ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> อาร์เจนตินา




แผนที่
สาธารณรัฐอาร์เจนตินา
Argentine Republic


 
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง อยู่ทางใต้ของทวีปอเมริกาใต้ มีพรมแดนด้านตะวันตกติดกับชิลี ด้านเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับปารากวัย โบลิเวียและบราซิล ด้านตะวันออกติดกับอุรุกวัยและมหาสมุทรแอตแลนติก

ภูมิอากาศ โดยทั่วไปมีอุณหภูมิแตกต่างกันระหว่างพื้นที่ภาคเหนือและใต้ของประเทศ
ภาคเหนือ - อากาศกึ่งร้อนกึ่งอบอุ่น (ฤดูร้อน 23-37 เซลเซียส / ฤดูหนาว 5-22 เซลเซียส)
ภาคใต้ - อากาศหนาวและฝนตก (ฤดูร้อน 10-21 เซลเซียส / ฤดูหนาว ต่ำกว่า 0 เซลเซียส)
บริเวณใต้สุดของประเทศมีลักษณะอากาศแบบแอนตาร์กติกซึ่งเป็นน้ำแข็งตลอดทั้งปี ทั้งนี้ บริเวณที่ราบแปมปัส (Pampas plains) มีอากาศอุ่นและชื้น อุณหภูมิเฉลี่ย 23 องศาเซลเซียส ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนมีนาคม และ 12 องศาเซลเซียส ตั้งแต่มิถุนายน ถึง กันยายน

พื้นที่2.8 ล้านตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 5 เท่าของประเทศไทย มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ในอเมริกาใต้ รองจากบราซิล และมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 8 ของโลก

ประชากร ประมาณ 39.50 ล้านคน (2549)

เมืองหลวง กรุงบัวโนสไอเรส (Buenos Aires)

เมืองสำคัญ Federal District, CÓrdoba, Santa Fe, Mendoza, Tucumán

ภาษา ภาษาสเปน เป็นภาษาราชการ

ศาสนา คริสต์นิกายโรมันคาทอลิกร้อยละ 92 โปรแตสแตนท์ ร้อยละ 2 ยิว ร้อยละ 2 และอื่นๆ ร้อยละ 4

เชื้อชาติ ผิวขาว (ส่วนใหญ่มีเชื้อสายสเปนและอิตาเลียน) ร้อยละ 97
และอื่นๆ (เมสติโซ – ผิวขาวผสมชาวอินเดียนแดงพื้นเมือง ชาวอินเดียนแดงพื้นเมือง และกลุ่มอื่นที่ไม่ใช่ชาวผิวขาว) ร้อยละ 3

อัตราการรู้หนังสือ ร้อยละ 97.1

หน่วยเงินตรา เปโซ (Argentine Peso: ARS): 1 ดอลลาร์สหรัฐ = 3.14 เปโซ (ณ วันที่ 7 ส.ค. 2550)

เวลาต่างจากไทย ช้ากว่าไทย 10 ชั่วโมง

วันชาติ 25 พฤษภาคม (25 พฤษภาคม 2353 หรือ Revolution Day)

วันประกาศเอกราช 9 กรกฎาคม 2359 (วันประกาศอิสรภาพจากสเปน)

วันสถาปนารัฐธรรมนูญ 1 พฤษภาคม 2396 (มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งล่าสุดเมื่อสิงหาคม 2537)

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) 208.70 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)

โครงสร้าง GDP
เกษตรกรรม ป่าไม้และประมง ร้อยละ 9.5
เหมืองแร่ ร้อยละ 5.9
อุตสาหกรรม ร้อยละ 23.3
การก่อสร้าง ร้อยละ 4.9
ไฟฟ้าและน้ำ ร้อยละ 1.7
การค้า ร้อยละ 54.7

อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 8.5 (2549)

รายได้ประชาชาติต่อหัว 5,482 ดอลลาร์สหรัฐ (2549)

ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ 30.90 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)

หนี้สินต่างประเทศ 101 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)

อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 9.8 (2549)

อัตราการว่างงาน ร้อยละ 10.2 ( 2549)

มูลค่าการส่งออก 46.60 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)

สินค้าส่งออกสำคัญ ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง น้ำมันดิบ น้ำมันถั่วเหลือง ถั่วเหลือง เมล็ดพืช น้ำมัน ข้าวสาลี ข้าวโพด ยานยนต์ และปศุสัตว์/เนื้อ

ประเทศคู่ค้าสำคัญ บราซิล สหรัฐฯ ชิลี และจีน

มูลค่าการนำเข้า 32.60 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)

สินค้านำเข้าสำคัญ เครื่องจักรและอุปกรณ์ ยานพาหนะ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์โลหะ อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทวิทยุ โทรทัศน์ และเครื่องมือสื่อสาร อุปกรณ์ในสำนักงาน ผลิตภัณฑ์พลาสติก และเครื่องคอมพิวเตอร์

ประเทศคู่ค้าสำคัญ บราซิล สหรัฐฯ จีน และเยอรมนี

ระบบการปกครอง ประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข

การแบ่งเขตบริหาร แบ่งเป็น 23 จังหวัด (Provinces) และ 1 เขตเมืองหลวงสหพันธ์ (Federal Capital)

ประมุขและหัวหน้ารัฐบาล
-นาย Néstor Carlos Kirchner ประธานาธิบดีจากพรรค Frente Para la Victoria (Peronist) ตั้งแต่ 25 พฤษภาคม 2546 (ครบวาระการดำรงตำแหน่งในเดือนธันวาคม 2550) โดยมีนาย Daniel Osvaldo Scioli ดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดี
-ประธานาธิบดี มาจากการเลือกตั้ง มีวาระ 4 ปี สามารถลงสมัครเป็นสมัยที่สองได้
-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นาย Jorge Enrique TAIANA

ฝ่ายนิติบัญญัติ ประกอบด้วย 2 สภา คือ
1) วุฒิสภา (Senate) มีสมาชิก 72 คน มาจากการเลือกตั้งจากแต่ละจังหวัดและเขตเมืองหลวงสหพันธ์ เขตละ 3 คน มีวาระ 6 ปี
2) สภาผู้แทนราษฎร (Chamber of Deputies) มีสมาชิก 257 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรง มีวาระ 4 ปี โดยมีการเลือกตั้งสมาชิกครึ่งหนึ่งทุกสองปี

ฝ่ายตุลาการ ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งผู้พิพากษาศาลสูง (Supreme Court) จำนวน 9 คน โดยได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภา

พรรคการเมืองสำคัญ
พรรค Peronist (Justicialist Party) ของระธานาธิบดี Kirchner
พรรค Radical Civic Union (UCR) และ พรรค Union of the Democratic Centre เป็นต้น

การเมืองการปกครอง
การเมืองการปกครอง

1. ประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้ง มีวาระ 4 ปี สามารถลงสมัครเป็นสมัยที่สองได้ ประกอบด้วย ๒ สภา คือ (1) วุฒิสภา (Senate) มีสมาชิก 72 คน มาจากการเลือกตั้งจากแต่ละจังหวัดและเขตเมืองหลวงสหพันธ์ เขตละ 3 คน มีวาระ 6 ปี และ (2) สภาผู้แทนราษฎร (Chamber of Deputies) มีสมาชิก 257 คนมาจากการเลือกตั้งโดยตรง มีวาระ 4 ปี โดยมีการเลือกตั้งสมาชิกครึ่งหนึ่งทุกสองปี พรรครัฐบาลปัจจุบันคือ พรรค Peronist (Justicialist Party)

2. รัฐบาลภายใต้ประธานาธิบดีคิร์ชเนร์ มีแนวทางซ้ายกลางและมีนโยบายที่สำคัญ คือ
 ส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย ต่อต้านการละเมิดสิทธิมนุษยชน
 แก้ไขปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง
 สร้างความโปร่งใสของภาครัฐ
 ปรับปรุงและให้ความสำคัญกับระบบการให้บริการของภาครัฐ
 ทบทวนแนวทางการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อให้เอื้อประโยชน์ต่อความต้องการของคนส่วนใหญ่มากขึ้น

3. รัฐบาลของประธานาธิบดีคิร์ชเนร์มีความมั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวประธานาธิบดี ยังคงได้รับคะแนนนิยมอย่างต่อเนื่อง ความสำเร็จในนโยบายด้านเศรษฐกิจ โดยมีความเจริญเติบโตในอัตราร้อยละ 8-9 ต่อปีมาต่อเนื่องเข้าสู่ปีที่ 5 อัตราว่างงานที่เคยสูงถึงร้อยละ 27 ในปี 2546 ได้ปรับลดลงเป็นร้อยละ 8.7โดยมีการสร้างงานใหม่ถึง 3.4 ล้านตำแหน่งในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา การควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภค นอกจากนี้ ความแตกแยกของพรรคฝ่ายค้านยังเป็นเหตุผลอีกประการที่ทำให้รัฐบาลประธานาธิบดีคิร์ชเนร์มีความมั่นคง

4. ในการกล่าวคำแถลงแห่งชาติในพิธีเปิดสภานิติบัญญัติเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2550 ประธานาธิบดีคิร์ชเนร์ ได้ย้ำว่าประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนยังคงเป็นประเด็นสำคัญหลักของรัฐบาลซ้ายกลางของตน พร้อมกระตุ้นให้ศาลเร่งดำเนินคดี และเอาผิดกับผู้เกี่ยวข้องในการละเมิดสิทธิมนุษยชน อันนำไปสู่การเสียชีวิตและสูญหายของประชากรกว่าสามหมื่นคน ในช่วงเผด็จการทหารระหว่างปี 2519-2526 โดยเห็นว่าบุคคลที่เกี่ยวข้องควรเข้ารับโทษในห้องขังร่วมกับผู้ประพฤติผิดอื่นๆ (ปัจจุบันผู้กระทำผิดด้านสิทธิมนุษยชนที่มีอายุมากกว่า 70 ปี รับโทษในลักษณะการกักขังในบ้านพักอาศัย) รัฐบาลประธานาธิบดีคิร์ชเนร์เน้น 3 ประการ ได้แก่ ความยุติธรรม ความทรงจำ และข้อเท็จจริง

5. อาร์เจนตินาจะจัดให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีในวันที่ 28 ตุลาคม 2550 โดยเมื่อ 2 กรกฎาคม 2550 นายคิร์ชเนร์ ได้ประกาศไม่ลงรับสมัครเลือกตั้งซ้ำ แม้ว่าจะมีคะแนนนิยมถึงร้อยละ 60 ในขณะที่ นาง Cristina Fernandez ภริยาของเขาประกาศจลงสมัครในตำแหน่งประธานาธิบดี ซึ่งหากได้รับการเลือกตั้ง นาง Cristina Fernández จะเป็นประธนาธิบดีคนที่สองทีเป็นสตรี (โดยเป็นแรกที่มีจากการเลือกตั้ง) ทั้งนี้ จากการสำรวจ ประชามติครั้งล่าสุด คาดว่านาง Cristina Fernández จะได้รับเสียงสนับสนุนร้อยละ 44-50 ในขณะที่กลุ่มผู้สมัครฝ่ายค้านทั้งหมดจะได้รับคะแนนสนับสนุนรวมกันเพียงประมาณร้อยละ 31-33 โดยคาดว่านาย Lavagna อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจจะได้คะแนนเป็นอันดับสอง แต่ไม่น่า จะได้เสียงสนับสนุนถึง 1 ใน 4 ของเสียงที่คาดว่านาง Cristina Fernández จะได้รับ

เศรษฐกิจการค้า

เศรษฐกิจและสังคม

1.) อาร์เจนตินาเป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตรรายใหญ่ของโลกโดยเฉพาะอยางยิ่ง ธัญพืช ถั่วเหลือง (เป็นผู้ส่งออกอันดับ 3 ของโลก) และเนื้อวัว โดยภาคเกษตรเป็นรายได้หลักของภาคเศรษฐกิจอาร์เจนตินา คิดเป็นร้อยละ 11 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ โดยถั่วเหลืองและเมล็ดพืชน้ำมัน เป็นสินค้าส่งออกหลักคิดเป็น ร้อยละ 24 ของสินค้าส่งออก สินค้าธัญพืช เช่น ข้าวสาลี ข้าวโพด และเมล็ดทานตะวัน มีปริมาณการส่งออกร้อยละ 8 รวมทั้ง ปศุสัตว์ถือเป็นสินค้าออกที่สำคัญด้วย

2.) อาร์เจนตินามีปริมาณแร่ธรรมชาติจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณแถบเทือกเขาแอนดีสทางด้านตะวันตกของประเทศ อย่างไรก็ตาม มีเพียง 1 ใน 5 ของประเทศที่ได้ถูกสำรวจ ปัจจุบันมีการพัฒนาการโครงการเหมืองแร่ของประเทศ นอกจากนี้ อาร์เจนตินามีปริมาณก๊าซสำรองจำนวนมาก โดยส่งออกก๊าซธรรมชาติไปยังชิลี

3.) รัฐบาลประธานาธิบดีคิร์ชเนร์มีนโยบายด้านเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ
 การเปิดเสรีการค้า
 การมีบทบาทสำคัญในกลุ่มตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง (MERCOSUR)
 ส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ แสวงหาพันธมิตรด้านพลังงานภายในภูมิภาค
 นโยบายด้านการค้าระหว่างประเทศที่สำคัญคือ ส่งเสริมการส่งออกและวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) รวมทั้ง การเพิ่มความหลากหลายของสินค้าจากเดิมที่ส่วนใหญ่เป็นสินค้า
 ด้านเกษตรกรรม ให้มีสินค้าอุตสาหกรรมมากขึ้น และกำลังพิจารณาจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้า (center of distribution) 25 เมืองทั่วโลก นอกจากนั้น รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนการส่งออกซึ่งนำไปสู่การกระชับความสัมพันธ์และขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจกับประเทศในเอเชีย โดยเฉพาะจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอาเซียน

4.) เศรษฐกิจของอาร์เจนตินาเริ่มฟื้นตัวในช่วงกลางปีของปี พ.ศ. 2546 และเป็นปีแรกที่เศรษฐกิจขยายตัวหลังจากถดถอย 4 ปี GDP ในปี 2546 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 8.84และอาร์เจนตินามีการจ่ายหนี้สินคืนแก่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) จำนวน 9.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนมกราคม 2549

5.) ปัจจุบัน รัฐบาลอาร์เจนตินากำลังประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจภายในประเทศที่สำคัญ คือ
 เมื่อเดือนมกราคม 2550 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจได้ประกาศมาตรการของรัฐบาลในการเพิ่มการเก็บภาษีการส่งออกถั่วเหลืองอีกร้อยละ 4 โดยจะนำรายได้ส่วนดังกล่าวมาใช้ในการอุดหนุนอุตสาหกรรมอาหารเพื่อพยุงราคาสินค้าอาหารพื้นฐาน อาทิ ขนมปัง แป้ง พาสต้า เนื้อไก่ นม และผลิตภัณฑ์นม ไม่ให้เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งได้สร้างความไม่พอใจให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลืองเป็นจำนวนมาก
 ขณะนี้อาร์เจนตินากำลังประสบปัญหาการขาดแคลนพลังงาน ซึ่งบริษัทน้ำมันไม่ยอมผลิตน้ำมันดีเซลให้เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศเนื่องจากรัฐบาลควบคุมราคา อย่างไรก็ตาม นับแต่ต้นปี 2550 ได้มีการขึ้นราคาค่าบริการก๊าซและไฟฟ้าสำหรับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ รัฐบาลอาร์เจนตินาเชื่อว่า การขึ้นราคาค่าบริการไฟฟ้าและก๊าซดังกล่าว ไม่น่าจะส่งผลต่อผู้บริโภค เนื่องจากอุตสาหกรรมต่างๆ สามารถรับภาระต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องขึ้นราคาสินค้าตาม
อย่างไรก็ตาม หากมีความจำเป็นที่จะต้องขึ้นราคาสินค้าในบางรายการ รัฐบาลก็จะพิจารณาต่อไป ยกเว้น สินค้าประเภทอาหารและสินค้าพื้นฐาน ซึ่งรัฐบาลยังคงควบคุมไม่ให้มีการขึ้นราคาเนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อประชากรส่วนมากและขัดต่อความพยายามของรัฐบาลในการควบคุมภาวะเงินเฟ้อ
 จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น รวมทั้งการลดค่าเงินเปโซ ทำให้อาร์เจนตินามีอัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก จึงเป็นปัญหาหลักที่รัฐบาลประธานาธิบดีคิร์ชเนร์พยายามจะควบคุมในช่วง 2 ปี ที่ผ่านมา ผ่านมาตรการตางๆ อาทิ การควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคพื้นฐาน และการลดโควต้าการส่งออกเนื้อวัวเพื่อพยุงราคาเนื้อวัวภายในประเทศ เป็นต้น เพื่อสร้างและรักษาคะแนนนิยมสำหรับการเลือกตั้งประธานาธิบดี


นโยบายต่างประเทศ

1.) รัฐบาลประธานาธิบดีคิร์ชเนร์มีนโยบายด้านต่างประเทศที่สำคัญ คือ
 เน้นการบูรณาการและสร้างความเป็นพันธมิตรและการร่วมมือใน MERCOSUR และภูมิภาคอเมริกา โดยเฉพาะการมีบทบาทนำในการกระชับความร่วมมือและเสริมสร้างอำนาจต่อรองของกลุ่ม MERCOSUR ทั้งนี้ ประธานาธิบดีคิร์ชเนร์เน้นว่า MERCOSUR เป็น “strategic objective” ของรัฐบาล (ล่าสุดได้ประธานาธิบดีคิร์ชเนร์ได้กล่าวเชิญเม็กซิโกเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่ม MERCOSUR ในระหว่างการเยือนเม็กซิโกเมื่อ 30 ก.ค.-1 ส.ค. 2550)
 ดำเนินความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปที่จริงจัง กว้างขวาง และรอบคอบ
 การขยายตลาดและความร่วมมือไปยังเอเชีย โดยเฉพาะจีน เพื่อลดการพึ่งพิงตลาดดั้งเดิม (สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป)
 กระชับสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆ โดยไม่เลือกระบอบการปกครอง
 ยืนยันการคัดค้านการอ้างอธิปไตยเหนือหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ (มาลวินัส)ของสหราชอาณาจักรโดยสันติวิธี
 อาร์เจนตินามีบทบาทที่แข็งขันในสหประชาชาติโดยเฉพาะการสนับสนุนการปฏิรูปคณะมนตรีความมั่นคง (UNSC) เพื่อให้มีระบบการตัดสินใจที่โปร่งใสและเป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้น ตลอดจนสนับสนุนการดำเนินงานของกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ

2.) อาร์เจนตินามีบทบาทที่แข็งขันในสหประชาชาติโดยเฉพาะการสนับสนุนการปฏิรูปคณะมนตรีความมั่นคง (UNSC) เพื่อให้มีระบบการตัดสินใจที่โปร่งใสและเป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้น ตลอดจนสนับสนุนการดำเนินงานของกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ โดยส่งทหารไปร่วมปฏิบัติภารกิจ7 แห่ง ได้แก่ เฮติ ไซปรัส โคโซโว ตะวันออกกลาง คองโก ซาฮาราตะวันตกและติมอร์ตะวันออก อาร์เจนตินามีศูนย์ฝึกอบรมสำหรับทหาร ตำรวจ และพลเรือนที่จะร่วมในภารกิจรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ ๒ แห่ง คือ Training Center for Blue Helmets (CAECOPAZ) ควบคุมโดยกองทัพอาร์เจนตินา และ Training Center for Members of Peace Missions Abroad (CENCAMEX) ควบคุมโดยกองกำลังตำรวจแห่งชาติ นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการจัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court: ICC) ศาลอาญาระหว่างประเทศสำหรับรวันดา (International Criminal Tribunal for Rwanda) และศาลอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวีย (International Tribunals for the Former Yugoslavia)

3.) อาร์เจนตินาได้รับเลือกเป็นสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคง (UNSC) สำหรับปี 2548-2549 โดยดำรงตำแหน่งประธาน UNSC (ซึ่งจะหมุนเวียนทุกเดือนโดยเรียงตามตัวอักษรประเทศ) ในเดือนมกราคม 2548 และเดือนเมษายน 2549

4.) อาร์เจนตินาเข้าเป็นผู้สังเกตการณ์ของ African Union ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในปี 2545 และให้ความสำคัญในการร่วมมือและให้ความช่วยเหลือกับแอฟริกา โดยเน้นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน สันติภาพและการพัฒนา หน่วยงานของอาร์เจนตินา 2 แห่ง คือ Fund for Cooperation and Development (FO-AR) และ White Helmet ได้ให้ความช่วยเหลือและร่วมมือในโครงการต่างๆ ที่ตอบสนองต่อความต้องการของประเทศในแอฟริกา อาทิ การให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคในด้านการเกษตร เหมืองแร่ในประเทศต่างๆ อาทิ อังโกลา และโมซัมบิก การฝึกสอนฟุตบอล การส่งทหารและแพทย์ไปร่วมในคณะรักษาสันติภาพที่โกตดิวัวร์และคองโก เป็นต้น

5.) ปัจจุบันอาร์เจนตินากำลังขยายความสัมพันธ์กับเวเนซุเอลา ที่สำคัญคือ การสนับสนุนที่เวเนซุเอลา เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่ม MERCOSUR รวมทั้ง การเดินทางเยือนเวเนซุเอลาของประธานาธิบดีคิร์ชเนร์ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ซึ่งในการเยือนดังกล่าวประธานาธิบดี คิร์ชเนร์ และ ประธานาธิบดีฮูโก ชาเวซ (Hugo Chavez) ของเวเนซุเอลาได้ร่วมกันเป็นประธานในพิธีเปิดบ่อขุดเจาะน้ำมันที่บริษัท ENARSA ของเวเนซุเอลา และ PDVSA ของอาร์เจนตินาร่วมลงทุนสำรวจและขุดเจาะบริเวณริ่มแม่น้ำ Orinoco ของเวเนซุเอลา ซึ่งอุดมสมบูรณ์ด้วยน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ นอกจากนี้ เวเนซุเอลายังให้ความช่วยเหลือทาง การเงินแก่ SanCor Dairy Cooperative ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ผลิตสินค้านมรายใหญ่ของอาร์เจนตินา โดยแลกกับการ เข้ามีสิทธิในการร่วมบริหารกลุ่มและสำหรับการก่อสร้างโรงงานผลิตภัณฑ์นมในเวเนซุเอลา ทั้งนี้ ในการเยือนเวเนซุเอลา นอกจากจะเป็นการประกันแหล่งน้ำมันในอนาคตสำหรับอาร์เจนตินา เวเนซุเอลายังได้ประโยชน์ในการสร้างอิทธิพลในลาตินอเมริกาจากความมั่งคั่งของปิโตรเลียม ซึ่งความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างสองประเทศทำให้สหรัฐฯ จับตามองเป็นพิเศษ และเป็นที่สังเกตได้ว่า ในการเยือนอเมริกาครั้งล่าสุดของประธานาธิบดีสหรัฐ ในเดือนมีนาคม 2550 ไม่มีอาร์เจนตินาอยู่ในกำหนดการ

6.) ล่าสุดเมื่อ 6 ส.ค. 2550 ประธานาธิบดี Chavez ของเวเนซุเอลาได้เยือนอาร์เจนตินา อย่างเป็น ทางการ และประกาศจะซื้อพันธบัตรรัฐบาลอาร์เจนตินาเพิ่มขึ้นอีกประมาณเกือบ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ พร้อมเรียกร้องให้เร่งรัดการพัฒนาพันธมิตรในอเมริกาใต้ รวมถึงการเป็นสมาชิกอย่างสมบูรณ์ของเวเนซุเอลา ในกลุ่ม Mercosur

7.) อาร์เจนตินาเป็นประเทศหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการเจรจากับประเทศพัฒนาแล้วในกรอบ G 20 และ WTO เพื่อให้สหรัฐฯ และ EU ยกเลิกการอุดหนุนสินค้าเกษตรทั้งหมด

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐอาร์เจนตินา
ความสัมพันธ์ทั่วไป

ไทยและอาร์เจนตินาได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 25498 โดยไทยเปิดสถานอัครราชทูตเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2498 และได้ยกฐานะเป็นสถานเอกอัครราชทูตเมื่อ 15 กรกฎาคม 2503 และมีเขตอาณาครอบคลุมอีก 3 ประเทศ คืออุรุกวัย ปารากวัยและโบลิเวีย แต่ต่อมา เมื่อรัฐบาลมีดำริเปิดสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลิมา จึงมีการปรับเขตอาณาสถานเอกอัครราชทูตในลาตินอเมริกา โดยรวมถึงสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบัวโนสไอเรส ซึ่งจะครอบคลุม 2 ประเทศ คือ ปารากวัย และอุรุกวัย ทั้งนี้ โบลิเวียจะอยู่ในความดูแลของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลิมาโดยมีนายอนุชา โอสถานนท์ ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตคนปัจจุบัน

อาร์เจนตินาเปิดสถานเอกอัครราชทูตในไทยเมื่อปี 2498 โดยมี นาย Felipe Frydman ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตคนปัจจุบัน (นาย Frydman ถวายสาส์นเป็นเอกอัครราชทูตฯ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2549)


ความสัมพันธ์ด้านการเมือง

ไทยและอาร์เจนตินามีการแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับสูงทั้งในระดับพระราชวงศ์ ผู้นำรัฐบาลและระดับรัฐมนตรี โดยในระดับพระราชวงศ์ ได้แก่ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร (ปี 2539) และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี (ปี 2543 และ 2548)

การเยือนระดับรัฐบาลล่าสุด ได้แก่ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรี เมื่อเดือนสิงหาคม 2549 อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีนายกรัฐมนตรีของไทยเดินทางเยือนอาร์เจนตินา สำหรับระดับผู้นำฝ่ายอาร์เจนตินาที่เคยเดินทางมาเยือนไทยที่สำคัญ ได้แก่ ประธานาธิบดี Arturo Frondizi (ปี 2504) และประธานาธิบดี Carlos Saul Menem (ปี 2540)


ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ

อาร์เจนตินาเป็นคู่ค้าอันดับ 3 ของไทยในลาตินอเมริกา รองจากบราซิล และเม็กซิโก
โดยในปี 2549 การค้าสองฝ่ายมีมูลค่า 616 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ ร้อยละ 0.24 ของมูลค่าการค้ารวมของไทยกับประเทศทั่วโลก อย่างไรก็ดี ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า (ซึ่งเป็นการได้ดุลครั้งแรกในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา) คิดเป็นมูลค่า 91.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยนำเข้า 262.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และส่งออก 353.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การนำเข้ากว่าร้อยละ 90 เป็นสินค้าปฐมภูมิประเภทวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป เพื่อป้อนอุตสาหกรรมของไทยเพื่อการผลิตและส่งออก ในขณะที่สินค้าส่งออกของไทยมีความหลากหลายทั้งสินค้าอุตสาหกรรม สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร และสินค้าปฐมภูมิด้านการเกษตร สินค้าที่ไทยนำเข้าจากอาร์เจนตินาในปี 2549 ได้แก่ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช (รวมถึงกากพืชน้ำมัน) สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูป และกึ่งสำเร็จรูปผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม เคมีภัณฑ์ เครื่องมือเครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์

หมายเหตุ --- อาร์เจนตินาเป็นประเทศที่ไทยนำเข้าน้ำมันดิบจากเมล็ดทานตะวันมากเป็นอันดับหนึ่งของการนำเข้าจากทั่วโลกและเป็นอันดับสองที่ไทย นำเข้ากากพืชน้ำมันของการนำเข้าจากทั่วโลกรองจากบราซิล

สินค้าที่ไทยส่งออกไปอาร์เจนตินาในปี 2549 ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป


ความสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรม

ปี 2548 เป็นปีแห่งการครบรอบ 50 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-อาร์เจนตินา กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตอาร์เจนตินาประจำประเทศไทยได้จัดกิจกรรมเพื่อฉลองวาระพิเศษดังกล่าว ได้แก่ การจัดทำตราไปรษณียากรที่ระลึก โดยพิมพ์ภาพรำกลองยาว และการเต้นรำแทงโก้ ซึ่งเป็นศิลปะประจำชาติของทั้งสองประเทศบนตราไปรณียากรดังกล่าว รวมทั้งได้จัดโครงการ Football Clinic โดยการเชิญนายอูบาลโด มาทิลโด ฟิยอล (Mr. Ubaldo Matildo Fillol) ซึ่งเป็นอดีตผู้รักษาประตูทีมชาติอาร์เจนตินา ชุดที่ชนะเลิศในการแข่งขันฟุตบอลโลกปี ๒๕๓๐ มาเป็นผู้ฝึกสอนทักษะทางด้านกีฬาฟุตบอลให้แก่นักเรียนในโรงเรียนกีฬาของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รวมทั้งนักเรียนในโครงการยุวทูตความดีของกระทรวงการต่างประเทศ ภายใต้พระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีเป็นเวลา 1 เดือน นอกจากนี้ ยังได้จัดพิมพ์หนังสือที่ระลึกวาระครบรอบ 50 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างกันด้วย ในปี 2549 มีชาวอาร์เจนตินาเดินทางมาประเทศไทย 4,373 คน


ความสัมพันธ์ในกรอบพหุภาคี

ประเทศไทยและอาร์เจนตินามีพื้นฐานและโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่พัฒนามาจาก
ภาคเกษตรกรรม และเป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญของโลก จึงมีจุดยืนร่วมกันในการเรียกร้องให้กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วเปิดตลาดสินค้าเกษตรจากประเทศกำลังพัฒนาและลดการอุดหนุนสินค้าเกษตรของตนลง นอกจากนี้ ทั้งสองประเทศยังมีความร่วมมือใกล้ชิดในกรอบ G๒๐ WTO และ UN และเวทีความร่วมมือระหว่างภูมิภาคเอเชียตะวันออกและลาตินอเมริกา (Forum for East Asia- Latin America Cooperation – FEALAC)


ความตกลงที่สำคัญๆ กับไทย

ความตกลงที่ลงนามแล้ว
1 ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และวิชาการ (ลงนามเมื่อ 20 ตุลาคม 2524)
2 ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยกับหอการค้าอาร์เจนตินา (ลงนามเมื่อ 7 มิถุนายน 2534)
3 ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูตและราชการ (ลงนามเมื่อ 16 พฤษภาคม 2539)
4 ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการใช้พลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ (ลงนามเมื่อ 7 มิถุนายน 2539)
5 ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการค้า (ลงนามเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2540)
6 บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านปราบปรามยาเสพติดและวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท (ลงนามเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2540)
7 ความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน (ลงนามเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2543)
8 ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางด้านวัฒนธรรม การศึกษาและวิทยาศาสตร์ระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติ La Plata (ลงนามเมื่อ 28 ธันวาคม 2543)
9 ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดา (ลงนามเมื่อ 14 สิงหาคม 2549)
10 ความตกลงด้านวัฒนธรรม (ลงนามเมื่อ 14 สิงหาคม 2549)
11 MOU on Political Consultation and Other Matters of Common Interest (ลงนามเมื่อ 19 กันยายน 2549)

-----------------------

กองลาตินอเมริกา
19 สิงหาคม 2550

เอกสารแนบ

เรียบเรียงโดย กองลาตินอเมริกา กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ โทร. 02 6435000 ต่อ 3013, 3014, 3016 หรือ 0-2643-5114 Fax. 0-2643-5115



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์