ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

http://www.dooasia.com > กิจกรรมท่องเที่ยว> จักรยานเสือภูเขา > เกาะรัตนโกสินทร์

เกาะรัตนโกสินทร์
เกาะรัตนโกสินทร์ เกาะรัตนโกสินทร์

กรุงเทพมหานครได้สถาปนาขึ้นเป็นเมืองหลวงของไทยในปี พ.ศ. 2325 โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงมีพระราชดำริว่า บริเวณที่ตั้งของกรุงธนบุรีทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา แม้มีลักษณะเป็นดอนแต่ก็เป็นท้องคุ้ง น้ำเซาะตลิ่งพังอยู่เสมอไม่คงทนถาวร ในขณะที่ทางฝั่งกรุงเทพฯ มีชัยภูมิดีกว่า คือ มีลักษณะเป็นแหลม มีพื้นที่เพิ่มอยู่เสมอ มีลำน้ำเป็นขอบเขตกว่าครึ่ง หากมีข้าศึกมาประชิดพระนครก็สามารถป้องกันได้โดยง่าย ด้วยเหตุนี้จึงมีพระราชดำริให้สร้าง เมืองหลวงขึ้นทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา อันถือเป็นการเริ่มต้นของกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นที่มาของเกาะรัตน โกสินทร์ในเวลาต่อมา

ขอบเขตของเกาะรัตนโกสินทร์

ขอบเขตของเกาะรัตนโกสินทร์ถูกกำหนดโดยแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลเข้ามาเป็นกำแพงกั้นพระนครอยู่ด้านหนึ่ง และคลอง อีก 3 สายที่รายล้อม แบ่งพระนครออกเป็นชั้น ๆ 3 ชั้น โดยคลองชั้นในสุดที่ขีดคั่นส่วนที่เป็นเพชรแท้เอาไว้เป็น เขตกรุงเทพฯ ชั้นในสุดก็คือคลองคูเมืองเดิม อันเป็นคลองที่ขุดขึ้นเป็นคูเมืองในสมัยกรุงธนบุรี มีปากคลองด้านหนึ่งอยู่ที่ปาก คลองตลาด และอีกด้านหนึ่งที่เชิงสะพานพระปิ่นเกล้าฯ

คลองรอบกรุง เป็นคลองที่ขุดขึ้นเป็นคูเมืองกรุงเทพฯ อย่างแท้จริงในปี พ.ศ. 2326 คลองนี้เริ่มต้นขึ้นที่ป้อมพระสุเมรุ เรียก คลองบางลำภู และไปสิ้นสุดที่บริเวณวัดเลียบ เรียก คลองโอ่งอ่าง ตลอดรายทางของคลองแห่งนี้มีการสร้างป้อม ปราการและกำแพงเมืองขึ้น 14 แห่ง ในปัจจุบันยังคงเหลือป้อมปราการอยู่เพียง 2 แห่ง คือ ป้อมพระสุเมรุ บางลำพู และ ป้อมมหากาฬ เชิงสะพานผ่านฟ้าฯ

คลองผดุงกรุงเกษม ขุดขึ้นเพื่อขยายพื้นที่กรุงเทพฯ ออกไปให้กว้างขวางขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 และเป็นคลองคูเมืองชั้น นอกสุด เริ่มต้นตั้งแต่เทเวศร์ด้านหนึ่งและไปออกแม่น้ำเจ้าพระยาอีกด้านหนึ่งที่บริเวณใกล้ ๆ โรงแรมริเวอร์ซิตี้ ท่าน้ำสี่ พระยา

ด้วยลักษณะการแบ่งพื้นที่โดยคลองดังกล่าวแล้ว เกาะรัตนโกสินทร์จึงมีลักษณะเป็นเมือง 3 ชั้น และมีความหมายโดยนัย ได้เป็น 2 กรณี คือ เกาะรัตนโกสินทร์ที่หมายเฉพาะส่วนชั้นในสุด อันเป็นเพชรแท้บนยอดเรือนแหวน หรือที่เรียกว่า "หัวแหวน" เป็นที่ตั้งของวัดวาอาราม ปราสาทราชวัง และสิ่งก่อสร้างโบราณต่าง ๆ ภายในขีดคั่นของคลองคูเมืองเดิม หรือส่วนทั้งหมด อันได้แก่พื้นที่ภายในบริเวณขีดคั่นของคลองทั้ง 3 แห่งนั่นเอง

เกาะรัตนโกสินทร์ เส้นทางจักรยานรอบเกาะรัตนโกสินทร์

ในปัจจุบันพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะส่วนในสุด ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ส่วนราชการ ในวันเสาร์กลางคืนและเช้าวัน อาทิตย์ รถยนต์มีน้อย การจราจรไม่พลุกพล่าน จักรยานสามารถใช้ถนนได้อย่างสะดวกและปลอดภัย จึงเป็นโอกาสอันดีที่ผู้รัก จักรยานจะนำรถของตนมาขี่ชมการประดับไฟฟ้าส่องสว่างโบราณสถานอันสวยงามในตอนกลางคืน และชมกรุงรัตน โกสินทร์อันสงบเงียบในช่วงเช้า การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จึงสำรวจและจัดทำเส้นทางจักรยานรอบเกาะรัตน โกสินทร์ขึ้น โดยเส้นทางดังกล่าวมีหลักอยู่ 3 ประการ คือ

  • ประการแรก ใช้ถนนปรกติให้มากที่สุด เพื่อยืนยันแนวคิดที่ว่า จักรยานก็มีสิทธิในการใช้ถนนเช่นเดียวกับยาน พาหนะที่ใช้เครื่องยนต์ทุกชนิด
  • ประการที่ 2 หลบเลี่ยงพื้นที่ที่มีการจราจรพลุกพล่านให้มากที่สุด เพื่อความเพลิดเพลินในการขี่จักรยานชมเกาะรัตน โกสินทร์
  • ประการที่ 3 แวะชมสถานที่สำคัญให้มากที่สุด

เส้นทางจักรยานรอบเกาะรัตนโกสินทร์อาจเริ่มต้นจากจุดใดก็ได้ บนเส้นทางสายนี้ ขอเพียงอยู่บนเส้นทาง ผู้ใช้จักรยานก็ จะมีความมั่นใจในการใช้จักรยานมากขึ้นและได้ชมสถานที่ที่น่าสนใจได้อย่างครบถ้วน ในที่นี้ขอใช้ถนนราชดำเนิน นอกบริเวณหน้า ททท. เป็นจุดเริ่มต้นในการเดินทาง

เกาะรัตนโกสินทร์ เส้นทางช่วงที่ 1 ททท.ราชดำเนิน-ลานพลับพลาเจษฎาบดินทร์

ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร

เริ่มจากอาคารการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ถนนราชดำเนินนอก ใช้เส้นทางคู่ขนาน ตรงไปสะพานผ่านฟ้าลีลาศเมื่อ ถึงสี่แยกไฟแดงหยุดรอสัญญาณเหมือนรถยนต์ทั่วไป ต้องปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัดเมื่ออยู่บนถนนสาธารณะ ทาง ซ้ายมือคือ ตึกเก่าของกระทรวงคมนาคม ที่เกาะกลางถนนจะมองเห็นต้นมะขามเรียงรายร่มรื่น เป็นระยะ ๆ ตลอดเส้นทาง

เมื่อเคลื่อนที่ตามสัญญานไฟแล้วก็เลี้ยวขวาขึ้นสะพานผ่านฟ้าลีลาศเข้าถนนราชดำเนินกลาง จุดนี้ควรระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากมีรถยนต์พลุกพล่านและต้องแล่นตัดเส้นทางจราจรเป็นรูปกากบาท หากขี่กันเป็นขบวนต้องมีการเกาะกลุ่ม โดย เฉพาะในจุดอันตรายเพื่อเคลื่อนที่ไปพร้อม ๆ กัน เมื่อมองไปรอบตัวสะพานผ่านฟ้าลีลาศจะเห็นสิ่งสำคัญ ๆ ของเกาะรัตน โกสินทร์มากมาย จุดแรกที่หยุดคือ ลานพลับพลาเจษฎาบดินทร์ จากจุดนี้เองจะเห็นโลหะปราสาท ตั้งตระหง่านมีฉากหลัง เป็น พระบรมรูปรัชกาลที่ 3 ด้านซ้ายเป็นป้อมมหากาฬและกำแพงพระนคร ริมป้อมเป็นคลองรอบกรุง ไกลออกไปเป็นภูเขา ทอง หากเป็นช่วงเวลากลางคืนก็จะสวยงาม เพราะมีการประดับไฟส่องสว่าง

เส้นทางช่วงที่ 2 ลานพลับพลาฯ-เสาชิงช้า

ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร

จากลานพลับพลาเจษฎาบดินทร์ ใช้เส้นทางไปทางอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนดินสอขี่ไปบนเส้น ทางเดินรถมวลชน เมื่อไปได้ช่วงหนึ่งก็จะเข้าสู่ย่านเสาชิงช้า ซ้ายมือคือ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ศูนย์กลางการบริหาร งานส่วนท้องถิ่นของชาว กทม. ถัดมาทางขวามือเป็น เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ ศูนย์กลางของผู้นับถือศาสนาพราหมณ์ใน ประเทศไทย เมื่อไปถึงสามแยก เป็นจุดที่ควรระวังเป็นพิเศษ ต้องหยุดรอสัญญาณจราจร แล้วแยกเข้าสู่ลานเสาชิงช้า

จากลานเสาชิงช้า ด้านหนึ่งคือถนนบำรุงเมือง ถนนสายเศรษฐกิจของกรุงเทพฯ ในอดีต เสาชิงช้า และวัดสุทัศน์เทพวรา รามฯ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร และลานคนเมือง ซึ่งทาง กทม. ได้ประดับไฟที่บริเวณจุดนี้ด้วยเช่นกัน

เส้นทางช่วงที่ 3 เสาชิงช้า-วัดโพธิ์

ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร

ออกจากเสาชิงช้า ขี่เลียบกำแพงวัดสุทัศน์ เลี้ยวซ้ายเข้าสู่สถนนตีทอง ตรงไปถึงสามแยกเข้าถนนราชบพิธ ซึ่งต้องระวัง รถทางแยก เมื่อเข้าถนนราชบพิธจะร่มรื่นด้วยต้นไม้และเงียบสงบ จากนั้นขี่ตรงไปข้ามสี่แยกตัดถนนเฟื่องนคร ผ่านไปหน้า วัดราชบพิธฯ แล้วแล่นตรงต่อไปจนถึงสามแยกตัดถนนอัษฎางค์ เลี้ยวซ้ายขึ้นสะพานช้างโรงสี ข้ามคลองคูเมืองเดิมเข้าถนน กัลยาณไมตรี สองข้างทางเป็นตึกสวย ซ้ายเมืองเป็นกรมแผนที่ทหาร ขวามือคือกระทรวงกลาโหม แล้วตรงไปจนถึงสามแยก ตัดถนนสนามไชย เลี้ยวขวาขึ้นบาทวิถี เลียบหน้ากระทรวงกลาโหม ผ่านปืนใหญ่ที่ตั้งหน้ากระทรวง ซึ่งหนึ่งในนี้คือนาง พญาตานี ปืนใหญ่ที่สวยที่สุดด้วย จอดพักที่ศาลหลักเมือง และ วัดพระแก้ว แล้วขี่ย้อนกลับผ่านสวนสราญรมย์ และไปกลับ รถตามวงเวียนหน้ากรมการรักษาดินแดน เลี้ยวซ้ายเลียบวัดโพธิ์ ผ่านท่าเตียน แล้วเลาะไปชมวัดอรุณฯ ที่ท่าสุพรรณ จากนั้น เลี้ยวซ้ายไปหยุดพักที่วัดโพธิ์ ภายในลานวัดโพธิ์นี้เป็นอีกจุดหนึ่งที่มีการประดับไฟฟ้าสวยงามสว่างไสว พระมหาเจดีย์ 4 องค์ของวัดโพธิ์สวยงามประทับใจยิ่งนัก

เส้นทางช่วงที่ 4 วัดโพธิ์-ป้อมพระสุเมรุ

ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร

จากวัดโพธิ์ อ้อมกลับมาทางด้านถนนสนามไชย แล้ววนกลับตามเส้นทางเดิม พอถึงสามแยกท่าเตียนจะเลี้ยวขวาเข้าสู่ ถนนมหาราช จากนั้นแล่นไปตามถนนมหาราชชิดบาทวิถีเลาะเลียบกำแพง พระบรมมหาราชวัง ท่าราชวรดิษ ท่าช้าง ท่าพระ ท่าพระจันทร์ เลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนประชาธิปไตยที่ร่มรื่นด้วยต้นประดู่ ด้านหนึ่งเป็นกำแพงเก่าของวังหน้า ถึงหัวมุม สนามหลวง เลี้ยวซ้ายเลียบผ่านหน้า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พบกับต้นมะขามสนามหลวงอีกครั้ง

แล่นต่อไปผ่านหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งขาติ พระนคร หรืออดีตวังหน้า เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนราชินี ผ่านหน้าโรงละคร แห่งชาติ วัดพระแก้ววังหน้า แล้วเลี้ยวขวาลอดใต้สะพานพระปิ่นเกล้าฯ เข้าสู่ถนนพระอาทิตย์ แล่นตรงไปจนถึงป้อมพระ สุเมรุ จุดที่ต้องระวังอีกจุดคือทางโค้งก่อนเข้าสู่ป้อม รถยนต์อาจแล่นออกมาเร็ว ให้ดูคนข้างหน้าให้ดี พอถึงป้อมพระสุเมรุจะ เลี้ยวซ้ายเขาไปทางด้านหลังของตัวป้อม

เส้นทางช่วงที่ 5 ป้อมพระสุเมรุ-ททท.

ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร

จากป้อมพระสุเมรุ แล่นตามถนนพระสุเมรุจนถึงสี่แยกบางลำภู ตรงสี่แยกเป็นจุดอันตรายอีกแห่งหนึ่ง เพราะจักรยานที่ ชิดซ้ายจะเลี้ยวขวา เมื่อพ้นแยกบางลำภู รถจะน้อย ทำให้ขี่จักรยานได้สบายขึ้น จากบางลำภูขี่ตรงไปจนถึงหน้าโรงพักชนะ สงคราม เลี้ยวซ้ายเข้าถนนข้าวสาร บริเวณนี้หากเป็นเวลากลางคืนจะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศออกมานั่งดื่ม และรับ ประทานอาหาร เดินเล่นหรือซื้อของที่วางขายอยู่ บรรยากาศคึกคักน่าสนุกสนานมาก ออกจากถนนข้าวสาร จะกลับไปถนนสิบ สามห้าง และกลับออกสู่ถนนราชดำเนินกลางอีกครั้งหนึ่ง โดยแล่นบนบาทวิถี แล่นข้ามสะพานผ่านฟ้าฯ ไปเข้าถนนคู่ขนานริม ซ้ายสุดตามถนนราชดำเนินนอก ไปเลี้ยวขวากลับรถมาสิ้นสุดการเดินทางที่ ททท. อีกครั้งหนึ่ง

 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์