย
มีหอพระไตรปิฏกเก่าสมัยอยุธยา แต่ทางวัดไม่ได้บูรณะ พระบรมสารีริกธาตุจากวัดนางชีมาขึ้นที่นี่ และประกอบพิธี ก่อน จะนำออกสู่คลองบางกอกน้อย แม่น้ำเจ้าพระยา และคลองบางกอกใหญ่ตามลำดับ
วัดชลอ
ตั้งอยู่ที่อำเภอบางกรวย มีโบสถ์เก่าสมัยอยุธยาตอนต้น ฐานโบสถ์ตกท้องช้าง อิฐที่ใช้ก้อนจะใหญ่มากซี่งสมัยนี้หาดูได้ยาก ใบเสมา ทำจากศิลาแลงที่นิยมในสมัยอู่ทอง
วัดโพบางโอ
ต้องเดินเข้าไปประมาณ 200 เมตร จากท่าเรือ มีภาพจิตรกรรมแป้งสาคูเปียกฝีมือช่างสกุลนนทบุรี เป็นวัดเก่าในสมัยอยุธยา และได้รับการบูรณะในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยกรมหลวง เสนีบริรักษ์ (ต้นสกุล เสนีวงศ์) พระโอรส ในกรมพระราชวังหลัง โบสถ์มีลักษณะคล้ายวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เสาย่อ มุมไม้สิบสองและเอนเข้าหากัน เพื่อเป็นการรับน้ำหนักของตัวอาคาร หน้าบันเป็นเครื่องไม้จำหลักทรงโรงลดชั้นสามชั้นมี ลวดลายจีนแบบพระราชนิยม ในสมัยรัชกาลที่ 3 ใบเสมาเป็นหินทรายมีเจดีย์ล้อมรอบตัวพระอุโบสถทั้งสี่ด้าน ซุ้มบันแถลง ทำจากปูนน้ำอ้อย
วัดบางอ้อยช้าง
ที่มณฑปริมน้ำเป็นที่ประดิษฐาน รอยพระพุทธบาทอายุเกือบ 200 ปี นำมาประดิษฐานที่นี่ตั้งแต่ พ.ศ. 2359 สันนิษฐานว่า พระอธิการทองอยู่เจ้าอาวาสองค์แรก ของวัดนี้ได้มาครั้งที่ขึ้นไปพิษณุโลกเพื่อหาไม้มาสร้างวัด
วัดแก้วฟ้า
สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพระมหาจักรพรรดิ (อยุธยาตอนต้น) และมาบูรณะในสมัยพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แห่งกรุง รัตนโกสินทร์ อุโบสถวัดแก้วฟ้ามีพระเจดีย์อยู่ด้านหลัง เป็นความเชื่อมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย การที่มีเจดีย์ประธานอยู่ด้าน หลัง เพื่อประสงค์ให้ผู้ที่มานมัสการพระประธาน ได้สักการะไปถึงพระบรมสารีริกธาตุ และพระจุฬามณีเจดีย์ บนสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ด้วย
วัดปราสาท
สร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (อยุธยาตอนปลาย) ที่หน้าบันพระอุโบสถเป็นไม้สักสลักรูป นารายณ์ทรงครุฑ (ปัจจุบันตัวครุฑได้หายไปแล้ว) เครื่องบน เป็นไม้สักตกแต่งด้วยรวยมอญงดงามมาก ตรงหุ่นนก (สามเหลี่ยม ข้างรวย มอญ) เป็นรูปราชสีห์และคชสีห์ลักษณะทางสถาปัตยกรรม เป็นโบสถ์แบบมหาอุดไม่มีการเจาะฝาผนังเลย ฐานพระอุโบสถ เป็นแบบตกท้องช้างหรือท้องสำเภา (การสร้างโบสถ์แบบตกท้องช้างนั้นหากอธิบายด้วยเหตุผลทางสถาปัตยกรรม เมื่ออากาศร้อนจะลอยตัวขึ้นสูงอากาศเย็นจะพัดเข้าแทนที่ได้สะดวก)
ภาพจิตรกรรมเขียนขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลายโดย ฝีมือของสกุลช่างชั้นสูงนนทบุรี นับว่าเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนัง ที่เก่าแก่ที่สุดในขณะนี้ของจังหวัด ถือว่าวัดนี้เป็นวัดหนึ่ง ที่ดำเนินการอนุรักษ์โบสถ์ และศิลปกรรมได้อย่างถูกวิธี จึงทำให้ เป็นแหล่งวิทยาการที่น่าสนใจยิ่งของทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ
การเดินทาง
ตั้งอยู่ริมถนนบางกรวย-ไทรน้อย ตำบลบางกร่าง หากไปทางเรือต้องเดินจากท่าเรือผ่านสวน ของชาวบ้านเข้า ไปประมาณ 2 กิโลเมตร ถ้าไปทางรถยนต์จะสะดวกกว่า และยังสามารถโดยสารรถประจำทางสายบางใหญ่-ท่าน้ำได้
วัดพระปรางค์ (วัดปรางค์หลวง)
ด้านนอกกำแพงแก้ว มีพระปรางค์สมัยอยุธยาตอนต้น การวางอิฐจะใช้ยางไม้สอ (เชื่อม) ลวดลายจะคล้ายมีอายุใกล้เคียง เป็นฝีมือช่างสมัยอยุธยาตอนต้น ซึ่งนับว่าหาชมได้ยากมากในกรุงเทพ มีลายปูนปั้นประจำทิศทั้ง 4 แต่มีเพียงทิศ ตะวันออกเท่านั้นที่ยังหลงเหลือให้ศึกษา แต่ปัจจุบันพระปรางค์ใกล้จะทรุดแล้ว
วัดอัมพวัน
สร้างสมัยอยุธยาตอนปลาย เดิมชื่อ วัดบางม่วง สิ่งที่น่าสนใจของวัดนี้คือ หอไตรกลางน้ำ เป็นสถาปัตยกรรมไทย ที่สมบูรณ์ที่สุด เป็นเรือนไม้ 2 ชั้น ชั้นล่างโล่งไม่มีพื้นและฝา ชั้นบนเป็นตัวหอขนาด 2 ห้อง ช่วงล่างเป็นลูกฟักกระดานดุน ตอนบนเป็นซี่ลูกกรง ไม้กลึงเสา กรอบประตูเป็นเสาหัวเม็ด ประตูหูข้าง เครื่องลำยองเป็นไม้จำหลัก หลังคาซ้อน 2 ชั้น มีปีกนก 1 ชั้น มุงกระเบื้องดินเผาใต้เชิงชาย และหน้าบันประดับไม้สลักลายรดน้ำ
ฝาผนังด้านนอกทาสีลูกฟักด้วยสีแดง ขอบขาว ตัวไม้เครื่องบันอื่น ๆ ทาสีขาว ตัดเหลี่ยมสีแดง เสาลงพื้นสีขาว เขียนลาย แดง หน้าบานประตูทางเข้าหอไตรเป็นบานไม้ลงรัก ปิดทอง ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ อกเลาเป็นไม้จำหลักลายดอกพุดตาน ลูกฟัก เหนือประตูเป็นภาพนกข้างละตัว เหนือขึ้นไปเป็น ภาพพระอาทิตย์ พระจันทร์ ในห้องสะกัดท้ายหอไตรเป็นที่เก็บ พาน ตะลุ่ม และ ฐานพระพุทธรูปไม้จำหลักเป็นจำนวนมาก
การเดินทาง
นั่งเรือโดยสารเป็นเรือหางยาวจากท่าเรือ บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอบางใหญ่ ใช้เวลาประมาณ 5 นาที
วัดพิกุลเงิน (ซ้าย)
มีหลวงพ่อพุทธโสธรจำลอง และรอยพระพุทธบาทจำลอง เป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้าน มีการจัดงานนมัสการประจำ ทุกปี ตามประวัติเล่าว่าสร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2374 ต่อมาได้มีคนจีนชื่อ ฮะ ซึ่งเป็นต้นตระกูลโทณวนิก ได้ล่องเรือผ่านมา เห็นสภาพวัดจึงเกิดศรัทธา สร้างอุโบสถขึ้น เมื่อ พ.ศ.2421
วัดราษฎรประคองธรรม
สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2256 ในสมัยสุโขทัยตอนปลาย แต่เดิมขาดการทำนุบำรุง ไม่มีพระสงฆ์ จำพรรษา จึงทรุดโทรมจน ชาวบ้านเรียกว่า วัดค้างคาว ต่อมาชาวบ้านบูรณะ และเปลี่ยนนามใหม่เป็น วัดราษฎรประคองธรรม มีพระพุทธ ไสยาสน์องค์ใหญ่ ประดิษฐานอยู่ที่มณฑปสามยอด
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย
www.dooasia.com
เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com
ใช้
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย
.