|
|
|
|
|
|
|
|
|
แผนที่
|
สหภาพคอโมโรส Union of the Comoros
|
|
ที่ตั้ง
คอโมโรสเป็นหมู่เกาะซึ่งประกอบด้วย 3 เกาะใหญ่ คือ Grande Comore (Ngazidja), Anjouan (Nzwani) และ Moheli (Mwali) ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอินเดียทางตะวันออกของทวีปแอฟริกา ตั้งอยู่ในช่องแคบโมซัมบิกระหว่างโมซัมบิกและมาดากัสการ์
พื้นที่ 1,862 ตารางกิโลเมตร
ภูมิอากาศ แบบ Tropical อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 27 35 องศาเซลเซียส
ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พฤษภาคม
ประชากร 800,000 คน (2549)
เมืองหลวง กรุงโมโรนี (Moroni)
ภาษา ภาษาอาหรับและฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการ ภาษาท้องถิ่น คือ ภาษา Comorian (ผสมระหว่าง Arabic และ Swahili)
ศาสนา อิสลามนิกายสุหนี่ร้อยละ 86 และศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกร้อยละ 14
วันชาติ 6 กรกฎาคม (ได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสเมื่อ 6 กรกฎาคม 2518)
ผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ 0.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)
รายได้ประชาชาติต่อหัว 750 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อปี
อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 2.3 (2548)
อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 3.6 (2548)
สกุลเงิน Comoran francs (KMF)
อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ = 392.03 KMF (2549)
รัฐบาลชุดปัจจุบัน
นาย Ahmed Abdallah Mohamed Sambi ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนปัจจุบัน และมีนาย Ahmed Ben Said Jaffar ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ประวัติศาสตร์การเมือง
การเมืองภายในของคอโมโรสมีความไม่มั่นคงสูง มีการเปลี่ยนคณะผู้บริหารประเทศหลายครั้ง มีการปฏิวัติรัฐประหารมาแล้วทั้งหมด 21 ครั้ง นับตั้งแต่ได้ยเอกราชในปี 2518 ซึ่งต่อมาคอโมโรสพยายามแก้ไขปัญหาการก่อรัฐประหารโดยการจัดการปกครองแบบสหพันธรัฐ และได้ให้สิทธิในการปกครองตนเองของแต่ละเกาะ โดยแต่ละเกาะมีรัฐสภาและมีการเลือกตั้งโดยตรง โดยตำแหน่งประธานาธิบดีของประเทศให้หมุนเวียนระหว่างผู้นำของเกาะโดยมีวาระคราวละ 4 ปี
รูปแบบการเมืองและการปกครอง
ปกครองในระบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดี เป็นประมุขของรัฐ และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล
สถาบันการเมืองประกอบด้วยฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ
- ฝ่ายบริหาร ประกอบด้วยประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้ง และเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี
- ฝ่ายนิติบัญญัติ ระบบรัฐสภาของคอโมโรสมี 2 สภา คือ วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฏร โดยสมาชิกวุฒิสภา มีจำนวน 15 คน อยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี ส่วนสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร มีจำนวน 43 คน อยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี
- ฝ่ายตุลาการ ประกอบด้วยศาลสูง โดยผู้พิพากษาศาลสูง 2 คน มาจากการได้รับการแต่งตั้งจากปธน. อีก 2 คน มาจากการแต่งตั้งของสภาผู้แทนราษฏร และอีก 3 คน จากผู้แทนของเกาะใหญ่ รวม 3 เกาะ
ด้านเศรษฐกิจ
คอโมโรสจัดเป็นประเทศยากจนที่สุดประเทศหนึ่ง เนื่องจากเป็นประเทศที่มีอัตราการเพิ่มของประชากรในระดับสูง แต่ระดับการศึกษาต่ำ และขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติด้วย รายได้หลักของประเทศมาจากภาคเกษตรกรรมแบบยังชีพ เช่น การประมง การล่าสัตว์และป่าไม้ นอกจากนี้ คอโมโรสยังพึ่งพาความช่วยเหลือจากต่างชาติในรูปของความช่วยเหลือทางการเงินและความช่วยเหลือทางเทคนิคเป็นจำนวนมากด้วย
ผลิตผลทางการเกษตร วานิลา cloves หัวเชื้อน้ำหอม มะพร้าวแห้ง กล้วยและแป้งมัน
อุตสาหกรรมสำคัญ การท่องเที่ยว การกลั่นน้ำหอม เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ อัญมณี วัสดุก่อสร้าง และเครื่องดื่ม
สินค้าส่งออกที่สำคัญ วานิลา หัวเชื้อน้ำหอม
สินค้านำเข้าที่สำคัญ ข้าวและอาหาร สินค้าบริโภค ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ซีเมนต์ และอุกรณ์การขนส่งคมนาคม
ประเทศส่งออกที่สำคัญ เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส อิตาลี สิงคโปร์ ตุรกี และสหรัฐฯ
ประเทศนำเข้าที่สำคัญ ฝรั่งเศส สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ แอฟริกาใต้ ปากีสถาน เคนยา จีน และอินเดีย
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหภาพคอโมโรส |
ด้านการเมืองและการทูต
ไทยกับคอโมโรสได้สถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างกันเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2529 โดยฝ่ายไทยได้มอบหมายให้ สอท ณ กรุงไนโรบี มีเขตอาณาครอบคลุมคอโมโรส ส่วนคอโมโรสยังไม่ได้มอบหมายให้ สอท ของตนแห่งใดมีเขตอาณาครอบคลุมไทย
ในอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคอโมโรสเคยเดินทางเยือนไทยหลายครั้ง เพื่อเจรจาซื้อข้าวจากรัฐบาลไทย อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา การค้าระหว่างไทยกับคอโมโรสยังมีน้อย โดยไทยเป็นฝ่ายส่งออกสินค้าไปยังคอโมโรสเป็นส่วนใหญ่ และนำเข้าสินค้าจากคอโมโรสในอัตราที่น้อยมาก
เมื่อเดือน ก.ค. 2548 (2005) ระหว่างการประชุม South Summit ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักรัฐมนตรี (ดร. สรจักร เกษมสุวรรณ) ได้พบปะกับนาย Aboudou Spefo รัฐมนตรีต่างประเทศคอโมโรสในขณะนั้น ซึ่งฝ่ายไทยได้กล่าวเชิญให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคอโมโรสเดินทางเยือนไทย ต่อมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคอโมโรสได้ตอบรับคำเชิญ โดยจะเยือนในช่วงที่ทั้งสองฝ่ายสะดวก อย่างไรก็ตาม รัฐบาลคอโมโรสภายใต้การนำของนาย Azail Assoumani แพ้การเลือกตั้งเมื่อปลายเดือน พ.ค. 2549 (2006) โดยนาย Ahmed Abdallah Mohammed Sambi อดีตสมาชิกรัฐสภาจากเกาะ Anjouan ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนใหม่แทนนาย Azail Assoumani ซึ่งประธานาธิบดี Sambi ได้แต่งตั้งนาย Ahmed Said Jaffar เป็นรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศคนใหม่
เรียบเรียงโดย กองแอฟริกา กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา โทร. 0-2643-5047-48 E-mail : southasian04@mfa.go.th
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|