|
แผนที่
|
สาธารณรัฐคอสตาริกา Republic of Costa Rica
|
|
ที่ตั้ง คอสตาริกา แปลว่าชายฝั่งทะเลอันอุดมสมบูรณ์ (the rich coast) มีชายฝั่งทะเลด้านทิศตะวันออกติดกับทะเลแคริบเบียน และชายฝั่งทะเลด้านทิศตะวันตกติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทิศเหนือติดกับนิการากัว และทิศใต้ติดกับ ปานามา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา โดยมีที่ราบสูงทางตอนกลางของประเทศและพื้นที่ราบลุ่มบริเวณชายฝั่งทะเลทั้งสองด้าน
ขนาดพื้นที่ 51,110 ตารางกิโลเมตร
ภูมิอากาศ แบบร้อนชื้น (tropical) ในบริเวณพื้นที่ราบลุ่ม และมีอากาศแบบอบอุ่นในเขตที่ราบสูงและบริเวณหุบเขา
เมืองหลวง กรุงซานโฮเซ (San Jose)
ประชากร (2549) 4.48 ล้านคน
ภาษาราชการ ภาษาสเปน
ศาสนา คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ร้อยละ 80
อัตราผู้รู้หนังสือ (2548) ร้อยละ 98
หน่วยเงินตรา คอสตาริกา โคลอน (Costa Rica Colon/CRC)
อัตราแลกเปลี่ยน (ก.ค.2550) 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 517.90
CRC
วันได้รับเอกราช 15 กันยายน ค.ศ. 1838 (ประกาศอิสรภาพจากสเปน)
สมาชิกองค์การระหว่างประเทศ CACM, ECLAC, FAO, FEALAC, G-77, IADB, IAEA, IBRD, ICAO, ICFTU, ICRM, IDA, IFAD, IFC, ILO, IMF, IMO, Intelsat, Interpol, IOC, IOM, ITU, LAIA, NAM (observer), OAS, UN, UNCTAD, UNESCO, UNIDO, UNU, UPU, WHO, WIPO, WTO
รูปแบบการปกครอง สาธารณรัฐ ประธานาธิบดี นาย Oscar ARIAS Sanchez (เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2549) มีวาระ 4 ปี
ฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นระบบรัฐสภาเดียว มีสมาชิกสภานิติบัญญัติที่มาจากการเลือกตั้ง 57 คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี
ฝ่ายตุลาการ ศาลสูงสุดของประเทศ (Supreme Court) มาจากการเลือกตั้งโดย
สมาชิกสภานิติบัญญัติ มีวาระการดำรงตำแหน่ง 8 ปี
การเลือกตั้งครั้งต่อไป กุมภาพันธ์ 2548
พรรคการเมืองสำคัญ Social Christian Unity Party (PUSC) (พรรครัฐบาล) Democrat Party National Liberation Party National Patriot Party
นโยบายการเมืองและเศรษฐกิจ
การเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2549 ทำให้พรรค Citizen Action Party ซึ่งเป็นพรรคนิยมซ้าย สามารถเข้าไปมีบทบาทเป็นพรรคฝ่ายค้านเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองของคอสตาริกา โดยในอดีตนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491 คอสตาริกาถูกปกครองโดยพรรคการเมือง 2 พรรคได้แก่ พรรค PLN และพรรค PUSC ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลชุดก่อน ซึ่งชี้ให้เห็นถึงกระแสความนิยมของชาวคอสตาริกาที่มีต่อพรรคที่มีอุดมการณ์สังคมนิยมที่เพิ่มมากขึ้น เช่นเดียวกับประเทศอื่นในลาตินอเมริกา เช่น ชิลี และโบลิเวีย
ประธานาธิบดี Arias ประกาศจะให้สัตยาบันความตกลงการค้าเสรีสหรัฐฯ อเมริกากลาง (US-CAFTA) และดำเนินการปฏิรูปทางเศรษฐกิจที่สำคัญ อาทิ การแปรรูปกิจการโทรคมนาคมและพลังงาน รวมทั้งได้ตั้งเป้าหมายที่จะลดอัตราความยากจนของประชาชนคอสตาริกาลงอย่างน้อยร้อยละ 1 ต่อปี ปรับปรุงระบบการศึกษาและกำหนดให้มีการศึกษาภาคบังคับจนถึงอายุ 17 ปี ให้ความสำคัญกับการเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างประเทศตามระบบเศรษฐกิจที่เน้นการส่งออก และขยายการจัดทำความตกลงเสรีทางการค้า อาทิ การเจรจา FTAระหว่างกลุ่มประเทศอเมริกากลางและ EU และการเจรจา FTA กับปานามา (ปานามาเป็นตลาดสำคัญสำหรับสินค้าอาหารและเวชภัณฑ์)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (2549) 22.25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (2549) ร้อยละ 7.8
รายได้ประชาชาติต่อหัว (2549) 4,683 ดอลลาร์สหรัฐ/คน/ปี
หนี้ต่างประเทศ (2549) ร้อยละ 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ (พ.ค.2550) 3.59 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินค้าเกษตรสำคัญ กล้วย (คอสตาริกาเป็นผู้ส่งออกกล้วยมากเป็นอันดับสอง
ของโลกรองจากเอกวาดอร์) กาแฟ เมล็ดโกโก้ ข้าว และถั่ว
สินค้าอุตสาหกรรมสำคัญ อาหารและเครื่องดื่ม สิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์ กระดาษ เคมี
ภัณฑ์พลาสติก และผลิตภัณฑ์ยาง
สินค้าบริการสำคัญ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (ทำรายได้เข้าประเทศกว่า
ร้อยละ 60)
การนำเข้า มูลค่า 11.53 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)
สินค้านำเข้าสำคัญ อาทิ น้ำมันและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เวชภัณฑ์
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ของเครื่องประมวลผล วงจร
รวมโมโนลิทิก กระดาษคราฟต์
ตลาดนำเข้าหลัก สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ม็กซิโก บราซิล เวเนซุเอลา
การส่งออก มูลค่า 8.20 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)
สินค้าส่งออกสำคัญ อาทิ กล้วย กาแฟ เนื้อวัว น้ำตาล สิ่งทอ ชิ้นส่วน
อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า
ตลาดส่งออกหลัก สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ เยอรมัน กัวเตมาลา
นิการากัว
นโยบายต่างประเทศ
คอสตาริกาให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกในการดำเนินความร่วมมือภายใต้กรอบ Organization of the American States (OAS) และความใกล้ชิดกับสหรัฐฯ โดยเฉพาะในเรื่องการป้องกันประเทศซึ่งคอสตาริกาได้ยกเลิกกองกำลังทหารตั้งแต่ปี 2492นอกจากนี้ คอสตาริกายังให้ความสำคัญกับการต่อต้านการค้ายาเสพติด
โดยเป็นประเทศแรกในอเมริกากลางที่ลงนามใน Maritime Counter-Narcotics Agreement กับสหรัฐฯ ซึ่งเป็นความร่วมมือเพื่อต่อต้านการลักลอบขนส่งยาเสพติดในน่านน้ำคอสตาริกา
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐคอสตาริกา |
การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต
ไทยและคอสตาริกาสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2516 โดยรัฐบาลไทยแต่งตั้งให้นายระวี หงส์ประภาส เอกอัครราชทูต ณ กรุงเม็กซิโก ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำคอสตาริกาอีกตำแหน่งหนึ่ง และแต่งตั้งนาย Juan Carlos Morales เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำคอสตาริกา แต่ต่อมา เมื่อรัฐบาลมีดำริเปิดสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลิมา จึงมีการปรับเขตอาณาสถานอกอัครราชทูตในลาตินอเมริกา โดยได้ปรับให้คอสตาริกาอยู่ในความดูแลของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงซันติอาโก
คอสตาริกาได้เปิดสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ในประเทศไทย เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2541 โดยมี ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต ดำรงตำแหน่งกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์
ด้านเศรษฐกิจ
ในปี 2549 การค้าสองฝ่ายมีมูลค่า 51.61ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากปี 2548
ร้อยละ 1.48 โดยไทยเป็นฝ่ายได้ปรียบดุลการค้า
การส่งออก
ในปี 2549 ไทยส่งออกไปคอสตาริกา 27.50 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2548 ร้อยละ 19.61
สินค้าที่ไทยส่งออกไปคอสตาริกา รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องซักผ้าและเครื่องซักผ้าแห้งและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติกอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผักกระป๋องและแปรรูป
การนำเข้า
ในปี 2549 ไทยนำเข้าจากคอสตาริกา มูลค่า 24.11 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2548 ร้อยละ 27.98
สินค้าที่ไทยนำเข้าจากคอสตาริกา แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ กระจก แก้วและผลิตภัณฑ์ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์
ความตกลงระหว่างไทยกับคอสตาริกา
ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราซึ่งกันและกันสำหรับหนังสือเดินทางทูตและหนังสือเดินทางราชการ (หนังสือเดินทางพิเศษ) ลงนามเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2548
----------------------
เรียบเรียงโดย กองลาตินอเมริกา กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ โทร. 02-6435000 ต่อ 3013, 3014, 3016 , 3018 และ 0-2643-5114 Fax. 0-2643-5115
|
|