ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> โคลัมเบีย




แผนที่
สาธารณรัฐโคลัมเบีย
Republic of Colombia


 
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ ทิศเหนือติดทะเลแคริบเบียน ทิศตะวันออกติดเวเนซุเอลาและบราซิล ทิศใต้ติดเปรูและเอกวาดอร์ ทิศตะวันตกติดมหาสมุทรแปซิฟิกและปานามา

พื้นที่ 1,138,910 ตารางกิโลเมตร

เมืองหลวง กรุงโบโกตา (Bogotá)

ประชากร 46.40 ล้านคน (2549)

ภูมิอากาศ อากาศร้อนชื้นในบริเวณแถบชายฝั่งและที่ราบทางด้านตะวันออก บริเวณเทือกเขามีอากาศเย็น

ภาษา สเปน (ภาษาราชการ)

ศาสนา คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ร้อยละ 90

หน่วยเงินตรา เปโซโคลอมเบีย (Colombian Peso) โดย 1 ดอลลาร์สหรัฐ มีค่าเท่ากับ1,970 เปโซโคลอมเบีย (2 ส.ค. 2550)

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ 141.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)

รายได้ประชาชาติต่อหัว 3,047 ดอลลาร์สหรัฐ (2549)

การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 6.2 (2549)

ระบอบการปกครอง ประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ โดยมีประธานาธิบดีเป็นผู้นำประเทศ ปัจจุบันคือ นาย Álvaro Uribe Vélez (อัลบาโร อุริเบ เบเลซ) ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่สอง

การเมืองการปกครอง
การเมืองการปกครอง

- ประธานาธิบดี Álvaro Uribe มีสถานะทางการเมืองที่มั่นคง โดยมีนโยบายหลัก 3 ประการ ได้แก่ (1) ส่งเสริมความมั่นคงของประเทศตามแนวทางประชาธิปไตย (2) แก้ปัญหาคอรัปชั่น และ (3) การฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม จนได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีในสมัยที่สอง เนื่องจากประสบความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจและแก้ปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติด ปัญหาความขัดแย้งกับกลุ่มต่อต้าน Revolutionary Armed Forces of Colombia (FARC) ซึ่งเป็นกลุ่มกบฎใหญ่ที่สุด และกลุ่มติดอาวุธกึ่งทหารฝ่ายขวา (paramilitary) ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของโคลอมเบียในช่วง 4 ทศวรรษที่ผ่านมา โดยการใช้นโยบายการเจรจาและมาตรการที่แข็งกร้าวตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา ทำให้กองกำลังต่อต้านรัฐบาลประมาณ 7,000 คนยอมวางอาวุธและกลุ่ม FARC อ่อนกำลังลง อย่างไรก็ดี โคลอมเบียยอมให้ประชาคมระหว่างประเทศเข้าไปมีบทบาทไกล่เกลี่ยภายใต้ Plan Colombia ซึ่งเน้นการแก้ปัญหาโดยใช้การเจรจาเช่นกัน

- รัฐบาลของประธานาธิบดี Álvaro Uribe ในสมัยที่สองยังคงมุ่งเน้นที่จะส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยโดยให้ความสำคัญกับการสร้างความมั่นคงของประชาธิปไตย การมีสิทธิเสรีภาพของประชาชน ความโปร่งใส ความสมานฉันท์ของสังคม ความเป็นอิสระของสถาบัน นอกจากนี้ ยังเน้นการขจัดความรุนแรงภายในประเทศซึ่งส่งผลเสียต่อการพัฒนาโคลอมเบียในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา

- โคลอมเบียเป็นประเทศที่มีการผลิตโคเคนและเฮโรอีนมากเป็นอันดับต้นของโลก โดยยาเสพติดร้อยละ 90 ถูกส่งไปยังสหรัฐฯ อีกทั้งยังเป็นแหล่งฟอกเงินของกระบวนการค้ายาเสพติด ตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา สหรัฐฯ ได้ให้ความช่วยเหลือในการปราบปรามยาเสพติดเป็นจำนวนเงินประมาณ 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี

เศรษฐกิจการค้า
เศรษฐกิจและสังคม

- เศรษฐกิจของโคลอมเบียมีอัตราการเจริญเติบโตในอัตราสูงสุดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นโยบายเศรษฐกิจหลัก ได้แก่ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การเร่งการสร้างงาน การสนับสนุนการค้าเสรี และการลดอุปสรรคทางการค้า แต่ยังคงมีการอุดหนุนภาคเกษตรกรรมและธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม นโยบายดังกล่าวสามารถลดอัตราการว่างงานลงได้ และทำให้โคลอมเบียมีเศรษฐกิจค่อนข้างดีเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เอกวาดอร์ และเปรู

- รัฐบาลมุ่งเน้นการส่งเสริมความเท่าเทียมด้านเศรษฐกิจให้แก่ประชาชนโคลอมเบีย และเพิ่มประสิทธิภาพของการบริการสาธารณะ ตลอดจนส่งเสริมให้โคลอมเบียเป็นแหล่งการศึกษาและความรู้ด้านวิทยาศาสตร์

- สหรัฐฯ เป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญต่อการค้าและการลงทุนของโคลอมเบีย สหรัฐฯ และโคลอมเบียเห็นชอบที่เรื่องการสร้างความเป็นเอกภาพในทวีปอเมริกา (Unity of the Americas) แสดงความมุ่งมั่นที่จะร่วมมือในด้านการต่อต้านการก่อการร้าย นอกจากนี้ สหรัฐฯ จะให้ความช่วยเหลือในการส่งเสริมภาคเกษตรและผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมของโคลอมเบีย และผลักดันให้มีการลงทุนเพิ่มเติมจากสหรัฐฯ ในภาคอุตสาหกรรมน้ำมันและพลังงานด้วย

- ในอดีตโคลอมเบียไม่ได้ให้ความสำคัญต่อภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเท่าที่ควร แต่ภายหลังการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2533 เป็นต้นมา โคลอมเบียได้ให้ความสำคัญต่อภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในฐานะตลาดใหม่และแหล่งเงินทุนต่างประเทศ และได้ให้การสนับสนุนภาคเอกชนในการประกอบธุรกิจกับเอเชียแปซิฟิก ทั้งในด้านการให้ข้อมูลทางเศรษฐกิจและการตลาด และการเสริมสร้างขีดความสามารถของ ผู้ส่งออกไปยังภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก นอกจากนี้ โคลอมเบียได้แสดงความสนใจที่จะสมัครเป็นสมาชิกผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค (APEC) (เอเปคได้มีมติเมื่อปี 2540 ให้ระงับการรับสมาชิกใหม่เป็นเวลา 10 ปี และคาดว่า จะเปิดรับสมาชิกใหม่ในช่วงปลายปี 2550 หรือ 2551)


นโยบายต่างประเทศ

- มุ่งเน้นการบูรณาการของกลุ่มความร่วมมือระหว่างประเทศต่างๆ ให้ความร่วมมือกับประชาคมระหว่างประเทศ และปรับตัวให้เข้ากับยุคโลกาภิวัฒน์ การดำเนินนโยบายการทูตแบบพหุภาคีมากกว่าแบบทวิภาคี และรับความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงจากสหรัฐฯ เป็นส่วนใหญ่

- ปัญหาการลักลอบค้ายาเสพติดตามแถบชายแดนยังเป็นปัญหาสำคัญของโคลอมเบีย และส่งผลให้เกิดข้อพิพาทกับประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ นิการากัว และเวเนซุเอลา

- โคลอมเบียเข้าร่วมในองค์กรในระดับภูมิภาคลาตินอเมริกาที่สำคัญๆ อาทิ ประชาคม แอนเดียน (Andean Community) Latin American Integration Association (LAIA) และกลุ่มเศรษฐกิจของลาตินอเมริกา (Latin American Economic System: SELA) เป็นต้น

- นอกจากนี้ ยังมีบทบาทแข็งขันในกรอบความร่วมมืออื่นๆ อาทิ อดีตประธานาธิบดี Cesar Gaviria ของโคลอมเบีย เคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการองค์การรัฐอเมริกัน (The Organization of the American States: OAS) เมื่อปี 2537 และ 2542 และเป็นประธานกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (Non-Aligned Movement: NAM) ระหว่างปี 2537 - 2541


ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐโคลัมเบีย
ด้านการทูต

- ไทยกับโคลอมเบียได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2522 ไทยได้มอบหมายให้เอกอัครราชทูต ณ กรุงบราซิเลีย มีอาณาเขตดูแลโคลอมเบีย แต่กำลังโอนให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลิมาดูแลแทน นอกจากนี้ รัฐบาลไทยได้แต่งตั้งให้นาง Cecilia Fernandez de Pallini เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ กรุงโบโกตา คนแรก ตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2531

- โคลอมเบียเคยเปิดสถานเอกอัครราชทูตในไทยเมื่อปี 2535 แต่ได้ปิดลงตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2542 เนื่องจากเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจ และได้แต่งตั้งให้เอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เป็นเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยอีกตำแหน่งหนึ่ง อย่างไรก็ดี ฝ่ายโคลอมเบียกำลังทาบทามรัฐบาลไทยเพื่อเปิดสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง

- แม้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับโคลอมเบียถือว่ายังมีค่อนข้างน้อยและจำกัด แต่ก็มีความใกล้ชิดกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอเมริกากลาง นาย Camilo Reyes Rodriguez รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศโคลอมเบียได้เดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 19-21 พฤษภาคม 2547 ซึ่งนาย Reyes ได้แสดงความสนใจเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหายาเสพติด และการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน โดยเฉพาะในเรื่องโครงการปลูกพืชทดแทนยาเสพติด และโครงการพัฒนาทางเลือกตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

- นอกจากนี้ โคลอมเบียได้ให้การสนับสนุนประเทศไทยในเวทีความร่วมมือระหว่างเอเชียตะวันออกและลาตินอเมริกา (Forum for East Asia and Latin American Cooperation – FEALAC) โดย ได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมในโครงการความร่วมมือภายใต้กรอบดังกล่าวของไทย ได้แก่ การประชุมเชิงปฏิบัติการด้านยาเสพติด ระหว่างวันที่ 17-28 มกราคม 2548 และโครงการฝึกอบรมด้าน Poverty Reduction ระหว่างวันที่ 4-29 กรกฎาคม 2548


ด้านเศรษฐกิจ

- โคลอมเบียเป็นคู่ค้าอันดับที่ 7 ของไทยในลาตินอเมริกา โดยในปี 2549 การค้าสองฝ่ายมีมูลค่า 114.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยได้ดุลการค้า 114.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีมูลค่าส่งออก 128.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 13.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

- สินค้าที่ไทยส่งออกไปโคลอมเบีย ได้แก่ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ รถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้ง ผลิตภัณฑ์ยาง เหล็กและผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรกล ผลิตภัณฑ์พลาสติก เม็ดพลาสติก ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ และยางพารา

- สินค้าที่ไทยนำเข้าจากโคลอมเบีย ได้แก่ สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะ สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จากพลาสติก สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็งแปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป เครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ กาแฟ ชาเครื่องเทศ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช

---------------------
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ20 สิงหาคม 2550

เอกสารแนบ

เรียบเรียงโดย กองลาตินอเมริกา กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ โทร. 0-2643-5110 ต่อ 3013 301 3016 3018 หรือ 02 6435114 Fax. 0-2643-5115



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์