ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

http://www.dooasia.com > กิจกรรมท่องเที่ยว > ดูดาว > การดูดาว

การดูดาว
การดูดาว การดูดาวให้เป็น

การดูดาวให้เป็นคือการรู้จักดาว รู้ว่าดาวใดเป็นดาวเคราะห์ รู้จักกลุ่มดาวสำคัญ ๆ รู้จักกลุ่มดาวเดือนต่าง ๆ รู้จักดาวฤกษ์ที่สว่างมาก ๆ รู้ว่าผลที่เกิดจากโลกหมุนรอบตัวเองคือ ผลจากการโคจรรอบดวงอาทิตย์คืออะไร นอก จากนี้ยังควรรู้จักปรากฏการณ์ เช่น สุริยุปราคา จันทรุปราคา ฝนดาวตก ดาวหาง รู้จักโครงสร้างของระบบสุริยะ ตลอดทั้งตำแหน่งของระบบสุริยะในดาราศาสตร์ บอกได้ว่าอย่างไรเป็นดาวเคราะห์ หรือดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ท ี่เห็นด้วยตาเปล่า 5 ดวง ล้วนปรากฏสว่างมาก โดยเฉพาะดาวศุกร์ซึ่งสว่างรองจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ หาก เห็นทางทิศตะวันออกก่อนรุ่งอรุณเรียกว่า "ดาวรุ่ง" หรือ "ดาวประกายพรึก" หากเห็นทางทิศตะวันตกในเวลาหัว ค่ำเรียกว่า "ดาวประจำเมือง" ดาวศุกร์จึงเป็นดาวที่ดูง่าย

ดาวเคราะห์ที่สว่างรองจากดาวศุกร์คือ "ดาวพฤหัสบดี" เป็นดาวเคราะห์ดวงใหญ่ที่สุด เมื่ออยู่ตรงข้ามกับ ดวงอาทิตย์จะสว่างที่สุดและเห็นได้ตลอดทั้งคืน เพราะขึ้นทางทิศตะวันออกในเวลาหัวค่ำ อยู่สูงสุดในเวลาเที่ยงคืน และตกทางทิศตะวันตกในเวลาเช้ามืด และเป็นตำแหน่งที่โลกอยู่ใกล้ดาวพฤหัสบดีที่สุด

ดาวเคราะห์เหล่านี้จะอยู่ในกลุ่มดาวจักรราศี และดวงจันทร์มักจะผ่านเฉียดดาวเคราะห์เป็นประจำเดือนละครั้ง ดังนั้นเมื่อเห็นดวงจันทร์อยู่ใกล้ดาวสว่างดวงใด ดาวสว่างดวงนั้นมักเป็นดาวเคราะห์ มีบ่อยครั้งที่ดวงจันทร์เสี้ยว จะอยู่ใกล้ ๆ ดาวศุกร์ เป็นปรากฏการณ์ "ดาวเคียงเดือน" ที่สวยงาม ในปี 2541 ที่ผ่านมาเป็นปีที่ดวงจันทร์ผ่านใกล้ดาวเคราะห์มากจนเกิดปรากฏการณ์ดวงจันทร์บังดาวเคราะห์ หลายครั้ง ซึ่งเป็นได้ในประเทศไทย เช่น ในเดือนมกราคม เกิดปรากฏการณ์ดวงจันทร์บังดาวเสาร์ ในเดือนเมษายน เกิดปรากฏการณ์ดวงจันทร์ผ่านเฉียดดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดี และดวงจันทร์บังดาวพฤหัสในเดือนตุลาคม เป็นต้น

ดาวเคราะห์เป็นดาวที่อยู่ใกล้เพราะอยู่ในระบบสุริยะ ดังนั้นเมื่อเอากล้องโทรทรรศน์มาส่องดูจึงเป็นดวงกลม โต เช่นเห็นดาวพฤหัสบดีเป็นดวงใหญ่พร้อมบริวารเรียงเป็นแถวจำนวน 4 ดวง หรือเห็นดาวเสาร์ซึ่งมีวงแหวนที่ สวยงาม เห็นดาวศุกร์เป็นเสี้ยวคล้ายดวงจันทร์ แต่ถ้าเป็นดาวฤกษ์ซึ่งอยู่ใกล้จะเห็นเป็นจุดสว่างเมื่อดูผ่านกล้อง โทรทรรศน์

เนื่องจากดาวเคราะห์เคลื่อนรอบดวงอาทิตย์จากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออกด้วยความเร็วต่าง ๆ กัน ดาว เคราะห์ที่เคลื่อนที่เร็วกว่าก็จะวิ่งไปทันและแซงหน้าดาวเคราะห์ดวงที่เคลื่อนช้ากว่า ในแต่ละปีจะมีช่วงเวลาที่ดาว ศุกร์ผ่านใกล้ ๆ ดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ การที่ดาวสว่างหลายดวงมาปรากฏอยู่ใกล้กันบนฟ้าก็เป็นปรากฏการณ์ที่ น่าตื่นเต้นเหมือนกัน

เราอาจเรียกดาวเคราะห์ที่เห็นด้วยตาเปล่า 5 ดวง และดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ว่า "ดาวเคราะห์โบราณ" เพราะ คนโบราณเห็นว่าเป็นดาวพเนจร ดังนั้นดาวเคราะห์โบราณจึงเป็นดาว "วันเกิด"
< br>
ดาวเดือนเกิด ดาวเดือนเกิดไม่ใช่ดาวดวงเดียวโดด ๆ เหมือนดาววันเกิด แต่เป็นดาวหลายดวงที่เรียงเป็นรูป ต่าง ๆ กันเรียกว่าเป็นกลุ่มดาวหรือหมู่ดาว ตรงกับภาษาอังกฤษว่า "Constellation" ซึ่งมาจากคำว่า Con แปล ว่าอยู่ด้วยกัน กับคำว่า Stella แปลว่า ดาวฤกษ์ กลุ่มดาวฤกษ์จึงหมายถึงบริเวณท้องฟ้าแคบ ๆ ที่ดาวฤกษ์เรียงกันอยู่ ถ้าเรียงเป็นรูปแมงป่องก็เรียกว่ากลุ่มดาวแมงป่อง ถ้าเรียงกันเป็นรูปสิงโตก็เรียกว่ากลุ่มดาวสิงโต

นักดาราศาสตร์แบ่งทรงกลมฟ้าออกเป็น 88 เขต จึงมีกลุ่มดาวทั้งหมด 88 กลุ่ม แม้จะมีกลุ่มดาวจำนวนมาก แต่มีกลุ่มดาวสำคัญและกลุ่มดาวเด่นจำนวนไม่มากนัก เช่น กลุ่มดาวเดือนเกิด มี 12 กลุ่ม มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "กลุ่มดาวจักรราศี" เป็นกลุ่มดาวซึ่งดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ผ่าน ดวงอาทิตย์ปรากฏเคลื่อนที่ ผ่านกลุ่มดาวจักรราศีจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก เพราะโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์จากทิศตะวันตกไปทิศตะวัน ออก ซึ่งใช้เวลารอบละ 1 ปี หรือ 12 เดือน

ดังนั้นเมื่อดูจากโลกจึงเห็นดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ผ่านกลุ่มดาวจักราศีต่าง ๆ โดยกลับมาถึงที่เดิมในเวลา 1 ปี เส้น ทางที่ดวงอาทิตย์ผ่านเรียกว่า "สุริยวิถี" ดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ย้ายได้ 1 รอบหรือ 360 องศา ในเวลา 12 เดือนจะไป ได้ไกล 30 องศา ช่วง 30 องศา เรียกว่า 1 ราศี การย้ายราศีเรียกว่า "สงกรานต์" และการย้ายเข้าสู่ราศีเมษเรียกว่า "มหาสงกรานต์"

ดาวเดือนเกิดเป็นกลุ่มดาวคงที่ แต่ราศีของดวงอาทิตย์เขยื้อนไปทางทิศตะวันตกตลอดเวลา และจะใช้เวลา 26,000 ปี จึงจะกลับมาตรงที่เก่า ในอดีตเมื่อกว่า 2,000 ปีมาแล้ว ดวงอาทิตย์อยู่ในราศีเมษ จะตรงกับกลุ่มดาว แกะ ปัจจุบันดวงอาทิตย์อยู่ในราศีเมษตรงกับกลุ่มดาวปลา ซึ่งอยู่ถัดกลุ่มดาวแกะไปทางทิศตะวันตก จุดเริ่มต้นนับ ราศีเมษจะเลื่อนไปอยู่ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำในอีก 2,000 ปีข้างหน้า

ดังนั้นชื่อราศีกับชื่อกลุ่มดาวจึงไม่ตรงกัน แต่เมื่อพูดถึงเดือนสุริยคติที่เป็นภาษาไทยจะเกี่ยวข้องกับกลุ่มดาว หรือราศีในอดีตทั้งสิ้น เช่น เดือนพฤศจิกายนเกี่ยวข้องกับกลุ่มดาวแมงป่อง (พฤศจิก) ดังนั้นจึงเรียกกลุ่มดาวแมง ป่องว่ากลุ่มดาวเดือนพฤศจิกายน (อายน แปลว่า มาถึง หรือมาแล้ว พฤศจิกายนจึงแปลว่ามาถึงแมงป่อง หรือแมงป่องมาแล้ว)

กลุ่มดาวเดือนพฤศจิกายนเป็นกลุ่มดาวเด่นอยู่ทรงซีกฟ้าใต้ ขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตกทางทิศตะวันตก เฉียงใต้ เมื่อขึ้นไปสูงสุดจะอยู่ทางทิศใต้ โดยอยู่สูงเหนือขอบฟ้าทิศใต้เป็นมุมเงย 45 องศา (กลางตัว) ลักษณะท่า ทางของตัวแมงป่องจะต่างกันเมื่อเทียบกับขอบฟ้า โดยขึ้นแบบตั้งตรง ขณะอยู่สูงสุดจะเอียงประมาณ 45 องศา กับแนวที่ขนานกับขอบฟ้า และตกแบบตะแคง มีดาวอย่างน้อย 15 ดวงที่เรียงกันเป็นรูปแมงป่อง ถ้านับจากหัวลงมา ถึงดวงที่ 5 จะเป็นดาวฤกษ์สีแดง ชื่อว่าดาวปาริชาติ หรือคู่แข่งดาวอังคาร (Antares) ดาวดวงนี้สว่างที่สุดใน กลุ่มและเป็นดาวฤกษ์ขนาดยักษ์ใหญ่ เพราะมีเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 400 เท่าของดวงอาทิตย์ เป็นดาวฤกษ์ที่มี อุณหภูมิผิวต่ำและอยู่ในวัยชราแล้ว

  • เดือนธันวาคมเกี่ยวข้องกับกลุ่มดาวคนยิงธนู
  • เดือนมกราคมเกี่ยวข้องกับกลุ่มดาวมกร
  • เดือนกุมภาพันธ์เกี่ยวข้องกับกลุ่มดาวคนแบกหม้อ
  • เดือนมีนาคมเกี่ยวข้องกับกลุ่มดาวปลา
  • เดือนเมษายนเกี่ยวข้องกับกลุ่มดาวแกะ
  • เดือนพฤษภาคมเกี่ยวข้องกับกลุ่มดาววัว
  • เดือนมิถุนายนเกี่ยวข้องกับกลุ่มดาวคนคู่
  • เดือนกรกฎาคมเกี่ยวข้องกับกลุ่มดาวปู
  • เดือนสิงหาคมเกี่ยวข้องกับกลุ่มดาวสิงโต
  • เดือนกันยายนเกี่ยวข้องกับกลุ่มดาวผู้หญิงสาว
  • เดือนตุลาคมเกี่ยวข้องกับกลุ่มดาวคันชั่ง

กลุ่มดาวเดือนเมษายน พฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม และครึ่งหนึ่งของกลุ่มดาวเดือนมีนาคม กับ ครึ่งหนึ่งของกลุ่มดาวเดือนกันยายนอยู่ในซึกฟ้าด้านเหนือ กลุ่มดาวที่เหลืออยู่ในซีกฟ้าด้านใต้

กลุ่มดาวจักรราศีที่มีดาวฤกษ์สว่างมาก ๆ อยู่ด้วยมี 5 กลุ่ม คือ กลุ่มดาวแมงป่อง (ดาวดวงสว่างคือดาวปาริ ชาติ) กลุ่มดาววัว (ดาวดวงสว่างคือดาวตาวัว หรือดาวผู้ติดตาม หรืออัลดิบะแรน) กลุ่มดาวคนคู่ (ดาวดวงสว่างคือ ดาวคาสเตอร์ ซึ่งอยู่ทางเหนือของดาวพอลลักซ์) กลุ่มดาวสิงโต (ดาวดวงสว่างคือดาวหัวใจสิงห์) และกลุ่มดาวผู้ หญิงสาว (ดาวดวงสว่างที่สุดในกลุ่มคือดาวรวงข้าว หรือสไปกา)



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์