ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> บอตสวานา




แผนที่
สาธารณรัฐบอตสวานา
Republic of Botswana


 
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง บอตสวานาตั้งอยู่ตอนใต้ของทวีปแอฟริกา เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล ทิศเหนือ และทิศตะวันตกติดกับสาธารณรัฐนามิเบีย ทิศใต้ และทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับสาธารณรัฐซิมบับเว
พื้นที่ 600,370 ตร.กม.
ประชากร ประมาณ 1.8 ล้านคน (2549) (อัตราการแพร่ระบาดของเชื้อ HIV/AIDS ในประชากรช่วงอายุ 15-49 ปี จำนวนร้อยละ 24.1 (2548))
เมืองหลวง กรุงกาโบโรน (Gaborone)
ภาษาราชการ ภาษาอังกฤษ
ภาษาท้องถิ่น Setswana ร้อยละ 78.2
สกุลเงิน Pula (BWP)
อัตราแลกเปลี่ยนทางการ 1 Pula ประมาณ 5.82 ดอลลาร์สหรัฐ (2549)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ 11.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)
รายได้ประชาชาติต่อหัว 6,485 ดอลลาร์สหรัฐ (2547)
หนี้สินต่างประเทศ 517.5 ล้านเหรียญสหรัฐ (2549)
อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 11.5 (2549)
สินค้าออกที่สำคัญ เพชร ทองแดง โซดาไฟ เนื้อสัตว์ สิ่งทอ
ศาสนา ศาสนาคริสต์ ร้อยละ 71.6 นับถือความเชื่อดั้งเดิม ร้อยละ 28.4
วันชาติ 30 กันยายน
ประธานาธิบดี นาย Festus Gontebanye Mogae รับตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2541
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พลโท Mompati Merafhe
รับตำแหน่งตั้งแต่พ.ศ. 2537

การเมืองการปกครอง
ประวัติศาสตร์
บอตสวานาเดิมมีชื่อเรียกว่า เบชูอานาแลนด์ (Bechuanaland) อยู่ภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรมาตั้งแต่ปี 2429 ต่อมา เมื่อมีการจัดตั้งสหภาพแอฟริกาใต้ขึ้นในปี 2452 ได้มีความพยายามที่จะผนวกบอตสวานาเข้าไปรวมอยู่ด้วย แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ จนกระทั่งถึงเดือนมิถุนายน 2507 สหราชอาณาจักรจึงยินยอมให้บอตสวานาปกครองตนเองได้ และมีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกในเดือนมีนาคม 2508 ซึ่งในการเลือกตั้งครั้งนี้ นาย Seretse Khama ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรก ต่อมาเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2509 บอตสวานาจึงได้รับเอกราชโดยสมบูรณ์จากสหราชอาณาจักร และได้มีการเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นบอตสวานา โดยมีนาย Seretse Khama เข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรก
ในอดีต รายได้ส่วนใหญ่ของบอตสวานามาจากการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งมีมูลค่าคิดเป็นร้อยละ 35 ของการส่งออกทั้งหมด ต่อมา ภายหลังจากที่ได้มีการค้นพบแร่ธาตุต่าง ๆ ตั้งแต่ปี 2507 เป็นต้นมา ชาวต่างประเทศได้เริ่มเข้าไปลงทุนในบอตสวานามากขึ้น บ่อเพชรซึ่งใหญ่เป็นอันดับสองของโลกได้เปิดดำเนินการขึ้นในเมืองโอราปาในปี 2514 และได้มีการผลิตทองแดงและนิกเกิลที่เมืองเซเลไบมิคเวในปี 2517 ทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ในระหว่างปี 2514-2519 มีอัตราความเจริญสูงขึ้นกว่าร้อยละ 11 และในปี 2520 เพชรได้กลายเป็นสินค้าออกที่ทำรายได้สูงกว่าเนื้อสัตว์


ระบอบการปกครอง
บอตสวานาปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2509 ซึ่งเป็นฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ประธานาธิบดีได้รับการเลือกตั้งโดยการออกเสียงลงประชามติ ดำรงตำแหน่งประมุขของประเทศและมีอำนาจสูงสุดทางด้านบริหาร นอกจากนี้ ประธานาธิบดียังดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดด้วย

บอตสวานาเป็นหนึ่งในประเทศแอฟริกาเพียงไม่กี่ประเทศที่มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบหลายพรรคการเมืองที่เข้มแข็งและต่อเนื่องมายาวนานกว่า 38 ปี นับตั้งแต่ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร อีกทั้งเป็นประเทศที่มีอัตราการฉ้อราษฎร์บังหลวงต่ำที่สุดในแอฟริกา และไม่มีปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน

คณะรัฐบาล ประกอบด้วยประธานาธิบดี รองประธานาธิบดี และบรรดารัฐมนตรีต่าง ๆ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี คณะรัฐบาลนี้เป็นผู้รับนโยบายจากรัฐสภา (National Assembly) อีกทอดหนึ่ง อนึ่ง รัฐสภาซึ่งทำหน้าที่นิติบัญญัติมี 38 ที่นั่ง โดยมาจากการเลือกตั้งทุก 5 ปี 34 ที่นั่ง รัฐสภาจะเป็นผู้เลือกประธานาธิบดี ประธานาธิบดีเป็นสมาชิกรัฐสภาโดยตำแหน่ง การพิจารณาบางเรื่องต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาหัวหน้าเผ่า (House of Chiefs)

ผลการเลือกตั้งทั่วไปในบอตสวนาครั้งล่าสุดปรากฏว่า พรรค Botswana National Front (BNF) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านได้รับคะแนนนิยมเพิ่มขึ้นอย่างท่วมท้น ดังจะเห็นได้จากการที่พรรค BNF ได้ที่นั่งในสภาเพิ่มขึ้นจาก 3 เป็น 13 ที่นั่ง จากที่นั่งทั้งหมด 39 ที่นั่ง ถึงแม้ว่าพรรคฺBotswana Democratic Party (BDP) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลจะยังสามารถรักษาเสียงข้างมากในสภาไว้ได้ติดต่อกันเป็นครั้งที่ 7 แต่การที่พรรคฝ่ายค้านได้ที่นั่งในสภาเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 400 นั้น เป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในบอตสวานา อันสืบเนื่องจากองค์ประกอบหลายประการด้วยกัน ได้แก่ การเพิ่มจำนวนที่นั่งในสภาจาก 34 ที่นั่งเป็น 40 ที่นั่ง การฉ้อราษฎร์บังหลวงและการใช้อำนาจในทางที่ผิดของรัฐบาลในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรว่างงานในเมือง และเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในการบริหารประเทศของรัฐบาล นอกจากนี้ การที่พรรค BDP ได้บริหารประเทศติดต่อกันเป็นระยะเวลาอันยาวนาน ทำให้ประชาชนเกิดความเบื่อหน่าย ซึ่งจะเห็นได้จากการที่ประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งเพียง 370,000 จากจำนวน 600,000 คน ไปลงทะเบียนเลือกตั้ง ยิ่งกว่านั้น ยังเป็นที่เกรงกันว่า พรรค BNF อาจจะใช้เสียงที่ตนมีในสภาเป็นเครื่องกดดันให้ มีการลดอายุผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งจาก 21 เป็น 18 ปี

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
บอตสวานามีความสัมพันธ์ที่ดีทั้งกับประเทศในโลกตะวันตกและฝ่ายตะวันออก ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นประเทศกำลังพัฒนาซึ่งต้องการความช่วยเหลือทั้งเงินทุนและวิชาการสมัยใหม่จากนานาประเทศโดยไม่แบ่งแยกอุดมการณ์ทางการเมือง อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่า บอตสวานามีความใกล้ชิดกับประเทศตะวันตกมากกว่า ทั้งนี้ เพราะประเทศเหล่านี้ได้บริจาคเงินทุนช่วยเหลือแก่บอตสวานาเป็นจำนวนมาก อาทิ กลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย เยอรมัน อังกฤษ สหรัฐฯ และแคนาดา นอกจากนั้น ยังมีหน่วยงานต่าง ๆ ที่ให้ความช่วยเหลือแก่บอตสวานาอีก อาทิ ประชาคมยุโรป ธนาคารโลก ธนาคารเพื่อ การพัฒนาแห่งสหประชาชาติ เป็นต้น

สำหรับความสัมพันธ์กับแอฟริกาใต้ บอตสวานาจำเป็นต้องติดต่อและพึ่งพา แอฟริกาใต้ โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจ ทั้งนี้ เพราะบอตสวานาไม่มีทางออกทะเล ดังนั้น สินค้าออกของประเทศจึงจะต้องส่งผ่านท่าเรือของแอฟริกาใต้ อาทิ เมือง Durban และ Capetown เป็นต้น นอกจากนั้นสินค้าเข้าส่วนใหญ่ของบอตสวานาซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาหารกว่าร้อยละ 80 ยังได้สั่งเข้ามาจากแอฟริกาใต้อีกด้วย

นโยบายต่างประเทศ
บอตสวานาเป็นประเทศที่มีนโยบายเป็นกลางและไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ต้องการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับทุกประเทศและยืดถือหลักการแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศโดยสันติวิธีสำหรับนโยบายต่างประเทศโดยทั่ว ๆ ไปนั้น อยู่ในแนวขององค์การเอกภาพแอฟริกา

เศรษฐกิจการค้า
สภาพเศรษฐกิจ
ในอดีต รายได้ส่วนใหญ่ของบอตสวานามาจากการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งมีมูลค่าคิดเป็น ร้อยละ 35 ของการส่งออกทั้งหมด ต่อมา ภายหลังจากที่ได้มีการค้นพบแร่ธาตุต่าง ๆ ตั้งแต่ปี 2507 เป็นต้นมา ชาวต่างประเทศได้เริ่มเข้าไปลงทุนในบอตสวานามากขึ้น บ่อเพชรซึ่งใหญ่เป็นอันดับสองของโลกได้เปิดดำเนินการขึ้นในเมืองโอราปาในปี 2514 และได้มีการผลิตทองแดงและนิกเกิลที่เมืองเซเลไบมิคเวในปี 2517 ทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ในระหว่างปี 2514-2519 มีอัตราความเจริญสูงขึ้นกว่าร้อยละ 11 และในปี 2520 เพชรได้กลายเป็นสินค้าออกที่ทำรายได้สูงกว่าเนื้อสัตว์

บอตสวานาเป็นประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูง และมีฐานะทางการคลังมั่นคงที่สุดประเทศหนึ่งในแอฟริกา ทั้งนี้ เนื่องจากอุดมไปด้วยแร่ธาตุที่มีมูลค่าสูงเป็นประเทศที่ผลิตเพชรที่ยังไม่ได้เจียระนัยเป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากออสเตรเลียและซาอีร์ ซึ่งนอกจากเพชรแล้ว บอตสวานายังมีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญรองลงมา คือ ถ่านหิน ทองแดง นิกเกิล โซดาแอช ทองคำ นอกจากการทำเหมืองแล้ว สินค้าที่ทำรายได้ให้กับบอตสวานา ที่สำคัญ คือ เนื้อวัว ส่งออกไปประชาคมยุโรป (70%) โดยมีอังกฤษเป็นลูกค้ารายใหญ่ นอกจากนี้ อุตสาหกรรมด้านสิ่งทอของบอตสวานาขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยบอตสวานาได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมสิ่งทอที่สำคัญในแอฟริกาใต้ โดยส่งไปขายยังซิมบับเว มาลาวีและยุโรป ทั้งนี้ บอตสวานาพยายามที่จะดึงเอานักลงทุนชาวฮ่องกงมาทำการลงทุนด้านนี้ด้วย

รัฐบาลบอตสวานาตระหนักถึงปัญหาการพึ่งพารายได้ส่วนใหญ่จากการผลิตเพชร ซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคต จึงพยายามส่งเสริมให้มีการลงทุนให้มากขึ้น ซึ่งในสมัยของประธานาธิบดี Masire ได้แถลงต่อรัฐสภาเมื่อเดือนพฤศจิกายน 1989 ว่า แผนการพัฒนาประเทศของรัฐบาลสำหรับในช่วงทศวรรษ 1990 นี้ คือจะส่งเสริมมาตรการและโครงการต่าง ๆ เพื่อจะส่งเสริมให้มี economic diversification รวมทั้งการพยายามดึงดูดการลงทุนจากภาคเอกชนด้วย

บอตสวานามีการติดต่อผูกพันทางเศรษฐกิจอย่างมากกับแอฟริกาใต้ การขนส่งสินค้าเข้า-ออกส่วนใหญ่ผ่านแอฟริกาใต้ บอตสวานาเป็นประเทศสมาชิก Southern African Customs Union (SACU) ร่วมกับแอฟริกาใต้ ไม่มีกฎข้อบังคับเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายสินค้าจากแอฟริกาใต้ นามิเบีย เลโซโท และสวาซิแลนด์ สินค้าเข้าบอตสวานาจึงมีการส่งต่อไปขายยังประเทศใกล้เคียง เช่น ซิมบับเว รัฐบาลพยายามลดความผูกพันทางเศรษฐกิจกับแอฟริกาใต้ โดยได้สร้างถนนและทางรถไฟเชื่อมถึงและผ่านนามิเบีย ซิม บับเว และโมซัมบิก แต่ปัจจุบันก็ยังต้องนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมเกือบทั้งหมดจากแอฟริกาใต้ นอกจากนี้ รัฐบาลพยายามพัฒนาอุตสาหกรรมโดยอาศัยความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศในภูมิภาค และได้ยกเลิกนโยบายพึ่งตนเองในด้านการผลิตอาหาร (food self- sufficiency) เพราะตระหนักว่าไม่สามารถผลิตอาหารได้เพียงพอกับความต้องการและเปลี่ยนเป็นนโยบายความมั่นคงทางอาหาร (food security) แทน

สินค้านำเข้า สินค้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องจักรกล วัสดุอุปกรณ์สำหรับการขนส่ง และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม

ประเทศคู่ค้า ส่งออกไป สหราชอาณาจักร (76%) ประเทศใน Southern African Customs Union (9%) ซิมบับเว (4.1%) สหรัฐอเมริกา (2.2%)
นำเข้าจาก Southern African Customs Union (85%) ซิมบับเว (1.5%) และสหราชอาณาจักร (1.3%)

สมาชิกในองค์การระหว่างประเทศและในภูมิภาคที่สำคัญ
- องค์การสหประชาชาติ
- องค์การเอกภาพแอฟริกา (OAU)
- กลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (NAM)
- กลุ่มประเทศรัฐแนวหน้า (Frontline States)
- คณะมนตรีสหประชาชาติเพื่อนามิเบีย (UNCN)
- ที่ประชุมว่าด้วยการพัฒนาและความร่วมมือในภูมิภาคแอฟริกาใต้ (SADCC)
- คณะกรรมการเศรษฐกิจเพื่อแอฟริกา (ECA)
- ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งแอฟริกา (ADB)
- สมาชิกสมทบแห่งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC)
- Southern African Customs Union (สมาชิก ได้แก่ แอฟริกาใต้ บอตสวานา เลโซโท สวาซิแลนด์)

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐบอตสวานา
ความสัมพันธ์กับประเทศไทย
ด้านการเมือง
- ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับบอตสวานาเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2528 โดยฝ่ายไทยได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ มีเขตอาณาครอบคลุมบอตสวานา ในขณะที่ฝ่ายบอตสวานาได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐบอตสวานาประจำประเทศญี่ปุ่นมีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทย
- เมื่อเดือนมิถุนายน 2545 คณะรัฐมนตรีได้มีมติแต่งตั้งให้ นาย Kam Ho Ivan Lo เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำบอตสวานา ต่อมาได้มีการถอดถอนไปเมื่อเดือนมิถุนายน 2548

ด้านเศรษฐกิจ
- การค้าระหว่างไทย-บอตสวานา ช่วงก่อนปี 2546 อยู่ในระดับไม่สูงนัก จนถึงปี 2546 มูลค่าการค้าระหว่าง 2 ประเทศได้ขยายตัวสูงขึ้นมากจนถึงปัจจุบัน โดยในปี 2546 มีมูลค่าการค้ารวม 3,247.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2545 ประมาณ 3,226 ล้านบาท เพราะเป็นครั้งแรกที่ไทยนำเข้าวัตถุดิบอัญมณีจากบอตสวานาเป็นมูลค่าสูงถึง 3,185 ล้านบาท ทั้งนี้ ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมเพชรของ บอตสวานาถูกผูกขาดโดยบริษัท Debswana (บริษัทร่วมทุนระหว่างรัฐบาลบอตสวานากับบริษัท De Beers ของแอฟริกาใต้) แต่ต่อมา รัฐบาลบอตสวานาได้พยายามลดการพึ่งพาและการผูกขาดของบริษัท De Beers ส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยสามารถนำเข้าเพชรจากบอตสวานาได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านแอฟริกาใต้ ด้วยเหตุนี้ ทำให้ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้ากับบอตสวานามาโดยตลอด
- มูลค่าการค้ารวมระหว่างไทยและบอตสวานาในปี 2549 มีมูลค่า 4,301.6 ล้านบาท โดยไทยนำเข้าจากบอตสวานา 3,652.6 ล้านบาท และส่งออกไปบอตสวานา 649 ล้านบาท สินค้านำเข้าจากบอตสวานาที่สำคัญอันดับหนึ่ง คือ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ ซึ่งไทยนำมาแปรรูปเป็นอัญมณีและเครื่องประดับส่งออกไปบอตสวานาเป็นอันดับหนึ่งเช่นกัน เนื่องจากบอตสวานายังขาดแรงงานฝีมือด้านการเจียระไนเพชรพลอยและประกอบตัวเรือนเครื่องประดับ จึงยังต้องพึ่งพาแรงงานฝีมือจากไทยอยู่มาก
- สินค้า 5 อันดับแรกที่ไทยส่งออกไปยังบอตสวานา ได้แก่ 1. อัญมณีและเครื่องประดับ 2. เสื้อผ้าสำเร็จรูป 3. เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 4. รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 5. รองเท้าและชิ้นส่วน เป็นต้น
- สินค้า 5 อันดับแรกที่ไทยนำเข้าจากบอตสวานา ได้แก่ 1. เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ 2. ธุรกรรมพิเศษ 3. สิ่งพิมพ์ 4. สบู่ ผงซักฟอกและเครื่องสำอาง 5. รองเท้า เป็นต้น
- สินค้าที่มีลู่ทางส่งออก ได้แก่ ข้าว เสื้อผ้าสำเร็จรูป น้ำยางข้น เครื่องประดับเทียม นุ่น ยางรัดของ
- ความต้องการซื้อของฝ่ายไทย ได้แก่ วัตถุดิบเพื่ออุตสาหกรรมการส่งออกของไทย อาทิ เพชรที่ยังไม่ได้เจียระไน โซดาแอช
- โอกาสขยายตลาดสินค้าของไทยในบอตสวานาเพิ่มมากขึ้น เนื่องจาก บอตสวานามีกำลังซื้อสูงและอาจใช้เป็นช่องทางติดต่อการค้าทางอ้อมกับประเทศแอฟริกาใต้และประเทศในแอฟริกาตอนใต้อื่นๆ
- บอตสวานาต้องการดึงดูดนักลงทุนไทยให้ไปลงทุนในบอตสวานา ทั้งในอุตสาหกรรมการเจียระไนเพชรและอัญมณีอื่นๆ และประกอบตัวเรือนเครื่องประดับ ทั้งนี้ เพราะบอตสวานามีวัตถุดิบอัญมณีและเพชรดิบมาก หากแต่ขาดแรงงานมีฝีมือ ในขณะที่ไทยมีผู้เชี่ยวชาญและแรงงานมีฝีมือในด้านนี้ ประกอบกับบอตสวานาส่งออกเนื้อวัวไปยังสหภาพยุโรป ดังนั้นจึงต้องการให้นักลงทุนไทยไปดำเนินธุรกิจแปรรูปหนังวัวในบอตสวานาอีกด้วย

สถิติการค้าไทย - บอตสวานา ดูเอกสารแนบ

ความตกลงที่สำคัญๆ กับไทย ที่ผ่านมา ไทยและบอตสวานา ได้มีการเจรจาจัดทำความตกลงระหว่างกัน ดังนี้
- ความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมด้านการค้า
- พิธีสารว่าด้วยความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศไทยและกระทรวงการต่างประเทศบอตสวานา
- ความมร่วมมือทางวิชาการระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลบอตสวานา แต่ความตกลงและพิธีสารดังกล่าว ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา เจรจา และปรับแก้จากทั้งสองฝ่าย

การแลกเปลี่ยนการเยือนที่สำคัญ
ฝ่ายไทย
- ดร. วีระชัย วีระเมธีกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศเดินทางเยือนสาธารณรัฐบอตสวานาระหว่างวันที่ 15-17 พฤศจิกายน 2548 เพื่อเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง Comprehensive Response to HIV/AIDS Prevention and Care และในโอกาสนี้ ได้เข้าเยี่ยมคารวะและหารือกับนาย Fetus Mogae ประธานาธิบดีสาธารณรัฐบอตสวานา และนาย Mompati Merafhe รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบอตสวานา เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2548
ฝ่ายบอตสวานา
- นาย Fetus Mogae รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและการวางแผนพัฒนาบอตสวานาเข้าร่วมประชุมประจำปีธนาคารโลกและองค์การการเงินระหว่างประเทศ ที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนตุลาคม 2534
- นาย D.K. Kwalagobe รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมบอตสวานาเข้าร่วมการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา ครั้งที่ 10 (UNCTAD X) ที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2543
- นาย Fetus Mogae ประธานาธิบดีสาธารณรัฐบอตสวานา แวะผ่านประเทศไทยเพื่อเดินทางต่อไปยังประเทศออสเตรเลีย ในวันที่ 16 กรกฎาคม 2545
- นาง Barbara Mogae ภริยาประธานาธิบดีสาธารณรัฐบอตสวานา พร้อมด้วยนางสาว Boikaego Neo Mogae บุตรสาว เดินทางเยือนไทยเป็นการส่วนตัว ระหว่างวันที่ 3-9 สิงหาคม 2546
- นาย Fetus Mogae ประธานาธิบดีสาธารณรัฐบอตสวานาเยือนไทยในฐานะแขกของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) เพื่อเข้าร่วมการประชุม ESCAP สมัยที่ 59 ที่กรุงเทพฯ และกล่าวถ้อยแถลงเกี่ยวกับปัญหาโรคเอดส์ ระหว่างวันที่ 1-3 กันยายน 2546 และได้เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2546

ผู้แทนทางการทูต
ฝ่ายไทย
เอกอัครราชทูตประจำสาธารณรัฐบอตสวานา ถิ่นพำนัก ณ กรุงพริทอเรีย คือ
นายโดมเดช บุนนาค (H.E. Mr. Domedej Bunnag)
ที่อยู่ของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย
Royal Thai Embassy
428 Pretorius/Hill Street
Arcadia, Pretoria 0083
P.O. Box 12080
Hatfield, Pretoria 0028
Tel. (27-12) 342-1600, 342-4516,
342-4600, 342-4506, 342-5470
Fax. (27-12) 342-4805, 342-3986
E-mail : info@thaiembassy.co.za
Consular Info : visa@thaiembassy.co.za
Trade Info : trade@thaiembassy.co.za
Technical : webmaster@thaiembassy.co.za
Website : http://www.thaiembassy.co.za

ฝ่ายบอตสวานา
เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐบอตสวนาประจำประเทศไทย ถิ่นพำนัก ณ กรุงโตเกียว คือ
H.E. Mr. Oscar Motswagae
ที่อยู่ของสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐบอตสวานา ณ กรุงโตเกียว คือ
6th Fl., Kearny Place Shiba,
4-5-40 Shiba, Minato-ku,
Tokyo 108-0014,
JAPAN
Tel: (813) 5440-5676
Fax: (813) 5765-7581
E-mail: botjap@sepia.ocn.ne.jp


กองแอฟริกา
กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา
สิงหาคม 2550

เอกสารแนบ

เรียบเรียงโดย กองแอฟริกา กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา โทร. 0-2643-5047-48 E-mail : southasian03@mfa.go.th



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์