ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> บังกลาเทศ




แผนที่
สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ
People’s Republic of Bangladesh


 
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียใต้ ทิศเหนือ ตะวันตก และตะวันออกตอนบนติดกับอินเดีย (มีแนวชายแดนยาวติดต่อกันประมาณ 4,053 กิโลเมตร) ทิศตะวันออกตอนล่างติดกับพม่า (มีแนวชายแดนยาว 193 กิโลเมตร) และทิศใต้ติดกับอ่าวเบงกอล

พื้นที่ 144,000 ตารางกิโลเมตร

เมืองหลวง กรุงธากา (Dhaka)

เมืองสำคัญต่างๆ เมืองจิตตะกอง (Chittagong) เป็นเมืองใหญ่อันดับสองและเป็นเมืองท่าที่ใหญ่ที่สุดของบังกลาเทศ เป็นเมืองธุรกิจและมีสนามบินนานาชาติ

ภูมิอากาศ ร้อนชื้น พื้นที่เกือบทั้งหมดเป็นที่ราบลุ่ม ในฤดูมรสุมมักเกิดอุทกภัย

ประชากร 141,340,476 คน (ปี 2548) ประกอบด้วยเชื้อชาติเบงกาลี (Bengalee) ร้อยละ 98 ที่เหลือเป็นชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆ

ภาษา ภาษาบังกลา (Bangla) เป็นภาษาราชการ ภาษาอังกฤษใช้สื่อสารในหมู่ผู้มีการศึกษาดี และมีภาษาท้องถิ่นของชนกลุ่มน้อย

ศาสนา ประชากร ร้อยละ 88 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 10 นับถือศาสนาฮินดู ร้อยละ 0.6 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 0.3 นับถือศาสนาคริสต์ และประชากรที่เหลือนับถือศาสนาอื่น ๆ

การศึกษา อัตราการรู้หนังสือโดยรวม ร้อยละ 43.1

วันสำคัญ 26 มีนาคม 2514 (ค.ศ. 1871) เป็นวันที่ปากีสถานตะวันออกประกาศแยกตัวเป็นเอกราชจากปากีสถานตะวันตก และใช้ชื่อว่าบังกลาเทศ

การปกครอง ปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีเพียงสภาเดียว คือ Jatiya Sangsad หรือสภาแห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 300 คน มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน อยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร

การเมืองการปกครอง
การเมืองการปกครอง
บังกลาเทศปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร โดยมีพรรคสำคัญ 2 พรรค คือพรรค Bangladesh National Party (BNP) และพรรค Awami League (AL) โดยที่ทั้งสองพรรคได้ผลัดกันขึ้นเป็นรัฐบาลและฝ่ายค้านตลอดมา ทั้งสองพรรคมีความขัดแย้งกันสูง โดยเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้รับเลือกให้เป็นรัฐบาล อีกฝ่ายก็จะพยายามที่จะหาทางทำลายชื่อเสียงเพื่อโค่นล้มอีกฝ่ายหนึ่ง ตั้งแต่การนำการประท้วง การโจมตีโดยใช้สื่อต่าง ๆ นอกจากนี้ ความขัดแย้งยังนำไปสู่ความไม่ต่อเนื่องของนโยบายของชาติ โดยเมื่อฝ่ายตรงข้ามได้รับเลือกตั้ง นโยบายหรือโครงการที่อีกฝ่ายทำไว้ก็จะถูกละเลยหรือถูกยกเลิกไป ซึ่งเป็นผลให้เกิดความเสียหายต่อการพัฒนาประเทศ และความเชื่อมั่นของนานาชาติ

ฝ่ายตุลาการ
บังกลาเทศใช้ระบบศาลแบบอังกฤษ โดยมีทั้งศาลแพ่งและศาลอาญา โดยศาลฎีกา(Supreme Court) เป็นศาลสูงสุดซึ่งแบ่งเป็นสองส่วนคือ Appellate Division และ High Court Division และยังมีศาลระดับล่างได้แก่ district courts thana courts และ village courts นอกจากนี้ยังมีศาลพิเศษอื่นๆ เช่น ศาลครอบครัว ศาลแรงงาน เป็นต้น

ประวัติศาสตร์โดยสังเขป
ดินแดนที่เป็นประเทศบังกลาเทศในปัจจุบันมีประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 1,000 ปี เดิมเป็นส่วนหนึ่งของชมพูทวีป (อินเดีย) เคยเป็นดินแดนที่เจริญรุ่งเรืองของศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธมาก่อน ต่อมาพ่อค้าชาวอาหรับได้นำศาสนาอิสลามเข้ามาเผยแพร่จนชาวบังกลาเทศส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามมาจนถึงทุกวันนี้

ในปี 2300 อังกฤษได้เข้าไปยึดครองชมพูทวีป และดินแดนแห่งนี้ได้ตกเป็นอาณานิคมของ อังกฤษเกือบ 200 ปี ต่อมาในปี 2490 ดินแดนแถบนี้ได้รับเอกราช แต่บังกลาเทศก็ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของปากีสถาน เรียกกันว่าปากีสถานตะวันออก ต่อมาชาวเบงกาลีในปากีสถานตะวันออกไม่พอใจการบริหารงานของรัฐบาลกลาง ซึ่งอยู่ในปากีสถานตะวันตก เนื่องจากถูกแสวงหาประโยชน์และได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียม ซึ่งสร้างความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างปากีสถานตะวันตกและปากีสถานตะวันออก นอกจากนี้ปากีสถานทั้งสองยังมีความแตกต่างด้านภาษา วัฒนธรรมและเชื้อชาติอีกด้วย ชาวเบงกาลีจึงจัดตั้งพรรค Awami League (AL) ขึ้นเมื่อปี 2492 เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชาวเบงกาลี โดยมี Sheikh Mujibur Rahman เป็นหัวหน้า

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2514 ปากีสถานตะวันออกได้ประกาศแยกตัวเป็นเอกราช ภายใต้ชื่อ สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ ทำให้ปากีสถานตะวันตกส่งกองกำลังทหารเข้าปราบปราม อินเดียได้ส่งทหารเข้าไปช่วยเหลือปากีสถานตะวันออก ในที่สุดฝ่ายปากีสถานตะวันตกพ่ายแพ้ในการรบและยินยอมให้เอกราชแก่บังกลาเทศเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2514 มีนาย Sheikh Mujibur Rahman หัวหน้าพรรค AL ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกของบังกลาเทศ โดยเป็นประมุขของรัฐและฝ่ายบริหารคนแรก (Father of the Nation)

พัฒนาการทางการเมืองของบังกลาเทศภายหลังเอกราช
ประธานาธิบดี Sheikh Mujibur Rahman ถูกลอบสังหารเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2518 โดยฝีมือนายทหารกลุ่มหนึ่ง การปกครองในระยะแรกนี้มีการก่อรัฐประหารหลายครั้ง และลอบสังหารประธานาธิบดีจนเสียชีวิตหลายคน สถานการณ์ทางการเมืองของบังกลาเทศตกอยู่ในสภาวะระส่ำระสายและเป็นการปกครองโดยผู้นำทางทหารตลอดมากว่า 20 ปี และพลโท Hussain Mohammad Ershad ประธานาธิบดี (ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2525 – 2533) ได้ถูกฝ่ายค้านกดดันให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อถ่ายโอนอำนาจการบริหารจากประธานาธิบดีไปให้นายกรัฐมนตรี พลโท Ershad ได้ลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 2533 และถูกจำคุกในข้อหาฉ้อราษฎร์บังหลวง

ในปี 2533 บังกลาเทศได้จัดการเลือกตั้งทั่วไปภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเป็นครั้งแรก โดยผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรค Bangladesh Nationalist Party (BNP) นำโดยนาง Khaleda Zia ได้รับชัยชนะ และเมื่อมีการเลือกตั้งทั่วไปอีกครั้งในปี 2535 นาง Khaledia Zia ก็ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกสมัยหนึ่ง และเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2539 ประธานาธิบดีบังกลาเทศได้ประกาศยุบสภาและจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 12 มิถุนายน 2539 ภายหลังความวุ่นวายจากการประท้วงของพรรคฝ่ายค้านซึ่งประกอบด้วยพรรค Awami League พรรค Jatiya Party (JP) และพรรค Jamaat-e-Islami (JI) ที่ต้องการให้นาง Khaleda Zia ลาออก ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคฝ่ายค้านได้รับชัยชนะและนาง Sheikh Hasina หัวหน้าพรรค AL (บุตรสาวของอดีตประธานาธิบดี Sheikh Mujibur Rahman )ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ภายใต้รัฐบาลผสมครั้งแรกของบังกลาเทศ ระหว่างพรรค AL และพรรค JP ที่มีพลโท Ershad อดีตประธานาธิบดีเป็นหัวหน้าพรรค และได้ปฏิญาณตนเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2539 แต่ต่อมาในเดือนกันยายน 2540 พรรค JP ได้ถอนตัวออกจากรัฐบาลและเข้าเป็นแนวร่วมฝ่ายค้านกับพรรค BNP

ตามรัฐธรรมนูญของบังกลาเทศ คณะรัฐมนตรีจะอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี ดังนั้น ในวันที่ 12 กรกฎาคม 2544 รัฐบาลของนาง Sheikh Hasina จึงได้หมดวาระลง และเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2544 ประธานาธิบดี Shahabuddin Ahmed ได้ประกาศยุบสภาตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี และเมี่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2544 รัฐบาลของนาง Sheikh Hasina ได้ถ่ายโอนอำนาจไปยังรัฐบาลรักษาการที่จะต้องมีหน้าที่ จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปภายใน 90 วัน และในการนี้ประธานาธิบดี Shahabuddin Ahmed ได้แต่งตั้ง Justice Latifur Rahman อดีตหัวหน้าผู้พิพากษาศาลฎีกาให้ดำรงตำแหน่ง Chief Advisor ของรัฐบาลรักษาการหรือเทียบเท่านายกรัฐมนตรีและนาย Latifur Rahman ได้สาบานตนเข้ารับตำแหน่งเมื่อ 15 กรกฎาคม 2544 นอกจากนี้ ประธานาธิบดี Shahabuddin Ahmed ได้แต่งตั้งคณะที่ปรึกษา (Council of Advisors) จำนวน 10 คน ตามคำแนะนำของนาย Latifur Rahman เพื่อปฎิบัติหน้าที่เทียบเท่ารัฐมนตรีในคณะรัฐบาล ต่อมาในการเลือกตั้งทั่วไปเดือนตุลาคม 2544 พรรค BNP ได้ชัยชนะในการเลือกตั้งและ นาง Khaleda Zia ได้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2544 เเละได้สิ้นสุดวาระลงเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2549

สถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี Khaledia Zia ได้สิ้นสุดวาระลงเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2549 โดยรัฐธรรมนูญกำหนดให้ประธานาธิบดีเเต่งตั้งอดีตประธานศาลฎีกาเป็นหัวหน้ารัฐบาลรักษาการเพื่อจัดการการเลือกตั้ง เเต่พรรคร่วมฝ่ายค้านได้คัดค้านการเเต่งตั้งดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าอดีตประธานศาลฎีกา มีความใกล้ชิดกับพรรครัฐบาล ประธานาธิบดี Iajuddin Ahmed ได้ตัดสินใจดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าที่ปรึกษารัฐบาลรักษาการเองท่ามกลางเสียงคัดค้านของพรรคฝ่ายค้าน ซึ่งเห็นว่ารัฐบาลรักษาการและคณะกรรมการการเลือกตั้งไม่มีความเป็นกลางทางการเมือง พรรคร่วมฝ่ายค้านได้นำประชาชนออกมาชุมนุมประท้วงและก่อการจลาจลอย่างต่อเนื่องและประกาศถอนตัวจากการเลือกตั้ง ส่งผลให้เกิดภาวะชะงักงันของการเมืองภายในประเทศและผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ในที่สุดประธานาธิบดีฯ จึงตัดสินใจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน (State of Emergency) และลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าที่ปรึกษารัฐบาลรักษาการเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2550 พร้อมทั้งประกาศเลื่อนการเลือกตั้งซึ่งกำหนดไว้ในวันที่ 22 มกราคม 2550 ออกไปอย่างไม่มีกำหนด และได้แต่งตั้งให้ ดร.Fakhruddin Ahmed ดำรงตำแหน่งหัวหน้าที่ปรึกษารัฐบาลรักษาการตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2550

ขณะนี้บังกลาเทศอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลรักษาการโดยได้รับการสนับสนุนจากกองทัพบังกลาเทศ มีภารกิจหลัก คือ 1) ปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่นของรัฐบาลชุดที่แล้ว กวาดล้างกลุ่มอันธพาลและผู้สร้างความวุ่นวายในสังคม และจัดระเบียบสังคมและการเมืองในประเทศให้สงบเรียบร้อย ขณะนี้มีการจับกุมผู้มีอิทธิพลและผู้ก่อความไม่สงบทั่วประเทศ ซึ่งรวมถึงอดีตรัฐมนตรีและนักการเมืองจากพรรค AL และพรรค BNP ล่าสุดได้จับกุม นาง Sheikh Hasina นาง Khaleda Zia และบุตรชายของนาง Khaleda Zia ในข้อหาพัวพันกับการทุจริต 2) ปฏิรูปคณะกรรมการการเลือกตั้งให้มีความเป็นกลาง เข้มแข็งและโปร่งใส เพื่อให้สามารถจัดการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม และทำให้บังกลาเทศกลับสู่ระบอบประชาธิปไตยโดยเร็ว คาดว่ารัฐบาลรักษาการจะจัดการเลือกตั้งทั่วไปในช่วงปลายปี 2551 หลังจากจัดทำบัตรประจำตัว (National ID Cards) ให้แก่ชาวบังกลาเทศทุกคนแล้วเสร็จ

หลังจากที่รัฐบาลรักษาการชุดนี้ได้ปกครองประเทศ เหตุการณ์รุนแรงจากการประท้วงของกลุ่มต่างๆ ที่มักจะเกิดขึ้นในบังกลาเทศได้ยุติลงจนกระทั้งวันที่ 21-22 สิงหาคม 2550 ได้เกิดเหตุการณ์ปะทะกันอีกครั้ง เนื่องจากทหารได้ทำร้ายร่างกายนักศึกษามหาวิทยาลัยธากา 3 คนและพูดจาดูหมิ่นอาจารย์ของมหาวิทยาลัยระหว่างการชมการแข่งขันฟุตบอลในสนามของมหาวิทยาลัยที่ใช้เป็นที่ตั้งของค่ายทหาร นักศึกษามหาวิทยาลัยธากาจึงได้ปะทะกับตำรวจที่รัฐบาลส่งมาควบคุมสถานการณ์ นอกจากนี้ เหตุการณ์ดังกล่าวได้ขยายวงออกไป โดยมีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยอื่นมาร่วมประท้วงทหารอีกด้วย ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บกว่า 150 คน เสียชีวิต 1 คน จนกระทั่งรัฐบาลรักษาการได้สั่งย้ายค่ายทหารออกจากมหาวิทยาลัยธากา และประกาศ curfew ในกรุงธากาและบริเวณใกล้เคียงเหตุการณ์จึงสงบลง โดยมีการจับกุมอาจารย์และแกนนำนักเรียนที่เกี่ยวข้องหลายคน ทั้งนี้ หลายฝ่ายเห็นว่าเหตุการณ์ดังกล่าวมีกลุ่มการเมืองอยู่เบื้องหลัง ล่าสุด ประธานาธิบดี Iajuddin Ahmed ซึง่ได้รับการตั้งแต่งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน 2545 ได้ครบวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปีแล้ว เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2550 แต่ประธานาธิบดีประกาศว่าจะยังคงดำรงตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะมีการเลือกตั้งและการแต่งตั้งประธานาธิบดีคนใหม่

ด้านเศรษฐกิจ
แม้บังกลาเทศจะเป็นหนึ่งในบรรดาประเทศที่มีการพัฒนาน้อยที่สุด (LDCs) แต่ก็ถือว่าเป็นประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจซึ่งไทยไม่ควรมองข้าม โดยเป็นแหล่งทรัพยากรน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติและทรัพยากรทางทะเล พร้อมกันนี้ยังสามารถเป็นตลาดสินค้าต่าง ๆ ของไทย เช่น สินค้าอุปโภคบริโภค และการบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถึงแม้ว่าภาคธุรกิจบริการจะทำรายได้ให้กับบังกลาเทศ คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 50 ของ GDP แต่ประชาชนบังกลาเทศส่วนใหญ่ยังมีฐานะยากจน และประกอบอาชีพเกษตรกร รัฐบาลบังกลาเทศให้ความสำคัญเรื่องเสรีภาพทางเศรษฐกิจ (economic freedom) โดยใช้การทูตเชิงเศรษฐกิจ (economic diplomacy) ให้ความสำคัญกับการดึงการลงทุนจากต่างชาติ (อนุญาตให้คนต่างชาติลงทุนถือหุ้นได้ทั้งหมดเช่นเดียวกับชาวบังกลาเทศ) และต้องการสร้างความเชื่อมั่นในการลงทุนในตลาดหุ้นของนักลงทุนทั้งภายในและจากต่างประเทศให้กลับคืนมา สนับสนุนการส่งออกโดยเฉพาะการเพิ่มโควต้าการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปยังต่างประเทศ รวมทั้งส่งเสริมให้แรงงานบังกลาเทศไปทำงานในต่างประเทศ และทบทวนการให้ visa on arrival กับประเทศต่างๆ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว

บังกลาเทศยึดหลักเศรษฐกิจการตลาดและมีนโยบายส่งเสริมการส่งออก อย่างไรก็ตามโดยที่การส่งออกของบังกลาเทศขึ้นอยู่กับสินค้าเพียงไม่กี่ชนิดและมีตลาดส่งออกจำกัดเพียงไม่กี่ประเทศ (ร้อยละ 76 ของปริมาณการส่งออกทั้งหมดเป็นเสื้อผ้าและสิ่งทอซึ่งส่งไปยังตลาดยุโรป) รัฐบาลบังกลาเทศพยายามให้ความสำคัญกับการสร้างความหลากหลายของสินค้าและแสวงหาตลาดส่งออกใหม่ๆ เพื่อเพิ่มปริมาณการส่งออกและลดการขาดดุลการค้า บังกลาเทศต้องพึ่งพาการนำเข้าจากอินเดียเป็นส่วนใหญ่ คิดเป็นมูลค่าปีละ 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รัฐบาลบังกลาเทศจึงพยายามขยายการค้ากับประเทศต่างๆ เพื่อลดการพึ่งพาอินเดียลง

ตั้งแต่ต้นปี 2533 บังกลาเทศได้ปรับเปลี่ยนนโยบายหลายประการเพื่อกระตุ้นและส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ เช่น ไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับการถือหุ้นของต่างชาติ อนุญาตให้ส่งผลกำไรและรายได้ออกไปต่างประเทศได้โดยเสรี และมีมาตรการให้ความสำคัญกับบริษัทต่างชาติที่เข้าไปลงทุนในประเทศ เป็นต้น โดยสหรัฐอเมริกาเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในบังกลาเทศ รองลงมา คือ มาเลเซีย ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร อุตสาหกรรมที่นักลงทุนควรให้ความสนใจ ได้แก่ การสำรวจแหล่งก๊าซธรรมชาติ ซึ่งมีมากถึง 11 ล้านล้านตารางฟุต ด้านสาธารณูปโภค ด้านประมง (แต่ปัจจุบันรัฐบาลบังกลาเทศยังไม่มีนโยบายที่จะเปิดให้ต่างชาติเข้าไปลงทุนในการจับปลาในบังกลาเทศ) การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรด้านอุตสาหกรรม อาทิ เสื้อผ้า เครื่องหนัง อุตสาหกรรมเบา ด้านบริการต่าง ๆ และด้านการผลิตสินค้าอุปโภคและบริโภคขั้นพื้นฐานอุปสรรคที่สำคัญที่ขัดขวางการลงทุน ได้แก่ การประสบภัยจากพายุไซโคลนและอุทกภัยบ่อยครั้ง การขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆ และปัญหาการเมืองภายในประเทศโดยเฉพาะการเดินขบวนประท้วง (hartal) ของพรรคฝ่ายค้านที่มีอยู่เป็นประจำ

สภาวะความรุนแรง และตัวเลขคดีอาชญากรรมในบังกลาเทศเพิ่มขึ้นสูงมาก สะท้อนให้เห็นถึงความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน อย่างไรก็ตาม รัฐบาลบังกลาเทศชุดที่แล้วก็ได้พยายามควบคุมสถานการณ์ดังกล่าวโดยเร่งปราบปรามกลุ่มที่ใช้ความรุนแรงต่างๆ เพราะนอกจากจะเป็นการรักษาความสงบเรียบร้อยในสังคมแล้ว ยังเป็นการป้องกันปัญหาจากฝ่ายการเมืองเข้าแทรก โดยเฉพาะจากพรรคฝ่ายค้าน AL ที่มักจะกล่าวหาว่า รัฐบาลพรรค BNP ให้ท้ายกลุ่มก่อการร้ายและมีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มทาลีบันอีกด้วย

ด้านต่างประเทศ
รัฐบาลชุดที่แล้วของบังกลาเทศ (อดีตนายกรัฐมนตรี Zia) ได้ดำเนินนโยบายต่างประเทศ ที่มุ่งเสริมสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และการดำเนินนโยบายต่างประเทศแบบมุ่งตะวันออก (Look East) โดยกระชับความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับจีนและประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ ไทย พม่า และกลุ่มอาเซียน ซึ่งนับเป็นมิติใหม่ของนโยบายต่างประเทศบังกลาเทศ การเดินทางเยือนภูมิภาคเอเชียของนายกรัฐมนตรีบังกลาเทศอย่างต่อเนื่องเพื่อเสริมสร้างนโยบายต่างประเทศที่มุ่งสนับสนุนผลประโยชน์ของบังกลาเทศในประเทศใหม่ๆ เหล่านี้ และการดำเนินนโยบายแบบมุ่งตะวันออกของบังกลาเทศนี้ ส่วนหนึ่งเพื่อต้องการลดอิทธิพลของอินเดียที่มีต่อบังกลาเทศลงด้วย

ปัจจุบันบังกลาเทศเป็นสมาชิก Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation (BIMSTEC), Asia Coopeartion Dialogue (ACD), South Asia Association for Regional Cooperation (SAARC), Non-Aligned Movement (NAM) และล่าสุดเข้าร่วมเป็นสมาชิก ASEAN Regional Forum (ARF) เมื่อเดือนกรกฎาคม 2549 รวมทั้งได้ลงนามเป็นภาคีในสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ Treaty of Amity and Cooperation (TAC) ในระหว่างการประชุม ARF ที่กรุงมะนิลา เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2550

บังกลาเทศส่งทหารเข้าร่วมกับกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติมากเป็นอันดับสองของโลก (9,856 คน ข้อมูลเดือนธันวาคม 2550) ซึ่งเป็นแหล่งรายได้สำคัญของรัฐบาลบังกลาเทศ

เศรษฐกิจการค้า
หน่วยเงินตรา เงินตากา (Taka) อัตราแลกเปลี่ยน 62 ตากา เท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาน 1.47 ตากา เท่ากับ 1 บาท

GDP 60 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2548)

อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 6.7 (ปี 2549)

รายได้เฉลี่ยต่อหัว 425.9 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2548)

สินค้าส่งออกที่สำคัญ เสื้อผ้า หนังดิบและหนังฟอก เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ และปุ๋ย

สินค้านำเข้าที่สำคัญ น้ำตาลทราย ข้าว เครื่องจักร ปูนซีเมนต์ เหล็ก เม็ดพลาสติก และอาหารแห้ง

ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ อินเดีย สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และจีน

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ
ด้านการทูต
ไทยกับบังกลาเทศสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2515 บังกลาเทศมีความสัมพันธ์อันดีกับไทยมาโดยตลอด ทั้งในระดับรัฐบาลและประชาชน ปัจจุบันนายเฉลิมพล ทันจิตต์ ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต ณ กรุงธากา (ซึ่งมีเขตอาณาครอบคลุมประเทศภูฏาน) ทั้งนี้ เอกอัครราชทูตบังกลาเทศประจำประเทศไทยคนล่าสุดนาย Shahed Akhtar ได้ครบวาระดำรงตำแหน่งและเกษียณอายุราชการแล้วเมื่อเดือนสิงหาคม 2550 ปัจจุบัน นาย Sayed Golam Zahid อุปทูต ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนเอกอัครราชทูต จนกว่าเอกอัครราชทูตคนใหม่จะได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการโดยฝ่ายไทย

ด้านการเมือง
ปัจจุบันความสัมพันธ์ระหว่างไทยและบังกลาเทศมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น โดยเฉพาะภายหลังการแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับผู้นำของทั้งสองประเทศในช่วงที่ผ่านมา ทำให้มีความร่วมมือระหว่างกันหลายโครง อาทิ การลดภาษีให้สินค้าบังกลาเทศ จำนวน 229 รายการ โครงการเครือข่ายถนนเชื่อม 3 ฝ่ายระหว่างไทย-พม่า-บังกลาเทศ โครงการปลูกมะพร้าว 10 ล้านต้นเป็นกำแพงกันคลื่นลมตามแนวชายฝั่งบังกลาเทศ และไทยได้บริจาคข้าวจำนวน 1,000 ตัน เมื่อเดือนกรกฎาคม 2547 และได้บริจาคเงินช่วยเหลือ 25,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนสิงหาคม 2550 เพื่อเหตุผลด้านมนุษยธรรมให้แก่บังกลาเทศซึ่งประสบอุทกภัยและแผ่นดินถล่ม

ด้านเศรษฐกิจ
มูลค่าการค้าทวิภาคีไทย – บังกลาเทศ
ในปี 2549 มีมูลค่ารวม 497.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยส่งออก 462.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 34.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ดังนี้
- สินค้าสำคัญที่ไทยส่งออกไปบังกลาเทศ ได้แก่ ปูนซีเมนต์ ผ้าผืน ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ เม็ดพลาสติก เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์พลาสติก
- สินค้าสำคัญที่ไทยนำเข้าจากบังกลาเทศ ได้แก่ ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืช สัตว์น้ำสดแช่เย็นแช่แข็ง/แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป หนังดิบและหนังฟอก เครื่องมือและอุปกรณ์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้ากับบังกลาเทศมาโดยตลอด อย่างไรก็ดี ทั้งสองประเทศยังมีลู่ทางที่จะขยายความร่วมมือด้านการค้าระหว่างกันอีกมาก สินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออกไปบังกลาเทศได้แก่ ผลิตผลทางการเกษตร อาหารแช่แข็ง วัสดุก่อสร้าง อุปกรณ์สำหรับทำการประมง เป็นต้น นอกจากนี้ ไทยอาจส่งอาหารฮาลาลไปยังบังกลาเทศได้อีกด้วย

การลงทุน
ปัจจุบันมีนักลงทุนไทยไปประกอบธุรกิจในบังกลาเทศประมาณ 13 บริษัท เช่น บริษัท ซีพีผลิตอาหารสัตว์ บริษัท Thai Classical Leathers ผลิตเครื่องหนัง และบริษัทผลิตน้ำดื่มบังกลาเทศ-ไทยน้ำแร่ จำกัด เป็นต้น ทั้งนี้ ไทยและบังกลาเทศเห็นพ้องกันว่า ยังมีโอกาสและศักยภาพที่จะร่วมธุรกิจลงทุนระหว่างกันอีกมาก โดยบังกลาเทศเชิญชวนภาคเอกชนไทยเข้าไปลงทุนทั้งในรูปแบบไทยถือหุ้นทั้งหมด หรือการร่วมทุนทางธุรกิจ (Joint Venture) ซึ่งบังกลาเทศเป็นประเทศที่ได้รับสิทธิพิเศษทางการค้าในฐานะประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (Least Developed Country - LDC) จากสหภาพยุโรปและสหรัฐฯ แต่ยังมีกำลังการผลิตไม่ถึงโควต้าที่ได้รับสิทธิพิเศษดังกล่าว และนักลงทุนไทยยังสามารถใช้บังกลาเทศเป็นฐานผลิตส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นตลาดใหญ่ เช่น อินเดีย อีกด้วย ในส่วนของภาคธุรกิจ มีความร่วมมือกันระหว่าง “สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย” กับ “Federation of Bangladesh Chambers of Commerce and Industry“ จัดตั้งสภาธุรกิจร่วม ไทย -บังกลาเทศ (ลงนามเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2545) เพื่อเป็นผู้ประสานงานระหว่างนักธุรกิจของสองประเทศ

ทั้งนี้ สาขาที่บังกลาเทศสนใจที่จะร่วมลงทุน ได้แก่ การออกแบบและรับเหมาก่อสร้างโดยเฉพาะ โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว โรงพยาบาล อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมน้ำตาล อุตสาหกรรมเครื่องหนัง อุตสาหกรรมแปรรูปผลไม้ และการเลี้ยง Black Mongol Goats เป็นต้น ปัจจุบัน รัฐบาลบังกลาเทศได้พยายามชักชวนให้นักธุรกิจไทยไปร่วมลงทุนในโครงการก่อสร้างโรงแรมที่กรุงธากา โรงพยาบาลที่เมืองจิตตะกอง และโครงการพัฒนาทะเลสาบ Foy’s Lake ที่เมืองจิตตะกองให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

การประมง
ไทยและบังกลาเทศลงนามในความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางการประมงเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2521 ฝ่ายไทยได้เสนอให้มีการเจรจาเรื่องการทำประมงร่วมกันในลักษณะ joint venture ระหว่างบริษัทเอกชนไทยและบังกลาเทศในอ่าวเบงกอล ในช่วงแรกบังกลาเทศได้อนุญาตให้เอกชนทำสัญญากับบริษัทไทยกว่า 20 บริษัท แต่ต่อมา บังกลาเทศเห็นว่าข้อตกลงที่มีกับฝ่ายไทยทำให้ฝ่ายบังกลาเทศเสียเปรียบจึงเปลี่ยนแปลงนโยบายใหม่ให้ลงทุนในลักษณะ joint venture โดยต้องมีผู้ร่วมทุนฝ่ายบังกลาเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ต่างชาติไม่เกินร้อยละ 49 และให้ค่อยๆ เพิ่มทุนแบบก้าวหน้าจนเหลือสัดส่วนการถือหุ้นชาวบังกลาเทศต่อชาวต่างชาติร้อยละ 75 ต่อร้อยละ 25 ทำให้บริษัทของไทยเลิกกิจการไปเกือบทั้งหมด ปัจจุบันคงเหลือบริษัท ฮาร์ดฟอร์ด จำกัด เพียงบริษัทเดียวที่ยังดำเนินกิจการอยู่จนถึงทุกวันนี้ โดยได้ร่วมทุนกับบริษัท Sea Resources ของบังกลาเทศ

ปัจจุบันบังกลาเทศไม่มีนโยบายให้เรือประมงต่างชาติเข้าไปจับปลาในน่านน้ำบังกลาเทศแต่อย่างใดเรือประมงไทยมักจะรุกล้ำเข้าไปจับปลาในน่านน้ำของบังกลาเทศ เป็นผลให้ลูกเรือประมงไทยถูกจับกุมและถูกยึดเรือหลายครั้ง เมื่อได้รับการช่วยเหลือปล่อยตัวแล้ว ก็ยังมีการรุกล้ำน่านน้ำบังกลาเทศเป็นประจำ โดยเจ้าของเรือยอมรับว่ามีเจตนาที่จะเข้าไปจับปลาในน่านน้ำบังกลาเทศจริง เพราะผลตอบแทนสูงคุ้มกับการเสี่ยงภัย ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยทั้งภาครัฐและเอกชนได้พยายามหาแนวทางป้องกันการกระทำดังกล่าวอย่างจริงจังและถาวรต่อไป

ปัญหาอุปสรรคในการทำการค้าและการลงทุนในบังกลาเทศ
บังกลาเทศยังคงพึ่งระบบการจัดเก็บภาษี/ศุลกากรในการดำเนินนโยบายการค้าต่างประเทศเป็นรายได้หลักของประเทศ โดยมีการเรียกเก็บสินค้านำเข้าเกือบทุกประเภทและมีการใช้มาตรการที่ไม่ใช่ภาษีโดยตรงร่วมด้วย
- ปัญหาเสถียรภาพและความมั่นคงทางการเมืองในประเทศ
- ปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- การนัดหยุดงานหรือการประท้วงซึ่งมีขึ้นเป็นประจำทำให้เกิดการชะงักงันของการดำเนินธุรกิจ
- ปัญหาความล่าช้าในระบบราชการ
- ปัญหาเกี่ยวกับระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่ได้มาตรฐาน
- ปัญหาการจัดระบบการคมนาคมขนส่งซึ่งรวมถึงความแออัดของท่าเรือจิตตะกอง

ด้านสังคมและวัฒนธรรม
ความร่วมมือทางวิชาการไทย - บังกลาเทศ
ไทยให้ความสำคัญกับความร่วมมือทางวิชาการกับบังกลาเทศ โดยเน้นความร่วมมือทางวิชาการในด้านการฝึกอบรมหรือ ดูงานเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสาขาที่ไทยมีศักยภาพ เช่น ด้านการศึกษา สาธารณสุข การเกษตร อุตสาหกรรม การบริหาร เป็นต้น โดยให้อยู่ในรูปของความร่วมมือแบบทวิภาคี ความร่วมมือภายใต้ทุนฝึกอบรมประจำปี ความร่วมมือภายใต้โครงการฝึกอบรมประเทศที่สาม และความร่วมมือแบบไตรภาคี ทั้งนี้ในปี 2547 มีทุนการศึกษาภายใต้ความร่วมมือแบบต่างๆ รวม 26 ทุน และในปี 2548 ไทยได้ให้ทุนการศึกษาปริญญาโทหลักสูตรนานาชาติ โดยเฉพาะสาขาเกษตรกรรมแก่บังกลาเทศอีกด้วย

ความร่วมมือทางวัฒนธรรม
ประเทศไทยพยายามส่งเสริมความสัมพันธ์ในด้านนี้อย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปี 2547 สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงธากา ได้จัดการแสดงนาฏศิลป์และเทศกาลอาหารขึ้นเป็นประจำทุกปี ในปี 2550 มีการจัดเทศกาล Thai Baazar เพื่อส่งเสริมอาหาร วัฒนธรรมและการท่องเที่ยวไทยที่เมืองจิตตะกองเมื่อวันที่ 27-29 พฤษภาคม 2550 และที่กรุงธากาเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม-6 มิถุนายน 2550

การท่องเที่ยว
ปัจจุบันตลาดนักท่องเที่ยวบังกลาเทศในไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของภูมิภาคเอเชียใต้ ถัดจากอินเดีย ศรีลังกา และปากีสถาน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.29 เมื่อเทียบกับตลาดนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศอื่นๆ ของไทย นอกจากความนิยมในการเดินทางมาท่องเที่ยวในไทยแล้ว ปัจจุบันชาวบังกลาเทศยังนิยมเดินทางเข้ามารับการรักษาทางการแพทย์ในโรงพยาบาลในไทยและนิยมส่งบุตรหลานเข้ามาศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาของไทยด้วย เนื่องจากความเชื่อมั่นในคุณภาพและความก้าวหน้า รวมทั้งมีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่าเมื่อเทียบกับการเดินทางไปสหรัฐฯ หรือยุโรป

ความสัมพันธ์อื่นๆ
ในระดับทวิภาคี ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย-บังกลาเทศขึ้นเมื่อปี 2525 ได้มีการประชุมมาแล้ว 6 ครั้ง (ครั้งที่ 6 จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ เมื่อปี 2541) การประชุมครั้งต่อไป ซึ่งเดิมกำหนดไว้ระหว่างวันที่ 1 - 2 มีนาคม 2549 ที่บังกลาเทศได้ถูกเลื่อนออกไป ในระดับพหุภาคี ไทยกับบังกลาเทศเป็นสมาชิกก่อตั้งกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจบังกลาเทศ อินเดีย ศรีลังกา ไทย (Bangladesh-India-Sri Lanka-Thailand Economic Cooperation - BISTEC) เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2540 ต่อมากลายเป็นกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจบังกลาเทศ อินเดีย พม่า ศรีลังกา ไทย (Bangladesh-India-Myanmar-Sri Lanka-Thailand Economic Cooperation - BIMSTEC) เมื่อเดือนธันวาคม 2540 และเมื่อเดือนธันวาคม 2546 ได้พัฒนาเป็นกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจบังกลาเทศ อินเดีย พม่า ศรีลังกา ไทย ภูฏาน เนปาล (Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation – BIMSTEC)

ความตกลงที่สำคัญกับประเทศไทย
1. ความตกลงทางการค้า (ลงนามเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2520)
2. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางการประมง (ลงนามเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2521)
3. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวัฒนธรรม การศึกษา และวิทยาศาสตร์ (ลงนามเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2522)
4. ความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน (ลงนามเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2540)
5. ความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน (ลงนามเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2545)
6. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กับ Federation of Bangladesh Chambers of Commerce and Industry ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งสภาธุรกิจร่วม ไทย -บังกลาเทศ (ลงนาม เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2545)

การเยือนของผู้นำระดับสูง
ฝ่ายไทย
พระราชวงศ์
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
- วันที่ 16 – 21 มกราคม 2535 เสด็จฯ เยือนบังกลาเทศอย่างเป็นทางการ

รัฐบาล
พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี
- วันที่ 8-10 สิงหาคม 2526 เยือนบังกลาเทศอย่างเป็นทางการ
นายพิชัย รัตตกุล รองนายกรัฐมนตรี
- วันที่ 6 -9 กรกฎาคม 2528 เยือนบังกลาเทศ
ร.ต.ประพาส ลิมปะพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- วันที่ 29 – 30 พฤษภาคม 2532 เยือนบังกลาเทศ
- วันที่ 19 - 21 ธันวาคม 2532 เยือนบังกลาเทศ โดยเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทยเพื่อร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย-บังกลาเทศ ครั้งที่ 3
น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- วันที่ 15 - 19 มิถุนายน 2537 เยือนบังกลาเทศ โดยนำคณะผู้แทนฝ่ายไทยไปร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย-บังกลาเทศ ครั้งที่ 5
นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- วันที่ 20 - 23 เมษายน 2540 เยือนบังกลาเทศอย่างเป็นทางการ
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- วันที่ 8 - 10 กรกฎาคม 2541 เยือนบังกลาเทศอย่างเป็นทางการ
นายศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรี
- วันที่ 9 พฤศจิกายน 2543 เยือนบังกลาเทศ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
- วันที่ 8 - 10 กรกฎาคม 2545 เดินทางเยือนบังกลาเทศอย่างเป็นทางการตามคำเชิญของนาง Khaleda Zia นายกรัฐมนตรีบังกลาเทศ
- วันที่ 12 ธันวาคม 2545 เดินทางเยือนจิตตะกอง เพื่อเปิดเที่ยวบินเชียงใหม่- จิตตะกอง เที่ยวปฐมฤกษ์ และนำนาง Khaleda Zia นายกรัฐมนตรีบังกลาเทศเดินทางมาเยือนไทยอย่างเป็นทางการ
- วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2546 ได้พบหารือทวิภาคีกับนาง Khaleda Zia นายกรัฐมนตรีบังกลาเทศในระหว่างการประชุมสุดยอด NAM ครั้งที่ 13 ที่มาเลเซีย
- วันที่ 17 มกราคม 2547 เดินทางไปกล่าวสุนพจน์ต่อที่ประชุม International Chamber of Commerce ที่กรุงธากา และได้พบหารือกับประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีบังกลาเทศ
- วันที่ 16 กันยายน 2548 เดินทางเพื่อหารือทวิภาคีกับนาง Khaleda Zia นายกรัฐมนตรีบังกลาเทศในระหว่างการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 60 ที่นครนิวยอร์ก
นายกันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- วันที่ 6 - 7 สิงหาคม 2549 เยือนบังกลาเทศ

ฝ่ายบังกลาเทศ
นาย Ziaur Rahman ประธานาธิบดีบังกลาเทศ และภริยา
- วันที่ 8 – 10 เมษายน 2522 เยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
พลโท Hussain Mohammad Ershad ประธานาธิบดีบังกลาเทศ
- วันที่ 22 – 23 มิถุนายน 2528 แวะเยือนไทยอย่างไม่เป็นทางการ
นาย Humayun Rasheed Choudhury รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- วันที่ 26 – 28 สิงหาคม 2530 เยือนไทยอย่างเป็นทางการ
- วันที่ 6 - 18 มีนาคม 2531 นาย Humayun Rasheed Choudhury เยือนไทย โดยนำคณะผู้แทนบังกลาเทศมาร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย-บังกลาเทศ ครั้งที่ 2
พลโท Hussain Mohammad Ershad ประธานาธิบดีบังกลาเทศ และภริยา
- วันที่ 28 – 31 มีนาคม 2531 เยือนไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พลโท Hussain Mohammad Ershad ประธานาธิบดีบังกลาเทศ
- วันที่ 5 - 9 มีนาคม 2533 เยือนไทยในฐานะอาคันตุกะพิเศษ เพื่อกล่าวปราศรัยเปิดการประชุมเรื่องการศึกษาเพื่อปวงชน (World Conference on Education for All)
นาย Kazi Zafar Ahmed นายกรัฐมนตรีบังกลาเทศ
- วันที่ 21-25 พฤษภาคม 2533 เยือนไทยอย่างเป็นทางการ
นาง Khaleda Zia นายกรัฐมนตรีบังกลาเทศ
- วันที่ 21 มิถุนายน 2534 แวะเยือนไทยและหารือข้อราชการกับนายอานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรี วันที่ 21 มิถุนายน 2534
นาย Abul Hasan Chowdhury รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศบังกลาเทศ
- วันที่ 4 – 6 มิถุนายน 2540 เยือนไทยเพื่อร่วมการประชุมลงนามก่อตั้งกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจบังกลาเทศ–อินเดีย–ศรีลังกา–ไทย (BIST-EC)
- วันที่ 21– 22 ธันวาคม 2540 เยือนไทยเพื่อประชุมระดับรัฐมนตรีของ BIST-EC
นาย Abdus Samad Azad รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- วันที่ 2-4 พฤศจิกายน 2541 เยือนไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย-บังกลาเทศ ครั้งที่ 6
นาย Abdur Razzaq รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแหล่งน้ำบังกลาเทศ
- วันที่ 29-31 มีนาคม 2542 เยือนไทยและได้มีการลงนามใน MOU ด้านความร่วมมือกับไทยในการพัฒนาแหล่งน้ำ
นาย Abdul Jalil รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์บังกลาเทศ
- วันที่ 12-19 กุมภาพันธ์ 2543เข้าร่วมการประชุม UNCTAD ครั้งที่ 10
นาย Abul Hasan Chowdhury รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศบังกลาเทศ
- วันที่ 18 มิถุนายน 2543 เยือนไทยเพื่อร่วมพิธีการจัดตั้งกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจบังกลาเทศ-อินเดีย-พม่า-ศรีลังกา-ไทย (BIMST-EC) ที่กรุงเทพฯ
ดร. Mohiuddin Khan Alamgir รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวางแผนบังกลาเทศ
- วันที่ 19- 25 เมษายน 2544 เยือนไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุม ESCAP สมัยที่ 57 ที่กรุงเทพฯ
นาย Morshed Khan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบังกลาเทศ
- วันที่ 18-19 มิถุนายน 2545 เยือนไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุม ACD ครั้งที่ 1 ที่หัวหิน
นาง Khaleda Zia รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบังกลาเทศ
- วันที่ 12-14 ธันวาคม 2545 เยือนไทยอย่างเป็นทางการเพื่อตอบแทนการเยือนของ ฯพณฯ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีที่เดินทางเยือนบังกลาเทศอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 8-10 กรกฎาคม 2545
นาย Morshed Khan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบังกลาเทศ
- วันที่ 21 - 22 มิถุนายน 2546 เยือนไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุม ACD ครั้งที่ 2 ที่เชียงใหม่
นาย Morshed Khan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบังกลาเทศ
- วันที่ 5-9 กุมภาพันธ์ 2547 เยือนไทย เพื่อเข้าร่วมประชุม BIMST-EC ที่จังหวัดภูเก็ต
นาง Khaleda Zia และนาย Morshed Khan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบังกลาเทศ
- วันที่ 29 - 31กรกฎาคม 2547 เยือนไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอด BIMST-EC ครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพฯ
--------------------------------

กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา
ธันวาคม 2550

เรียบเรียงโดย กองเอเชียใต้ กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา โทร. 0-2643-5043-44 E-mail : southasian02@mfa.go.th



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์