|
แผนที่
|
สาธารณรัฐเอลซัลวาดอร์ Republic of El Salvador
|
|
ที่ตั้ง อยู่ในภูมิภาคอเมริกากลาง ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางทิศใต้ ทางทิศเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับกัวเตมาลา ส่วนทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือมีพรมแดนติดกับฮอนดูรัสเป็นประเทศที่มีขนาดเล็กที่สุดในภูมิภาคอเมริกากลาง และเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคนี้ที่ไม่มีชายฝั่งทะเลติดกับทะเลแคริบเบียน
ภูมิอากาศ ร้อนชื้นแบบกึ่งศูนย์สูตร มีฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคมและฤดูร้อนระหว่างเดือนพฤศจิกายน -เมษายน
พื้นที่21,040 ตารางกิโลเมตร
ประชากร (2550) 6,948,073 คน
เมืองหลวง ซาน ซัลวาดอร์ (San Salvador)
ภาษาราชการ สเปน
เชื้อชาติิ Mestizo (เชื้อสายผสมสเปน-พื้นเมือง) ร้อยละ 90 ผิวขาวร้อยละ 9 อเมริเดียนร้อยละ 1
ศาสนา คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ประมาณร้อยละ 83 อื่นๆ ร้อยละ 17
วันชาติ 15 กันยายน ค.ศ. 1821 (ประกาศอิสรภาพจากสเปน)
อัตราการรู้หนังสือ (2546) ร้อยละ 80.2
สมาชิกองค์การระหว่างประเทศ BCIE, CACM, ECLAC, FAO, G-77, IADB, IAEA, IBRD, ICAO, ICFTU, ICRM, IDA, IFAD, IFC, IFRCS, ILO, IMF, IMO, Intelsat, Interpol, IOC, IOM, ISO (correspondent), ITU, LAES, LAIA (observer), FEALAC, MINURSO, NAM (observer), OAS, OPANAL, OPCW, PCA, UN, UNCTAD, UNESCO, UNIDO, UPU, WCL, WFTU, WHO, WIPO, WMO, WToO, WTrO
รูปแบบการปกครอง สาธารณรัฐ
รัฐธรรมนูญปัจจุบัน 20 ธันวาคม 2526
ประมุขฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดี (เลือกตั้งโดยตรง)
ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน นาย Antonio SACA Gonzalez มีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี (หมดวาระวันที่ 1 มิถุนายน 2552)
ฝ่ายนิติบัญญัติ ระบอบสภาเดียว (unicameral Legislative Assembly) จำนวน 84 ที่นั่ง วาระ 3 ปี
ฝ่ายตุลาการ ผู้พิพากษาศาลสูงสุดคัดเลือกโดยรัฐสภา
การเลือกตั้งครั้งล่าสุด การเลือกตั้งประธานาธิบดีวันที่ 21 มีนาคม 2547
การเลือกตั้งครั้งต่อไป เดือนมีนาคม 2552
พรรคการเมืองสำคัญ Nationalist Republican Alliance(ARENA) (พรรครัฐบาล) , Christian Democratic Party (PDC), Democratic Convergence (CD) Democratic Party, Farabundo Marti National Liberation Front (FMLN)
มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) (2548) 16.52 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
อัตราการขยายตัวของ GDP (2550) ร้อยละ 3.7
รายได้ประชาชาติิ (2548) 4,700 ดอลลาร์สหรัฐ
เปลี่ยนจากเงินสกุล Salvadoran colones (SVC) เป็น US dollar เมื่อปี 2544
อัตราเงินเฟ้อ (2548) ร้อยละ 4.7
เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ (2549) 1.951 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (2546) 3,220 ล้านเหรียญสหรัฐ
หนี้สาธารณะ (2549) 8,841 ล้านเหรียญสหรัฐ
สัดส่วนสาธารณะหนี้ต่อ GDP (2548) ร้อยละ 46.7
ประเทศคู่ค้าส่งออก (2548) สหรัฐฯ (ร้อยละ 61) กัวเตมาลา (ร้อยละ 12.1) นิการากัว (ร้อยละ 4.2)
อุตสาหกรรมสำคัญ อาหารแปรรูป เครื่องดื่ม ปิโตรเลียม เคมีภัณฑ์ ปุ๋ย สิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์ โลหะน้ำหนักเบา
เกษตรกรรมสำคัญ กาแฟ อ้อย ข้าวโพด ข้าว ถั่ว เมล็ดพืชให้น้ำมัน ฝ้าย เนื้อวัว ผลิตภัณฑ์นม กุ้ง
นโยบายเศรษฐกิจสำคัญ รัฐบาลชุดปัจจุบันของเอลซัลวาดอร์ มีนโยบายเศรษฐกิจ แบบเสรีนิยม สนับสนุนการเปิดเสรีทางการค้า/การลงทุน ทั้งในระดับทวิภาคี ระดับภูมิภาค และภายใต้ WTO รวมทั้งส่งเสริมให้มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐเอลซัลวาดอร์ |
การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต ไทยและเอลซัลวาดอร์สถาปนาความสัมพันธ์ เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2530 โดยเอกอัครราชทูต ณ กรุงซันติอาโกเป็นเอกอัครราชทูตประจำสาธารณรัฐเอลซัลวาดอร์ อีกตำแหน่งหนึ่ง และแต่งตั้งให้นาย Ricardo Moran Ferracuti เป็นกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ไทยประจำ สาธารณรัฐเอลซัลวาดอร์
สินค้าที่ไทยส่งออก รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพลาสติก เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์พลาสติก
สินค้าที่ไทยนำเข้า แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องมือเครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผลิตภัณฑ์จากกลาสติก สิ่งพิมพ์
สถิติการค้าระหว่างไทยกับเอลซัลวาดอร์ (ล้านเหรียญสหรัฐ)
ปี มูลค่าการค้า การส่งออก การนำเข้า ดุลการเข้า
2546 19.89 19.45 0.43 19.02
2547 16.55 16.04 0.51 15.53
2548 20.75 19.95 0.82 19.10
ปรับปรุงล่าสุด 21 สิงหาคม 2550
เรียบเรียงโดย กองลาตินอเมริกา กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ โทร. 0-2643-5113-4 Fax. 0-2643-5115 E-mail : american03@mfa.go.th
|
|