ที่ตั้ง อยู่ในภูมิภาคอเมริกากลาง ทิศตะวันตกติดกับทะเลแคริบเบียน ทิศเหนือติดกับเม็กซิโก ส่วนทิศตะวันตกติดกับกัวเตมาลา
ขนาดพื้นที่ 22,965 ตารางกิโลเมตร
ภูมิประเทศ ส่วนใหญ่เป็นป่าเขตร้อน มีที่ราบลุ่มบริเวณชายฝั่งทะเล มีเนินเขาทางตอนใต้
ภูมิอากาศ เป็นเขตร้อนชื้น อากาศร้อนและชื้นมาก ฤดูฝนอยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกุมภาพันธ์
ทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้, ประมง, พลังงานไฟฟ้าจากน้ำ
เมืองหลวง กรุงเบลโมแพน (BELMOPAN)
ประชากร 290,000 คน (2549)
ภาษาราชการ อังกฤษ
ศาสนา คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (49.6%) นิกายโปรเตสแตนส์ (27%) Pentecostal (7.4%) แองกลิกัน (5.3%) เมโทรดิส (3.5%) อื่นๆ (14%) ไม่นับถือศาสนาใด (9.4%) อื่นๆ(6%)
เชื้อชาติ Mestizo (เลือดผสมผิวขาวกับคนพื้นเมือง) 48.7% ผิวดำ 24.9% ชาวพื้นเมืองเผ่ามายา 10.6%
อัตราการรู้หนังสือ (2546) ร้อยละ 94.1
หน่วยเงินตรา Belizian Dollar (Bz$)
อัตราการแลกเปลี่ยน 1 เหรียญสหรัฐฯ มีค่าเท่ากับ 2.0 Bz$ ซึ่งเป็นอัตราคงที่
วันชาติ 21 กันยายน 1981 (ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร)
สมาชิกองค์การระหว่างประเทศ ACP, C, CARICOM, CDB,ECLAC, FAO, G-77, IADB, IBRD ICAO, ICFTU, ICRM, IDA, IFAD, IFC, IFRCS, ILO, IMF, IMO,Intelsat (nonsignatory user ), Interpol, IOC, IOM ( observer ) , ITU,LAES , NAM , OAS,OPANAL,UN,UNCTAD,UNESCO,UUPU, WCL,WHO,WMO,WTO
รูปแบบการปกครอง ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
ประมุขของประเทศ สมเด็จพระบรมราชินีนาถเอลิซาเบธที่สอง ทรงใช้พระราชอำนาจโดยผ่านทางผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ประจำเบลิซ (Governor-General)
ผู้สำเร็จราชการ Sir Colville YOUNG (ตั้งแต่ 17 พฤศจิกายน 2536)
หัวหน้ารัฐบาล นายกรัฐมนตรี นาย Said MUSA (เข้ารับตำแหน่ง 27สิงหาคม 2541) มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี
ฝ่ายบริหาร นายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากจะได้รับการแต่งตั้งจากผู้สำเร็จราชการ ส่วนคณะรัฐมนตรี ได้รับการเสนอชื่อโดยนายกรัฐมนตรี และแต่งตั้งโดยผู้สำเร็จราชการ
ฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นระบบสภาคู่ ประกอบด้วย
1) วุฒิสภา มีสมาชิกจำนวน 12 คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี
2) สภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิกจำนวน 29 คน ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี
การเลือกตั้งครั้งต่อไป มีนาคม 2551
ฝ่ายตุลาการ หัวหน้าผู้พิพากษาได้รับการแต่งตั้งจากผู้สำเร็จราชการ โดยการเสนอชื่อจากนายกรัฐมนตรี
พรรคการเมืองสำคัญ People's United Party ( PUP) (พรรครัฐบาล)United Democratic Party (UDP)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (2549) 1.18 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (2549) ร้อยละ 5.8
อัตราเงินเฟ้อ (2549) ร้อยละ 3.1
รายได้ประชาชาติ (2549) 4,074 ดอลลาร์สหรัฐ/คน/ปี
โครงสร้างของ GDP (2549) ภาคบริการ ร้อยละ 62.6
ภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 14.8
ภาคเกษตรกรรม ร้อยละ 22.5
สินค้าอุตสาหกรรมสำคัญ เสื้อผ้าสำเร็จรูป อาหารแปรรูป อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การก่อสร้าง น้ำมัน
สินค้าเกษตรกรรมสำคัญ กล้วย โคคา ผลไม้จำพวกส้ม อ้อย เศษไม้ ปลา กุ้ง
อัตราการว่างงาน (2549) ร้อยละ 9.4
หนี้ต่างประเทศ (2548) 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
มูลค่าการส่งออก (2549) 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินค้าส่งออกหลัก ได้แก่ ผลไม้จำพวกส้ม ผลิตภัณฑ์จากทะเล น้ำตาล กล้วย เสื้อผ้า และไม้
ตลาดส่งออกหลัก สหรัฐฯ (45.8 %) สหราชอาณาจักร (37.3%) กลุ่มประเทศ CARICOM (11.0%) เม็กซิโก( 1.3%)
มูลค่าการนำเข้า (2549) 630 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินค้านำเข้าหลัก ได้แก่ เครื่องจักรและอุปกรณ์การขนส่ง เชื้อเพลิง สินค้าอุตสาหกรรม อาหาร เคมีภัณฑ์ และยา
ตลาดนำเข้าหลัก สหรัฐฯ (40.2%) เม็กซิโก ( 15.0%) กลุ่มประเทศ CARICOM (N/A) เอลซัลวาดอร์ (1.8%)
ภาพรวมเศรษฐกิจ โดยทั่วไปแล้วเศรษฐกิจของเบลิซขึ้นอยู่กับการผลิตสินค้าเกษตรเป็นหลักโดยเฉพาะน้ำตาล กล้วยและผลไม้จำพวกส้ม (citrus) รวมถึงการส่งออกผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ เช่น ไม้ซุงและไม้แปรรูป ชนิดต่างๆ นอกจากนี้ การท่องเที่ยวก็เป็นอีกสาขาที่เป็นแหล่งรายได้สำคัญของประเทศ
สถิติการค้าไทย-เบลิซ (หน่วย: ดอลลาร์สหรัฐ)
2546 2547 2548 2549
มูลค่าการส่งออก 4.65 11.50 5.61 4.62
ส่งออก 2.82 1.09 3.05 2.18
นำเข้า 1.83 10.41 2.56 2.44
ดุลการค้า 0.99 -9.32 0.50 -0.26
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเบลีซ |
ความสัมพันธ์ทางการทูต
ไทยและเบลิซสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2542 โดยรัฐบาลไทยได้แต่งตั้งให้เอกอัครราชทูต ณ กรุงเม็กซิโกดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำเบลิซอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย รัฐบาลเบลิซได้เปิดสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยเมื่อปี 2546 โดยมีนาย David Allan Kirkwood Gibson ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตเบลิซ ประจำประเทศไทย ต่อมาเบลิซได้ปิดสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยด้วยเหตุผลทางด้านงบประมาณเมื่อเดือนสิงหาคม 2549
สินค้าที่ไทยส่งออก (2549) รถยนต์และส่วนประกอบ ยางพารา เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ อัญมณีและครื่องประดับ ลำโพงเสียงและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์พลาสติก
สินค้าที่ไทยนำเข้า (2549) ไม้ซุง ผลิตภัณฑ์โลหะ ผัก ผลไม้ และปรุงแต่งที่ทำจาก ผัก ผลไม้
วันที่ 21 สิงหาคม 2550
เรียบเรียงโดย กองลาตินอเมริกา กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ โทร. 0-2643-5113-4 Fax. 0-2643-5115 E-mail : american03@mfa.go.th
|
|