ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

http://www.dooasia.com > กิจกรรมท่องเที่ยว > ดูนก > แหล่งดูนกภาคใต้

 
ภาคใต้
แหล่งดูนกภาคใต้

ป่าโกงกางและชายทะเลหน้าเมืองกระบี่ จ.กระบี่

การดูนกที่นี่จะใช้เรือเป็นพาหนะ จะพบนกกะเต็นใหญ่ปีกสีน้ำตาล (Brown-winged Kingfisher) นกแต้วแล้วป่าโกงกาง (Mangrove Pitta) นกโกงกางหัวโต (Mangrove Whistler) นกกะเต็นแดง (Ruddy Kingfisher) นกหัวขวานใหญ่สีเทา (Great Slaty Woodpecker) และนกกินปลีคอสีทองแดง (Copper-throated Sunbird) ถัดเข้าไปจะเป็นคลองเล็ก ๆ ที่พบนกเด่นที่สุด คือ นกฟินฟุท (Masked Finfoot) ช่วงเดือนพฤษภาคม เวลาใกล้ขึ้น 15 ค่ำ หรือแรม 15 ค่ำ จะเป็นช่วงที่ดี เพราะน้ำจะลงมาก นกต่าง ๆ จะออกมากินกุ้ง หอยตามริมตลิ่ง เวลาที่พบนกมาก ๆ คือ ช่วงเช้าและเย็น

การเดินทาง

เรือที่จะพาไปดูนกของบังไต๋เป็นที่รักกันดีของนักดูนก ติดต่อนัดหมายได้ที่จันทร์เพ็ญทัวร์ 145 ถนนอุตรกิจ จังหวัดกระบี่ 81000 โทร. (075) 612004 หรือ (01) 677-4464

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม หรือ เขานอจู้จี้ จ.กระบี่

พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าดิบชื้น มีป่าชั้นรองและป่าดั้งเดิมป่ารอบ ๆ เขานอจู้จี้นี้เป็นป่าที่ราบต่ำแห่งสุดท้ายอันเป็น ถิ่นที่อยู่อาศัยของนกแต้วแล้วท้องดำ (Gurney's Pitta) ที่อยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ รวมทั้งนกชนิดอื่น ๆ อีกไม่ต่ำกว่า 307 ชนิด เช่น นกแซวสวรรค์ (Asian Paradise-flycatcher) นกเงือกดำ (Black Hornbill) นกปรอดดำปีกขาว (Black-and-White Bulbul) นกแต้วแล้วยักษ์ (Giant Pitta) นกเปล้าหน้าแดง (Jambu Fruit-Dove) นกจู๋เต้นลาย (Striped Wren-Babbler) ไก่ฟ้าหน้าเขียว (Crested Fireback) และนกพญาปากกว้างท้องแดง (Black-and-Red Broadbill) เป็นต้น

การเดินทาง

ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านแยกที่จะเข้าตัวเมืองกระบี่ลงไปทางจังหวัดตรังประมาณ 32 กิโลเมตร ก่อนถึง อำเภอคลองท่อม เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 4038 เพียงเล็กน้อยจะเห็นป้ายบอกทางเข้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ ป่าเขาประ-บางคราม แยกไปตามป้ายบอกทางเป็นระยะ ๆ ราว 17 กิโลเมตร ถึงหมู่บ้านบางเตียว อันเป็นที่ตั้งของ ที่ทำการเขตฯ รวมทั้งสำนักงานโครงการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าที่ราบต่ำเขานอจู้จี้ ที่สามารถสอบถามข้อมูลได้

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง จ.ตรัง

เป็นแหล่งดูนกชายเลนที่สำคัญแห่งหนึ่งในภาคใต้ นกย้ายถิ่นจะเริ่มมากันในฤดูหนาว คือ ตั้งแต่เดือนธันวาคม ถึงเมษายน ที่สำคัญก็คือ นกหัวโตกินปู (Crab Plover) ซึ่งมักพบในเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม นกทะเลขาเขียว ลายจุด (Nordmann's Greenshank) และนกชายเลนกระหม่อมแดง (Sharp-tailed Sandpiper) บน เกาะลิบงยังมีนกที่น่าสนใจอีก เช่น นกเค้าป่าหลังจุด (Spotted Wood-Owl) นกจาบคาคอสีฟ้า (Blue-throated Bee-eater) นกแต้วแล้วป่าโกงกาง (Mangrove Pitta) และนกเปล้าคอสีม่วง (Pink-necked Pigeon) จุดเฝ้าดูนกดีที่สุดคือ บริเวณหาดตูบ หรือจะดูที่แหลมจูโหย หรือนั่งเรือไปหาดพานช้างก็ได้ ถ้าให้ดี ควรอยู่ในช่วง 8 ค่ำ เพราะน้ำจะขึ้นช้าลงช้า มีเวลาให้รอดูนกได้นาน ส่วนพวกนกป่าก็หาดูได้ตามเส้นทางหลังที่ทำ การเขตฯ

การเดินทาง

การเดินทางสู่หมู่เกาะแถบทะเลตรังมีช่วงเวลาที่เหมาะสม คือ ตั้งแต่เดือนธันวาคม-เมษายน ติดต่อขอข้อมูล หรือที่พักบนเกาะลิบงได้ที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง ตู้ ปณ.5 ปทจ.กันตัง จังหวัดตรัง 92110 โทร. (075) 251-932 โดยเดินทางจากอำเภอเมือง ไปอำเภอกันตังตามทางหลวงหมายเลข 403

อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง จ.นครศรีธรรมราช

เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 64 ของประเทศไทย อยู่ในเขตอำเภอทุ่งสง อำเภอฉวาง อำเภอลานสกา อำเภอนาบอน อำเภอร่อนพิบูลย์ มีสภาพป่าสมบูรณ์และเทือกเขาเป็นแนวยาวต่อมาจากเขาหลวง นกที่พบได้แก่ นกหว้า นกกระปูดใหญ่ เหยี่ยวขาว นกฮูกหรือนกเค้ากู่ นกปรอดหัวโขน นกขมิ้นปากเรียว นกกางเขนดง นกเอื้ยงสาริกา นกกาเหว่า ส่วนใหญ่เป็นนกประจำถิ่น ติดต่ออุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง ตู้ ปณ.65 อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80110
ป่าพรุสิรินธร จ.นราธิวาส

ป่าผืนนี้เป็นป่าที่มีความพิเศษในหลาย ๆ ด้าน รวมทั้งชนิดของนกที่พบด้วย ปัจจุบันมีการทำทางเดินเป็นเส้น ทางศึกษาธรรมชาติโดยศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร ระยะทาง 1,200 เมตร นกในป่าพรุที่น่าสนใจ เช่น นกกางเขนดงหางแดง (Rufous-tailed Shama) นกเค้าแดง (Reddish Scops-Owl) นกขุนแผนท้ายทอยแดง (Red-naped Trogon) นกเขนน้อยปีกดำ (Black-winged Flycatcher-Shrike) นกกินแมลงหัวดำ (Sooty-capped Babbler) นกเปล้าใหญ่ (Large Green Pigeon) และนกกินแมลงหลังฟู (Fluffy-backed Tit-Babbler) เป็นต้น

การเดินทาง

จากอำเภอสุไหงโก-ลก ใช้ทางหลวงหมายเลข 4057 สุไหงโก-ลก-ตากใบ ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 5 เลี้ยว ซ้ายตรงแยกชวนะนันท์ เข้าไปอีกประมาณ 5 กิโลเมตรตามป้ายบอกทาง หากไม่ได้นำรถมาเองใช้บริการรถรับจ้าง จากตัวอำเภอสุไหงโลก-ลกก็ได้ เส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธรนี้เปิดให้เข้าชมทุกวันโดยไม่เก็บค่าบริการ ตั้งแต่เวลา 08.00-16.30 น. ช่วงเวลาที่เหมาะสมคือ ระหว่างเดือนกุมภาพันธุ์ถึงเมษายน สอบถามรายละเอียดเพิ่ม เติมได้ที่ ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร ตู้ ปณ.37 อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส 96120

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จ.พัทลุง

เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำและทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่แห่งหนึ่งในภาคใต้ นกที่น่าสนใจ คือ นกกุลา (Black-headed Ibis) นกกาบบัว (Painted Stork) และเป็นแหล่งที่นกกระสาแดง (Purple Heron) ทำรังวางไข่ จุดดูนกเริ่ม ได้ตั้งแต่สะพานไม้ทางเดินสู่ที่ทำการฯ และบ้านพัก นกประจำถิ่นที่ต้องพบแน่นอน คือ นกอีโก้ง (Purple Swamphen) นกพริก (Bronze-winged Jacana) นกอีล้ำ (Common Moorhen) นกยางควาย (Cattle Egret) และนกยางกรอกพันธุ์จีน (Chinese Pond-Heron) ที่ศาลาจะมีเรือหางยาวไว้ให้เช่าออกไป ดูนกข้างนอก สอบถามรายละเอียดได้จากเจ้าหน้าที่ในที่ทำการฯ สำหรับนกเป็ดน้ำจะเริ่มย้ายถิ่นมาในเดือน พฤศจิกายนถึงเมษายน

การเดินทาง

ใช้ทางหลวงหมายเลข 41 สู่จังหวัดพัทลุง แยกขวาเข้าอำเภอควนขนุน ตามทางหลวงหมายเลข 4048 ผ่าน บ้านปากคลอง ถึงบ้านทะเลน้อย ประมาณ 20 กิโลเมตร ถนนจะสุดที่บริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าพอดี

อุทยานแห่งชาติทะเลบัน จ.สตูล

นับเป็นแหล่งดูนกที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งในภาคใต้เป็นดงดิบและมีป่าที่ราบต่ำอยู่บ้างไม่มากนัก นกที่น่าสนใจ ของทะเลบัน คือ นกเงือกหัวแรด (Rhinoceros Hornbill) นกชนหิน (Helmeted Hornbill) นกกางเขนน้ำ หลังแดง (Chestnut-naped Forktail) นกแต้วแล้วลาย (Banded Pitta) นกหัวขวานหลังสีส้ม (Orange-backed Woodpecker) นกปลีกล้วยปากยาว (Long-billed Spiderhunter) เป็นต้น

การเดินทาง

ช่วงที่เหมาะสำหรับเดินทาง คือ ช่วงเดือนธันวาคมถึงเมษายน การเดินทางจากตัวเมืองสตูลใช้ทางหลวง หมายเลข 406 ระยะทาง 19 กิโลเมตร ถึงสามแยกควนสตอเลี้ยวขวา เข้าทางหลวงหมายเลข 4184 ไปอีก 20 กิโลเมตร หากไปจากอำเภอหาดใหญ่ให้ย้อนขึ้นไปทางอำเภอรัตภูมิ และเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 406 ระยะทาง 80 กิโลเมตร ถึงสามแยกควนสตอแล้วเลี้ยวซ้าย สอบถามโดยตรงได้ที่อุทยานแห่งชาติทะเลบัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล 91160



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์