|
|
|
|
|
|
|
|
|
แผนที่
|
สาธารณรัฐแอฟริกากลาง Central African Republic
|
|
ชื่อทางการ : สาธารณรัฐแอฟริกากลาง (Central African Republic)
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
ที่ตั้ง: อยู่ตอนกลางของทวีปแอฟริกา ไม่มีทางออกทางมะเล มีอาณาเขต
ทิศเหนือติดกับชาด
ทิศตะวันออกติดกับซูดาน
ทิศใต้ติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และสาธารณรัฐคองโก
ทิศตะวันตกติดกับแคเมอรูน
พื้นที่ : 622,984 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง: กรุงบังกี (Bangui)
เมืองสำคัญอื่น ๆ: เมือง Bimbo Mbaiki Berberati Kaga-Bandoro Bozoum และ Carnot
ภูมิอากาศ: อากาศแบบเขตร้อน
จำนวนประชากร: 4.2 ล้านคน (2549)
ภาษา: ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการ และภาษา Sangho เป็นภาษาประจำชาติ และภาษาท้องถิ่นอื่นอีกหลายภาษา
ศาสนา: ความเชื่อดั้งเดิมร้อยละ 24 โปรเตสแตนท์ร้อยละ 25 โรมันคาธอลิก ร้อยละ 25 มุสลิมร้อยละ 15 และอื่น ๆ ร้อยละ 11
วันชาติ 13 สิงหาคม (ได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสในปี 2503)
ผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจภายในประเทศ ร้อยละ 3.5 (2549)
รายได้ประชาชาติต่อหัว 380 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อปี (ประมาณการ 2549)
อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 6.7 (2549)
สกุลเงิน Communaute Financiere Africaine francs (XAF)
อัตราแลกเปลี่ยน 1 US dollar = 522.59 XAF (2549)
รัฐบาลชุดปัจจุบัน
ประธานาธิบดีคนปัจจุบันคือนาย Francois Bozize โดยประธานาธิบดีทำหน้าที่ประมุขของประเทศ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือ นาย Celestin Le Roi Gaoumbale ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
ประวัติศาสตร์โดยสังเขป
สาธารณรัฐแอฟริกากลางเป็นดินแดน 1 ใน 4 ของ Equatorial Africa ของฝรั่งเศสซึ่งมีชื่อว่า Ubangi Shari และต่อมาเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2501 เป็นรัฐสมาชิกของประชาคมฝรั่งเศส จนได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2503
ตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2519 กำหนดระบอบการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา และใช้ชื่อประเทศว่า Central African Empire และประธานาธิบดี Bokassa กลายเป็นจักรพรรดิ Bokassa ที่ 1 อย่างไรก็ตาม ได้มีการรัฐประหารเมื่อวันที่ 20 ถึง 21 กันยายน พ.ศ. 2522 โค่นล้มจักรพรรดิ Bokassa และอาณาจักรดังกล่าว หลังจากนั้นมีรัฐประหารอีกหลายครั้ง
เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2540 มีการลงนามในความตกลงเพื่อยุติปัญหาการก่อการของกลุ่มนายทหารนอกแถว (mutineers) ที่กรุงบังกี และมีการจัดตั้งกองกำลังสันติภาพที่เรียกว่า MISAB ความขัดแย้งระหว่างนายทหารนอกแถวและกองกำลัง MISAB ยังคงดำเนินต่อไปทั้ง ๆ ที่มีการลงนามตกลงหยุดยิง เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2540 หลังจากนั้น มีการลงนามความตกลงหยุดยิงอีกครั้งเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 และเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2541 กองกำลังของสหประชาชาติ (the United Nations Mission in the Central African Republic MINURCA) ได้เข้ารับหน้าที่ในการรักษาสันติภาพในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง
รูปแบบการปกครอง: แบบสาธารณรัฐ
สถาบันทางการเมือง:
ฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐและแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้นำรัฐบาลและคณะรัฐมนตรี โดยประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งอยู่ในตำแหน่งคราวละ 6 ปี
ฝ่ายนิติบัญญัติ รัฐสภาแบบสภาเดียว (unicameral) ประกอบด้วย สมาชิก 109 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี
ฝ่ายตุลาการ มีศาลสูง และศาลรัฐธรรมนูญ โดยประธานาธิบดีจะเป็นผู้แต่งตั้งผู้พิพากษา
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
สาธารณรัฐแอฟริกากลางมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับฝรั่งเศส จากการที่เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสมาก่อน เนื่องจากฝรั่งเศสยังคงเป็นแหล่งความช่วยเหลือจากต่างประเทศที่สำคัญ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของฝรั่งเศสยังให้คำปรึกษาทางด้านความมั่นคงแก่สาธารณรัฐแอฟริกากลางด้วย โดยฝรั่งเศสยังคงกองกำลังทางทหาร จนถึงในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2540 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2541 จึงลดกำลังลงและคงเหลือไว้เฉพาะกองกำลังที่ช่วยในการดำเนินงานของกองกำลังรักษาสันติภาพระหว่างประเทศเท่านั้น
สาธารณรัฐแอฟริกากลางเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ องค์การเอกภาพแห่งแอฟริกา (OAU) และเป็นรัฐ ACP ของสหภาพยุโรป
สภาพเศรษฐกิจโดยทั่วไป
เกษตรกรรมแบบพอยังชีพ รวมทั้งป่าไม้ยังคงเป็นเศรษฐกิจหลักของสาธารณรัฐ
แอฟริกากลาง และประชากรมากกว่าร้อยละ 70 ยังอยู่ในถิ่นทุรกันดาร ภาคเกษตรกรรมสร้างรายได้ประมาณครึ่งหนึ่งของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ การส่งออกไม้และเพชร ยังนำรายได้สำคัญเข้าประเทศ แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในการพัฒนาเศรษฐกิจ ที่สำคัญเช่น การที่ไม่มีทางออกทะเล ระบบขนส่งที่ล้าหลังและแรงงานที่ไม่มีฝีมือเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจที่ไม่ถูกทิศทาง
เมื่อต้นเดือนสิงหาคม 2548 (2005) เกิดอุทกภัยในแอฟริกากลาง ทำลายบ้านเรือนกว่า 2,500 หลัง ส่งผลกระทบถึงประชาชนกว่า 25,000 คน ขณะนี้ UN กำลังเร่งให้ความช่วยเหลือ ทั้งการบริจาคอาหารและเวชภัณฑ์ เพื่อป้องกันการเกิดโรคระบาด
ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ฝ้าย กาแฟ ยาสูบ แป้งมัน ข้าวโพด และกล้วย
อุตสาหกรรมที่สำคัญ การทำเหมืองทองคำ การขุดเพชร การทำป่าไม้ และสิ่งทอ
สินค้าส่งออกที่สำคัญ เพชร ไม้ซุง ฝ้าย กาแฟ และยาสูบ
สินค้านำเข้าที่สำคัญ อาหาร สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เครื่องจักรกล อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ และเวชภัณฑ์
ประเทศที่ส่งสินค้าออก เบลเยี่ยม สเปน อินโดนีเซีย ฝรั่งเศส และจีน
ประเทศนำเข้าที่สำคัญ ฝรั่งเศส เนเธอแลนด์ สหรัฐฯ และแคเมอรูน
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐแอฟริกากลาง |
ความสัมพันธ์กับประเทศไทย
ด้านการเมืองและการทูต
ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับแอฟริกากลางเมื่อเดือนตุลาคม 2530 (1987) ความสัมพันธ์ ยังห่างเหิน ไม่มีการแลกเปลี่ยนการเยือน ปัจจุบัน ไทยมอบหมายให้ สอท ณ กรุงอาบุจา มีเขตอาณาดูแลแอฟริกากลาง ส่วนแอฟริกากลางยังมิได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตใดมีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทย
ด้านเศรษฐกิจ
มูลค่าการค้าระหว่างกันมีปรมาณที่ต่ำมาก ปี 2547 (2004) มีมูลค่าเพียง 5.7 แสนดอลลาร์สหรัฐ ไทยส่งออก 3.2 แสนดอลลาร์สหรัฐ นำเข้า 2.4 แสนดอลลาร์สหรัฐ
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 21 สิงหาคม 2550
เรียบเรียงโดย กองแอฟริกา กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา โทร. 0-2643-5047-48 E-mail : southasian04@mfa.go.th
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|